dc.contributor.author | อุษา ฉายเกล็ดแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | Usa Chaikledkaew | th_TH |
dc.contributor.author | จิระพรรณ จิตติคุณ | th_TH |
dc.contributor.author | Jiraphun Jittikoon | th_TH |
dc.contributor.author | ภัทรวลัย ตลึงจิตร | th_TH |
dc.contributor.author | Pattarawalai Talungchit | th_TH |
dc.contributor.author | ปรีชญา วงษ์กระจ่าง | th_TH |
dc.contributor.author | Preechaya Wongkrajang | th_TH |
dc.contributor.author | ขวัญดาว มาลาสาย | th_TH |
dc.contributor.author | Khuandao Malasai | th_TH |
dc.contributor.author | เสริมสิริ แสงรุ่งเรืองศรี | th_TH |
dc.contributor.author | Sermsiri Sangroongruangsri | th_TH |
dc.contributor.author | สุรัคเมธ มหาศิริมงคล | th_TH |
dc.contributor.author | Surakameth Mahasirimongkol | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-10-17T08:38:43Z | |
dc.date.available | 2022-10-17T08:38:43Z | |
dc.date.issued | 2565-05 | |
dc.identifier.other | hs2892 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5752 | |
dc.description.abstract | ความชุกของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียพบได้ประมาณร้อยละ 1 ของประชากรทั้งหมด โดยมีผู้ที่เป็นพาหะของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียประมาณร้อยละ 30-40 จึงสามารถประมาณการได้ว่าจะพบผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงรายใหม่ 5,125 คน ในทารกที่คลอดใหม่ทุก 1 ล้านคนในประเทศไทย ความรุนแรงของโรคนี้ คือ ทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ หรือเสียชีวิตภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด หรือหากทารกไม่เสียชีวิตจะส่งผลให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแลลดลง ปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กำหนดอัตราชดเชยการคัดกรองและวินิจฉัยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์โดยถูกบรรจุไว้ในชุดสิทธิประโยชน์แล้ว อย่างไรก็ตามอัตราการชดเชยนี้ไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองทั้งหมด ได้แก่ การตรวจคัดกรองโดยวิธี hemoglobin (Hb) typing และการตรวจทางพันธุกรรม หรือ deoxyribonucleic acid (DNA) analysis ซึ่งจัดว่าเป็นเทคนิควิธีที่มีความไวและความจำเพาะต่อการตรวจคัดกรองสูง ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้คู่สามีภรรยามีภาระค่าใช้จ่ายในการคัดกรองเพิ่มขึ้น อีกทั้งระยะเวลาการรอคอยผลการคัดกรองและวินิจฉัย ความถี่ในการติดตามผลการคัดกรองและความสามารถในการเข้าถึงบริการที่เฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราการเข้ารับการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียลดลง การศึกษานี้เป็นการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้วยวิธีประเมินต้นทุนผลได้ (cost-benefit analysis, CBA) โดยใช้แบบจำลอง decision-tree มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์ต้นทุนและผลได้ของคู่สามีภรรยาในมุมมองทางสังคม (societal perspective) ในกรณีที่คู่เสี่ยงได้รับการตรวจทางพันธุกรรม เพื่อวินิจฉัยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย รวมถึงการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณของประเทศไทย จากผลการประเมินต้นทุนผลได้ พบว่า การตรวจทางพันธุกรรม เพื่อวินิจฉัยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในคู่สามีภรรยาตามแนวทางมาตรฐานของประเทศไทยมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยสามารถประหยัดต้นทุนได้เท่ากับ 23,785 บาทต่อการป้องกันการเกิดผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียได้ 1 ราย และมีอัตราส่วนผลได้ต่อต้นทุน (benefit to cost ratio) เท่ากับ 5.38 ต่อ 1 อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของแนวทางการคัดกรองพาหะธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์และสามีคู่เสี่ยงของประเทศไทยในทางปฏิบัติ คือ กระบวนการหลังจากหญิงตั้งครรภ์ตรวจคัดกรองด้วยเทคนิควิธี MCV/MCH และ DCIP แล้วแสดงผลเป็นบวก จะต้องติดตามสามีคู่เสี่ยงมาเข้ารับการตรวจแล้ว หากพบความเสี่ยงจึงจะทำการตรวจด้วยเทคนิควิธี Hb typing ต่อไป ทั้งนี้หากพิจารณาปรับลดขั้นตอนในการคัดกรองโดยสามารถทำการตรวจ Hb typing ได้ทันที หากหญิงตั้งครรภ์พบความเสี่ยงโดยไม่ต้องรอผลแสดงจากสามี จะสามารถประหยัดต้นทุนได้ 6,622 บาทต่อการป้องกันการเกิดโรคธาลัสซีเมียได้ 1 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางการคัดกรองมาตรฐานของประเทศไทย สำหรับผลการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณ พบว่า จะมีภาระด้านงบประมาณเพิ่มขึ้น เท่ากับ 36 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังนี้ 1. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยควรพิจารณาปรับแก้แนวทางการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโดยแนะนำให้หลังจากที่หญิงตั้งครรภ์ตรวจ MCV/MCH และ DCIP ให้ผลเป็นบวก ควรตรวจคัดกรองโดยเทคนิค Hb typing ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอผลตรวจจากสามีและหลังจาก Hb typing แนะนำให้ตรวจทางพันธุกรรม เนื่องจากอาจไม่สามารถติดตามสามีคู่เสี่ยงบางรายได้ เพื่อลดระยะเวลารอคอยและขั้นตอนการตรวจคัดกรองและวินิจฉัย รวมทั้งยังเพิ่มอัตราการเข้ารับการคัดกรองและวินิจฉัยในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงตลอดจนสิ้นสุดการวินิจฉัย 2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ควรบริหารจัดการงบประมาณให้ครอบคลุมทั้งการตรวจคัดกรองและการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์และสามีคู่เสี่ยง 3.ควรมีการตรวจและควบคุมคุณภาพของการตรวจทางห้องปฏิบัติการของเอกชน โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเพิ่มหน่วยให้บริการการตรวจ Hb typing และการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อเพิ่มการเข้าถึงของหญิงตั้งครรภ์และสามีหญิงทุกราย 4. ควรมีฐานข้อมูลการบันทึกผลการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยอย่างเป็นระบบ เช่น ระบบ health link เพื่อใช้เป็นข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์และสามีในกรณีที่มีการตั้งครรภ์มากกว่า 1 ครั้ง หรือมีการย้ายสิทธิการรักษาพยาบาลจะทำให้ข้อมูลการตรวจคัดกรองไม่สูญหาย รวมทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยซ้ำ 5. ควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบถึงนโยบายและการควบคุมผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียรายใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคู่สามีภรรยาที่วางแผนตั้งครรภ์ รวมทั้งในกลุ่มประชากรทั่วไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โลหิตจาง | th_TH |
dc.subject | Thalassemia | th_TH |
dc.subject | Thalassemia--Diagnosis | th_TH |
dc.subject | การตรวจคัดกรอง | th_TH |
dc.subject | หญิงตั้งครรภ์ | th_TH |
dc.subject | Genetic Testing | th_TH |
dc.subject | ยีน | th_TH |
dc.subject | Gene | th_TH |
dc.subject | พันธุกรรม | th_TH |
dc.subject | Genetics | th_TH |
dc.subject | จีโนมมนุษย์ | th_TH |
dc.subject | Human Genome | th_TH |
dc.subject | Genomics | th_TH |
dc.subject | พันธุศาสตร์มนุษย์ | th_TH |
dc.subject | Human Genetics | th_TH |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Economics | th_TH |
dc.subject | ต้นทุนต่อหน่วย | th_TH |
dc.subject | Cost--Analysis | th_TH |
dc.subject | Cost-Benefit Analysis | th_TH |
dc.subject | การวิเคราะห์ความคุ้มทุน | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | Universal Health Coverage | th_TH |
dc.subject | สิทธิประโยชน์ | th_TH |
dc.subject | สิทธิประโยชน์--การคุ้มครอง | th_TH |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยภาวะพาหะธาลัสซีเมียในคู่สามีภรรยาในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Economic Evaluation of Genetic Testings for Thalassemia Carrier Diagnosis Among Married Couple in Thailand | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The prevalence of thalassemia is found in approximately 1% of the population about 30-40% of carriers of thalassemia, it is possible to estimate that 5,125 new cases of severe thalassemia in every 1 million new born babies in Thailand. The severity of this disease is that the fetus dies while in the womb or dies within hours of birth, or if the fetus does not die, will incur the burden of direct and indirect care costs including delivery. As a result, the quality of life of patients and caregivers decreases. Currently, the National Health Security Office (NHSO) has set the rate of reimbursement for the screening and diagnosis of thalassemia in pregnant women by being included in the health benefit package. However, this compensation rate does not cover all screening costs, including hemoglobin (Hb) typing and deoxyribonucleic acid (DNA) analysis, which are considered sensitive techniques. and high specificity to screening. For this reason, couples are burdened with additional screening costs as well as the waiting time for screening and diagnosis results. Moreover, the frequency of screening follow-up and the ability to access services that are only available in large hospitals. It may be a factor contributing to a decrease in the rate of visits to screening and diagnosis of thalassemia. This study was an economic evaluation by using a cost-benefit analysis through the decision-tree model. The aim of this study was to analyze the costs and benefits of married couples from a social perspective if couples at risk were given genetic testing to diagnose thalassemia. Also, Thailand’s budget impact was determined. From the cost evaluation results, it was found that genetic testing for diagnosing thalassemia in married couples according to the Thai standard guidelines is economically cost-effective. The cost savings was 23,785 THB per prevention of a thalassemia case, and the benefit-to-cost ratio was 5.38 per 1 proportion. However, the disadvantage of Thailand's practice of screening for thalassemia carriers in pregnant women and their spouses is that the process after a pregnant woman is screened by MCV/MCH and DCIP techniques and shows positive results that we have to follow up with the husband at risk to come for an examination If there is a risk, it will continue to be examined with Hb typing technique. In case, reducing the screening process to be able to perform Hb typing immediately if a pregnant woman is at risk without waiting for results from her husband. A cost savings of 6,622 THB for the prevention of a thalassemia case when compared to the standard screening guidelines of Thailand. For the results of the budget impact analysis, it was found that there will be an increase in budget burden equal to 36 million baht per year. Therefore, from the results of the study, there are policy recommendations as follows: 1. The Royal College of Obstetricians and Gynecologists of Thailand should consider revising their screening and diagnostic guidelines, suggesting that after a pregnant woman has tested positive for MCV/MCH and DCIP, Hb typing should be screened immediately without the need to wait results from husband and after Hb typing is positive, she should be suggested to genetic test if it is unable to catch up her husband for reducing waiting time and screening process. Moreover, it would increase response rate whole diagnosis. 2. The National Health Security Office (NHSO) should manage the budget to cover both screening and diagnosis of thalassemia among pregnant women and at-risk spouses. 3. The quality of private laboratory testing by the Department of Medical Sciences should be carried out in order to increase the Hb typing and genetic testing services in order to increase the accessibility of all pregnant women and husbands. 4. There should be a systematic record of the results of screening and diagnosis, such as a health link system to be used as information for pregnant women and their husbands in the event of more than one pregnancy or transfer of medical rights. Subsequently, the screening data is not lost and the cost of screening and re-diagnosis is reduced. 5. Policy and control for new cases of thalassemia should be communicated, especially in couples planning pregnancy and general population. | th_TH |
dc.identifier.callno | W74 อ864ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 63-127 | |
dc.subject.keyword | Economic Evaluation | th_TH |
dc.subject.keyword | โลหิตจางธาลัสซีเมีย | th_TH |
dc.subject.keyword | Thalassemia Carrier | th_TH |
dc.subject.keyword | Married Couple | th_TH |
dc.subject.keyword | คู่สามีภรรยา | th_TH |
.custom.citation | อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, Usa Chaikledkaew, จิระพรรณ จิตติคุณ, Jiraphun Jittikoon, ภัทรวลัย ตลึงจิตร, Pattarawalai Talungchit, ปรีชญา วงษ์กระจ่าง, Preechaya Wongkrajang, ขวัญดาว มาลาสาย, Khuandao Malasai, เสริมสิริ แสงรุ่งเรืองศรี, Sermsiri Sangroongruangsri, สุรัคเมธ มหาศิริมงคล and Surakameth Mahasirimongkol. "การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยภาวะพาหะธาลัสซีเมียในคู่สามีภรรยาในประเทศไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5752">http://hdl.handle.net/11228/5752</a>. | |
.custom.total_download | 74 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 30 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |