dc.contributor.author | กฤษดา แสวงดี | th_TH |
dc.contributor.author | Krisada Sawaengdee | th_TH |
dc.contributor.author | ภัททา เกิดเรือง | th_TH |
dc.contributor.author | Phatta Kirdruang | th_TH |
dc.contributor.author | พิมพ์เพชร สุขุมาลไพบูลย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pimpet Sukumalpaiboon | th_TH |
dc.contributor.author | ชุติมา ศิริภานุมาศ | th_TH |
dc.contributor.author | Chutima Siripanumas | th_TH |
dc.contributor.author | ทิวาวรรณ ปิยกุลมาลา | th_TH |
dc.contributor.author | Tiwawan Piyakulmala | th_TH |
dc.contributor.author | ฑิณกร โนรี | th_TH |
dc.contributor.author | Thinakorn Noree | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-10-20T08:09:19Z | |
dc.date.available | 2022-10-20T08:09:19Z | |
dc.date.issued | 2566-01 | |
dc.identifier.isbn | 9786161150204 | |
dc.identifier.other | hs2895 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5755 | |
dc.description.abstract | เป็นเวลากว่า 5 ทศวรรษที่รัฐบาลดำเนินนโยบายเพิ่มการผลิตและการทำสัญญาบังคับชดใช้ทุนกับแพทย์ที่จบจากสถาบันของรัฐ แม้ว่าแพทย์ในประเทศไทยจะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ขาดนโยบายควบคุมการเคลื่อนย้ายแพทย์ที่ได้ผล เป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงการกระจายของแพทย์ในแต่ละพื้นที่ตลอดเวลา การเพิ่มขึ้น/ลดลงของแพทย์ในแต่ละพื้นที่เป็นปัญหาสำคัญของระบบสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและสังเคราะห์ทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อการเพิ่มแพทย์ไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ขาดแคลนหรือห่างไกลในชนบท โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนาแบบผสมวิธี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการทบทวนเอกสารวิเคราะห์ปัจจัย STEEPV (ประกอบด้วย Social Technology Economy Environment Politic Value) การสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์สถานการณ์กำลังคนแพทย์จากข้อมูลทุติยภูมิ สำรวจปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ จากกลุ่มตัวอย่างแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา จำนวน 121 คน สำรวจความพึงพอใจในการเลือกทำงานของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีสุดท้าย จำนวน 400 คน ด้วยวิธี Discrete Choice Experiment (DCE) รวมทั้งการหาฉันทามติในการเสนอทางเลือกเชิงนโยบายด้วยวิธี Modified Delphi โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 32 ท่าน ผลการศึกษา พบว่า 1. สังคมสูงอายุ โรคเรื้อรัง ความเป็นเมือง เทคโนโลยีพลิกผัน เป็นปัจจัยขับเคลื่อนการพลิกโฉมระบบสุขภาพของประเทศไทย 2. ผลกระทบจาก COVID-19 จะยังคงอยู่ยาวนาน 3. บริการสุขภาพปฐมภูมิเป็นฐานรากสำคัญของการพัฒนาสุขภาพประชาชน การให้บริการทุกที่ทุกเวลาเป็นเรื่องจำเป็นในอนาคต 4. บริการสุขภาพทางไกล สุขภาพดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีทางการแพทย์และสารสนเทศ จะลดความเหลื่อมล้ำการกระจายบุคลากรและเพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชน 5. การทำงานในเมือง การเรียนต่อเฉพาะทางและการมีภาระงานไม่หนักเกินไป เป็นคุณลักษณะงานที่แพทย์รุ่นใหม่พอใจ 6. การมีพื้นเพชนบททำให้แพทย์อยู่ในชนบทได้ยาวนานกว่า 7. ทางเลือกเชิงนโยบายที่มีผลกระทบและความเป็นไปได้สูง ได้แก่ 1) การเพิ่มโควต้าการรับนักเรียนจากชนบทเข้าเรียนแพทย์ 2) การขยายขอบเขตการทำงานของบุคลากรวิชาชีพอื่น 3) การพัฒนาระบบนิเทศสอนงานโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) การช่วยเหลือในกรณีถูกฟ้องร้อง 5) การทำระบบการแพทย์ทางไกลให้เข้มแข็ง 6) จ่ายค่าตอบแทนตามผลงานที่ยุติธรรม 7) การกำหนดตำแหน่งสูงขึ้นสำหรับแพทย์ที่ทำงานในชนบท 8) การจัดการภาระงานแพทย์ให้เหมาะสม 9) การออกแบบระบบบริการสุขภาพของประเทศที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรของทุกภาคส่วนร่วมจัดบริการ และ 10) การกระจายอำนาจการบริหารจัดการแพทย์จากส่วนกลางไปในระดับเขต ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ สำหรับนโยบายการบังคับใช้ทุน ควรปรับมาตรการในการเลือกพื้นที่โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคงอยู่ของแพทย์ที่มีความหลากหลายอย่างเป็นระบบ ส่วนความเห็นว่าควรเพิ่มค่าปรับกรณีผิดสัญญา ควรมีการจ้างงานในรูปแบบอื่นนอกเหนือจากตำแหน่งข้าราชการและควรอุดหนุนการผลิตแพทย์ผ่านหน่วยบริการที่ต้องการแพทย์ เป็นประเด็นที่มีผลกระทบมากในการกระจายแพทย์ไปชนบท แต่ยังต้องมีการศึกษาอย่างรอบด้านต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | กำลังคนด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | บุคลากรทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Medical Personnel | th_TH |
dc.subject | Health Manpower | th_TH |
dc.subject | Health Worker | th_TH |
dc.subject | Health Workforce | th_TH |
dc.subject | แพทย์ | th_TH |
dc.subject | Physicians | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Systems | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาทางเลือกเชิงนโยบายในการกระจายแพทย์ไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ขาดแคลนหรือห่างไกลในชนบท | th_TH |
dc.title.alternative | Distribution of Physician to Health Care Setting in Hardship or Remote Areas: A Study of Policy Option | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Over the past 5 decades the government initiated compulsory three years rural service and scaled up the production. Although the number of physicians is constantly increasing, there is a lack of policy to control their mobility. The distribution of physicians varies over area and time, increases, or decreases in their number are important issues for the healthcare system. This study aimed to examine associated factors and synthesized policy options to increase the supply of rural physicians. Mixed method descriptive research design was conducted. Data collection process comprised of STEEPV analysis from document review, expertises indepth interview, rural physician stock and flow analysis, survey of factors associated with rural retention among 121 last 5 years graduated physicians, applied DCE method to determine job preference among 400 last year medical students and introduced Modified Delphi method comprising panelist with 32 expertises to develop policy options. Findings showed that 1. ageing society, chronic diseases, urbanization, technology disruption are major driving forces to transform health care system in Thailand. 2. COVID-19 impacts are still to be determined. 3. primary care is a foundation of population health improvement, any where any time service is needed. 4. Tele-health, Digital health and rapid change of advance medical & information technologies can reduce the geographical imbalance in the health workforce and increase health care accessibility. 5. urban facilities, specialist residency training and low intensity of workload are preferable job characteristics among young generation of physicians. 6. rural background physicians retain in rural areas longer than others 7. Ten policy options with high impact to retain rural physician and high possibility to implement include 1) targeted admission 2) promote task shifting & sharing among health professionals with appropriate training and regulation 3) senior/expertise supervision system 4) Telemedicine/Tele-consultation strengthening 5) prosecution support 6) fair performance based payment 7) career advancement 8) good work-life balance and manageable workloads 9) cooperation among all sectors to share resource in local area 10) Decentralized HR management in the regional level to improve performance. This study suggested to improve important interventions of compulsory service, taking multiple factors of rural retention into distribution strategy. Increasing reasonably penalty rate, non-civil servant employment and demand side financing for medical students are policy measures that should be improved based on the evidence from further studies. | th_TH |
dc.identifier.callno | W76 ก278ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 64-034 | |
dc.subject.keyword | Healthcare Workers | th_TH |
dc.subject.keyword | การกระจายแพทย์ | th_TH |
dc.subject.keyword | การกระจายแพทย์ไปชนบท | th_TH |
dc.subject.keyword | Rural Physician Distribution | th_TH |
.custom.citation | กฤษดา แสวงดี, Krisada Sawaengdee, ภัททา เกิดเรือง, Phatta Kirdruang, พิมพ์เพชร สุขุมาลไพบูลย์, Pimpet Sukumalpaiboon, ชุติมา ศิริภานุมาศ, Chutima Siripanumas, ทิวาวรรณ ปิยกุลมาลา, Tiwawan Piyakulmala, ฑิณกร โนรี and Thinakorn Noree. "การศึกษาทางเลือกเชิงนโยบายในการกระจายแพทย์ไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ขาดแคลนหรือห่างไกลในชนบท." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5755">http://hdl.handle.net/11228/5755</a>. | |
.custom.total_download | 122 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 4 | |
.custom.downloaded_this_year | 38 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 5 | |