Show simple item record

System Development to Increase Accessibility of Assistive Devices with Telehealth (Phase 1)

dc.contributor.authorขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทยth_TH
dc.contributor.authorKwanpracha Chiangchaisakulthaith_TH
dc.contributor.authorอภิญชาพัชญ์ กองเกิดth_TH
dc.contributor.authorApinchapat Kongkerdth_TH
dc.contributor.authorวาริสา ทรัพย์ประดิษฐth_TH
dc.contributor.authorWarisa Suppradistth_TH
dc.date.accessioned2022-11-04T08:03:19Z
dc.date.available2022-11-04T08:03:19Z
dc.date.issued2565-07-15
dc.identifier.otherhs2901
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5758
dc.description.abstractการศึกษาสถานการณ์และพัฒนาระบบเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการรายบุคคลด้วยสาธารณสุขทางไกล (ระยะที่1) นี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยทำการสำรวจสถานการณ์การเข้าถึงอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการประเภทรถเข็นในประเทศไทยในปัจจุบัน ครอบคลุมทั้งระบบตั้งแต่การเข้าถึงบริการจนถึงการติดตามหลังได้รับอุปกรณ์ไปแล้ว ในประเด็นอุปทานของเครื่องช่วยความพิการรายบุคคล ระบบการให้บริการและการเข้าถึง ช่องว่างของระบบ ปัญหาอุปสรรคและโอกาสในการพัฒนา ตลอดจนความเป็นไปได้ในการนำระบบสาธารณสุขทางไกลมาใช้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นแบบจำลองระบบ เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการให้มากขึ้น จากการศึกษาพบว่า อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการประเภทรถเข็นสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่จะใช้ในการดำรงชีวิตได้จำเป็นจะต้องเป็นอุปกรณ์ประเภทที่สามารถปรับแต่งได้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและการดำรงชีวิตของคนพิการแต่ละราย แต่พบว่า อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการประเภทรถเข็น ที่สนับสนุนโดย กองทุนหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 กองทุน มีรายการรถนั่งคนพิการชนิดพับได้ทำด้วยโลหะแบบปรับไม่ได้ ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้กับคนพิการทางการเคลื่อนไหว ขณะเดียวกันมีอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการประเภทรถเข็นที่จะอำนวยความสะดวกกับคนพิการได้เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถเบิกจ่ายจากทั้ง 3 กองทุนได้ โดยในปัจจุบัน พบว่า รายการดังกล่าวสามารถเบิกจ่ายจากอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการประเภทรถเข็นมูลค่าสูงจากทางสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ อย่างไรก็ดีรายการเบิกจ่ายนี้ มีข้อจำกัดเนื่องจาก คนพิการต้องมารับอุปกรณ์จากสถาบันสิรินธรฯ หรือโรงพยาบาลเครือข่าย ซึ่งมีเฉพาะในพื้นที่การศึกษา 5 จังหวัดเท่านั้น อนึ่งการเบิกจ่ายอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการประเภทรถเข็นดังกล่าว จำเป็นต้องมีการวัดขนาด วัดองศา ปรับแต่งและฝึกทดลองใช้ เพื่อให้มั่นใจว่าคนพิการทางการเคลื่อนไหวได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการประเภทรถเข็นที่เหมาะกับคนพิการรายนั้นจริงๆ ทั้งนี้ต้องใช้ประสบการณ์และความรู้ในการให้บริการ ซึ่งการฝึกอบรมผู้ให้บริการและการให้บริการภายใต้ระบบสาธารณสุขทางไกลจะช่วยให้คนพิการทางการเคลื่อนไหวได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการประเภทรถเข็นที่เหมาะสมกับคนพิการแต่ละรายอย่างแท้จริงภายใต้ระบบซึ่งจะต้องพัฒนาต่อไปในการศึกษาระยะที่ 2th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectDisabled Personsth_TH
dc.subjectคนพิการth_TH
dc.subjectคนพิการ--การพัฒนาคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectความพิการth_TH
dc.subjectคนพิการทางการเคลื่อนไหวth_TH
dc.subjectคนพิการทางการเคลื่อนไหว--การดำเนินชีวิตth_TH
dc.subjectรถนั่งคนพิการth_TH
dc.subjectWheelchairsth_TH
dc.subjectTelehealthth_TH
dc.subjectTelemedicineth_TH
dc.subjectการแพทย์ทางไกลth_TH
dc.subjectการเข้าถึงบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleการศึกษาสถานการณ์และพัฒนาระบบเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการรายบุคคลด้วยสาธารณสุขทางไกล (ระยะที่ 1)th_TH
dc.title.alternativeSystem Development to Increase Accessibility of Assistive Devices with Telehealth (Phase 1)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe study of a situation analysis and system development to increase the accessibility of assistive devices with telehealth, Phase 1 was survey research. by surveying the situation of access to assistive devices in the type of wheelchairs in Thailand regarding the supply of wheelchairs, service and access systems, system gaps, obstacles, and development opportunities as well as the possibility of implementing telehealth systems. Then develop a model of a system to increase the accessibility of wheelchairs with telehealth. The study found a wheelchair for Persons with a physical disabilities to be able to be independent living, it needs to be a customizable type of device with the physical condition and lifestyle of each person with disabilities. However, it was found that the wheelchairs that can be disbursed from the three health security funds are non-adjustable metal folding wheelchairs. which is not suitable for people with physical disabilities. At the same time, a customizable wheelchair for people with disabilities can be disbursed from the list of high-value assistive devices from the Sirindhorn National Institute for Medical Rehabilitation only. causing limitations because Persons with disabilities must pick up the equipment at Sirindhorn Institute. Or even there will be a development of hospital networks in 5 provinces to be able to disburse this type of equipment. It still doesn't add much to the device's accessibility. Combined with the disbursement of such wheelchairs, body measurements, angular measurements, adjustments, and trials are required to ensure that people with mobility disabilities get the right equipment for their disability. which requires experience and knowledge of service. Therefore, training courses for providers and intensive consultations between Sirindhorn Institute and the hospitals that provide services by telehealth will help people with mobility disabilities get a truly suitable wheelchair that is for each person with disabilities under the system model which must be further implemented piloted in the second phase study.th_TH
dc.identifier.callnoHV1568 ข215ก 2565
dc.identifier.contactno65-032
.custom.citationขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, Kwanpracha Chiangchaisakulthai, อภิญชาพัชญ์ กองเกิด, Apinchapat Kongkerd, วาริสา ทรัพย์ประดิษฐ and Warisa Suppradist. "การศึกษาสถานการณ์และพัฒนาระบบเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการรายบุคคลด้วยสาธารณสุขทางไกล (ระยะที่ 1)." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5758">http://hdl.handle.net/11228/5758</a>.
.custom.total_download62
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs2901.pdf
Size: 6.030Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record