แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินผลระบบบริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย

dc.contributor.authorสุรศักดิ์ สุนทรth_TH
dc.contributor.authorSurasak Soonthornth_TH
dc.contributor.authorศรีสุดา งามขำth_TH
dc.contributor.authorSrisuda Ngamkhamth_TH
dc.contributor.authorกมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคงth_TH
dc.contributor.authorKamonthip Tanglakmankhongth_TH
dc.contributor.authorบุญเตือน วัฒนกุลth_TH
dc.contributor.authorBoontuan Wattanakulth_TH
dc.contributor.authorศุทธินี วัฒนกูลth_TH
dc.contributor.authorSuttini Wattanakulth_TH
dc.date.accessioned2022-11-22T09:03:14Z
dc.date.available2022-11-22T09:03:14Z
dc.date.issued2565-06
dc.identifier.otherhs2913
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5769
dc.description.abstractจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรการและนโยบายในด้านต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา เพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านสุขภาพ โดยหนึ่งในนโยบายที่มีความสำคัญ คือ นโยบายลดความแออัดในสถานพยาบาล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดเรื่องการส่งยาทางไปรษณีย์ถึงบ้านผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคและคุณภาพของการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ก่อนและขณะเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับแนวทางการส่งยาทางไปรษณีย์ให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน การวิจัยนี้ใช้วิธีการแบบผสมวิธี (Mixed Method) โดยใช้กรอบแนวคิด Six Building Blocks ขององค์การอนามัยโลกเพื่อประเมินผลระบบบริการการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ก่อนและขณะเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงพยาบาลของรัฐทั้ง 6 แห่งในประเทศไทย การเก็บข้อมูลดำเนินการระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สัมภาษณ์กลุ่มผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข สภาวิชาชีพ ผู้ปฏิบัติงานส่งยาทางไปรษณีย์ ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการส่งยาทางไปรษณีย์และกลุ่มผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหารายข้อจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ทุกข้อได้ค่า IOC ระหว่าง 0.60-1.00 ข้อคำถามที่ได้คะแนนต่ำกว่า 0.5 ได้ปรับตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิในส่วนของผู้รับบริการ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้านความพึงพอใจจากผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อวิธีการส่งยาทางไปรษณีย์ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.91 และเก็บข้อมูลสถิติต่างๆ จากผู้ปฏิบัติงานส่งยาทางไปรษณีย์ในโรงพยาบาล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติแจกแจงความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ก่อนเกิดการระบาดของสถานการณ์โควิด-19 มีโรงพยาบาล 4 แห่ง จาก 6 แห่ง ดำเนินการส่งยาทางไปรษณีย์เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล แต่ในขณะเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โรงพยาบาลทั้ง 6 แห่ง ดำเนินการส่งยาทางไปรษณีย์เป็นวิธีการหลักให้กับผู้ป่วยเบาหวานครอบคลุมทุกสิทธิ์การรักษาพยาบาลและจัดส่งยาให้ผู้ป่วยทั้งในและนอกเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาล การส่งยาทางไปรษณีย์ในแต่ละโรงพยาบาลจะมีการทำงานร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพร่วมกับการใช้ฐานข้อมูลผู้ป่วยและการใช้เทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ เช่น แอปพลิเคชันเพื่อนัดตรวจหรือวันรับยา หรือสอบถามปัญหาต่างๆ ด้านสุขภาพ การใช้ระบบเภสัชกรรมทางไกลและโทรเวชกรรมในการตรวจและอธิบายการใช้ยาแก่ผู้ป่วย โดยเฉลี่ยผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการคงที่ได้รับยาครั้งละ 2 ถึง 3 เดือน และกลับมาพบแพทย์ปีละ 1 ถึง 2 ครั้ง โดยจ่ายค่าบริการส่งยาทางไปรษณีย์ 50 ถึง 100 บาท ระยะเวลาส่งยาในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเฉลี่ย 1 ถึง 2 วัน นอกเขตพื้นที่ 2 ถึง 3 วัน ทำให้โรงพยาบาลสามารถลดความแออัดจากจำนวนผู้ป่วยในแผนกบริการผู้ป่วยนอกได้ร้อยละ 20 ถึง 30 ลดภาระงานของเภสัชกรและเจ้าหน้าที่ในช่วงเวลาเร่งด่วนได้ร้อยละ 10 ถึง 20 สำหรับผู้ป่วยสามารถลดระยะเวลาในการรอรับยาและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนความผิดพลาดจากการส่งยาทางไปรษณีย์มีเล็กน้อย เช่น การส่งไม่ถึงผู้รับหรือส่งผิดสถานที่ เมื่อยาถึงผู้ป่วยลักษณะทางกายภาพของยา พบว่า ยาอยู่ในสภาพดีครบตามจำนวนที่ส่ง ส่วนใหญ่ถูกบรรจุในแผงฟอยด์บรรจุภัณฑ์ไม่เสียหาย โดยภาพรวม พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีความพึงพอใจเฉลี่ยในระดับสูงในระดับที่มากกว่าร้อยละ 95 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ การส่งยาทางไปรษณีย์แม้จะเป็นวิธีการที่เพิ่มการเข้าถึงและความครอบคลุมบริการด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะในภาวะวิกฤต แต่ยังมีข้อจำกัดสำหรับเภสัชภัณฑ์รูปแบบอื่นนอกจากยาเม็ด ซึ่งอาจต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและวิธีการพิเศษในขณะจัดส่ง นอกจากนี้ผู้ป่วยไม่ควรแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการส่งยาทางไปรษณีย์ แต่ภาครัฐควรสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าวโดยให้แต่ละกองทุนตามสิทธิของผู้ป่วยเป็นผู้รับผิดชอบเบิกจ่ายเงินค่าส่งยาและประเด็นสุดท้าย คือ การกำหนดมาตรฐานของการส่งยาทางไปรษณีย์ให้ชัดเจนจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาวิชาชีพ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและบริษัทที่ดำเนินการขนส่งยาหรือการปรับใช้เครือข่ายด้านสุขภาพในชุมชน เช่น โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร้านยา หรือเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ช่วยจัดส่งยาตามบริบทที่เหมาะสมของแต่ละพื้นที่th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectเบาหวานth_TH
dc.subjectDiabetesth_TH
dc.subjectDiabetes Mellitusth_TH
dc.subjectผู้ป่วย--เบาหวานth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการประเมินผลth_TH
dc.subjectEvaluationth_TH
dc.subjectMeasurementth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินผลระบบบริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThe Evaluation of the Mailed-Order Medication System for Patients with Diabetes Mellitus During the COVID-19 Pandemic in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIn response to the COVID-19 pandemic crisis over the past two years, the Ministry of Public Health had implemented several measures and policies to lower the risk of contracting the coronavirus and enhance the safety of health services for both patients and health care workers. The alleviation of hospital’s overcrowding situations was one of the most significant policies being the impetus for the mailed-order medication system (MOMS), the system offering a continued access to medication services for patients at homes. This study aimed to examine the situations, strengths, weaknesses, opportunities, threats, and the quality of the MOMS among patients with diabetes mellitus before and during the COVID-19 pandemic, and to establish policy recommendations for the future MOMS. This research had employed the Mixed Method Approach and adapted the World Health Organization's Six Building Blocks as the research framework to evaluate the MOMS in diabetic patients before and during the COVID-19 pandemic situation in the six public hospitals throughout Thailand. Data were collected between January and December 2021, using semi-structured interviews with senior officials from the Ministry of Public Health, professional councils, hospitals’ staff, and mailing operators. Interviews and self-administered questionnaires about satisfaction towards the MOMS were applied to diabetic patients who received the mail-order medication service. Content validity was determined by 5 experts. The range of Index of Item-Objective Congruence was 0.60-1.00. The items that had scores lower than 0.5 were revised. Cronbach alpha of satisfaction questionnaire was 0.91. Qualitative data were analyzed using the Content Analysis Method and quantitative data were examined through frequency and percentage distribution. The study found that prior to the outbreak of the COVID-19 pandemic, four out of six hospitals had already distributed medications to minimize hospital overcrowding situations using the MOMS. Nonetheless, because of the COVID-19 pandemic, all six hospitals supplied all diabetic patients regardless their health insurance entitlements with the MOMS as their major mean to serve patients both within and beyond the hospital's catchment areas. Each hospital's MOMS was the integration of the multidisciplinary efforts involving the use of patient records and technologies to assist both patients and medical staff, such as scheduling a check-up or drug pickup date through an application or using the telepharmacy and the telemedicine systems to examine and explain drug use to patients, or to inquire about a variety of health issues interactively. On average, patients with stable diabetic symptoms were prescribed medication every two to three months and were asked to revisit their physicians once or twice a year. The mailed-order medication service fee was between 50 and 100 baht and the delivery took one to two days on average, and two to three days for remote areas. The MOMS was able to help the hospitals to reduce the number of outpatient department capacity by 20 to 30 percent, lowered the burden of pharmacists and related staff during rush hours, decreased patient waiting time for medications by 10 to 20 percent, and was able to save travel expenses for patients. For all six hospitals, the MOMS had just a small number of errors such as unsuccessful or misplaced deliveries. When patients received their parcels, mailed-order medication physically arrived in decent conditions, since the foil packaging was unbroken, and the quantities matched with their original prescriptions at hospitals. Overall, more than 95 percent of diabetic patients were satisfied with the MOMS. Policy recommendation is that although the MOMS helps improve patient’s access to and coverage of health services, particularly in times of crisis, there are additional restrictions on medications that are not pills. This may necessitate temperature control and special transport and delivery procedures. In addition, patients should not be responsible for the incurred cost of mailed-order medication; rather, the government should cover such charges by allowing each health insurance fund to be responsible for disbursing the cost of medication delivering fee according to the health insurance entitlements of patients. Also, the professional councils, the Ministry of Public Health, the National Health Security Office, and mailing operators must explicitly define the practical standard for the MOMS. Additionally, pre-existing healthcare networks in communities, such as community hospitals, sub-district health promoting hospitals, drugstores, and village health volunteer networks should be employed as alternatives to assist in the delivery of medicines according to community needs.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 ส854ก 2565
dc.identifier.contactno64-022
dc.subject.keywordการส่งยาทางไปรษณีย์th_TH
dc.subject.keywordบริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์th_TH
dc.subject.keywordMailed-Order Medicationth_TH
.custom.citationสุรศักดิ์ สุนทร, Surasak Soonthorn, ศรีสุดา งามขำ, Srisuda Ngamkham, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, Kamonthip Tanglakmankhong, บุญเตือน วัฒนกุล, Boontuan Wattanakul, ศุทธินี วัฒนกูล and Suttini Wattanakul. "การประเมินผลระบบบริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5769">http://hdl.handle.net/11228/5769</a>.
.custom.total_download325
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month10
.custom.downloaded_this_year124
.custom.downloaded_fiscal_year23

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2913.pdf
ขนาด: 2.273Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย