แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคงอยู่ในวิชาชีพของพยาบาล และการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมการคงอยู่ในวิชาชีพพยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

dc.contributor.authorบุญเรือง ขาวนวลth_TH
dc.contributor.authorBoonruang Khaonuanth_TH
dc.contributor.authorกุลวดี โรจน์ไพศาลกิจth_TH
dc.contributor.authorKunwadee Rojpaisarnkitth_TH
dc.contributor.authorวันเพ็ญ แก้วปานth_TH
dc.contributor.authorWonpen Kaewpanth_TH
dc.date.accessioned2022-11-23T06:30:12Z
dc.date.available2022-11-23T06:30:12Z
dc.date.issued2565-10
dc.identifier.otherhs2912
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5770
dc.description.abstractสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส 2019 ส่งผลให้บุคลากรสุขภาพต้องทำงานหนักและเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลต่อภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตในการทำงาน ซึ่งในระบบบริการสุขภาพกำลังคนวิชาชีพพยาบาลเป็นกำลังคนหลักและเป็นปัจจัยสำคัญต่อบริการสุขภาพแก่ประชาชน ในขณะที่การขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพเป็นปัญหาที่สะสมมานานอย่างต่อเนื่อง การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการคงอยู่ในวิชาชีพพยาบาลและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมการคงอยู่ในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม กับผู้บริหารในระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการ ผู้บริหารโรงพยาบาล หัวหน้าพยาบาลและพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ จำนวน 70 คน โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่ ได้แก่ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ภาคตะวันออก ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ภาคเหนือ เชียงราย พิษณุโลก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น และภาคใต้ สงขลา กระบี่ ใช้เวลาดำเนินการวิจัย จำนวน 6 เดือน เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ทดสอบความเชื่อมั่นของข้อมูลด้วยการทดสอบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลทำให้พยาบาลคงอยู่ในงานและวิชาชีพในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้แก่ ประสบการณ์การกักตัว การมีอำนาจบริหารจัดการเตียงสำหรับโรคโควิด-19 การมีอุปกรณ์ป้องกันที่เพียงพอ การได้รับการฝึกอบรมการป้องกันโรคติดเชื้อ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ความเสี่ยงของโรคโควิด-19 ต่ำ การสนับสนุนทางสังคม ความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจในงาน ระดับความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงานต่ำ ความสามารถในการปรับตัว การรับรู้ประโยชน์เชิงวิชาชีพ การเติบโตจากบาดแผลในใจ การไม่มีภาวะซึมเศร้า การปราศจากความวิตกกังวล ความถี่และช่วงเวลาการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสม จากการเก็บข้อมูล พบว่า การทำงานของพยาบาลในสถานการณ์โรคโควิด-19 แบ่งเป็น 3 พื้นที่ ได้แก่ ในชุมชน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนโรคระบาด (Outbreak investigation) การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่คนในชุมชน การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายใน และภายนอกชุมชน การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active case finding : ATF) การทำงานในหน่วยฉีดวัคซีน (การฉีดวัคซีน การสังเกตอาการภายหลังการฉีดวัคซีน การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินหลังการฉีดวัคซีน การส่งต่อผู้ป่วย การให้คำแนะนำในการปฏิบัติภายหลังการฉีดวัคซีน การเตรียมความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ ทั้งนี้ในบางพื้นที่พยาบาลจะทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการในภาพรวมของการฉีดวัคซีนและส่วนใหญ่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลสนาม ได้แก่ งานที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล ผู้ป่วย เช่น การบันทึกการพยาบาล การจ่ายยา การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ การดูแลด้านอาหารและโภชนาการ การติดต่อประสานกับหน่วยงานต่างๆ การรับและส่งต่อผู้ป่วย การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอื่นๆ และในหน่วยบริการสุขภาพ ได้แก่ การลงทะเบียนผู้ป่วย การสอบสวนโรคระบาด การทำงานในหน่วยฉีดวัคซีน จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในงานของพยาบาลในสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้แก่ ภาระด้านการเงิน เงินพิเศษจากการทำงานในสถานการณ์โรคโควิด-19 ความผูกพันในวิชาชีพ ความภาคภูมิใจในวิชาชีพและความภาคภูมิใจในตนเอง ความผูกผันองค์กร เพื่อนร่วมงานและการทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมของทีมในการทำงาน และระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เช่น การจ่ายค่าตอบแทนตรงเวลา การจัดภาระงานที่เหมาะสม การสนับสนุนและเสริมพลังการทำงานจากผู้บริหาร ผู้บริหารมีนโยบายที่ชัดเจนในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 เป็นโอกาสในการเรียนรู้ เกิดเครือข่ายการทำงานข้ามวิชาชีพ การทำงานเชิงบูรณาการระหว่างวิชาชีพและเห็นประโยชน์จากการเป็นบุคลากรสาธารณสุข เช่น การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรค การได้รับสิทธิบางประการ เช่น การอยู่ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนก่อน ส่วนปัจจัยที่อาจทำให้พยาบาลตัดสินใจออกจากงานในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 คือ สถานการณ์จ้างงาน เช่น การเป็นข้าราชการ การเป็นลูกจ้างและค่าตอบแทนจากการทำงานที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ข้อเสนอเชิงนโยบาย จากการศึกษาการคงอยู่ในวิชาชีพของพยาบาล ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุขควรมีระบบการบริหารจัดการกำลังคน ทั้งในสถานการณ์ปกติ โดยปรับการบริหารจัดการโครงสร้างอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ เช่น เขตเมือง เขตกึ่งเมือง เขตชนบท ส่วนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือในสถานการณ์ฉุกเฉิน ควรมีการเตรียมความพร้อมของพยาบาล ทั้งในด้านสมรรถนะเชิงวิชาชีพและด้านวิชาการ ทักษะปฏิบัติและควรมีแผนการจัดการกำลังคนวิชาชีพพยาบาลในสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่วนระยะการระบาดของโรค ควรวางแผนและประสานงานจัดการกำลังคนและการทำหน้าที่แทน (Skill-mixed) และควรมีการหมุนเวียนกำลังคน (Rotation) และระยะภายหลังการระบาดของโรค ควรเสริมพลังการทำงานและสร้างความสุขในการทำงาน ส่วนการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน กระทรวงสาธารณสุขควรมีการทบทวนเกี่ยวกับความก้าวหน้าในอาชีพและทบทวนเกี่ยวกับค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับระบบงานและสถานการณ์ปัจจุบัน และควรส่งเสริมและทบทวนเกี่ยวกับการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของพยาบาล ควรปรับให้มีประเภทความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้น ส่วนการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ กระทรวงสาธารณสุขและสภาการพยาบาล ควรเสริมระบบการศึกษาต่อเนื่องของวิชาชีพพยาบาล เช่น พยาบาลเฉพาะทางด้านวิกฤติฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุขควรมีระบบการจ้างและการจัดการกำลังคนวิชาชีพพยาบาลในสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้แก่ ระบบการจ้างงานพยาบาลเกษียณและระบบการบริหารจัดการแบบร่วมจ่าย (Co-payment) ระหว่างหน่วยบริการสุขภาพในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและควรพิจารณาจำนวนพยาบาลป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล (Infection control) ควรเพิ่มพยาบาลป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ส่วนข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ได้แก่ การวิเคราะห์ภาระงาน และการทำหน้าที่แทนพยาบาลวิชาชีพในการจัดการโรคติดต่อร้ายแรง หรือภาวะฉุกเฉิน การวิเคราะห์รูปแบบการจ้างงานพยาบาลเกษียณในการจัดการโรคติดต่อร้ายแรงหรือภาวะฉุกเฉิน และศึกษารูปแบบการจ่ายร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้อนถิ่นในการบริหารจัดการกำลังคนวิชาชีพพยาบาลth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectพยาบาลth_TH
dc.subjectNursesth_TH
dc.subjectพยาบาลวิชาชีพth_TH
dc.subjectProfessional Nursesth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical Personnelth_TH
dc.subjectHealth Manpowerth_TH
dc.subjectHealth Workerth_TH
dc.subjectHealth Workforceth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคงอยู่ในวิชาชีพของพยาบาล และการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมการคงอยู่ในวิชาชีพพยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19th_TH
dc.title.alternativeFactors Related to Persistence in Nursing Profession and Policy Recommendations for Promoting Career Continuity Among Professional Nurses in the Situation of COVID-19th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe coronavirus 2019 epidemic has forced health workers to work harder and risk more health hazards. including having to experience stress and pressure from working in various fields which affects health condition and quality of work life. The health service system, the nursing professional is the main manpower and an important factor in providing health services to the people. While the shortage of registered nurses is an ongoing problem. this study. The objective of this research aimed to study the factors of persistence in the nursing profession. and develop policy proposals to promote professional persistence of registered nurses in Thailand. Collected data both qualitative research using in-depth interviews Semi-structured interview and group chat with executives at the policy level operational level hospital administrators 70 head nurses and professional nurses working in primary, secondary and tertiary health care units, collecting data in the central region, Bangkok, Nonthaburi, the eastern region, Chachoengsao, Chanthaburi, the north, Chiang Rai, Phitsanulok, the northeastern region, Khon Kaen, and the region. South, Songkhla, Krabi. The research was conducted for 6 months from September 2021 to May 2022. The reliability of the data was tested with a triangular test. Analyze data with content analysis As the results, from the literature review and research, it was found that the factors affecting nurses' persistence in their jobs and professions during the COVID-19 epidemic were experiences of quarantine. Bed management authority for COVID-19 having adequate protective equipment receiving infectious disease prevention training self awareness Low perceived risk of COVID-19, social support corporate commitment job satisfaction Low stress levels and burnout ability to adapt Recognizing professional benefits Growing up from the wounds of the heart lack of depression worry-free and the frequency and duration of appropriate patient care. From the data collection, it was found that the work of nurses in the situation of COVID-19 can be divided into 3 areas, namely, in the community, which performs an outbreak investigation, creating health knowledge for people in the community. Liaison with internal departments and outside the community Active case finding (ATF) work in the vaccination unit (vaccination Observing symptoms after vaccination First aid to patients with post-vaccination emergencies referral Advice on action after vaccination preparation of materials In some areas, nurses will act as administrators in the overall picture of vaccination. and mostly perform duties In field hospitals, these include tasks related to nursing care, such as nursing records, medication dispensing, health counseling. food and nutrition care; liaising with various departments; receiving and referring patients. Other immediate and in-service solutions include patient registration. epidemic investigation working in the vaccination unit. The study, it was found that the factors affecting the persistence of nurses in the situation of COVID-19 were financial burden. Extra money from working in the covid situation professional ties professional pride and self-esteem organizational ties colleague and teamwork participation of the team in the work and efficient management systems such as on-time compensation appropriate workload Support and empowerment from executives Executives have clear policies in management. The COVID situation is a learning opportunity. Create a network of work across professions. Integrated work between professions and see the benefits of being a public health worker, such as accessing information about disease obtaining certain rights, such as being in a pre-vaccinated group As for the factors that may cause nurses to decide to quit their jobs during the covid situation, is the employment situation such as being a civil servant. Employment and compensation for work inconsistent with the current situation Policy proposal. From studying the persistence in the profession of nurses, for example, the Ministry of Public Health should have a manpower management system. both in normal situations by adjusting the management of the professional nurse workforce structure to be in line with the context of areas such as urban areas, semi-urban areas, rural areas; or in emergency situations There should be preparation of nurses. Both in terms of professional and academic competence, practical skills, and should have a professional nursing workforce management plan in emergency situations. The period of the epidemic should plan and coordinate manpower management and acting (Skill-mixed) and there should be a rotation of manpower (Rotation) and the post-epidemic phase. Should enhance work power and create happiness at work. The creation of motivation in working Ministry of Health Career advancement and compensation should be reviewed in accordance with the work system. and current situation and should be encouraged and reviewed about entering higher positions of nurses should be adjusted to have more specialized types of expertise in other areas; Ministry of Health and Nursing Council Continuing education systems of nursing professions should be supplemented, for example nurses specializing in emergency crises. and the Ministry of Health There should be a hiring system and the management of professional nursing personnel in emergency situations, such as the retirement nurse employment system. and a co-payment management system between health service units under the Ministry of Public Health. with local government organizations and should consider the number of infection prevention nurses in the hospital.th_TH
dc.identifier.callnoW76 บ548ป 2565
dc.identifier.contactno64-197
dc.subject.keywordกำลังคนด้านสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordHealthcare Workersth_TH
.custom.citationบุญเรือง ขาวนวล, Boonruang Khaonuan, กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ, Kunwadee Rojpaisarnkit, วันเพ็ญ แก้วปาน and Wonpen Kaewpan. "ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคงอยู่ในวิชาชีพของพยาบาล และการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมการคงอยู่ในวิชาชีพพยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5770">http://hdl.handle.net/11228/5770</a>.
.custom.total_download322
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year36
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2912.pdf
ขนาด: 1.646Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย