แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาแบคทีเรียและโปรตีโอมน้ำลายที่จำเพาะกับโรคปริทันต์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกันหายาก (ปี 2564)

dc.contributor.authorฑัณฑริรา พรทวีทัศน์th_TH
dc.contributor.authorThantrira Porntaveetusth_TH
dc.contributor.authorนรินทร์ อินทรักษ์th_TH
dc.contributor.authorNarin Intarakth_TH
dc.contributor.authorธนากร ธีรภานนท์th_TH
dc.contributor.authorThanakorn Theerapanonth_TH
dc.contributor.authorเสริมพร ทวีทรัพย์พิทักษ์th_TH
dc.contributor.authorSermporn Thaweesapphithakth_TH
dc.contributor.authorทิตยา ไชยบุญญารักษ์th_TH
dc.contributor.authorThitaya Chaiboonyarakth_TH
dc.date.accessioned2022-11-23T06:39:24Z
dc.date.available2022-11-23T06:39:24Z
dc.date.issued2565-11
dc.identifier.otherhs2914
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5771
dc.description.abstractโรคปริทันต์เป็นปัญหาที่พบบ่อยในประชากรทั่วไปโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นโรคที่เรื้อรังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เนื่องจากความรู้ความเข้าใจในลักษณะทางช่องปากของผู้ป่วยโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกันมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้จึงมุ่งเป้าทำการศึกษาครอบคลุมถึงลักษณะการกลายพันธุ์ ลักษณะการแสดงออก ไมโครไบโอมของคราบจุลินทรีย์ช่องปากและโปรตีโอมน้ำลายของผู้ป่วยโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกันและผู้ป่วยโรคปริทันต์ โดยใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ลำดับเบสสมัยใหม่ เมตาจีโนมและแมสสเปกโตเมทรีร่วมกับไบโออินฟอร์เมติกส์ โครงการวิจัยคัดเลือกผู้ป่วย จำนวน 75 ราย ได้แก่ ผู้ป่วยโรคพันธุกรรม จำนวน 15 ราย ผู้ป่วยโรคปริทันต์ จำวน 15 ราย และผู้ที่มีสุขภาพดี จำนวน 45 ราย ทำการเก็บตัวอย่าง ดีเอ็นเอคราบจุลินทรีย์ จำนวน 75 ตัวอย่าง น้ำลาย จำนวน 75 ตัวอย่าง ข้อมูลรหัสพันธุกรรมเมตาจีโนม จำนวน 75 ข้อมูล และข้อมูลโปรตีโอม จำนวน 75 ข้อมูล ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกันมีสุขภาวะอนามัยช่องปากที่ไม่ดีและมีภาวะเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ พบการกลายพันธุ์ในยีน BTK, CD40LG, FERMT3, STAT3, ELANE, TTC37 และ NCF1 และการขาดหายไปบนโครโมโซม 22q11.2 ให้การวินิจฉัยโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกัน อาทิ X-linked agammaglobulinemia, hyper-IgM syndrome, leukocyte adhesion deficiency และ congenital neutropenia จากการวิเคราะห์เมตาจีโนมแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันมีการแปรผันของสัดส่วนจุลชีพในช่องปาก การเปลี่ยนแปลงดัชนีความหลากหลายแอลฟาและการเปลี่ยนแปลงดัชนีความหลากหลายบีตา พบแบคทีเรียบางชนิดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกัน ได้แก่ Treponema_denticola, Streptococcus_gordonii, Streptococcus_oralis, Actinomyces_sp_oral_taxon_180 และ Veillonella_parvula ซึ่งเป็นเชื้อที่มีศักยภาพก่อโรคช่องปากและพบในผู้ป่วยโรคปริทันต์ และพบว่า โปรตีนในน้ำลายที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ระบบภูมิคุ้มกันและกระบวนการไกลโคไลซิส เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกันและผู้ป่วยโรคปริทันต์ โดยสรุปโครงการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงการกลายพันธุ์ของสารพันธุกรรมที่ทำให้เกิดโรค การเสียสมดุลของไมโครไบโอมช่องปากและการแปรผันของโปรตีนในน้ำลายในผู้ป่วยโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกันและผู้ป่วยโรคปริทันต์ ขยายความเข้าใจลักษณะจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกัน นำไปสู่การระบุตัวบ่งชี้ทางชีววิทยาของภาวะปริทันต์อักเสบและภูมิคุ้มกันบกพร่อง นอกจากนี้ทีมวิจัยยังให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์และการดูแลสุขภาพช่องปากส่วนบุคคลแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ บ่มเพาะนักวิจัยและนักศึกษา สร้างเครือข่ายและเผยแพร่ความรู้ในงานประชุมระดับนานาชาติและในหน่วยงานต่างๆ แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์และผลผลิตทั้งในด้านวิชาการ วิจัย ชุมชน/สังคม และสาธารณสุข ที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ของงานวิจัยในระดับนโยบายต่อไปในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคปริทันต์th_TH
dc.subjectPeriodontal Diseasesth_TH
dc.subjectยีนth_TH
dc.subjectGeneth_TH
dc.subjectพันธุกรรมth_TH
dc.subjectGeneticsth_TH
dc.subjectพันธุศาสตร์มนุษย์th_TH
dc.subjectHuman Geneticsth_TH
dc.subjectGenetic Disordersth_TH
dc.subjectRare Diseasesth_TH
dc.subjectMolecular Medicineth_TH
dc.subjectMolecular Geneticsth_TH
dc.subjectอณูพันธุศาสตร์th_TH
dc.subjectMoleculesth_TH
dc.subjectโมเลกุลth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectสุขภาพช่องปากth_TH
dc.subjectOral Healthth_TH
dc.subjectอนามัยช่องปากth_TH
dc.titleการศึกษาแบคทีเรียและโปรตีโอมน้ำลายที่จำเพาะกับโรคปริทันต์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกันหายาก (ปี 2564)th_TH
dc.title.alternativeCharacterization of Bacteria and Saliva Proteome Specific to Periodontal Disease in Patients with Rare Genetic Immune Diseases (2021)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativePeriodontal infections are common problem in general populations, particularly in patients with inborn errors of immunity (IEI). The disease is chronic and deliberating, resulting in reduced quality of life. Due to limited understanding of oral characteristics of the IEI patients, the aims of this project were to investigate genetic variants, phenotypes, plaque microbiome, and salivary proteome of IEI and periodontitis patients using exome/genome sequencing, metagenomic sequencing, mass spectrometry, and bioinformatics. Seventy participants: 15 IEI, 15 periodontitis, and 45 healthy were recruited. Seventy-five plaque DNA, 75 salivary samples, 75 metagenome data, and 75 proteomics data were obtained. This project showed that the IEI patients had poor oral hygiene and gingival inflammation. Genetic variants in BTK, CD40LG, FERMT3, STAT3, ELANE, TTC37, and NCF1, and chromosome 22q11.2 deletion were identified. The diseases diagnosed such as X-linked agammaglobulinemia, hyper-IgM syndrome, leukocyte adhesion deficiency, and congenital neutropenia. Metagenomics revealed that IEI patients had alterations in oral microbe composition, alpha-diversity, and beta-diversity. Bacterial species that were significantly increased in IEI: T. denticola, S. gordonii, S. oralis, Actinomyces, and V. parvula were pathogenic species also observed in periodontitis patients. Moreover, salivary proteins, particularly those related to bacterial defense, host immunity, and glycolysis, were significantly changed in IEI and periodontitis patients. In summary, this project demonstrates IEI-causing variants, microbiome dysbiosis, and disturbed salivary proteome in IEI and periodontitis patients. The study expands understanding of genotype and phenotype of IEI, leading to identification of biomarkers of periodontal diseases and impaired immunity. We provide genetic counselling and personalized oral care to the patients and families, publish international papers, groom researchers and students, build network, and distribute knowledge in international conferences and organizations. The project produces outputs/outcomes in academics, research, community, and health care that will lead to utilization of research in policy-making in the future.th_TH
dc.identifier.callnoWU242 ฑ112ก 2565
dc.identifier.contactno64-124
dc.subject.keywordโรคหายากth_TH
dc.subject.keywordโรคทางพันธุกรรมth_TH
dc.subject.keywordโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกันth_TH
dc.subject.keywordภูมิต้านทานth_TH
.custom.citationฑัณฑริรา พรทวีทัศน์, Thantrira Porntaveetus, นรินทร์ อินทรักษ์, Narin Intarak, ธนากร ธีรภานนท์, Thanakorn Theerapanon, เสริมพร ทวีทรัพย์พิทักษ์, Sermporn Thaweesapphithak, ทิตยา ไชยบุญญารักษ์ and Thitaya Chaiboonyarak. "การศึกษาแบคทีเรียและโปรตีโอมน้ำลายที่จำเพาะกับโรคปริทันต์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคพันธุกรรมภูมิคุ้มกันหายาก (ปี 2564)." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5771">http://hdl.handle.net/11228/5771</a>.
.custom.total_download24
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2914.pdf
ขนาด: 6.986Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย