แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนารูปแบบการบริบาลและการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุระดับปฐมภูมิในสังคมปกติวิถีใหม่: ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูประบบสาธารณสุข

dc.contributor.authorศิริอร สินธุth_TH
dc.contributor.authorSiriorn Sindhuth_TH
dc.contributor.authorรวมพร คงกำเนิดth_TH
dc.contributor.authorRoumporn Konggumnerdth_TH
dc.contributor.authorนัยนา หนูนิลth_TH
dc.contributor.authorNaiyana Nooninth_TH
dc.contributor.authorกฤตพัทธ์ ฝึกฝนth_TH
dc.contributor.authorKrittapat Fukfonth_TH
dc.contributor.authorนิชดา สารถวัลย์แพศย์th_TH
dc.contributor.authorNichada Santwanpasth_TH
dc.contributor.authorปทุมทิพย์ อดุลวัฒนศิริth_TH
dc.contributor.authorPatoomthip Adunwatanasirith_TH
dc.contributor.authorกุลระวี วิวัฒนชีวินth_TH
dc.contributor.authorKulrawee Wiwattanacheewinth_TH
dc.contributor.authorสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจth_TH
dc.contributor.authorSuwat Wiriyapongsukitth_TH
dc.contributor.authorสกานต์ บุนนาคth_TH
dc.contributor.authorSakarn Bunnagth_TH
dc.contributor.authorสันติ ลาภเบญจกุลth_TH
dc.contributor.authorSanti Lapbenjakulth_TH
dc.date.accessioned2022-12-15T08:40:38Z
dc.date.available2022-12-15T08:40:38Z
dc.date.issued2565-10
dc.identifier.otherhs2917
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5779
dc.description.abstractการพัฒนารูปแบบการบริบาลและการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุระดับปฐมภูมิในสังคมปกติวิถีใหม่ ถือเป็นความท้าทายของประเทศเพื่อเตรียมรองรับสังคมสูงอายุสุดขีด (Hyper-aged society) ในอีก 9 ปีข้างหน้า การออกแบบนวัตกรรมการบริบาลและการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุให้เข้าถึงบริการสุขภาพ โดยลดข้อจำกัดด้านทรัพยากรของประเทศและความเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์โรคอุบัติใหม่จะช่วยทำให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหา ความต้องการของผู้สูงอายุระดับปฐมภูมิ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุระดับปฐมภูมิ 2) พัฒนารูปแบบและนวัตกรรมการบริบาล เพื่อการบริบาลและการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุระดับปฐมภูมิในสังคมปกติวิถีใหม่ 3) ประเมินผลลัพธ์การนำนวัตกรรมการบริบาล เพื่อการบริบาลและการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุระดับปฐมภูมิในสังคมปกติวิถีใหม่ไปทดลองใช้ โดยใช้การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปฏิรูปด้านสาธารณสุขเพื่อการบริบาลและการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุระดับปฐมภูมิในสังคมปกติวิถีใหม่ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยสุ่มเลือกจาก 4 เขตสุขภาพ เขตสุขภาพละ 1-2 จังหวัด เพื่อให้ได้ความแตกต่างของบริบทและวัฒนธรรมการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 800 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว (Family care giver) พยาบาลผู้จัดการการดูแล (Care manager) อาสาบริบาล (Caregiver) กลุ่มผู้ให้บริการสุขภาพ ได้แก่ แพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย กลุ่มผู้กำหนดนโยบายหรือผู้สนับสนุนบริการสุขภาพ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเพื่อนำข้อมูลมาออกแบบนวัตกรรมการบริบาลและการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ และประเมินผลลัพธ์การนำนวัตกรรมการบริบาลฯ ไปทดลองใช้ในพื้นที่นำร่อง จำนวน 16 พื้นที่ ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 78.54 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา กายอุปกรณ์ที่ต้องใช้มากที่สุด คือ ไม้เท้า รองลงมา คือ รถเข็นและแว่นสายตา ตามลำดับ เกินกว่าครึ่งหนึ่งมีโรคเรื้อรัง 1-2 โรค พบโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจมากที่สุด ปัญหาสุขภาพที่พบมากที่สุด คือ เคลื่อนไหวลำบาก กลั้นปัสสาวะไม่ได้ การมองเห็น ตามลำดับ ได้รับการดูแลช่วยเหลือโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นหลัก เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงเท่ากับ 22.90 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กลุ่มติดบ้านเท่ากับ 23.31 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กลุ่มติดสังคมเท่ากับ 19.18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กิจกรรมที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวต้องให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุมากที่สุดคือ การเตรียมอาหาร รองลงมา ได้แก่ ป้อนอาหาร ซื้ออาหารหรือทำอาหารปั่น การทำความสะอาดหลังการขับถ่ายจากการกลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ ลักษณะการจัดบริการสุขภาพและกระบวนการดูแลผู้สูงอายุ พบว่า พยาบาลเป็นผู้นำหลักในการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยมบ้านโดยอาสาบริบาล ร้อยละ 58.94 เฉลี่ยเดือนละ 1-2 ครั้ง ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ พบว่า อาสาบริบาลเยี่ยมบ้านไม่แตกต่างกับการดูแลจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือ มาเยี่ยมเยือน พูดคุย ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวต้องการมีความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุพึ่งพิงที่ถูกต้อง พยาบาลผู้จัดการการดูแลมีภารกิจล้นมือ ต้องการแผนการดูแลผู้สูงอายุที่มีการบูรณาการครอบคลุมทุกมิติของภาวะพึ่งพิงและโรคเรื้อรัง ไม่เพิ่มภาระงานประจำ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องการเครื่องมือการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ได้แก่ ภาวะเปราะบาง ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัว และการได้รับการช่วยเหลือด้านสิ่งแวดล้อม สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 54.7 (R2=.547, p<.001) การพัฒนานวัตกรรมการบริบาลเพื่อการบริบาลและการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะพึ่งพิง 13 เรื่อง 2) การนำแนวปฏิบัติฯ 13 เรื่อง จัดทำเป็น Network Community Action Plan (N-CAP) เพื่อใช้ในระบบสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและการดูแลผู้สูงอายุด้วยการใช้แอปพลิเคชันอาวุโส “Awuso.net” ระหว่างกลุ่มบุคลากรทางสุขภาพ (professional) กับผู้สูงอายุ ครอบครัวและอาสาบริบาล (non-professional) 3) วิดีโอชุดความรู้การดูแลผู้สูงอายุ 18 เรื่อง ผลการนำนวัตกรรมการบริบาลฯ ไปทดลองใช้ในพื้นที่นำร่องประมาณ 12 เดือน ผู้สูงอายุ จำนวน 521 คน N-CAP ที่มีการใช้มากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง การจัดการสิ่งแวดล้อม ความดันโลหิตสูง ข้อเข่าเสื่อมและเบาหวานในชุมชน ผลลัพธ์การใช้ N-CAP พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=11.234 p<0.001) (ก่อนใช้เท่ากับ 42.25±8.89 คะแนน หลังใช้เท่ากับ 46.01±8.62 คะแนน) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=7.398 p<0.001) (ก่อนใช้เท่ากับ 8.92±5.44 คะแนน หลังใช้เท่ากับ 10.54±5.75 คะแนน) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=12.016 p<0.001) (ก่อนใช้เท่ากับ 10.19±4.99 คะแนน หลังใช้เท่ากับ 12.39±4.08 คะแนน) ค่าเฉลี่ยคะแนนความเปราะบางลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=8.954 p<0.001) (ก่อนใช้เท่ากับ 7.47±3.27 คะแนน หลังใช้เท่ากับ 6.17±3.16 คะแนน) ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจระดับมาก (Mean±SD=4.03±0.88) ปัจจัยที่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้นภายหลังการใช้นวัตกรรม Awuso.net ได้แก่ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น (ß=0.44, p<.000) จำนวนครั้งในการใช้ N-CAP (ß=-0.324, p<.000) จำนวนครั้งของการมอบหมายงานของพยาบาลผู้จัดการการดูแลต่อสัปดาห์ (ß=0.192, p<.000) เวลาในการเยี่ยมของอาสาบริบาลต่อสัปดาห์ (นาที) (ß=0.162, p<.000) การเปลี่ยนแปลงคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ß=0.162, p<.000) การเปลี่ยนแปลงคะแนนความเปราะบาง (ß=-0.162, p<.000) และการเปลี่ยนแปลงคะแนนความรอบรู้ (ß=0.162, p<.000) ตามลำดับ สามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในชุมชนได้ร้อยละ 54.4 (R2=.544, p<.000) ดังนั้น ควรขยายพื้นที่การใช้งาน Awuso.net ให้กว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยและเกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ชัดเจน ลดระยะเวลาการทำงานของพยาบาลผู้จัดการการดูแลและอาสาบริบาล ผู้สูงอายุไม่ต้องมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น เกิดคุณภาพการดูแลที่ดี และความคุ้มค่าและคุณภาพบริการสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectElderlyth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การดูแลth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--การพยาบาลth_TH
dc.subjectQuality of Lifeth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectCommunityth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectการสาธารณสุขมูลฐานth_TH
dc.subjectPrimary Health Careth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการบริบาลและการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุระดับปฐมภูมิในสังคมปกติวิถีใหม่: ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูประบบสาธารณสุขth_TH
dc.title.alternativeA Development of Primary Healthcare Model for the Elderly in New Normal Society: A Proposed Policy for Healthcare Reformth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe Development of primary healthcare model for the elderly in new normal society is a challenge for the country to prepare for the hyper-aged society in the next 9 years. Innovative design of healthcare and nursing care to access health services by reducing the country's resource constraints and changing the emerging disease situation will help provide the elderly in the communities with well-being of health status and quality of life. This research aims to: 1) Study the situation of the problem, the needs of the elderly, the factors influencing the health status and quality of life among the elderly living in community; 2) Develop models of care and innovations for primary and geriatric care in the new normal society; 3) Evaluate the outcome of adopting innovative primary and gerontological care in community for the new normal society, using research and development to synthesize policy proposals for public health reform for primary care and elderly care in the new normal society. Quantitative and qualitative data were collected through random sampling from four health districts. 1-2 provinces per health districts and 16 setting to achieve differences in context and culture of elderly care. The samples were 800 elderly people, family caregivers, care managers and volunteer caregivers. Health care providers included doctors, public health officers, and health care workers, physical therapists, Thai traditional medicine practitioners, policymakers or health service advocates such as: the Provincial Public Health Office, Provincial Administrative Organizations, Tambon Administrative Organizations, the Provincial Office of Social Development and Human Security. Data were collected using six sets of questionnaires for the elderly. four sets of questionnaires for family caregivers of the elderly, three sets for care manager, three sets for volunteer caregivers, one set for public health officers and in-depth interviews. Focus group discussions were conducted to use data to design care innovations and geriatric healthcare treatments with evaluation of the outcomes of implementing the care innovations in four pilot areas in 16 health districts. The study found the majority of the elderly to be females, with a mean age of 78.54 years, primary educations, requirement for mobility aids such as walking canes for the most party, followed by wheelchairs and eyeglasses, respectively. More than half had 1-2 chronic diseases, the most frequent being cardiovascular diseases. The most common health problems were difficulty moving and urinary incontinence and the elderly were primarily assisted by family caregivers. The mean time spent in assistance and care for bedridden elderly was 22.90 hours per week. The homebound group received care for 23.31 hours per week and the social group received care for 19.18 hours per week. The activities with which the family caregivers of the elderly needed assistance as to provide the most support to the elderly by preparing food, followed by feeding, buying food or making smoothies, cleaning up after excretion from urinary and fecal incontinence. The nature of health services and the process of caring for the elderly found care managers to be the main leaders in home visits to the elderly at a mean of once a month. The elderly was visited at home by volunteer caregivers (mean=58.94%) at a mean of 1-2 times a month. According to the findings on the problems and needs of the elderly, the home visits conducted by the volunteer caregivers were no different from the public health volunteer caregivers of the elderly, usual care visiting, talking, encouraging and giving advice. The family caregivers of the elderly wanted to have knowledge and skills to properly care for the elderly. The care managers were overwhelmed with their workloads. Thus, an integrated care plan for the elderly covering all dimensions of chronic dependency and chronic disease is needed without increasing the workload of routine tasks. Furthermore, local administrative organizations need an environmental assessment tool that can quickly coordinate assistance for the elderly. The factors influencing the quality of life of the elderly include frailty, health literacy of elderly, health literacy of family caregivers, and environmental management, which can be predicted quality of life at 54.7%. (R2 = .547, p < .001). The development of innovative care models for gerontological nursing and medical care consist of the following: 1) Guidelines in caring for the elderly with chronic diseases and dependencies on 13 guidelines; 2) Implementation of the 13 guidelines; establishment of a Network Community Action Plan (N-CAP) for use in information systems for communication and care of the elderly through the use of "Awuso.net" for the elderly among healthcare professionals and elderly people, families and non-professional volunteers; 3) Elderly Care Knowledge Video Series with 18 videos; the results of the 12-month trial of care innovation in the pilot area with 521 elderly people, N-CAP's top five most frequently used issues were caring for the elderly with dependency, environmental management, hypertension, osteoarthritis, and diabetes mellitus in the community. The results of using N-CAP showed a statistically significant increase in the mean quality of life scores among the elderly (t=11.234 p<0.001). (pretest=42.25±8.89 points, posttest=46.01±8.62 points). Mean score for the performance of the activities of daily living increased with statistical significance (t=7.398 p<0.001) (pretest=8.92±5.44 points, posttest=10.54±5.75 points). Mean health literacy score increased with statistical significance (t=12.016 p<0.001) (pretest=10.19±4.99 points; posttest=12.39±4.08 points). Mean frailty score decreased with statistical significance (t=8.954 p<0.001) (pretest=7.47±3.27 points, posttest=6.17±3.16 points). The users were very satisfied. (Mean±SD=4.03±0.88) The factors influencing the quality of life that increased after implementing the Awuso.net innovation included improved environmental management (ß=0.44, p<.000), number of times N-CAP was used (ß=-0.324, p<.000), number of assignments given by a care manager nurse per week (ß=0.192, p<.000), number of home visits by volunteer caregivers per week (minutes) (ß=0.162, p<.000), changes in ADL performance scores (ß=0.162, p<.000), changes in vulnerability scores (ß=-0.162, p<.000) and changes in health literacy scores. (ß=0.162, p<.000), respectively. Together, the above factors were able to co-predict the ADL performance of the elderly in the community at 54.4% (R2=.544, p<.000). Therefore, use of the Awuso.net should be expanded to other areas to be more extensive and comprehensive to ensure that the elderly have access to standardized medical care. The innovation is safe and produces clear health outcomes, reduces the working hours of nurses, care managers and volunteer caregivers. Thus, the elderly does not have to come to the hospital unnecessarily, thereby resulting in good quality of care and cost-effectiveness with quality of elderly health services in communities.th_TH
dc.identifier.callnoWT31 ศ499ก 2565
dc.identifier.contactno64-072
dc.subject.keywordNew Normalth_TH
dc.subject.keywordความปรกติใหม่th_TH
dc.subject.keywordฐานวิถีชีวิตใหม่th_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordRegional Health Areath_TH
dc.subject.keywordNetwork Community Action Planth_TH
dc.subject.keywordN-CAPth_TH
.custom.citationศิริอร สินธุ, Siriorn Sindhu, รวมพร คงกำเนิด, Roumporn Konggumnerd, นัยนา หนูนิล, Naiyana Noonin, กฤตพัทธ์ ฝึกฝน, Krittapat Fukfon, นิชดา สารถวัลย์แพศย์, Nichada Santwanpas, ปทุมทิพย์ อดุลวัฒนศิริ, Patoomthip Adunwatanasiri, กุลระวี วิวัฒนชีวิน, Kulrawee Wiwattanacheewin, สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ, Suwat Wiriyapongsukit, สกานต์ บุนนาค, Sakarn Bunnag, สันติ ลาภเบญจกุล and Santi Lapbenjakul. "การพัฒนารูปแบบการบริบาลและการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุระดับปฐมภูมิในสังคมปกติวิถีใหม่: ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูประบบสาธารณสุข." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5779">http://hdl.handle.net/11228/5779</a>.
.custom.total_download261
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month11
.custom.downloaded_this_year85
.custom.downloaded_fiscal_year17

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2917.pdf
ขนาด: 7.590Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย