Show simple item record

A Pilot Study: Safety and Immunological Response Following Intradermal COVID-19 Vaccination to Get The Most Out of Vaccine Management

dc.contributor.authorสุวิมล นิยมในธรรมth_TH
dc.contributor.authorSuvimol Niyomnaithamth_TH
dc.contributor.authorกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจth_TH
dc.contributor.authorKulkanya Chokephaibulkitth_TH
dc.contributor.authorสมฤดี ฉัตรสิริเจริญกุลth_TH
dc.contributor.authorSomruedee Chatsiricharoenkulth_TH
dc.contributor.authorศันสนีย์ เสนะวงษ์th_TH
dc.contributor.authorSansnee Senawongth_TH
dc.contributor.authorปฏิมาพร วงษ์พรหมพิทักษ์th_TH
dc.contributor.authorPatimaporn Wongprompitakth_TH
dc.date.accessioned2022-12-27T09:05:18Z
dc.date.available2022-12-27T09:05:18Z
dc.date.issued2565-12
dc.identifier.otherhs2923
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5783
dc.description.abstractหลักการและเหตุผล: เนื่องด้วยประเทศไทยมีการระบาดโรคโควิด-19 หลายระลอก เป็นเหตุให้การนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ในช่วงแรกไม่เพียงพอต่อการกระจายวัคซีนให้กับประชากร ดังนั้น การให้วัคซีนด้วยการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (Intradermal: ID) จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่อาจสามารถลดปริมาณการใช้วัคซีน รวมถึงลดโอกาสในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังแบบสุ่มตัวอย่างแบบเปิด ซึ่งดำเนินการศึกษาที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยประกอบด้วยการศึกษาย่อยสองการศึกษา คือ การศึกษาเข็มกระตุ้นและการฉีดชุดแรก สำหรับการศึกษาเข็มกระตุ้นทำในอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม ทำการศึกษาในอาสาสมัคร จำนวน 105 คน โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนชนิด inactivated vaccine หรือวัคซีนของ ChAdOx1 นาน 4-24 สัปดาห์ โดยอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็นวัคซีน ChAdOx1 (IM) จะได้รับวัคซีน 0.05 มล. BNT162b2 (ID) เป็นเข็มกระตุ้น ในขณะที่อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็น BBIBP-CorV หรือ CoronaVac (IM) จะได้รับวัคซีน 0.1 มล. ChAdOx1 หรือ 0.05 มล. BNT162b2 เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น ผลการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจะวัดผลที่ 2 สัปดาห์หลังฉีด สำหรับการศึกษาการฉีดชุดแรกแบบเร่งด่วน ทำในอาสาสมัครที่ไม่เคยได้รับวัคซีนโควิด-19 โดยศึกษาในอาสาสมัคร จำนวน 90 คน ด้วยการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง จำนวน 2 จุด ที่ต้นแขนแต่ละข้าง ข้างละ 1 จุด ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน แล้วเพิ่มจำนวนอาสาสมัครในกลุ่มที่มีผลระดับภูมิคุ้มกันสูงและเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่ำใน 2 อันดับแรก อีกกลุ่มกลุ่มละ 20 คน ประกอบด้วย กลุ่มที่ได้รับวัคซีนชนิดเดียวกันในเข็มที่ 1 เเละเข็มที่ 2 ได้แก่ ChAdOx1 และ BNT162b2 กับกลุ่มที่ได้รับวัคซีนต่างชนิดกันในเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ได้แก่ CoronaVac – ChAdOx1, CoronaVac – BNT162b2 และ ChAdOx1 – BNT162b2 ทั้งนี้ มีการตรวจระดับภูมิคุ้มกันของอาสาสมัครที่ 2 สัปดาห์หลังเข็มที่ 2 การวัดผลภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น จะถูกวิเคราะห์โดยระดับของแอนติบอดี (Anti-receptor binding domain (anti-RBD) IgG) ด้วยวิธี CMIA พร้อมทั้งการตรวจ Neutralizing antibody (NT) ต่อสายพันธุ์ต่างๆ และการตอบสนองของ T-cell ชนิด S และ NMO ส่วนการประเมินอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนโควิด-19 โดยให้สังเกตอาการ 30 นาทีหลังฉีดวัคซีน อาสาสมัครทำแบบบันทึกอาการไม่พึงประสงค์ 7 วันหลังได้รับวัคซีน และสอบถามอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการนัดหมาย ผลการศึกษา: สำหรับการศึกษาการฉีด ID เข็มกระตุ้นในอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม มีอาสาสมัครที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าร่วมโครงการ จำนวน 105 ราย ถูกแบ่งตามกลุ่มวัคซีนที่สนใจศึกษาจำนวน 3 กลุ่ม ด้วยจำนวนเท่ากัน คือ 35 ราย (ร้อยละ 33.33) ต่อกลุ่ม โดยภาพรวม พบว่า อาสาสมัครมีอายุมัธยฐานอยู่ที่ 38 ปี ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย และโดยส่วนใหญ่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยไม่มีความแตกต่างของลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างระหว่างกลุ่มวัคซีน ที่ 2 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น พบว่า แอนติบอดี anti-RBD IgG ของกลุ่มที่เคยได้รับ BBIBP-CorV หรือ CoronaVac-prime (IM) และกระตุ้นด้วย BNT162b2 (ID) มีระดับที่สูงที่สุดเท่ากับ 1,723 BAU/mL แต่ก็ต่ำกว่า การฉีดกระตุ้นแบบ IM ที่ใช้อ้างอิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการตรวจ NT พบว่า การฉีดกระตุ้นแบบ ID ให้ระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่า IM ที่ใช้อ้างอิงเช่นกัน มีเพียงเฉพาะกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็น ChAdOx1 (ID) มีระดับIgG และระดับ NT ต่อสายพันธุ์โอไมครอน ไม่แตกต่างกับผลการศึกษาอ้างอิงที่ฉีด IM ส่วนอาการอันไม่พึงประสงค์นั้น พบปฏิกิริยาในตำแหน่งที่ฉีดได้บ่อย (ร้อยละ 28.57) และพบอาการตามระบบร้อยละ 64.76 โดยทั้งหมดเป็นอาการน้อยหรือปานกลาง สำหรับการศึกษาการฉีด ID ชุดแรกแบบเร่งด่วนในอาสาสมัครที่ไม่เคยได้รับวัคซีนโควิด-19 มีอาสาสมัครที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าร่วมโครงการ จำนวน 57 คน มีอายุมัธยฐานเท่ากับ 35 ปี (พิสัยควอไทล์ = 28–45 ปี) การตรวจระดับภูมิคุ้มกัน ที่ 2 สัปดาห์หลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 พบมีค่าสูงสุดในอาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับวัคซีน ChAdOx1- BNT162b2 โดยที่ระดับ anti-RBD IgG มีค่า GM=597.29 BAU/mL รองมาคือกลุ่มที่ได้ BNT162b2-BNT162b2 มีค่า GM=414.84 BAU/mL โดยการฉีด ID มีระดับ IgG ต่ำกว่าการฉีดแบบเข้ากล้ามเนื้อ IM ในผลการศึกษาอ้างอิงซึ่งใช้วัคซีนชนิดเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับสูตร ChAdOx1-BNT162b2 นั้นมีระดับ NT ต่อสายพันธุ์ Wuhan และ Omicron BA.1 ที่ GM=254.20 และ 49.34 ตามลำดับซึ่งสูงกว่ากลุ่มอื่น แต่มีค่า NT ต่อสายพันธุ์ Omicron ต่ำมากพอๆ กันหมดไม่ต่างจากกลุ่มอ้างอิง (p=0.304) ส่วนผล ELISpot-S ของสูตร ChAdOx1-BNT162b2 มีค่า GM=441.34 SFU/106 cells ซึ่งสูงที่สุดกว่าทุกกลุ่ม นอกจากนี้อาการไม่พึงประสงค์ในช่วง 7 วัน หลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ทั้งอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะที่บริเวณฉีดวัคซีน (Local reaction) และอาการตามระบบ (Systemic reaction) เมื่อเปรียบเทียบกับทุกกลุ่มวัคซีนไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บทสรุป: การฉีด ID เป็นเข็มกระตุ้น ให้ผลการตอบสนองภูมิคุ้มกันที่ดี แต่ให้ระดับภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดแบบ ID จะต่ำกว่าการฉีดแบบ IM มาตรฐาน และ ID มีความปลอดภัยสูง และเป็นทางเลือกใช้ในยามวัคซีนขาดแคลน สำหรับการฉีด ID ชุดแรกแบบเร่งด่วน สูตร ChAdOx1-BNT162b2 จะให้ระดับภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด อาจพิจารณานำการฉีดแบบนี้มาพิจารณาเป็นการฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตั้งต้นแบบรวดเร็วหากต้องการความรวดเร็วและประหยัดในการระบาดในครั้งต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัคซีนth_TH
dc.subjectVaccinesth_TH
dc.subjectวัคซีนโควิด-19th_TH
dc.subjectCOVID-19 Vaccinesth_TH
dc.subjectIntradermal Teststh_TH
dc.subjectImmunityth_TH
dc.subjectภูมิคุ้มกันth_TH
dc.subjectImmune Systemth_TH
dc.subjectระบบภูมิคุ้มกันth_TH
dc.subjectภูมิคุ้มกันวิทยาth_TH
dc.subjectImmunologyth_TH
dc.subjectSARS-CoV-2th_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCOVID-19--Prevention and Controlth_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหลังการได้รับวัคซีนโควิด-19 ด้วยการฉีดเข้าในผิวหนัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการวัคซีนth_TH
dc.title.alternativeA Pilot Study: Safety and Immunological Response Following Intradermal COVID-19 Vaccination to Get The Most Out of Vaccine Managementth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: The SARS-CoV-2 (COVID-19) pandemic has widely spread with numerous waves of different variants of concern, which resulted in shortage of COVID-19 vaccine. Fractional intradermal (ID) dosing regimens for COVID-19 vaccination could be considered as an alternative to minimize possible adverse effects and ease up vaccine supply. Methods: This randomized, open-label study was conducted at a single center, Siriraj Hospital, Bangkok, Thailand. This study was conducted in two sub-studies. The first study was to determine the safety and immunological response of fractional ID as a booster dose. The following study focused on the accelerated fractional ID as primary series. The first study was conducted among 150 volunteers who completed 2-dose IM primary series between 12 and 24 weeks earlier. Those participants who received the primary series of ChAdOx1 (IM) were allocated to vaccinated 0.05 mL BNT162b2 (ID) as booster, while participants previously vaccinated with primary series of BBIBP-CorV (IM) or CoronaVac (IM) were randomized to receive fraction doses of 0.1 mL ChAdOx1 (ID) or 0.05 mL BNT162b2 (ID). The second study was carried out among 90 volunteers who were naïve to SARS-CoV-2 infection. The two vaccinations, 2 injections for each vaccination on a separate arm at the deltoid area, given in an accelerated schedule of 7 days apart. In the initial part of this study, 50 participants were randomly assigned to 5 groups equally consisting of homologous primed ChAdOx1 and BNT162b2, and homologous primed between CoronaVac – ChAdOx1, CoronaVac – BNT162b2 and ChAdOx1 – BNT162b2. Additional participants were recruited in the two groups (20 per group) with the highest proportion of adverse events. The participants were observed for at least 30 min following the vaccination for any immediate adverse events, and self-reported adverse events were collected for 7 using an electronic diary in Google Form. The immunogenicity was determined by the level of anti-receptor binding domain (anti-RBD IgG) of the SARS-CoV-2 and neutralizing antibody (NT) against various variants. T-cell responses were measured by ELISpot using S-peptide and NMO-peptide stimulation. Results: In the first study among volunteers who completed the primary series, 105 eligible participants were randomly assigned to 3 study groups equally (n=35, 33.33% per group). The overall median age was 38 years, around half of participants were male, and the BMI was normal. There were no significantly different in baseline demographic characters. At 2 weeks following booster dose, participants who received 2-dose primary series of BBIBP-CorV (IM) or CoronaVac (IM) followed by BNT162b2 (ID) as booster induced the highest antibody IgG (GMC=1,723.00 BAU/mL). ID administration induced lower IgG than the reference IM of the same vaccine. Likewise, NT levels following ID route were generally lower than that following reference IM, except for the group that received ChAdOx1 (ID) boost which induce NT against Omicron in the similar level to that of the reference IM. Adverse events (AEs) were mostly mild to moderate levels of severity in all study groups. 28.57% of the injection site reaction and 64.74% of systemic AEs were reported. For the second study, 57 eligible participants were randomly assigned to receive 5 study groups of fractional accelerated ID as primary series. The overall median age was 35 years (IQR=28-45 years). At 2 weeks following the primary series, participants who received 2-dose (ID) of ChAdOx1 - BNT162b2 have induced the significantly highest antibody IgG (GMC=597.29 BAU/mL), followed by BNT162b2 - BNT162b2 (GMC=414.84 BAU/mL). Overall, ID have shown a significantly lower antibody IgG than reference IM of the same vaccine regimens (p<0.001). The regimen ChAdOx1 - BNT162b2 also induced the highest NT levels against Wuhan (GM=254.20) and Omicron BA.1 (GM49.34). All groups had similarly low NT against Omicron to the references IM (p=0.304). Likewise, the ELISpot-S response was highest in the group ChAdOx1-BNT162b2 (GM=441.34 SFU/106 cells). There was no significant difference in the proportion of AEs between the study group in this study. Conclusions: The fractional ID as a booster dose has generated antibody responses against SARSCoV-2 infection but in a lower level than IM references; however, well tolerated. It should not be the primary route of vaccination but may be considered in cases of vaccine shortage. Likewise, accelerated fractional ID dosing regimens as primary series is immunogenic for both humoral and cellular but with lower antibody levels than IM references. The accelerated ChAdOx1-BNT162b2 induced the highest immunogenicity and may be considered in the next pandemic that require rapid priming particularly when the vaccine supply is insufficient.th_TH
dc.identifier.callnoWC503 ส882ก 2565
dc.identifier.contactno65-009
dc.subject.keywordการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังth_TH
dc.subject.keywordวัคซีนเข็มกระตุ้นth_TH
dc.subject.keywordภูมิต้านทานth_TH
.custom.citationสุวิมล นิยมในธรรม, Suvimol Niyomnaitham, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, Kulkanya Chokephaibulkit, สมฤดี ฉัตรสิริเจริญกุล, Somruedee Chatsiricharoenkul, ศันสนีย์ เสนะวงษ์, Sansnee Senawong, ปฏิมาพร วงษ์พรหมพิทักษ์ and Patimaporn Wongprompitak. "การศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหลังการได้รับวัคซีนโควิด-19 ด้วยการฉีดเข้าในผิวหนัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการวัคซีน." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5783">http://hdl.handle.net/11228/5783</a>.
.custom.total_download26
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs2923.pdf
Size: 2.520Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record