dc.contributor.author | อติญาณ์ ศรเกษตริน | th_TH |
dc.contributor.author | Atiya Sarakshetrin | th_TH |
dc.contributor.author | อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Atcharawadee Sriyasak | th_TH |
dc.contributor.author | รุ่งนภา จันทรา | th_TH |
dc.contributor.author | Rungnapa Chantra | th_TH |
dc.contributor.author | ทัศนีย์ เกริกกุลธร | th_TH |
dc.contributor.author | Tassanee Krirkgulthorn | th_TH |
dc.contributor.author | สุชาดา นิ้มวัฒนากุล | th_TH |
dc.contributor.author | Suchada Nimwatanakul | th_TH |
dc.contributor.author | ธัญพร ชื่นกลิ่น | th_TH |
dc.contributor.author | Thunyaporn Chuenktin | th_TH |
dc.contributor.author | สรรเสริญ นามพรหม | th_TH |
dc.contributor.author | Sansern Namprom | th_TH |
dc.contributor.author | ดาราวรรณ รองเมือง | th_TH |
dc.contributor.author | Daravan Rongmuang | th_TH |
dc.contributor.author | รัถยานภิศ รัชตะวรรณ | th_TH |
dc.contributor.author | Ratthayanaphit Ratchathawan | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-01-18T07:26:37Z | |
dc.date.available | 2023-01-18T07:26:37Z | |
dc.date.issued | 2565-12 | |
dc.identifier.other | hs2928 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5809 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการ/ปัญหา/อุปสรรค ในการจัดอัตรากำลังคนด้านสุขภาพช่วงระยะเปลี่ยนผ่านจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะของบุคลากรด้านสุขภาพที่ถ่ายโอนสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารอัตรากำลังคนด้านสุขภาพช่วงระยะเปลี่ยนผ่านจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ระหว่างวันที่ 2 พ.ค. – 1 พ.ย. 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย ผู้บริหารเชิงนโยบาย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนภารกิจ ผู้ปฏิบัติการที่ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนทองถิ่นและผู้แทนจากภาคประชาชน ผลการศึกษาพบว่า 1. การบริหารจัดการอัตรากำลังคนด้านสุขภาพช่วงระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด พบว่า มีการปฏิบัติตามหน้าที่และภารกิจตามคู่มือแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจฯ บุคลากรด้านสุขภาพสามารถให้บริการได้เต็มที่มีอัตรากำลังที่ทำงานสอดคล้องตามโครงสร้างอัตรากำลังที่ระบุในคู่มือฯ มองเห็นความก้าวหน้าในสายอาชีพ บุคลากรด้านสุขภาพส่วนใหญ่ มีความพร้อมในการถ่ายโอนสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งด้านบริหาร ด้านวิชาการ และด้านงานบริการและเวชปฏิบัติครอบครัว รวมทั้งแสดงบทบาทหน้าที่ตามลักษณะตำแหน่งได้เต็มที่ และพบปัญหาอุปสรรคด้านการประสานความร่วมมือไม่เต็มที่ การทำงานของคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ยังไม่เป็นรูปธรรม ระเบียบในการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนแตกต่างกัน ความไม่มั่นใจในระบบการทำงานของท้องถิ่น และงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เป็นไปตามกรอบ 2. สมรรถนะของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ด้านการบริหารจัดการและพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินและระบบการส่งต่อผู้ป่วย การสื่อสารจูงใจ การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การปรับปรุงคุณภาพของงาน 3. ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารอัตรากำลังคนด้านสุขภาพช่วงระยะเปลี่ยนผ่านจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้วิจัยได้เสนอในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 3.1 ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับภาระงาน 3.1.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดของแต่ละจังหวัดดำเนินการสื่อสารสร้างความเข้าใจในเรื่องของการถ่ายโอนกำลังคน กรอบอัตรากำลัง ค่าตอบแทนและความก้าวหน้าตามสายงาน 3.1.2 องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนดลักษณะงาน (job description) และกำหนดลักษณะเฉพาะผู้ปฏิบัติงาน (job specification) และถ่ายทอดสู่บุคลากรที่ถ่ายโอนและบุคลากรสายสาธารณสุขที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดทุกระดับ 3.1.3 องค์การบริหารส่วนจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมืออย่างเร่งด่วนเพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในด้านสาธารณสุขมูลฐานและการบริการสุขภาพปฐมภูมิ 3.1.4 ในระยะของการเปลี่ยนผ่านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเป็นพี่เลี้ยงนิเทศตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3.1.5 กระทรวงสาธารณสุขเพิ่มทางเลือกสำหรับผู้ไม่ประสงค์ถ่ายโอน โดยการกำหนดตำแหน่ง สถานที่ปฏิบัติงานที่ใกล้เคียงกับลักษณะงาน และพื้นที่เดิม 3.1.6 คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดในคู่มือแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดอย่างเร่งด่วน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ 3.2 ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับอัตรากำลังในระยะยาวองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำกรอบอัตรากำลังและจัดสรรกรอบอัตรากำลังให้มีบุคลากรด้านสุขภาพครบทุกสาขาวิชาชีพโดยเฉพาะแพทย์เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศด้านบุคลากรเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ เพื่อวางแผนการพัฒนาความก้าวหน้ารายบุคคลให้เป็นไปตามคู่มือแนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจฯ 3.3 ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับความก้าวหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำคู่มือเกี่ยวกับแนวทางการเลื่อนระดับ ความก้าวหน้าในสายอาชีพและสร้างความเข้าใจกับบุคลากรพร้อมทั้งผลักดันให้มีการเลื่อนระดับตามแนวทางที่กำหนดไว้ 3.4 ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะ 3.4.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามระบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการทำงานด้านสาธารณสุข 3.4.2 องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัฒนาความพร้อมด้านการบริหาร เรื่องการเงินและบัญชี การควบคุมและตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องให้กับบุคลากรที่ถ่ายโอน 3.4.3 กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับสถาบันพระบรมราชชนกและสถาบันการศึกษาทางด้านสุขภาพอื่นๆ ในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้สอดรับกับระบบสุขภาพปฐมภูมิ ทั้งด้านการวิจัยและการบริการตามสายงานวิชาชีพ ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะให้สอดรับระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ 3.5 ข้อเสนอเชิงนโยบายอื่นๆ 3.5.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำแนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าตอบแทนและค่าอื่นๆ ตามสิทธิประโยชน์ของผู้ที่ถ่ายโอนซึ่งไม่ต่ำกว่าเดิมโดยให้สอดคล้องกับ พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพให้แก่หน่วยบริการสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2562 รวมทั้งสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติเพื่อให้บุคลากรที่ถ่ายโอนมีความมั่นใจ 3.5.2 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบการบริหารจัดการและการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3.5.3 องค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องดำเนินการพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ได้ถ่ายโอนไปแล้ว เพื่อให้เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิต้นแบบในการบริหารจัดการและสามารถให้บริการในระบบสุขภาพปฐมภูมิได้เต็มศักยภาพ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารอัตรากำลังคนด้านสุขภาพช่วงระยะเปลี่ยนผ่านจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.title.alternative | The Proposed Policy to Human Resource for Health Management During the Transitional Period of Transfer Health Promotion Hospital to Provincial Administrative Organization | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this mixed methods research was to 1) study human resources management/ problem and obstacle in human resources management during the transitional period of transferal health promotion hospital to the provincial administrative organization 2) explore the competency of health personnel who transfer to the provincial administrative organization and 3) develop policy proposal for human resources management during the transitional period of transferal health promotion hospital to the provincial administrative organization. This research was conducted between May 2 to November 1, 2022. The data were collected from the stakeholder including the policy administrator, the person who was involved in the transfer of missions, the practitioner from the primary care center, the representative from the provincial administrative organization, and the representative from the public sector. The results were as follows: 1. The human resources management during the transitional period of the transfer health promotion hospital to the provincial administrative organization showed that healthcare personnel are willing to practice according to their responsibility and follow the manual guideline for transferring. Healthcare personnel could provide full services. There are enough human resources according to the structure stated in the manual. Healthcare personnel found their career advancement. Most of the healthcare personnel were ready to transfer to the provincial administrative organization including administration, academic and family medicine services as well as perform the services according to their professional position. However, there were some limitations such as coordination, the local health committee not functioning properly, the differences in the payroll, wages, and compensation, lack of confidence in the system of the local sector, and the allocated budget does not meet the agreement 2. The competencies of healthcare personnel in health promotion hospital were at a high level except for medical rehabilitation, management and development of emergency medicine and referral systems, motivational communication, creativity, and quality improvement. 3. Policy proposal for human resources management during the transitional period of transferal health promotion hospital to the provincial administrative organization were as follows: 3.1 Policy proposal on workload 3.1.1 Provincial administrative organization in each province should communicate a better understanding of the transfer of manpower, manpower rate, compensation, and career advancement. 3.1.2 Provincial administrative organization set the job description and job specification then transfer to personnel in all levels of the provincial administrative organization. 3.1.3 Provincial administrative organization and provincial health office must urgently work together to make a memorandum of cooperation for the development of the provincial administrative organization in primary health care services. 3.1.4 During the transitional period provincial health office should control the medical practice of personnel in health promotion hospital under the provincial administrative organization. 3.1.5 Ministry of public health should provide the option for those who do not wish to transfer by positioning, workplace, and job in the same area. 3.1.6 The local health committee should carry out the roles and duties as stated in the manual guideline for transferring in order to benefit the people in the area. 3.2 Policy proposal on manpower rate In long term, the provincial administrative organization should establish a manpower framework and allocate health personnel in all fields following the Primary Health System Act B.E.2562. Develop the personnel database to engage in executive decision-making and practitioner in planning for individual progress development following the manual guideline for transferring. 3.3 Policy proposal on career path progression Provincial administrative organization create guidelines for escalation, career path progression, and establish an understanding with personnel as well as push for promotion according to the established guidelines. 3.4 Policy proposal on competency development 3.4.1 Provincial administrative organization creates a better understanding of the working system of provincial administrative organization and gives the opportunity to personnel involved with the development of the public health system. 3.4.2 Provincial administrative organization should develop management readiness, financial and accounting, internal audit and control related to the regulations with the transfer personnel. 3.4.3 Department of local administration together with Praboromarajchanok Institute and other health education institutes should help to develop healthcare personnel competency including research and services according to primary healthcare services. 3.5 Another policy proposal 3.5.1 Provincial administrative organization establishes the guideline for wage disbursement, compensation and other follow the benefit of transfer personnel which is not lower than the previous amount and consistent with the decentralization of power to local government organizations in B.E. 2542 and the regulations of the Ministry of Interior on the compensation for staff who working in healthcare in health center under provincial administrative organization in B.E.2562. 3.5.2 Publicize to the public related management and services of health promotion hospital under provincial administrative organization. 3.5.3 Provincial administrative organization should develop the health promotion hospital according to its size (small, medium, and large) to be the master of primary healthcare unit in management and providing full services in primary healthcare. | th_TH |
dc.identifier.callno | W76 อ137ข 2565 | |
dc.identifier.contactno | 65-055 | |
dc.subject.keyword | Health Decentralize | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralization | th_TH |
.custom.citation | อติญาณ์ ศรเกษตริน, Atiya Sarakshetrin, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, Atcharawadee Sriyasak, รุ่งนภา จันทรา, Rungnapa Chantra, ทัศนีย์ เกริกกุลธร, Tassanee Krirkgulthorn, สุชาดา นิ้มวัฒนากุล, Suchada Nimwatanakul, ธัญพร ชื่นกลิ่น, Thunyaporn Chuenktin, สรรเสริญ นามพรหม, Sansern Namprom, ดาราวรรณ รองเมือง, Daravan Rongmuang, รัถยานภิศ รัชตะวรรณ and Ratthayanaphit Ratchathawan. "ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารอัตรากำลังคนด้านสุขภาพช่วงระยะเปลี่ยนผ่านจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5809">http://hdl.handle.net/11228/5809</a>. | |
.custom.total_download | 353 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 10 | |
.custom.downloaded_this_year | 161 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 20 | |