แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาข้อเสนอตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับสถานพยาบาลและร้านยา

dc.contributor.authorสุนทรี วัชรดำรงกุลth_TH
dc.contributor.authorSuntaree Watcharadamrongkunth_TH
dc.contributor.authorนภาภรณ์ ภูริปัญญวานิชth_TH
dc.contributor.authorNaphaphorn Puripunyavanichth_TH
dc.contributor.authorกิติยศ ยศสมบัติth_TH
dc.contributor.authorKitiyot Yotsombutth_TH
dc.contributor.authorตุลาการ นาคพันธ์th_TH
dc.contributor.authorTulakarn Nakpunth_TH
dc.contributor.authorบรรณสรณ์ เตชะจำเริญสุขth_TH
dc.contributor.authorBunnasorn Techajumlernsukth_TH
dc.date.accessioned2023-01-30T08:38:32Z
dc.date.available2023-01-30T08:38:32Z
dc.date.issued2565-12
dc.identifier.otherhs2936
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5816
dc.description.abstractการใช้ยาอย่างสมเหตุผลถูกกำหนดเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในนโยบายแห่งชาติด้านยาตั้งแต่นโยบายแห่งชาติด้านยาฉบับแรก ในปีงบประมาณ 2560 กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้การใช้ยาอย่างสมเหตุผลและการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพเป็นโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข และประกาศนโยบายให้โรงพยาบาลทุกแห่งเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU hospital) มีการประเมินผ่านตัวชี้วัด 18 ตัวชี้วัด ตามแนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ อย่างไรก็ตามมีการวิจัยที่แสดงถึงข้อจำกัดและอุปสรรคของการดำเนินการเกี่ยวกับตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับสถานพยาบาล จึงได้มีการจัดทำโครงการวิจัยนี้ขึ้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ ทบทวนและพัฒนาตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับโรงพยาบาลทุกระดับ ศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยใช้การศึกษาแบบผสานวิธี แบบแผนแบบคู่ขนาน ระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ถึง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (ได้แก่ การสำรวจด้วยแบบสอบถามทางออนไลน์) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามกึ่งโครงสร้าง การศึกษาภาคสนามร่วมกับการอภิปรายกลุ่มและการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟายรูปแบบปรับปรุง) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ ร่วมกับการประชาพิจารณ์ในกลุ่มตัวแทนหรือผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาล องค์กรวิชาชีพและผู้กำหนดนโยบาย ประชากรของการวิจัย ได้แก่ สถานบริการสุขภาพภาครัฐทุกระดับ คือ ระดับตติยภูมิ ระดับทุติยภูมิและระดับปฐมภูมิ กลุ่มตัวอย่าง ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ข้อสรุปจากการวิจัย คือ ยังควรเก็บตัวชี้วัดทั้งหมดไว้ แม้ว่ามีข้อเสนอให้ตัดตัวชี้วัดบางตัวออก เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลที่สะท้อนผลการทำงานของสถานพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศ จนกว่าจะมีตัวชี้วัดที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีกว่า ในขณะนี้ อาจจะเพียงแต่เปลี่ยนตัวชี้วัดเป็น 3 กลุ่ม คือ การกำกับติดตาม (M = Monitor) [ได้แก่ ตัวชี้วัดข้อ 2 และ 5] การปรับปรุงแก้ไข (A = Amendment) [ได้แก่ ตัวชี้วัดข้อ 3, 4,8 และ 11] หรือการคงการประเมินวัดผลไว้ (E = Existence) [ได้แก่ ตัวชี้วัดข้อ 1, 6-7, 9-10, และ 12-18] การศึกษาเพิ่มเติมยังจำเป็นเพื่อพัฒนาให้ไทยเป็นประเทศการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เช่น การวิจัยในเชิงพื้นที่ การวิจัยในกลุ่มยาสำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การวิจัยเกี่ยวกับฉลากยาและข้อมูลยา การวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตรการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การวิจัยเชิงนโยบาย การวิจัยในกลุ่มยาที่มีการใช้ในท้องถิ่น ร้านชำหรือร้านยา การวิจัยการใช้ยาในวงจรห่วงโซ่อาหารหรือการวิจัยทางด้านระบบสารสนเทศและการเชื่อมโยงฐานข้อมูลth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectDrug Utilizationth_TH
dc.subjectการดื้อยาth_TH
dc.subjectDrug Resistanceth_TH
dc.subjectตัวชี้วัดth_TH
dc.subjectIndicatorsth_TH
dc.subjectPharmacyth_TH
dc.subjectเภสัชกรรมth_TH
dc.subjectร้านขายยาth_TH
dc.subjectDrugstoresth_TH
dc.subjectDrug Storageth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectHospitalth_TH
dc.subjectการบริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectHospital Administrationth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาข้อเสนอตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับสถานพยาบาลและร้านยาth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Proposal for Rational Drug Use Indicators for Healthcare Facilities and Community Pharmaciesth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeRational Drug Use (RDU) has been set to be a strategic policy since the first issue of the National Drug Information. In the fiscal year of 2560 B.E., the Ministry of Public Health defined RDU and antimicrobial resistance management were projects under the National Strategy (2018-2037) regarding public health, and announced that all hospitals were RDU hospitals. RDU hospitals were evaluated with 18 hospital indicators according to the guidelines of service plan development. Some researches reflected limitations and obstacles of the RDU hospital indicators administration; however, this research was undertaken. The objective of this study was to review and develop rational drug use indicators for healthcare facilities. A cross-sectional, convergent mixed methods design was conducted between May 10, 2021 and November 9, 2022. Quantitative research was carried out with an online survey and analyzed with descriptive statistics. Qualitative research included documentary research, semi-structured in-depth interview, field study with group discussion, and modified Delphi technique, and analyzed data with thematic analyses. Also, a public hearing inquiry was held in representatives or experts of hospitals, professional organizations, and policy makers. Research population were all public healthcare facilities in primary, secondary, and tertiary care. Samples were selected from multi-stage sampling in both Bangkok and upcountry. In research summary, all hospital indicators should be kept, although some indicators were suggested to be terminated. The reason was to be the national database of all healthcare facilities until there will be better quality, efficient, and effective indicators. At present, RDU indicators will be divided into three categories. First, the Monitor (M) category included indicators Item no. 2 and 5. The Amendment (A) category were indicators Item no. 3, 4, 8 and 11. The Existence (E) category, lastly, were indicators Item no. 1, 6-7, 9-10, และ 12-18. Further studies will be needed to develop Thailand to be a RDU country. For examples, researches related to 1) spatial environment, 2) non-communicable diseases, 3) drug labelling and information, 4) RDU curriculum, 5) political research, 6) drug use in upcountry, grocery store or community pharmacy, 7) drug use in food chain cycle, and 8) information and exchange system.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 ส814ก 2565
dc.identifier.contactno64-085
dc.subject.keywordRational Drug Useth_TH
dc.subject.keywordRDUth_TH
dc.subject.keywordการใช้ยาอย่างสมเหตุผลth_TH
.custom.citationสุนทรี วัชรดำรงกุล, Suntaree Watcharadamrongkun, นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช, Naphaphorn Puripunyavanich, กิติยศ ยศสมบัติ, Kitiyot Yotsombut, ตุลาการ นาคพันธ์, Tulakarn Nakpun, บรรณสรณ์ เตชะจำเริญสุข and Bunnasorn Techajumlernsuk. "การพัฒนาข้อเสนอตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับสถานพยาบาลและร้านยา." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5816">http://hdl.handle.net/11228/5816</a>.
.custom.total_download80
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year19
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2936.pdf
ขนาด: 4.648Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย