Show simple item record

Personalized 3D-Printed Titanium Cranial Implant for Cranioplasty Patients in Multicenter Clinical Study

dc.contributor.authorบุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒนth_TH
dc.contributor.authorBoonrat Lohwongwatanath_TH
dc.contributor.authorอุษา ฉายเกล็ดแก้วth_TH
dc.contributor.authorUsa Chaikledkaewth_TH
dc.contributor.authorเชษฐา พันธ์เครือบุตรth_TH
dc.contributor.authorChedtha Puncreobutrth_TH
dc.date.accessioned2023-02-08T06:47:55Z
dc.date.available2023-02-08T06:47:55Z
dc.date.issued2565-12
dc.identifier.otherhs2939
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5818
dc.description.abstractการผ่าตัดปิดกะโหลกศีรษะส่งผลดีต่อทั้งสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของผู้ป่วยตั้งแต่การรักษาความปกติของกลศาสตร์การไหลของของเหลวภายในสมอง ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายตลอดจนส่งผลต่อรูปลักษณ์ภายนอก การเข้าสังคม สภาพจิตใจของผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ปัจจุบันวัสดุ Polymethylmethacrylate (PMMA) ถูกนำมาใช้ปิดกะโหลกอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีราคาถูกและบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ อย่างไรก็ตาม PMMA มีข้อเสียที่อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายได้ ได้แก่ ความแข็งแรงและลักษณะของการแตกหักตามรัศมีในรูปแบบของดาว ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิตได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อในห้องผ่าตัด แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคล (METICULY Patient-specifictitanium mesh implant) รุ่น CraniMesh ผลิตด้วยกระบวนการพิมพ์โลหะสามมิติซึ่งความคล้ายคลึงกับแผ่นปิดกะโหลกศีรษะเดิมของผู้ป่วย มีข้อได้เปรียบที่ชัดเจน คือ ความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ การลดระยะเวลาการผ่าตัด ทำให้ลดความเสี่ยงด้านการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดปิดกะโหลกด้วยแผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคลยังมีราคาที่สูงกว่าการใช้แผ่นปิดกะโหลกด้วยวัสดุ PMMA อีกทั้งยังไม่ถูกบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย นอกจากนี้ยังไม่มีการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการผ่าตัดปิดกะโหลกด้วยแผ่นปิดไทเทเนียมเปรียบเทียบกับการผ่าตัดปิดกะโหลกด้วย PMMA คณะวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อประเมินสมรรถนะและความปลอดภัย รวมถึงติดตามผลในการใช้งานของผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 รูปแบบเปรียบเทียบ ซึ่งมีการดำเนินการ 3 ส่วนประกอบกัน โดยผลการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ การทดสอบและวิเคราะห์ข้อมูลในแผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียม เพื่อยืนยันมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามหลักของสากล อาศัยการอ้างอิงการพิสูจน์สมรรถนะของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตของ United States Food and Drug Administration (USFDA) ซึ่งเป็นองค์กรที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์อาหาร ยาและเครื่องมือแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานสูงสุดในการควบคุมเครื่องมือแพทย์ของโลก คณะวิจัยได้ดำเนินการตามรายละเอียดที่แสดงไว้ในเอกสารของมาตรฐานต่างๆ ตามข้อกำหนดรวมถึง การพิจารณาสถานที่ทดสอบที่มีการควบคุมให้อยู่ในระดับสูงสุด โดยผลการดำเนินการในส่วนนี้แสดงในรูปของ ผลการทดสอบที่ผ่านข้อกำหนดและสามารถแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์แผ่นปิดกะโหลกศีรษะเฉพาะบุคคล มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล รวมถึงแสดงถึงเส้นทางในการดำเนินการเพื่อใช้ในการอ้างอิงของผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยที่ต้องการได้รับมาตรฐานดังกล่าว การศึกษาความปลอดภัยและสมรรถนะของผลิตภัณฑ์เชิงคลินิกโดยอาศัยการเก็บข้อมูลย้อนหลังในกลุ่มตัวอย่างที่ผ่าตัดด้วยแผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมและแผ่นปิดกะโหลกเทียม PMMA ในหลายสถาบัน เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ในการประเมินความปลอดภัยและติดตามผลในการใช้งานของแผ่นปิดกะโหลกทั้ง 2 ชนิด ผลการศึกษาพบว่า ในอัตราการติดเชื้อและการผ่าตัดซ้ำ กลุ่ม PMMA มีการผ่าตัดซ้ำ จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.7 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม CraniMesh ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และ สำหรับเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการผ่าตัดของกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดปิดแผ่นกะโหลกเทียมด้วย CraniMesh เท่ากับ 169.3±71.4 นาที ในขณะที่เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการผ่าตัดของกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดปิดแผ่นกะโหลกเทียมด้วย PMMA เท่ากับ 247.0±111.7 นาที ซึ่งกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดปิดแผ่นกะโหลกเทียมด้วย CraniMesh มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มได้รับการผ่าตัดปิดแผ่นกะโหลกเทียมด้วย PMMA (p-value<0.05) ในขณะที่การศึกษาวิจัยส่วนที่ 3 การศึกษาทางเภสัชเศรษฐศาสตร์ของการใช้งานแผ่นปิดกะโหลกทั้ง 2 รูปแบบ อาศัยการวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการผ่าตัดปิดกะโหลกด้วยแผ่นปิดกะโหลกด้วยแผ่นปิดไทเทเนียมเปรียบเทียบกับการผ่าตัดปิดกะโหลกด้วย PMMA ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปิดกะโหลก โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ Decision tree และมีกรอบระยะเวลาในการศึกษา 10 ปี ผลการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้วยวิธี Probabilistic ในมุมมองทางสังคม ค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental cost-effectiveness ratio, ICER) มีค่าติดลบ กล่าวคือ การผ่าตัดปิดกะโหลกด้วยแผ่นปิดไทเทเนียมมีต้นทุนลดลง (-11,990 บาท) และมีปีสุขภาวะเพิ่มขึ้น (0.04 ปีสุขภาวะ) เมื่อเปรียบเทียบกับ PMMA ส่งผลให้การผ่าตัดปิดกะโหลกด้วยแผ่นปิดไทเทเนียมเป็นทางเลือกที่เด่นกว่า (Dominant) หรือ Costsaving และหากพิจารณาในมุมมองของรัฐบาล ค่า ICER มีค่าเท่ากับ 91,330 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นได้ว่าการผ่าตัดปิดกะโหลกด้วยแผ่นปิดไทเทเนียมมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในบริบทของประเทศไทยที่เกณฑ์ความคุ้มค่า 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ ทั้งนี้การผ่าตัดปิดกะโหลกด้วยแผ่นปิดไทเทเนียมมีโอกาสที่จะมีความคุ้มค่าเท่ากับ 77% ในขณะที่การผ่าตัดปิดกะโหลกด้วย PMMA มีโอกาสที่จะมีความคุ้มค่าเท่ากับ 23% สำหรับในมุมมองของรัฐบาล การผ่าตัดปิดกะโหลกด้วยแผ่นปิดไทเทเนียมมีโอกาสที่จะมีความคุ้มค่าเท่ากับ 56.3% การผ่าตัดปิดกะโหลกด้วย PMMA มีโอกาสที่จะมีความคุ้มค่าเท่ากับ 43.7% ผลการศึกษาของโครงการทั้งหมดแสดงให้เห็นศักยภาพในการใช้งานได้จริง ทั้งในการศึกษาเชิงคลินิกและการศึกษาเชิงเภสัชเศรษฐศาสตร์ ทำให้ผลลัพธ์จากโครงการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับผู้ตัดสินใจเชิงนโยบายในการบรรจุแผ่นปิดกะโหลกด้วยไทเทเนียมเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ต่อไปในอนาคตได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectศีรษะth_TH
dc.subjectสมองth_TH
dc.subjectสมอง--บาดแผลและบาดเจ็บth_TH
dc.subjectศีรษะบาดเจ็บth_TH
dc.subjectกะโหลกศีรษะth_TH
dc.subjectการประเมินสมรรถนะth_TH
dc.subjectCompetency Evaluationth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์--มาตรฐานth_TH
dc.subjectเครื่องมือแพทย์--มาตรฐานth_TH
dc.subjectความปลอดภัยของผู้ป่วยth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์--ค่าใช้จ่ายth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ความคุ้มทุนth_TH
dc.subjectค่ารักษาพยาบาล--การวิเคราะห์ต้นทุนth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์เภสัชกรรมth_TH
dc.subjectPharmacoeconomicth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleแผ่นปิดกะโหลกศีรษะเฉพาะบุคคล ผลิตจากโลหะไทเทเนียมด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ สำหรับผู้ป่วยกะโหลกศีรษะยุบในการศึกษาวิจัยทางคลินิกแบบหลายสถาบันth_TH
dc.title.alternativePersonalized 3D-Printed Titanium Cranial Implant for Cranioplasty Patients in Multicenter Clinical Studyth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeCranioplasty surgery has many impacts to patients’ physical and mental health, for example, restoration of the mechanic of fluid flow inside the brain which protect from external danger with the reconstructive patient appearance that affected socialization emotional well-being. In the current years, Polymethylmethacrylate (PMMA) material has been famously used for the surgery for more than 50 years with the cost effectiveness and the inclusion in most of the government welfare in many countries. However, this material is not the best options for this surgery in term of strength and anti-infection, in other word, the PMMA may has a stellate pattern when receive a curtain point of external force that can lead to the death of the patient. The METICULY Patient-specific titanium mesh implant, model CraniMesh, was introduced in 2017 with the 3D printing technology and personalized design for the cranioplasty surgery. This product overcomes the strength and anti-infection problems of PMMA with additional properties of surgical time reduction. Despite the increased benefits and cost, the CraniMesh has not been listed in the Thai government welfare yet, also no evidence of the comparative pharmacoeconomic study between the CraniMesh and the PMMA cranioplasty plate to facilitate the listing process. This study has objectives to evaluate the safety and performance of the Cranimesh and the retrospective clinical study of usage between these 2 products in cranioplasty surgery, which comprises of 3 parts, as follow. The performance testing of the CraniMesh according to the accepted standard compliance utilize the requirement of the United States Food and Drug Administration (USFDA) for medical device control and registration. This study has shown the complied test protocols and reports of all the necessary tests required by the USFDA to confirm with one of the most restrictive standards. The results showed that the CraniMesh has equivalent safety and effectiveness in both the product and the manufacturing process in international level, and this can be used as the pathway for Thai medical device manufacturer to achieve the USFDA standard. In the retrospective clinical study for the implantation of the CraniMesh and the PMMA cranioplasty plate for 28 and 30 samples, respectively, with 6-month follow-up period in multicenter to confirm the safety and effectiveness of the device, the reoperation and infection rate of the PMMA plate is 16.7% while the CraniMesh had 0%. The CraniMesh had surgical time 169.3±71.4 minutes, while the PMMA plate had surgical time at 247.0±111.7 minutes. This data was considered with the statistical methods with p-value<0.05. The pharmacoeconomic study of the CraniMesh and the PMMA cranioplasty plate utilizing the comparative utility cost analysis with economic decision tree model for 10 years analysis showed that the Incremental cost-effectiveness ratio (ICER) has negative value in the social point of view. In other word, cranioplasty surgery with the CraniMesh will have decreased cost -11,990 baht with the increased Quality Adjust Life year (QALYs) 0.04 which is more dominant and cost-saving when compared with the PMMA cranioplasty plate. In the public point-of-view, ICER will equal to 91,330 baht for annually increased QALYs. These results showed that in the social point-of-view, the CraniMesh has 77% worthiness probability to the specified worthiness at 160,000 baht for annually increased QALYs in the context of Thailand, while the PMMA cranioplasty plate has 23% worthiness probability in the same context. For the public point-of-view, the CraniMesh has 56.3% worthiness probability and the PMMA plate has 43.7% worthiness probability. All the results from every parts of this project showed the efficiency of the CraniMesh in the phase of pre-clinical study, retrospective clinical study, and pharmacoeconomic study of medical device. This results will be lead to the decision-making support for the policy to add the CraniMesh in the medical device listing in the near future to help decrease the status quo gap in public health system of Thailand.th_TH
dc.identifier.callnoW74 บ545ผ 2565
dc.identifier.contactno63-141
dc.subject.keywordCranioplasty Patientsth_TH
dc.subject.keywordCranioplasty Surgeryth_TH
dc.subject.keywordผู้ป่วยกะโหลกศีรษะยุบth_TH
dc.subject.keywordแผ่นปิดกะโหลกth_TH
.custom.citationบุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน, Boonrat Lohwongwatana, อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, Usa Chaikledkaew, เชษฐา พันธ์เครือบุตร and Chedtha Puncreobutr. "แผ่นปิดกะโหลกศีรษะเฉพาะบุคคล ผลิตจากโลหะไทเทเนียมด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ สำหรับผู้ป่วยกะโหลกศีรษะยุบในการศึกษาวิจัยทางคลินิกแบบหลายสถาบัน." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5818">http://hdl.handle.net/11228/5818</a>.
.custom.total_download59
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year29

Fulltext
Icon
Name: hs2939.pdf
Size: 4.468Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record