Show simple item record

The 9th National Oral Health Survey 2022-2023 (phase 1)

dc.contributor.authorกรกมล นิยมศิลป์th_TH
dc.contributor.authorKornkamol Niyomsilpth_TH
dc.contributor.authorจิราพร ขีดดีth_TH
dc.contributor.authorChiraporn Khitdeeth_TH
dc.contributor.authorนพวรรณ โพชนุกูลth_TH
dc.contributor.authorNoppawan Pochanukulth_TH
dc.contributor.authorภัทราภรณ์ หัสดิเสวีth_TH
dc.contributor.authorPattraporn Hasadiseveeth_TH
dc.contributor.authorณัฐพงค์ กันทะวงค์th_TH
dc.contributor.authorNatthapong Kunthawongth_TH
dc.contributor.authorณัฐมนัสนันท์ ศรีทองth_TH
dc.contributor.authorNuttamanutsanan Srithongth_TH
dc.contributor.authorชนิกา โรจน์สกุลพานิชth_TH
dc.contributor.authorChanika Rotsakoonpanitth_TH
dc.date.accessioned2023-02-14T06:53:49Z
dc.date.available2023-02-14T06:53:49Z
dc.date.issued2565-12
dc.identifier.otherhs2940
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5819
dc.description.abstractกรมอนามัย โดยสำนักทันตสาธารณสุข ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ จึงได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในระดับประเทศเป็นระยะทุก 5 ปี และในปี พ.ศ. 2565 ได้จัดทำโครงการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2565-2566 เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพช่องปาก พฤติกรรม ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปากของประชากรไทย แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการเตรียมการสำรวจ และระยะที่ 2 เป็นการดำเนินการสำรวจ สรุปและรายงานผล โดยการดำเนินงานในระยะที่ 1 ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เพื่อพัฒนาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ ปรับมาตรฐานทีมสำรวจและการเตรียมพื้นที่สำรวจในการบริหารจัดการให้การสำรวจประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ การวิจัยนี้เป็นการสำรวจใน 7 กลุ่มอายุดัชนี ได้แก่ กลุ่มอายุ 3 ปี 5 ปี 12 ปี 15 ปี 35-44 ปี 60-74 ปี และ 80-85 ปี และศึกษาผลกระทบจากสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตในเด็กอายุ 12 ปี โดยมีพื้นที่การดำเนินการสำรวจใน 25 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร (เขตพญาไท วังทองหลาง คลองสามวา พระโขนง ธนบุรี บางกอกใหญ่) และ 12 เขตสุขภาพ เขตละ 2 จังหวัด รวม 24 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย แพร่ ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร ชัยนาท อ่างทอง ปทุมธานี สุพรรณบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง กาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองคาย นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ ชุมพร กระบี่ พัทลุง และสตูล ซึ่งเก็บข้อมูลผลกระทบจากสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตในเด็กอายุ 12 ปี ใน 7 จังหวัด คือ จังหวัดแพร่ กำแพงเพชร ปทุมธานี ชัยภูมิ ศรีสะเกษ กระบี่ และกรุงเทพมหานคร ทีมวิจัยได้พัฒนาเครื่องมือและหาคุณภาพเครื่องมือการสำรวจ โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครื่องมือการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะความเหมาะสมของแบบตรวจสุขภาพช่องปาก แบบสัมภาษณ์ ข้อคำถามตามความตรงด้านเนื้อหาและความเหมาะสมของภาษา นำผลที่ได้จากการประชุมผู้เชี่ยวชาญมาปรับแก้ไขแบบตรวจสุขภาพช่องปากและแบบสัมภาษณ์ตามข้อแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบความสอดคล้องและความตรงเชิงเนื้อหาของรายการข้อคำถาม (Content Validity) ของแบบสัมภาษณ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.81–0.94 และสรุปค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.88 และดำเนินการทดลองใช้แบบสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างที่คล้ายคลึงกับประชากรที่ศึกษา (Try Out) เพื่อทดสอบด้านความเหมาะสมของภาษา เพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เข้าใจข้อคำถามได้ตรงตามวัตถุประสงค์มากขึ้น โดยทดลองใช้แบบสัมภาษณ์ใน 4 กลุ่มอายุ ได้แก่ 12 ปี 15 ปี 35-44 ปี และ 60–74 ปี กลุ่มอายุละ 10 คน และนำข้อสังเกตที่ได้จากการสอบถามมาพัฒนาแบบสัมภาษณ์และแนวทางการสัมภาษณ์ นอกจากนี้ยังได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทางการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 แก่เจ้าหน้าที่จากจังหวัดที่เป็นพื้นที่สำรวจทั้ง 25 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงกระบวนการดำเนินงานตามหลักของระบาดวิทยา ให้ผู้ประสานงานในจังหวัดพื้นที่เป้าหมายเข้าใจ สามารถจัดเตรียมพื้นที่ เตรียมกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งประสานงานกับทีมสำรวจ เพื่อให้ได้แผนการลงพื้นที่สำรวจของแต่ละจังหวัด เกิดการวางแผนในการบริหารจัดการให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน โดยผู้เข้าร่วมการประชุม เป็นผู้แทนจากจังหวัดซึ่งจะเป็นผู้ประสานงานหลักในพื้นที่ จาก 24 จังหวัดพื้นที่สำรวจ เจ้าหน้าที่จากศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ผู้แทนจากศูนย์อนามัยและสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง จำนวน 13 แห่ง และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง โดยจัดทำคู่มือ/แนวทางการสำรวจ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมการสำรวจขึ้นอีกด้วย เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง เชื่อถือได้ ตามหลักวิชาการ จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการปรับมาตรฐานทีมเก็บข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ทั้งในส่วนของการตรวจสภาวะช่องปากและการสัมภาษณ์ โดยเชิญทันตแพทย์ซึ่งเป็นผู้ตรวจสภาวะช่องปาก ผู้แทนจากจังหวัดซึ่งเป็นผู้สัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กอายุ 12 ปี รวมทั้งนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้อง เข้าประชุมและลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติ โดยในเด็กกลุ่มอายุ 5 ปี ดำเนินการปรับมาตรฐานการตรวจโรคฟันผุในฟันน้ำนม ส่วนในเด็กกลุ่มอายุ 12 ปี กลุ่มผู้ใหญ่ 35-44 ปี และผู้สูงอายุ 60-74 ปี ดำเนินการปรับมาตรฐานการตรวจโรคฟันผุในฟันถาวร และสภาวะปริทันต์ ผลการปรับมาตรฐานการตรวจ พบว่า ค่า Kappa และค่าร้อยละของความเหมือน (Percent agreement) ของทันตแพทย์ผู้ตรวจทุกคนผ่านเกณฑ์เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีค่า Kappa และค่า Percent agreement อยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ (ดังตารางที่ 9) นอกจากนี้ยังมีการปรับมาตรฐานการสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากเด็ก 12 ปี (Child-OIDP) ประกอบด้วยการฝึกสัมภาษณ์และหาค่าความเที่ยงระหว่างผู้สัมภาษณ์แต่ละคนกับผู้เชี่ยวชาญ (Gold Standard) ด้วยสถิติ Intraclass Correlation Coefficient (ICC) ได้ค่าความเที่ยงอยู่ในช่วงระหว่าง 0.73-0.92 (ดังตารางที่ 8)th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectอนามัยช่องปากth_TH
dc.subjectสุขภาพช่องปากth_TH
dc.subjectทันตสาธารณสุขth_TH
dc.subjectOral Healthth_TH
dc.subjectDental Healthth_TH
dc.subjectDental Health Servicesth_TH
dc.subjectDental Health Surveysth_TH
dc.subjectการตรวจสุขภาพth_TH
dc.subjectอนามัย, การสำรวจth_TH
dc.subjectHealth Surveys--Thailandth_TH
dc.subjectHealth Surveys--Statisticsth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2565-2566 (ระยะที่ 1)th_TH
dc.title.alternativeThe 9th National Oral Health Survey 2022-2023 (phase 1)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBureau of Dental Health, Department of Health conducted of the National Oral Health Survey consequently, every 5 years. The 9th National Oral Health Survey (2022-2023) was held to assess oral health status, oral health behaviors, key factors related to oral health among Thai population. This survey is divided into two phases, phase 1 is the survey preparation and phase 2 is the data collection and report. The implementation of this phase 1 received research funding from the Health Systems Research Institute (HSRI) to develop tools, calibration and prepare the survey team to achieve its aimed. This cross-sectional survey conduct in 7 index age; 3 years, 5 years, 12 years, 15 years, 35-44 years, 60-74 years and 80-85 years and the impact of oral health related quality of life among 12 year-old-children. Survey areas are in 25 provinces, namely Bangkok (Phaya Thai, Wang Thonglang, Khlong Sam Wa, Phra Khanong, Thon Buri, Bangkok Yai) and 2 provinces per Health Region, cover 24 provinces, namely; Chiang Rai, Phrae, Tak, Phitsanulok, Kamphaeng Phet, Chainat, Ang Thong, Pathum Thani, Suphan Buri, Ratchaburi, Chachoengsao, Rayong, Kalasin. Nong Khai, Nakhon Phanom, Chaiyaphum, Buriram, Yasothon, Sisaket, Chumphon, Krabi, Phatthalung and Satun. And collect the impact of oral health related quality of life data from 7 provinces; Phrae, Kamphaeng Phet, Pathum Thani, Chaiyaphum, Sisaket, Krabi, and Bangkok. The National Oral Health Survey tools were developed. Workshop with experts was held as a part of quality of tools development. This allowed experts to suggest on content and suitability of the tools. The results of the experts meeting was used to improve the survey forms and questionnaires, Moreover, the content validity was performed by 3 experts and the Index of item objective congruence (IOC) was between 0.81–0.94 and the total IOC was 0.88. The pilot of the interview questionnaires in 4 age groups; 12 years, 15 years, 35-44 years, and 60-74 years, were done, in order to test the suitability of language and the understanding of the interviewees. Results were used to develop the interview questionnaires forms and interview guideline. Organized a workshop aimed to clarify the guidelines for the 9th National Oral Health Survey among coordinators and 25 survey areas. Including coordinating with the survey team in order to obtain a plan in the survey area of each province, prepare samples for data collection and management plan, to ensure accuracy and completion of data. Likewise in Bangkok area, held the workshop to staffs from 13 Public Health Service Centers. The manual/ guideline of the survey was done to be used as a guideline for conducting survey. Moreover, the calibration of examiners and interviewers workshop was done in order to ensure for the reliability of the data collection covered all examiners, recorders, oral health behavior interviewers and Child-Oral Impacts on Daily Performances (Child-OIDP) interviewers. The calibration of dentition status in primary teeth was done in 5 years old children and likewise in permanent teeth among aged 12, 35-44 and 60-74. Results showed that the Kappa and Percent agreement of all examiners met the target criteria within the acceptable range. (See in table 9) In addition, the calibration of Child-Oral Impacts on Daily Performances (Child-OIDP) interview was done in the 12-year-old child. Process consisted of interview practice and result showed the Intraclass Correlation Coefficient statistic (ICC) within the range of 0.73-0.92. (see in table 8)th_TH
dc.identifier.callnoWA900.JT3 ก152ก 2565
dc.identifier.contactno64-219
dc.subject.keywordHealth Examinationth_TH
.custom.citationกรกมล นิยมศิลป์, Kornkamol Niyomsilp, จิราพร ขีดดี, Chiraporn Khitdee, นพวรรณ โพชนุกูล, Noppawan Pochanukul, ภัทราภรณ์ หัสดิเสวี, Pattraporn Hasadisevee, ณัฐพงค์ กันทะวงค์, Natthapong Kunthawong, ณัฐมนัสนันท์ ศรีทอง, Nuttamanutsanan Srithong, ชนิกา โรจน์สกุลพานิช and Chanika Rotsakoonpanit. "การสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2565-2566 (ระยะที่ 1)." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5819">http://hdl.handle.net/11228/5819</a>.
.custom.total_download872
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month7
.custom.downloaded_this_year415
.custom.downloaded_fiscal_year28

Fulltext
Icon
Name: hs2940.pdf
Size: 12.97Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record