Show simple item record

A Model of Primary Health Care Service Delivery Provided by the Queen Sirikit Health Centers and Subdistrict Health Promotion Hospitals After Being Transferred to the Management of the Provincial Administrative Organizations Using the Mechanism of the Primary Health System Act (B.E. 2562)

dc.contributor.authorรัถยานภิศ รัชตะวรรณth_TH
dc.contributor.authorRatthayanaphit Ratchathawanth_TH
dc.contributor.authorเบญจวรรณ ถนอมชยธวัชth_TH
dc.contributor.authorBenjawan Thanormchayatawatth_TH
dc.contributor.authorรุ่งนภา จันทราth_TH
dc.contributor.authorRungnapa Chantrath_TH
dc.contributor.authorบุญประจักษ์ จันทร์วินth_TH
dc.contributor.authorBoonprajuk Junwinth_TH
dc.contributor.authorวัลลภา ดิษสระth_TH
dc.contributor.authorWanlapa Dissarath_TH
dc.contributor.authorปิยะพร พรหมแก้วth_TH
dc.contributor.authorPiyaporn Promkaewth_TH
dc.contributor.authorมลิวัลย์ รัตยาth_TH
dc.contributor.authorMaliwan Rattayath_TH
dc.contributor.authorอัญชนา วิชช์วัฒนางกูรth_TH
dc.contributor.authorAnchana Witwattanangoonth_TH
dc.contributor.authorวิลาสินี แผ้วชนะth_TH
dc.contributor.authorWilasinee Paewchanath_TH
dc.contributor.authorจีรภา แก้วเขียวth_TH
dc.contributor.authorJeerapa Kaewkiawth_TH
dc.contributor.authorชนัดดา อนุพัฒน์th_TH
dc.contributor.authorChanatda Anupatth_TH
dc.date.accessioned2023-02-15T03:07:35Z
dc.date.available2023-02-15T03:07:35Z
dc.date.issued2565-09
dc.identifier.otherhs2941
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5821
dc.description.abstractระบบสุขภาพปฐมภูมิเป็นการจัดกลไกและกระบวนการในการประสานความร่วมมือเพื่อจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ ภายใต้พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 การบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เป็นภารกิจใหม่ที่ยังไม่เคยปรากฏในอำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมาก่อน ทำให้มีโอกาสพบอุปสรรคในการบริหารจัดการที่ส่งผลกระทบต่อการบริการสุขภาพแก่ประชาชน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการให้บริการสุขภาพของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยใช้กลไกพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของ สอน. และ รพ.สต. ภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรูปแบบการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิช่วงระยะเปลี่ยนผ่านจากการถ่ายโอนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และรพ.สต. ให้แก่ อบจ. โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิของ สอน. และ รพ.สต. หลังถ่ายโอน ให้ อบจ. เน้นการให้บริการ 5 มิติ คือ การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การส่งเสริมสุขภาพ การบำบัดและป้องกันควบคุมโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และการคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยการใช้แนวคิดคลินิกหมอครอบครัวในการบริการแบบไร้รอยต่อตามสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิหลังการถ่ายโอนให้แก่ อบจ. ควรได้รับการหนุนเสริมภายใต้กลไกของ พ.ร.บ. ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและ พ.ร.บ. วิชาชีพของคณะผู้ให้บริการปฐมภูมิ โดยมีการอภิบาลระบบสุขภาพที่มุ่งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในการบริการสุขภาพให้เป็นเครือข่ายมากกว่าการควบคุม กำกับ ติดตาม แต่เน้นการบริหารจัดการเครือข่ายนโยบายในระดับต่างกัน 4 ระดับ คือ 1) ระดับกระทรวง 2) ระดับกรม 3) ระดับเขตบริการสุขภาพ จังหวัด อำเภอ และ 4) ระดับตำบล ให้สามารถทำงานเชิงบูรณาการ เพื่อตอบโจทย์สุขภาพทั้งระดับพื้นที่ อำเภอ จังหวัด ภูมิภาคและระดับประเทศ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารและจัดการระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิของ สอน. และ รพ.สต. หลังการถ่ายโอนให้ อบจ. ภายใต้ พ.ร.บ. สุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย การถ่ายทอดนโยบาย เป้าหมายและทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศสู่การปฏิบัติ ร่วมกับมาตรการควบคุม ประเมินผลและการกระตุ้นเสริมให้มีการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ร่วมกับการหนุนเสริมให้การบริการสุขภาพมีความเชื่อมโยงในการตอบสนองนโยบายการพัฒนาสุขภาพในแต่ละระดับและภาพรวมของประเทศ ข้อเสนอเชิงนโยบายหลักด้านการบริการสุขภาพปฐมภูมิในระยะเปลี่ยนผ่านภายหลังการถ่ายโอนภารกิจ 1) กระทรวงสาธารณสุขควรเป็นเจ้าภาพหลักกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านระบบการแพทย์ปฐมภูมิให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและนำหลักเวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine) มาเป็นแนวคิดหลักเสริมจากระบบบริการปฐมภูมิเดิม 2) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผนึกกำลังในการสร้างและสังเคราะห์องค์ความรู้สู่การพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และสร้างระบบ กลไกนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม 3) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดยงานยุทธศาสตร์ งานปฐมภูมิและงานคุณภาพระบบบริการปฐมภูมิ อบจ. และคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) นำองค์ความรู้ที่ได้จากหน่วยงานระดับกรมมาสร้างระบบและกลไกการเรียนรู้สู่การปฏิบัติของ สอน. และรพ.สต. และออกแบบระบบกำกับติดตามการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ อย่างต่อเนื่อง 4) โรงพยาบาลแม่ข่ายประสานความร่วมมือให้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหรือรวมถึงคณะผู้ให้บริการปฐมภูมิปฏิบัติงานใน สอน. หรือ รพ.สต. ถ่ายโอน 5) สอน. และ รพ.สต. ทั้งที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและ อบจ. รับถ่ายทอดระบบและกลไกการเรียนรู้ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิจาก สสจ. และ อบจ. มาดำเนินการสังเคราะห์สู่แนวทางการปฏิบัติให้สอดคล้องกับบริบท รวมถึงออกแบบกลไกการกำกับติดตามการบริการสุขภาพปฐมภูมิ 6) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดดำเนินการประสานความร่วมมือเชิงนโยบายและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดด้านสุขภาพ กับ อบจ. ให้ครอบคลุมผลการดำเนินการเชิงนโยบายของประเทศและปัญหาของพื้นที่ 7) หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ควรวิเคราะห์และออกแบบ Web Application Programing ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลในการอภิบาลระบบสุขภาพ 8) อบจ. และ สสจ. ทำข้อตกลงในสัดส่วนที่เหมาะสมของเงิน OP ระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิและแม่ข่ายคู่สัญญาหลัก 9) กระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบายการบูรณาการทรัพยากรในการจัดระบบสุขภาพปฐมภูมิและติดตาม ดูแลการดำเนินการของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ รวมทั้งประสานให้เกิดเครือข่ายบริการรับส่งต่อกับหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิอื่นในพื้นที่นั้นหรือพื้นที่อื่นให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ระยะสร้างความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ 1) กระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบายในการพัฒนาคุณภาพสถานบริการปฐมภูมิทั่วประเทศให้ได้เกณฑ์มาตรฐานเพื่อรับรองคุณภาพบริการที่มอบให้ประชาชนที่ไม่แตกต่างกันและให้กำหนดเป็นส่วนหนึ่งของการอภิบาลระบบสุขภาพ 2) คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิกำหนดระบบและกลไกการพัฒนามาตรฐานปฐมภูมิให้เป็นไปตามมาตราที่ 24 (1) (2) (3) และ (7) ระยะการพัฒนาอย่างยั่งยืน 1) คณะรัฐมนตรีควรแต่งตั้งคณะกรรมการอภิบาลระบบสุขภาพที่มีความเข้าใจระบบสุขภาพของประเทศเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณา กำกับติดตาม ตรวจสอบและสั่งการหน่วยงานทางสุขภาพในการทบทวนการดำเนินการและการบริการสุขภาพให้สอดคล้องกับนโยบายสุขภาพของประเทศพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2) สอน. และ รพ.สต. ถ่ายโอนให้แก่ อบจ. สร้างแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายระบบสุขภาพในพื้นที่ร่วมจัดบริการสุขภาพและการติดตามประเมินผลให้ได้มาตรฐานตาม พ.ร.บ. ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 และสอดคล้องกับแนวทางที่กำหนดในระดับจังหวัดและอำเภอth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleรูปแบบการบริการสุขภาพของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยใช้กลไกพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562th_TH
dc.title.alternativeA Model of Primary Health Care Service Delivery Provided by the Queen Sirikit Health Centers and Subdistrict Health Promotion Hospitals After Being Transferred to the Management of the Provincial Administrative Organizations Using the Mechanism of the Primary Health System Act (B.E. 2562)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis qualitative study is about the Thai primary health system's new mission and its impacts on the Provincial Administrative Organizations (PAO). The Thai primary health system's mission is a legal mechanism and process for the provision of primary health care services under the Thai Primary Health System Act of 2019 (B.E. 2562). It has never appeared in the powers and duties of the PAO before, which leads to obstacles in management that affect the provision of health services to the public. This research had 3 objectives: 1) to study how transferring health missions to the PAO had effects on the health services at both Chaloem Phrakiat Nawaminthachini Health Center (CPNHC) and Sub-district Health Promoting Hospital (SHPH), and 2) to study how the medical staff were taught about that transition, and 3) to develop policy proposals for the primary health service model during the transition period, using qualitative research methods. The results of this qualitative research showed that the primary health service system (PHSS) of CPNHC and SHPH after the transfer to the PAO focused on providing services in 5 dimensions, namely 1) primary medical care, 2) health promotion, 3) treatment, 4) disease prevention and control, and 5) rehabilitation, and consumer protection using the concept of the Primary Care Cluster (PCC) with the seamless services following the rights under the National Health Security Office (NHSO). The PHSS after the transfer to PAOs should be strengthened under the mechanism of Primary Health System Act (PHSA) B.E.2562 (2019) and other laws related to primary health services and Health Professions Act of health care providers at the primary level. There is a governance of the health system that aims to create a relationship between various sectors in providing a network of health services rather than controlling, supervising, monitoring, but emphasizing on the management of policy networks at 4 different levels: 1) the ministry level, 2) the department level, 3) the health service area, provincial, and district level, and 4) the sub-district level, in order to be able to work in an integrated way to meet health needs at the district, provincial, regional, and national levels. Factors affecting the success of administering and managing the PHSS of the CPNHC and SHPH after transferring to the PAO under the PHSA B.E. 2562 consists of strategic implementation, monitoring, evaluation and the encouragement of strategic implementation as well as promoting the linkage of health services in response to health development policies at each level and the overall picture of the country. Key policy recommendation for primary health care (PHC) systems on the development process of policies and strategies in primary care during the transitional period after the transfer of missions as follows. 1) The Ministry of Public Health (MOPH) should be the host for policy-making and strategies for the primary care system. 2) Health Systems Research Institute (HSRI), National Board of Health (NBH), and Thai Health Promotion Foundation (THPF) collaborate in creating and synthesizing knowledge for development of primary health system in accordance with the policy of the Ministry of Public Health and creating a system and mechanism leading to the concrete implementation. 3) Strategic plan unit and primary care unit of Provincial Health Office, and PAO apply the knowledge acquired at the macro level to create a system and mechanism for learning into practice of the CPNHCs and SHPHs and to design a system to supervise and monitor the development of the PHSS continually. 4)Network node hospitals collaborate with family physicians or PHC providers in CPNHC and SHPH. 5) The CPNHCs and the SHPHs either under the jurisdiction of the MOPH or PAO conduct the strategic implementation as cascaded from the Provincial Health Office and PAO and synthesize it into practical guidelines in accordance with the context including designing a mechanism for supervising and monitoring primary health services, 6)The Provincial Public Health Office (PPHO) coordinates policy cooperation and builds a network for cooperation in collecting health indicator data with the PAO to cover the performance, policy of the country and the problems of the area.7) The responsible agencies for health information technology, MOPH analyze and design web application programing in collaboration with other agencies related to data in supporting health system governance. 8) PAO and PPHO make an agreement about an appropriate proportion of OP (basic payment). 9)MOPH set a policy for integration of resources in primary care system management and monitoring PCU and NPCU as well as coordinating the formation of a referral service network with PCU and NPCU in that area or other areas in accordance with the PHS Act B.E. 2562. Phase for strengthening the PHSS consists of 1) The MOPH sets a policy to develop the quality of primary care facilities across the country to meet standards to certify the quality of services delivered to people with equity. 2) The primary health system committee establishes a system and mechanism for developing primary care standards to be in accordance with section 24 (1), (2), (3) and (7). Sustainable development phase includes 1) The Cabinet should appoint a health system governance committee who understands the national health system as an authority to consider, supervise, monitor, inspect and direct health agencies to review the implementation and provision of health services in accordance with national health policies to continually improve the quality of health services and 2) The transferred CPNHC and SHPS under the PAO create a guideline for the participation of network partners in the local health system jointly providing health services and monitoring and evaluating to meet standards. PHS Act B.E. 2562 and in accordance with the guidelines set forth at the provincial and district levels.th_TH
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ร383ร 2565
dc.identifier.contactno65-057
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizationth_TH
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subject.keywordพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิth_TH
dc.subject.keywordพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562th_TH
dc.subject.keywordPrimary Health System Act B.E. 2562th_TH
.custom.citationรัถยานภิศ รัชตะวรรณ, Ratthayanaphit Ratchathawan, เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, Benjawan Thanormchayatawat, รุ่งนภา จันทรา, Rungnapa Chantra, บุญประจักษ์ จันทร์วิน, Boonprajuk Junwin, วัลลภา ดิษสระ, Wanlapa Dissara, ปิยะพร พรหมแก้ว, Piyaporn Promkaew, มลิวัลย์ รัตยา, Maliwan Rattaya, อัญชนา วิชช์วัฒนางกูร, Anchana Witwattanangoon, วิลาสินี แผ้วชนะ, Wilasinee Paewchana, จีรภา แก้วเขียว, Jeerapa Kaewkiaw, ชนัดดา อนุพัฒน์ and Chanatda Anupat. "รูปแบบการบริการสุขภาพของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยใช้กลไกพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5821">http://hdl.handle.net/11228/5821</a>.
.custom.total_download459
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month35
.custom.downloaded_this_year109
.custom.downloaded_fiscal_year197
.custom.is_recommendedtrue

Fulltext
Icon
Name: hs2941.pdf
Size: 7.428Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record