dc.contributor.author | ศักดา ทองดีเพ็ง | th_TH |
dc.contributor.author | Sakda Tongdeepeng | th_TH |
dc.contributor.author | พนิดา ประทุมวัน | th_TH |
dc.contributor.author | Panida Pratumwan | th_TH |
dc.contributor.author | ปิยะวัฒน์ หนูกลัด | th_TH |
dc.contributor.author | Piyawat Hnuklud | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-02-21T08:27:05Z | |
dc.date.available | 2023-02-21T08:27:05Z | |
dc.date.issued | 2565-10 | |
dc.identifier.other | hs2942 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5823 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอายุคาดเฉลี่ยที่มีสุขภาวะของประชาชนในเขตสุขภาพที่ 3 ปี พ.ศ. 2565 และจัดลำดับโรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาสำคัญในเขตสุขภาพที่ 3 เป็นวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรทาโร่ยามาเน่ ได้ตัวอย่าง จำนวน 1,230 ราย อายุ 10 ปีขึ้นไป สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนตามสัดส่วนประชากรรายจังหวัด เก็บข้อมูลอายุคาดเฉลี่ยที่มีสุขภาวะจากการตอบแบบประเมิน (EQ-5D-5L) ด้วยตนเอง ในมิติสุขภาพ 5 ด้าน ได้แก่ 1) การเคลื่อนไหว 2) การดูแลตนเอง 3) กิจกรรมที่ทำเป็นประจำ 4) อาการเจ็บปวด/อาการไม่สบายตัว และ 5) ความวิตกกังวล/ความซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีซัลลิแวน ส่วนการจัดลำดับโรคและภัยสุขภาพ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คณะกรรมการเขตสุขภาพที่ 3 จำนวน 25 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบจัดลำดับความสำคัญขององค์การอนามัยโลก มี 7 องค์ประกอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละและหาค่าความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square ผลการศึกษา พบว่า อายุคาดเฉลี่ยที่มีสุขภาวะของประชาชนเขตสุขภาพที่ 3 ปี พ.ศ. 2565 เท่ากับ 65.16 ปี ต่ำกว่าเป้าหมายประเทศไทยที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 68 ปี เมื่อแยกสถานะสุขภาพรายมิติ พบว่า มิติด้านการดูแลตนเองมีผลต่อคะแนนอรรถประโยชน์มากที่สุด สถานะสุขภาพที่คะแนนที่ดีที่สุด ร้อยละ 48.94 (รวมทั้ง 5 มิติ) และสถานะสุขภาพที่คะแนนน้อยที่สุด ร้อยละ 0.08 ส่วนของการจัดลำดับโรคและภัยสุขภาพ พบว่า 3 ลำดับแรก ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดและอุบัติเหตุทางถนน ตามลำดับ ข้อเสนอแนะควรศึกษาวิจัยกำหนดรูปแบบหรือแนวทางในการเพิ่มอายุคาดเฉลี่ยที่มีสุขภาวะของประชาชนให้เพิ่มขึ้น และจัดทำนโยบายกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาโรคและภัยสุขภาพ และจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Life Expectancy | th_TH |
dc.subject | สุขภาวะ | th_TH |
dc.subject | Well-Being | th_TH |
dc.subject | Self Care | th_TH |
dc.subject | Self-Care, Health | th_TH |
dc.subject | การดูแลสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง | th_TH |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | th_TH |
dc.subject | Quality of Life | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ระบบสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Systems | th_TH |
dc.subject | อนามัย, การสำรวจ | th_TH |
dc.subject | Health Surveys--Thailand | th_TH |
dc.subject | Health Surveys--Statistics | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.title | อายุคาดเฉลี่ยที่มีสุขภาวะของประชาชนเขตสุขภาพที่ 3 ปี พ.ศ. 2565 | th_TH |
dc.title.alternative | Health Adjusted Life Expectancy Region 3, 2022 | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this were to study the health adjusted life expectancy (HALE) of people in health region 3, 2022, and prioritize diseases and health hazards that are important problems in health region 3. The cross-sectional study design was used. A sample of 1,230 Thai people aged 10 and over in the responsible area of health region 3, were randomly selected using a multistage sampling technique. The EQ-5D-5L Thai Version is composed of Mobility Self-care Usual activities Pain/discomfort, and Anxiety/drepression. The Sullivan method was used to analyze the data. For priority diseases and health hazards problems in health region 3, data was collected by the priority setting methods were seven components of the World Health Organization. From the committee of the health region 3. The results revealed that the HALE of people in health region 3, 2022 was 65.16 years. Lower than the Thailand target set by at least 68 years. The self-care dimension had the greatest effect on utility scores. Health status at best scores 48.94% and lowest score 0.08%. The priority diseases and health hazards that are important problems in health region 3, showed that the top three were stroke, ischemic heart disease, and road traffic injuries. Further research should be recommended to determine the model or approach to increasing HALE. as well as developing policies and measures to solve disease and health hazards and allocating sufficient resources to lead to more effective and efficient implementation. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA900.JT3 ศ854อ 2565 | |
dc.identifier.contactno | 65-022 | |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | Regional Health Area | th_TH |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพที่ 3 | th_TH |
dc.subject.keyword | Regional Health Area 3 | th_TH |
dc.subject.keyword | อายุคาดเฉลี่ย | th_TH |
dc.subject.keyword | อายุคาดเฉลี่ยที่มีสุขภาวะ | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Adjusted Life Expectancy | th_TH |
dc.subject.keyword | HALE | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Examination | th_TH |
dc.subject.keyword | ลำดับโรคและภัยสุขภาพ | th_TH |
.custom.citation | ศักดา ทองดีเพ็ง, Sakda Tongdeepeng, พนิดา ประทุมวัน, Panida Pratumwan, ปิยะวัฒน์ หนูกลัด and Piyawat Hnuklud. "อายุคาดเฉลี่ยที่มีสุขภาวะของประชาชนเขตสุขภาพที่ 3 ปี พ.ศ. 2565." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5823">http://hdl.handle.net/11228/5823</a>. | |
.custom.total_download | 71 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 24 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 7 | |