Show simple item record

Indicators Development for Monitoring and Evaluating of RDU Community Driving in Thailand

dc.contributor.authorอิสรีย์ฐิกา ชัยสวัสดิ์ จันทร์ส่องสุขth_TH
dc.contributor.authorIsareethika Jayasvasti Chantarasongsukth_TH
dc.contributor.authorเพชรลดา บริหารth_TH
dc.contributor.authorPhetlada Borriharnth_TH
dc.contributor.authorนิภาพร เอื้อวัณณะโชติมาth_TH
dc.contributor.authorNipaporn Urwannachotimath_TH
dc.contributor.authorวีรยุทธ์ เลิศนทีth_TH
dc.contributor.authorVerayuth Lertnatteeth_TH
dc.contributor.authorเพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์th_TH
dc.contributor.authorPenkarn Kanjanaratth_TH
dc.contributor.authorนภาภรณ์ ภูริปัญญวานิชth_TH
dc.contributor.authorNaphaphorn Puripunyavanichth_TH
dc.date.accessioned2023-02-28T06:32:46Z
dc.date.available2023-02-28T06:32:46Z
dc.date.issued2565-11
dc.identifier.otherhs2945
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5825
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนของประเทศไทย โดยมีรูปแบบการศึกษา 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การทบทวนวรรณกรรมจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Document review) ศึกษาตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในระดับชุมชน จากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น WHO INRUD หน่วยงานในต่างๆ ประเทศ และหน่วยงานในประเทศไทยที่เป็นผู้พัฒนาตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในระดับชุมชน (2) สำรวจการใช้ยาของประชาชน (Survey study) ตามบริบทพื้นที่ 4 จังหวัดนำร่อง ภายใต้แผนงานประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (RDU Province) ได้แก่ จังหวัดเชียงราย อุทัยธานี ศรีสะเกษและสุราษฎร์ธานี โดยใช้แบบสอบถามที่มีข้อคำถามปลายเปิด (open–ended questions) ดำเนินการสัมภาษณ์โดยบุคลากรที่ได้รับการอบรมการใช้เครื่องมือและสัมภาษณ์จากผู้ให้คำตอบโดยตรง (face to face interview) เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม การรับรู้เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ยาเหลือใช้ในครัวเรือน การใช้ยาในผู้สูงอายุ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 374 คน และสำรวจความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประชาชนด้วยแบบสำรวจฉบับเร่งด่วน (RDU literacy rapid survey; RDUL_RS_17) ในภาคประชาชน 4 จังหวัดนำร่อง และ 4 จังหวัดพลัส (Plus) ได้แก่ จังหวัดนครนายก สระบุรี ลำปางและนราธิวาส รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 827 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่สำรวจกับพฤติกรรมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชนด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์พหุคูณ (Multiple Logistic Regression) รวมถึงการถอดบทเรียนในพื้นที่นำร่องจากตัวแทนภาคผู้ให้บริการและภาคประชาชนด้วยการอภิปรายกลุ่ม (Focus group discussion) การรวบรวมข้อมูลแนวทางการขับเคลื่อนงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตาม 5 key activities และการลงเยี่ยมร้านชำร่วมกับทีมเภสัชกร (3) จัดทำร่างชุดตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU Community Indicators; RDUCMI) และเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกตัวชี้วัดจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยการพิจารณาความตรงด้านเนื้อหา ด้วยดัชนีความสอดคล้องระหว่างรายการตัวชี้วัดกับวัตถุประสงค์การวิจัย (Item-Objective Congruence Index; IOC) และผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นตัวแทนจากผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานและภาคประชาชน ด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) จำนวน 3 รอบ ด้วยเกณฑ์การพิจารณาตัวชี้วัด 3 ข้อ ได้แก่ 1) ความเหมาะสมในการนำตัวชี้วัดไปใช้ในการติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนงาน RDU Community 2) ความสำคัญของตัวชี้วัดกับการส่งเสริมการดำเนินงาน RDU Community และ 3) ความเป็นไปได้ในการประเมิน (เก็บข้อมูล) และประมวลผลตัวชี้วัด (Feasibility) โดยใช้ค่าสถิติ Median และ Inter-quartile Range (IQR) เพื่อหาฉันทมติ (Consensus) ในการคัดเลือกตัวชี้วัดและนำไปทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น Inter-rater reliability (IRR) โดยใช้สถิติ Cohen’s kappa statistic (k) เพื่อการยืนยันตัวชี้วัดที่ได้รับคัดเลือก (4) ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำชุดตัวชี้วัดที่ได้รับฉันทมติจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำไปใช้ในการติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชนในสภาพจริง โดยจัดเวทีรับฟังความเห็นสาธารณะ (Public hearing) เพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างชุดตัวชี้วัด (RDUCMI) ในมุมมองของระดับพื้นที่ร่วมกัน โดยมีตัวแทนผู้เข้าร่วมจาก 4 จังหวัดนำร่อง 4 จังหวัดพลัส และจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศจากเวที onsite และผ่านช่องทาง Facebook live ผลการวิจัยพบว่ามี 13 ตัวชี้วัดหลักที่ถูกสกัดมาจากกระบวนการวิจัยในขั้นสุดท้ายและถูกนำไปเข้ากระบวนการรับฟังความเห็นสาธารณะ (Public hearing) จากเวทีการประชุมร่วมกับพื้นที่ศึกษาวิจัย 8 จังหวัด รวมทั้งจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำตัวชี้วัดที่ถูกพัฒนาขึ้น และผ่านการคัดเลือกไปใช้ติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน ผลจากการรับฟังความเห็นสาธารณะ พบว่า ควรดำเนินการเป็นแบบขั้นบันได โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ (level) เริ่มจากระดับที่ 1 : ตัวชี้วัดที่พื้นที่สามารถดำเนินการได้และสามารถวัดประเมินผลได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การมีระบบข้อมูลเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาเชิงรุกในชุมชน และ 2) การมีระบบเชื่อมต่อการเฝ้าระวัง ความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในหน่วยบริการและชุมชน และรายงาน เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวัง และแก้ปัญหาในจังหวัด (ตัวชี้วัดเชิงโครงสร้าง) 3) ร้อยละของแหล่งจำหน่ายยาในชุมชน (ร้านยาประเภท ขย.2/ร้านชำ รถเร่ ตลาดนัด) ที่ตรวจพบการขายยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ยาชุด 4) ร้อยละของยาชุด ที่พบในครัวเรือน และ 5) ร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปนเปื้อนสเตียรอยด์ที่พบในครัวเรือน (ซึ่งทั้งสามตัวหลังเป็นตัวชี้วัดเชิงผลผลิต) ระดับที่ 2 : ตัวชี้วัดที่พื้นที่สามารถดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 และให้วัดและประเมินผลในปี พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป จำนวน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การบรรจุเนื้อหาเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอยู่ในหลักสูตรระดับประถมศึกษา/มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา/การศึกษานอกระบบ (ตัวชี้วัดเชิงโครงสร้าง) 2) การรายงานสถานการณ์รายพื้นที่เกี่ยวกับการพบการจำหน่ายยาอันตราย ยาชุดและผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัยในชมชน รวมถึง ADR/ADE จากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์ฯ โดยเครือข่ายชุมชนแต่ละระดับสามารถเฝ้าระวังยาที่ไม่ปลอดภัยในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งแจ้งเตือนภัยให้ชุมชนและระหว่างเครือข่าย และ 3) การส่งเสริมความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในระดับชุมชน (ตัวชี้วัดเชิงกระบวนการ) 4) ร้อยละของเภสัชกรที่ผ่านการอบรมอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลสำหรับเภสัชกรผู้จ่ายยาในร้านยา (ตัวชี้วัดเชิงผลผลิต) ระดับที่ 3 : ตัวชี้วัดที่พื้นที่สามารถดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 และให้วัดและประเมินผลในปี พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป จำนวน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ภาคีเครือข่ายชุมชนขับเคลื่อนการใช้ยาอย่างสมเหผลในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนทั้งในระดับอำเภอ/ตำบล (ตัวชี้วัดเชิงกระบวนการ) 2) ร้อยละอำเภอต้นแบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของแต่ละจังหวัด และ 3) ร้อยละจังหวัดมีการพัฒนาอำเภอใช้ยาอย่างสมเหตุผล (ตัวชี้วัดเชิงผลผลิต) และ 4) ร้อยละของประชาชนในชุมชน (อำเภอ/ตำบล) ที่มีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (ตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์) นอกจากนี้มีตัวชี้วัดอีก 8 ตัวที่คณะทำงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัยในชุมชนมีความเห็นว่าควรนำกลับมาจากคลังชุดตัวชี้วัดตั้งต้นที่มีอยู่ เพื่อนำมาเป็นตัวชี้หลักและใช้ในการขับเคลื่อนงาน RDU community อย่างสมบูรณ์ต่อไปในอนาคต ได้แก่ 1) จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยง/ปัญหาจากการใช้ยาโดย trigger tools แยกตามโรคและผลิตภัณฑ์ 2) การใช้ ICD-P ในโปรแกรม Hosxp ของโรงพยาบาล 3) ร้อยละของโรงพยาบาลเอกชน คลินิกที่มีฉลากยา RDU (ถูกต้อง/เหมาะสม/ครบถ้วน) 4) ร้อยละของร้านขายยาประเภท (ขย.1) ผ่านเกณฑ์ GPP หมวด 5 5) ร้อยละของครัวเรือนที่มียาปฏิชีวนะเหลือใช้ 6) ร้อยละของการจำหน่ายยาปฏิชีวนะ/NSAIDs ในร้านขายยาประเภท ขย.2 ร้านชำ รถเร่ และตลาดนัดในชุมชน 7) ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรม/โครงการด้าน RDU ในพื้นที่ และ 8) ร้อยละบุคลากรทางการแพทย์ สหวิชาชีพ เช่น พยาบาลเวชปฏิบัติ นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข ที่มีความรอบรู้ด้านการสั่งใช้และจ่ายยาอย่างสมเหตุผล ดังนั้นสรุปได้ว่ามีตัวชี้วัดหลักทั้งสิ้น 21 ตัวชี้วัด จุดคานงัดที่สำคัญของการนำร่างชุดตัวชี้วัด RDUCMI นี้ไปใช้ในการติดตามและประเมินผลฯ คือ 1) ควรกำหนดประเด็นหลักๆ ที่ต้องการติดตามและประเมินผลให้ชัดเจนในแต่ละระยะ เช่น กำหนดประเด็นในเรื่อง NSAIDs Steroid ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาหลักๆ ที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับปัจเจก รวมถึงส่งผลกระทบในระดับชุมชนจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาจากปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ อีกทั้งประเด็นยาชุดมุ่งเน้นและการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสื่อโฆษณาและช่องทางออนไลน์ 2) แนวทางในการกำกับติดตามฯ ในสถานบริการสุขภาพเอกชน เช่น คลินิก ร้านยา ร้านชำและร้านสะดวกซื้อ ที่ผ่านมาการดำเนินงาน RDU ในสถานบริการสุขภาพเอกชนหลายส่วนเป็นไปในลักษณะตามความสมัครใจ การกำกับติดตามอย่างเป็นระบบยังคงเป็นข้อจำกัด 3) การออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลในลักษณะของคลังข้อมูล (data storage) ที่ได้จากการสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงาน RDU “ในชุมชน” เป็นสิ่งสำคัญที่ควรพัฒนาต่อยอดจากการมีชุดตัวชี้วัด RDUCMI เพื่อการติดตามและประเมินผลฯ ในชุมชนอย่างเป็นระบบ โดยสรรหาหน่วยงานเจ้าภาพที่มีความเหมาะสม รวมถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งถ้ามีฐานข้อมูลลักษณะนี้จะสนับสนุนชุดตัวชี้วัดของการใช้ยาสมเหตุผลในชุมชนดังที่ได้เสนอไว้ในโครงการวิจัยนี้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectDrug Utilizationth_TH
dc.subjectPharmacyth_TH
dc.subjectเภสัชกรรมth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectCommunityth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectHospitalth_TH
dc.subjectการบริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectHospital Administrationth_TH
dc.subjectตัวชี้วัดth_TH
dc.subjectIndicatorsth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeIndicators Development for Monitoring and Evaluating of RDU Community Driving in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to develop indicators for monitoring and evaluating rational drug use (RDU) community driving outcome in Thailand. This study was classified into the following four parts. Part 1: Gathering the relevant indicators towards RDU promotion at the community level from literature reviews (i.e., WHO INRUD and other international and national organizations nations). Part 2: Investigating people’s drug usage in four pilot provinces under the Food and Drug Administration’s country project on rational drug use (RDU Province) includes the provinces of Chiang Rai, Uthai Thani, Sisaket, and Surat Thani. A total of 374 people participated in this study and well-trained personnel performed face-to-face interview with them. Open-ended questions about knowledge, attitudes, behavior of RDU, and perceptions of RDU project, household drug surpluses, and elderly drug usage were utilized. In addition, data from 827 samples were gathered for the RDU literacy rapid survey from four pilot areas and four additional provinces (Nakhon Nayok province, Saraburi province, Lampang province, and Narathiwat province). The relationship between explanatory factors and the people's rational drug use behavior was analyzed using multiple logistic regression. Including data gathering from guidelines for driving rational drug use in accordance with the five key activities and visiting grocery stores with pharmacists (RDU Coordinator), lessons learned in four prototype regions from the provider and the public sector representatives through focus group discussion. Part 3: Drafting a set of RDU community indicators (RDUCMI) and entering the process of selecting indicators with the help of experts (representing policy makers, academics, practitioners and public sector). The index of consistency between the list of indicators and the research objectives was applied at this point to determine content validity (Item-Objective Congruence Index; IOC). In addition, the Delphi technique for three rounds with the criteria of taking into consideration three indicators for the following: (i) appropriateness of indicators for monitoring and evaluating the results of driving RDU Community, (ii) the importance of the indicators in promoting the implementation of the RDU Community, and (iii) the possibility of evaluating (collecting data) and processing the indicators (feasibility) by using Median and Interquartile range (IQR) statistics to find consensus in selecting indicators and to test for Inter-rater reliability (IRR) using Cohen's kappa statistics (k) for confirmation of selected indicators. Part 4: testing the feasibility of RDUCMI for monitoring and evaluating the RDU community by using public hearing and database related indicators. The results of this study revealed that there were 13 key indicators of rational drug use in the community (RDUCMI) were extracted from this final research process. In order to assess the possibility of bringing developed and selected indicators for monitoring and evaluating the rational drug use in the community. Therefore, this set of indicators was taken to a public hearing at a forum with research areas in eight provinces and other provinces across the country. It was observed that the operation should be carried out over three flights of stairs. Starting at Level 1: there are five indicators that the area can be operated and can be measured as of 2023, (i) the presence of a proactive drug safety surveillance information system in the community; and (ii) the presence of a connected surveillance system, drug safety and health products in service units and communities, and reports to achieve surveillance and solve problems in the province; (iii) percentage of drug dealers in the community (Drug store type Khor. Yor. 2/ grocery store, hawker, flea market) that detects the sale of dangerous drugs, especially controlled drugs and drug combinations; (iv) percentage of drug combinations; and (v) percentage of steroid-contaminated health products found in households. Level 2: the area can implement a total of four indicators starting in 2023, which can be measured and evaluated starting in 2024. These indicators are: (i) inclusion of rational drug use content in the curricula for primary, secondary, vocational, and nonformal education; 2) reporting of the situation by area regarding the distribution of dangerous drugs, drug combinations and products that are unsafe for the public, including adverse drug reaction (ADR) and adverse drug event (ADE) from drug use and products. The community network at each level can monitor unsafe drugs in their local area and issue warnings to the community and to other networks; (iii) promoting knowledge about RDU at the community level; (iv) percentage of pharmacists who have had formal training in the rational use of drugs for pharmacists in pharmacies. Level 3: there are a total of four indicators that the area can operate starting in 2023 and can be measured and evaluated starting in 2025. These indicators are: (i) community network partners driving drug use consistently and sustainably in the community at the district/sub-district level; (ii) percentage of model districts of rational drug use in each province; (iii) percentage of provinces that have developed to rational drug use districts; and 4) the percentage of people in the community who have knowledge of rational drug use. Moreover, there are 8 additional indicators that the working group for the community's rational drug use and safety development system agreed should be reinstated from the existing default set of indicators to be used as key indicators to completely drivethe RDU community in the future and consisted of 1) Number of patients screened for risk/problem from drug use by trigger tools separated by disease and product, 2) Use of ICD-P in the Hosxp program of hospitals, 3) Percentage of private hospitals, clinics with RDU labeling (Correct/Proper/Complete), 4) Percentage of drugstores (KorKhor.1) that met the criteria for GPP Category 5, 5) Percentage of households with antibiotics left over, 6) Percentage of antibiotics/NSAIDs sold in Khor.Yor. 2, grocery stores, hawkers and flea markets in the community, 7), the community participates in organizing RDU activities/ projects in the area, and 8) percentage of multidisciplinary health personnel in the community such as nurse practitioners, public health technical officer, public health officer with literate of rational drug prescribing and dispensing. In conclusion, there are a total of 21 key indicators. The following are important implementation levers for this draft RDUCMI indicator set for monitoring and evaluation: (i) Each phase of the community mobilization assessment should clearly define the main issues that need to be monitored and evaluated. Including use of specific drug combinations, as well as purchasing health products from media and online channels. (ii) In the private health sectors, such as clinics, pharmacies, grocery stores, and convenience stores, the implementation of RDU guidelines for monitoring and evaluating has been voluntary; however, systematic action are still a limitation. (iii) The design of the database structure in the form of “data storage” derived from surveys related to RDU activities “in the community” is important that should be developed from the RDUCMI set of indicators for follow and systematically assess the results in the community. This kind of database would support the set of indicators of rational drug use in the community as proposed in this research project.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 อ764ก 2565
dc.identifier.contactno64-089
dc.subject.keywordRational Drug Useth_TH
dc.subject.keywordRDUth_TH
dc.subject.keywordการใช้ยาอย่างสมเหตุผลth_TH
.custom.citationอิสรีย์ฐิกา ชัยสวัสดิ์ จันทร์ส่องสุข, Isareethika Jayasvasti Chantarasongsuk, เพชรลดา บริหาร, Phetlada Borriharn, นิภาพร เอื้อวัณณะโชติมา, Nipaporn Urwannachotima, วีรยุทธ์ เลิศนที, Verayuth Lertnattee, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, Penkarn Kanjanarat, นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช and Naphaphorn Puripunyavanich. "การพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนของประเทศไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5825">http://hdl.handle.net/11228/5825</a>.
.custom.total_download191
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month7
.custom.downloaded_this_year87
.custom.downloaded_fiscal_year13

Fulltext
Icon
Name: hs2945.pdf
Size: 9.539Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record