dc.contributor.author | สุพัตรา ศรีวณิชชากร | th_TH |
dc.contributor.author | Supattra Srivanichakorn | th_TH |
dc.contributor.author | ราม รังสินธุ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Ram Rangsin | th_TH |
dc.contributor.author | กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Kitti Wongthavarawat | th_TH |
dc.contributor.author | อรุโณทัย ศิริอัศวกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Arunotai Siriussawakul | th_TH |
dc.contributor.author | ปารวี ชีวะอิสระกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Parawee Chevaisrakul | th_TH |
dc.contributor.author | วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ | th_TH |
dc.contributor.author | Varalak Srinonprasert | th_TH |
dc.contributor.author | พัทธรา ลีฬหวรงค์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pattara Leelahavarong | th_TH |
dc.contributor.author | สายรัตน์ นกน้อย | th_TH |
dc.contributor.author | Sairat Noknoy | th_TH |
dc.contributor.author | ยุพดี ศิริสินสุข | th_TH |
dc.contributor.author | Yupadee Sirisinsuk | th_TH |
dc.contributor.author | ธีระบูลย์ เลิศวณิชย์วัฒนา | th_TH |
dc.contributor.author | Teeraboon Lertwanichwattana | th_TH |
dc.contributor.author | พุทธภูมิ ลำเจียกเทศ | th_TH |
dc.contributor.author | Putthapoom Lumjiaktase | th_TH |
dc.contributor.author | ศิรินภา ศิริพร ณ ราชสีมา | th_TH |
dc.contributor.author | Sirinapa Siriporn Na Ratchaseema | th_TH |
dc.contributor.author | พงศ์ธร เกียรติดำรงวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pongtorn Kietdumrongwong | th_TH |
dc.contributor.author | นิตยา ภานุภาค | th_TH |
dc.contributor.author | Nittaya Phanuphak | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-02-28T06:48:11Z | |
dc.date.available | 2023-02-28T06:48:11Z | |
dc.date.issued | 2565-12 | |
dc.identifier.other | hs2946 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5826 | |
dc.description.abstract | สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของประเทศไทย พบว่า เกิดความรุนแรงถึงระดับภาวะวิกฤตทางด้านสาธารณสุข จากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 3 ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 โดยเกิดภาวะวิกฤตสูงสุดในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นผลมาจากการระบาดอย่างรวดเร็วของสายพันธุ์เดลต้า เข้ามาสู่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งในขณะนั้นระดับการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประชากรยังอยู่ในระดับต่ำ จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 จากการรับผู้ป่วยเข้าสู่การดูแลรักษาในโรงพยาบาลทุกราย ไปเป็นการดูแลรักษาด้วยระบบการแยกกักตัวที่บ้าน ในกรณีที่อาการผู้ป่วยอยู่ในระดับที่ไม่มีความรุนแรง เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเตียงในการดูแลรักษาพยาบาล ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ด้วยการแยกกักตัวที่บ้าน (Home isolation: HI) เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขหลายฝ่าย ได้แก่ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์และมูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี โดยทำงานร่วมกับองค์กรภาคประชาชน โดยใช้ระบบ Assistive Technology and Medical Devices Research Center (AMED Telehealth) ในการขับเคลื่อนในการดูแลประชาชน ภายใต้โครงการ Com-COVID19 (Community-led COVID-19 support workforce) โดยให้บริการผ่าน FamMed CoCare และสนับสนุนการดำเนินการของคลินิกชุมชนอบอุ่นที่เข้าร่วมโครงการ การศึกษาข้อมูลการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ภายใต้ระบบ HI ที่ได้ถูกบันทึกไว้ในระบบ AMED Telehealth จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเป็นบทเรียนที่สำคัญของประเทศในการแก้ปัญหาสถานการณ์วิกฤต นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการปฐมภูมิให้สามารถให้บริการสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤตในอนาคต ระเบียบวิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ศึกษาตามรุ่นย้อนหลัง (Retrospective cohort study) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยระบบ HI ในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เข้าสู่ระบบ AMED Telehealth ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ภายในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และได้ติดตามถึงการเสียชีวิตจนสิ้นสุดวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565 จากการศึกษาพบว่า ในสถานการณ์ภาวะวิกฤต แม้จะมีเงื่อนไขของการรับผู้ป่วยเข้าสู่ระบบ HI สำหรับผู้ป่วยที่มีความรุนแรงต่ำ แต่ในสภาพความเป็นจริง ระบบจะต้องมีการเตรียมความพร้อมที่จะตอบสนอง รองรับผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนและรุนแรงสูง ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในช่วงต้นของการระบาด การดูแลรักษาภายใต้โครงสร้างระบบสุขภาพปกติ ได้แก่ โรงพยาบาลและหน่วยบริการปฐมภูมิ ทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน ร่วมกับการดูแลรักษาภายใต้ระบบเฉพาะกิจ มีความสำคัญต่อการตอบสนองสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในภาวะวิกฤต ของพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระบบการดูแลรักษาโดยหน่วยเฉพาะกิจ เช่น FamMed CoCare (พริบตาแทนเจอรีนคลินิก) และสภากาชาดไทย ได้เข้ามามีบทบาทในการตอบโต้อย่างรวดเร็วเท่าทันสถานการณ์ ในช่วงต้นของการระบาดระลอกที่ 3 ได้เป็นอย่างดี โดยในช่วงต้นดังกล่าวนี้ระบบการดูแลรักษาที่อยู่ภายใต้โครงสร้างปกติ จะใช้ระยะเวลาระยะหนึ่งในการตอบโต้ภาวะวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อปรับตัวได้แล้วระบบการดูแลรักษาที่อยู่ภายใต้โครงสร้างปกติ จะมีศักยภาพสูงในการให้การดูแลรักษา เนื่องจากมีจำนวนสถานพยาบาล การกระจายและจำนวนเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานเต็มเวลา มีปริมาณเพียงพอในการตอบสนองต่อภาวะวิกฤต หน่วยบริการเฉพาะกิจที่มีการรวมตัวของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีความซับซ้อนและรุนแรงสูง ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ภายใต้สถานการณ์วิกฤตของการระบาดอย่างรุนแรงในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระบบบริการปฐมภูมิทั้งที่อยู่ในระบบของรัฐและเอกชน ในการตอบโต้ต่อภาวะวิกฤตได้อย่างครอบคลุมและรองรับการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ได้เป็นจำนวนมาก จากการศึกษาผลลัพธ์การดูแลสถานการณ์การระบาดในครั้งนี้ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตภายใน 28 วัน ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 สามารถที่จะทำให้เกิดการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การเตรียมความพร้อมของระบบบริการปฐมภูมิ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบให้มีความพร้อมต่อการรับมือของภาวะวิกฤตในอนาคต | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วย--การดูแล | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ระบบสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Systems | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ผลลัพธ์การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยระบบการแยกกักตัวที่บ้าน | th_TH |
dc.title.alternative | Outcomes of Home Isolation Care Among Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Patients in Bangkok Metropolitan Region | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The COVID-19 pandemic in Thailand is part of the global pandemic of coronavirus disease 2019 caused by SARS-coronavirus 2 (SARS-CoV-2). Because of the high population density, Bangkok Metropolitan Region was the one of the major epicenters of COVID-19 epidemic in Thailand during the Delta wave in 2021. The explosive number of COVID-19 patients during that time brought the Thai government to initiate home isolation program. Methods A retrospective cohort study was conducted. All recorded COVID-19 patients in Bangkok Metropolitan Region enrolled into the home isolation program (HI) were identified from A-MED Telehealth electronic health records (EHRs) data during 1 July 2021 and 31 December 2021. Furthermore, the vital status of the enrolled patients was evaluated from the National Civil Registration database on 20 September 2022. Mortality within 28 days and associated factors were analyzed using Kaplan-Meier method and Cox proportional hazard model. Results The total number of participants was 90,861, with the 14th of August having the highest admission of 3,391 registrants. The HI care system in Bangkok Metropolitan Region during the study period consisted of two major components: standard health systems and the services under the HI crisis response task force for COVID-19 patients. In standard health systems, the operation sectors included BMA Medical Service Department hospitals, public health service centers, and private clinics, whereas the services under the HI crisis response task force included Fammed CoCare (Tangerine Clinic) supported by the Royal College of Family Physicians of Thailand and the Thai Red Cross Society. Fammed CoCare was accountable for up to 50% of COVID-19 patients in July, the first month of HI protocol implementation. The average age was 37.28±18.96 years old. Almost half of the participants were men, and 55.70% were covered under the universal coverage scheme. Non-Thai was included in the protocol 5.48%. Obesity was (body mass index (BMI) ≥30.00 kg/m2) 14.12%. The percentages of healthcare centers in charge of the HI program (public health service centers, private clinics, Fammed CoCare (tangerine clinic)) were 38.76%, 24.18%, 20.86% respectively. Asymptomatic, mildly symptomatic, urgent symptoms, death, resolution, and urgent administration (42.80%, 29.50%, 1.20%, 0.01%, 0.70%, and 9.30%, respectively) are initial symptoms. Andrographis paniculate, Favipiravir, and oral steroid are among the medications prescribed (8.70%, 23.00%, and 0.53%, respectively). During a follow-up period 988.54 person-years, 1,349 participants died. 50% and 8% of the death was happened within 28 days after days of illness (DOI) and during the HI program, respectively. 20% of death was occurred at home. COVID-19 accounted for 70% of all causes of mortality, while non-expected natural causes accounted for 55.40% of all other causes of death. Suicide was the leading cause of death within 8 weeks of DOI. Conclusion The unprecedented COVID-19 pandemic outbreak needs adaptable systems capable of responding in timely manner to patient management. Standard health systems, particularly in the early stages, should coordinate with the services under the HI crisis response task force for COVID-19 patients, which has the flexibility to assemble multidisciplinary teams. The many lessons learnt from the current COVID-19 problem were used to guide the future paths of outbreak management systems in this situation. | th_TH |
dc.identifier.callno | WC503 ส829ผ 2565 | |
dc.identifier.contactno | 65-014 | |
dc.subject.keyword | Home Isolation | th_TH |
dc.subject.keyword | HI | th_TH |
dc.subject.keyword | แยกกักตัวที่บ้าน | th_TH |
.custom.citation | สุพัตรา ศรีวณิชชากร, Supattra Srivanichakorn, ราม รังสินธุ์, Ram Rangsin, กิตติ วงศ์ถาวราวัฒน์, Kitti Wongthavarawat, อรุโณทัย ศิริอัศวกุล, Arunotai Siriussawakul, ปารวี ชีวะอิสระกุล, Parawee Chevaisrakul, วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ, Varalak Srinonprasert, พัทธรา ลีฬหวรงค์, Pattara Leelahavarong, สายรัตน์ นกน้อย, Sairat Noknoy, ยุพดี ศิริสินสุข, Yupadee Sirisinsuk, ธีระบูลย์ เลิศวณิชย์วัฒนา, Teeraboon Lertwanichwattana, พุทธภูมิ ลำเจียกเทศ, Putthapoom Lumjiaktase, ศิรินภา ศิริพร ณ ราชสีมา, Sirinapa Siriporn Na Ratchaseema, พงศ์ธร เกียรติดำรงวงศ์, Pongtorn Kietdumrongwong, นิตยา ภานุภาค and Nittaya Phanuphak. "ผลลัพธ์การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยระบบการแยกกักตัวที่บ้าน." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5826">http://hdl.handle.net/11228/5826</a>. | |
.custom.total_download | 61 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 18 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |