dc.contributor.author | สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Samrit Srithamrongsawat | th_TH |
dc.contributor.author | ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล | th_TH |
dc.contributor.author | Paibul Suriyawongpaisal | th_TH |
dc.contributor.author | ภาณุวิชญ์ แก้วกำจรชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Phanuwich Kaewkamjornchai | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-03-07T04:52:26Z | |
dc.date.available | 2023-03-07T04:52:26Z | |
dc.date.issued | 2565-12 | |
dc.identifier.other | hs2950 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5828 | |
dc.description.abstract | การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบในระบบสุขภาพในประเด็นความต่อเนื่องของการส่งมอบบริการสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทั้งจากสถานการณ์ของจำนวนผู้ติดเชื้อเองและผลจากมาตรการนโยบายต่างๆ ที่ใช้ควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีนโยบายให้ระบบสุขภาพปฐมภูมิเป็นแกนหลักในการส่งมอบบริการสุขภาพวิถีใหม่นอกโรงพยาบาลโดยการสร้างเครือข่ายการให้บริการระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิ คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกการพยาบาลและผดุงครรภ์ ร้านยา การตรวจทางห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล งานวิจัยชิ้นนี้ประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินผลเพื่อการพัฒนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานในการทบทวนวรรณกรรม การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิเชิงปริมาณและการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อประเมินว่าการดำเนินการบรรลุเป้าประสงค์ตามเจตนารมณ์ในการเพิ่มความครอบคลุมประสิทธิผลในประชาชนหรือไม่ โดยเน้นในบริบทเขตเมืองจังหวัดนครราชสีมาและกรุงเทพมหานคร เพื่อนำมาสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาเชิงระบบ คณะผู้วิจัย พบว่า ภาระโรคของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในบริบทประเทศไทยยังคงสูงโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งถึงแม้จะมีการเข้าถึงในระดับดีแต่ประสิทธิผลในการดูแลยังมีอยู่จำกัด อีกทั้งยังพบการลดลงของการส่งมอบบริการในช่วงที่มีนโยบายปิดเมือง สำหรับนโยบายการส่งมอบบริการสุขภาพวิถีใหม่ พบว่า มีการส่งมอบบริการระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 โดยการให้บริการสูงสุด คือ การบริการการแพทย์ทางไกลโดยหน่วยบริการภาครัฐ สำหรับการร่วมให้บริการของคลินิกกายภาพบำบัด คลินิกการพยาบาลและผดุงครรภ์ยังมีจำกัดในแง่ของจำนวนคลินิกที่ร่วมให้บริการ และจำนวนผู้ป่วยที่เข้าใช้บริการ ซึ่งมีความท้าทายในแง่การกระจายตัวของการส่งมอบบริการในระดับประเทศ จากข้อค้นพบ คณะผู้วิจัยได้สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายที่เน้นให้หน่วยบริการปฐมภูมิเป็นแกนหลักในการส่งมอบบริการสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังผ่านการทำงานของผู้ประสานงานระดับพื้นที่ (area manager) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต้องมีการจ้างและระบุบทบาทหน้าที่เพิ่มเติม มีการทำแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกันระหว่างหน่วยบริการประจำ หน่วยบริการปฐมภูมิและมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยบริการภาครัฐและคลินิกเอกชนที่ร่วมให้บริการในเครือข่าย และระบบสารสนเทศดังกล่าวต้องมีความสามารถให้ผู้รับบริการยืนยันการได้รับบริการเพื่อความโปร่งใสในการเบิกจ่ายค่าตอบแทน อีกทั้งหน่วยงานต่างๆ อีกทั้งควรมีกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียเพื่อค้นหาปัญหาและโอกาสพัฒนา รวมถึงการใช้และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินและออกแบบนโยบายร่วมกันในอนาคต | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วย--การดูแล | th_TH |
dc.subject | โรคไม่ติดต่อ | th_TH |
dc.subject | Non-communicable Diseases | th_TH |
dc.subject | โรคเรื้อรัง--การรักษา | th_TH |
dc.subject | Chronic Disease--Therapy | th_TH |
dc.subject | โรคเรื้อรัง--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | Chronic Disease--Prevention & Control | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Telehealth | th_TH |
dc.subject | Telemedicine | th_TH |
dc.subject | การแพทย์ทางไกล | th_TH |
dc.subject | การประเมินผล | th_TH |
dc.subject | Evaluation | th_TH |
dc.subject | Measurement | th_TH |
dc.subject | ระบบสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Systems | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การวิจัยประเมินเพื่อพัฒนารูปแบบการจ่ายเพื่อสนับสนุนระบบการจัดบริการสุขภาพ วิถีใหม่นอกโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ปีที่ 1) | th_TH |
dc.title.alternative | Developmental Evaluation of Payment Methods to Support New Normal Health Care Delivery Outside the Hospital for Patients with Chronic Conditions (Year 1) | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | COVID-19 pandemics effected health systems in term of increasing of workload caused by the number of infectious, also the effected on routine health services especially continuity of healthcare deliveries for the patients with chronic conditions. The Ministry of public health and the National health security office established the new-normal healthcare policy which emphasized on outside hospital care deliveries by strengthening primary care services together with the partnership including private rehabilitation clinics, nursing clinics and drug stores. This project applied the evaluation development concept by applying mixed-method research design to evaluate the implementation of the policy and synthesized the policy recommendations based on the findings. We performed the literature review, together with analysis of secondary quantitative data and qualitative data collecting from multi-stakeholders. We found that health burden of non-communicable diseases and conditions are high and increasing over the time especially on hypertension, diabetes, and related complications such as stroke. The services utilizations of this group of patients were disrupted by lock-down policy during COVID-19 pandemics. There were existing of new-normal care deliveries during 2020-2022 especially there were the high number of telemedicine which performed by public health facilities. However, the services provided by private rehabilitation clinics and private nursing clinics were still limited in term of number of clinics, number of patients, and also in the term of geographical distributions of services. According to our findings, we strongly emphasized that primary care should be the core of new-normal health services for the patients with chronic conditions. To delivery high effective coverage care, the area manager position and role should be established and should be paid by NHSO at primary care level. Individual care plan should be done by care team and should be monitored and evaluated by area manager. Effective information systems should be designed and implemented and should be able to connect every stakeholder in primary care network. Also, the information systems must allow the patients to confirm their received care by private partners. The authorities should arrange the platform that allow all partners working together effectively and analyzing the routine data for better policy designing and decisioning. | th_TH |
dc.identifier.callno | W84.6 ส616ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 64-103 | |
dc.subject.keyword | NCDs | th_TH |
dc.subject.keyword | โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง | th_TH |
.custom.citation | สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, Samrit Srithamrongsawat, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, Paibul Suriyawongpaisal, ภาณุวิชญ์ แก้วกำจรชัย and Phanuwich Kaewkamjornchai. "การวิจัยประเมินเพื่อพัฒนารูปแบบการจ่ายเพื่อสนับสนุนระบบการจัดบริการสุขภาพ วิถีใหม่นอกโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ปีที่ 1)." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5828">http://hdl.handle.net/11228/5828</a>. | |
.custom.total_download | 82 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 25 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |