Show simple item record

The Mobilization for Inter-Agency Collaboration and Citizen Engagement for Developing a Primary Health Care System for Provincial Administrative Organizations: A Cases of Khon Kaen Provincial Administrative Organization

dc.contributor.authorพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์th_TH
dc.contributor.authorPeerasit Kamnuansilpath_TH
dc.contributor.authorธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชาth_TH
dc.contributor.authorTatchalerm Sudhipongprachath_TH
dc.contributor.authorศิริศักดิ์ เหล่าจันขามth_TH
dc.contributor.authorSirisak Laochankhamth_TH
dc.contributor.authorกฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์th_TH
dc.contributor.authorGrichawat Lowatcharinth_TH
dc.contributor.authorปานปั้น รองหานามth_TH
dc.contributor.authorPanpun Ronghanamth_TH
dc.date.accessioned2023-03-22T08:16:10Z
dc.date.available2023-03-22T08:16:10Z
dc.date.issued2566-01
dc.identifier.otherhs2955
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5835
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพร้อมของระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นที่รับถ่ายโอนภารกิจการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่กรณีศึกษา โดยตัวแบบนั้นต้องครอบคลุมและบูรณาการกรอบแนวคิดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ต้องมีเงื่อนไขมากกว่าการให้ข้อคิดเห็นตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 2) เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบการให้บริการสุขภาพขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ได้รับการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการปรับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขในระดับภูมิภาคในการสนับสนุนและส่งเสริมการถ่ายโอน รพ.สต. ดำเนินการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากส่วนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขของจังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ยังดำเนินเก็บข้อมูลปฐมภูมิ ประกอบด้วย 1) การสัมภาษณ์ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารสุขในจังหวัดขอนแก่น ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้อำนวยการกองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น และ 2) การจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้อำนวยการรพ.สต. และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รวมไปถึงการจัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบายของการถ่ายโอน รพ.สต. ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้ จังหวัดขอนแก่นมีการถ่ายโอน รพ.สต.มายังองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งหมดจำนวน 248 แห่ง หรือมีการถ่ายโอนทั้งสิ้นร้อยละ 100 ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยความสำเร็จของการถ่ายโอนภารกิจมาจาก (1) ความพร้อมและชัดเจนด้านนโยบายการถ่ายโอนภารกิจ (2) ความเชื่อมั่นของทั้งบุคลากรใน รพ.สต. และจากภาคประชาชนที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยเฉพาะในด้านภาวะผู้นำ (3) ในการถ่ายโอนภารกิจนี้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความหวังต่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ และ (4) การแปรเปลี่ยนลักษณะการบริหารงานที่มีการเพิ่มอำนาจการตัดสินใจและการเงินให้กับ รพ.สต. ทั้งนี้จากปัจจัยและความเชื่อมั่นในสวัสดิการ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเชื่อมั่นในการเพิ่มศักยภาพในการบริการภาคประชาชนนั้นมาจากปูมหลังความสำเร็จของการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นในการถ่ายโอนภารกิจสำคัญอื่นๆ เป็นองค์ประกอบสำคัญ เนื่องจากการถ่ายโอนภารกิจอย่างเป็นทางการเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาประมาณ 4 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 จนกระทั่งถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 แม้ว่าจะมีการทำความเข้าใจต่อการถ่ายโอนภารกิจมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ยังจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาส่วนต่างๆ เพื่อให้มีความเรียบร้อย สมบูรณ์และพัฒนาคุณภาพด้านบริการแก่ประชาชนให้ดียิ่งขึ้น โดยจากการศึกษาพบว่า ระดับการให้บริการของประชาชนสำหรับปฏิบัติการของ รพ.สต. ยังคงสามารถให้บริการชุมชนได้โดยปกติและยังคงสามารถรักษามาตรฐานของการให้บริการไว้ได้ดี จากการศึกษายัง พบอีกว่าควรมีการพัฒนาด้านการรับรู้ของบุคลากรที่สังกัด รพ.สต. ทั่วจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้เกิด (1) ความรับผิดชอบของบุคลากรของ รพ. สต. (2) การปรับโครงสร้างของระเบียบและการดำเนินงานด้านเอกสาร (3) ความก้าวหน้าของบุคลากรที่ชัดเจน และ (4) ลดความกังวลเรื่องระเบียบ พัสดุ การเงิน การบัญชี การประสานงานกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ทับซ้อน ความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น สารสนเทศและการพัฒนาตนเอง ผลการศึกษาในด้านกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการงานและภารกิจของ รพ.สต. พบว่า อสม. เป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่มีความเข้มแข็ง ทั้งนี้รูปแบบความสัมพันธ์และกิจกรรมที่ดำเนินร่วมกันกับ รพ.สต. ยังมีบทบาทเดิมไม่แปรเปลี่ยน เนื่องจาก อสม. ยังคงเป็นตัวแทนภาคประชาชนที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการถ่ายโอนภารกิจนี้มากนัก แต่อย่างไรก็ตาม อสม. ยังมีความกังวลใจต่อความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตนและองค์การบริหารส่วนจังหวัด จึงจำเป็นจะต้องสร้างการรับรู้และเข้าใจร่วมกันต่อจากนี้ การศึกษานี้ให้ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการงานหลังจากการถ่ายโอนภารกิจออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ในระยะสั้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดควรมีการดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้และสมรรถนะของบุคลากร รพ.สต. เกี่ยวกับแนวปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัด การทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ วัฒนธรรมองค์กรและโครงสร้าง การกำหนดส่วนงานหรือคณะทำงานกลางที่เป็นแหล่งประสานงานและให้คำปรึกษา รวมถึงแสวงหาแนวทางในการรักษาคงไว้และพัฒนาบุคลากรของ รพ.สต. ประเภทพนักงานจ้างเหมาบริการลูกจ้างชั่วคราวในระยะยาว มีข้อเสนอในด้านการจัดตั้งส่วนงานด้านสาธารณสุขที่มีความเชี่ยวชาญ การขยายขอบข่ายการให้บริการ การติดต่อประสานงานกับต้นสังกัดแบบไร้รอยต่อระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดและ รพ.สต. การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน การสานต่อความสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่าย การจัดสรรงบประมาณตามภารกิจและความสามารถ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างทั่วถึง ทำเทคโนโลยีดิจิทัลให้บริการสุขภาพและการพัฒนาความรู้และสมรรถะเพื่อรองรับพันธกิจใหม่th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectชุมชน--การร่วมมือth_TH
dc.subjectCommunityth_TH
dc.subjectCommunity-Basedth_TH
dc.subjectCommunity Participationth_TH
dc.subjectการมีส่วนร่วมของชุมชนth_TH
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัด: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นth_TH
dc.title.alternativeThe Mobilization for Inter-Agency Collaboration and Citizen Engagement for Developing a Primary Health Care System for Provincial Administrative Organizations: A Cases of Khon Kaen Provincial Administrative Organizationth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe following study, titled The Mobilization for Inter-Agency Collaboration and Citizen Engagement for Developing a Primary Care System for Provincial Administrative Organizations: A Case of Khon Kaen Provincial Administrative Organization (KKPAO) project, has four primary aims. The first is to study the preparedness of the primary health system of KKPAO in the oversight of primary health services by the Sub-district Health Promotion Hospitals (SHPH) that have been transferred from the Ministry of Public Health (MOPH) to the authority of KKPAO. The model must incorporate the Six Building Blocks of a Health System proposed by the World Health Organization (t.ly/dtPR). This conceptual framework requires more than civic participation as stipulated by the Primary Health System Act of 2019. The second is to study and develop guidelines for promoting cooperation among partner agencies such as KKPAO and citizens in the province. The third is to formulate and propose policy recommendations for the KKPAO. Finally, it offers guidelines for adjusting the roles and responsibilities of the provincial health agencies under the MOPH in supporting and promoting the smooth transfer of HSPH to KKPAO. Data for this study were collected from primary and secondary sources related to health systems within Khon Kaen Province. The primary data were collected by interviewing the providers of health services, administrators, and the Director of the Public Health Division of KKPAO. In addition, focus group discussions were employed to solicit opinions and information about the transfer of SHPHs to KKPAO. Additional information and views were also gathered from organized public forums to maximize the richness and validity of data. The results from the analyses of data follow. All 248 SHPHs in KKP have been transferred from the MOPH to KKPAO. This remarkable success was accounted for by four factors: 1) clarity in the policy direction of the top manager; 2) trust and confidence of personnel of SHPHs and citizens in the management system of KKPAO; (3) personnel who transferred from the MOPH viewed this event as a window of opportunity for professional advancement; and (4) the personnel’s perception of the increased management and fiscal autonomy of SHPHs after the transfer. The transfer of SHPHs from the management responsibility of the MOPH to KKPAO has been in effect since January 2023. It was found that while the SHPHs were able to regularly provide and maintain quality primary care services in their areas, KKPO must view this as a window of opportunity to improve and streamline the health service provision system of SHPHs under its supervision. It is recommended that KKPAO inculcates a culture of services among the health workers and staff of SHPHs. Concerning this, the personnel of the SHPHs need to be trained and informed with the necessary information to 1) maximize the service responsibility of the personnel of the SHPHs; 2) provide recommendations for structural transformation and documentation operations; (3) create a progressive career path for personnel of transferred SHPHs; and (4) dispel any fear and apprehension about the regulative labyrinth of the required process of procurement, the arduous tasks of fiscal management, bookkeeping, coordination with KKPAO, development of performance metrics, establishing amicably inter-organizations relations, intra-organization reporting system, and self-development programs for the personnel. This study also found the indispensable functional roles of village health volunteers (VHVs) as a manifestation of citizen participation in health promotion. KKPAO must capitalize on its long and rich experiences in servicing its community. However, the VHVs we studied feared they would no longer be viewed as a part of the system. It is necessary, therefore, for KKPAO to build a clear understanding and perception among the VHVs that KKPAO recognizes the instrumental roles of the VHVs in health care promotion. This study also provides immediate and long-term policy recommendations for KKPAO. Immediately, the KKPAO should organize professional training courses to give orientation to create more understanding of KKPAO and to impart knowledge and improve the skills of the health workers of all SHPHs’ personnel regarding the management practices, authority, responsibilities, and organizational culture of the PAO. In addition, KKPAO must set up a liaison to provide management consultation for the workers of SHPHs. KKPAO must maintain and improve the skill of both permanent and short-term staff of SHPHs. As a long-term goal, it is recommended that KKPAO set up a specific public health unit to offer more specialized health services. This unit must also coordinate seamlessly between KKPAO and all SHPSs in the province. Moreover, this unit may have additional responsibilities such as developing performance metrics, networking, performance-based budgeting, promoting digital health services, and improving necessary skills to accommodate the new mission.th_TH
dc.identifier.callnoWA540.JT3 พ237ก 2566
dc.identifier.contactno65-128
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizationth_TH
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subject.keywordพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิth_TH
dc.subject.keywordพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562th_TH
.custom.citationพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์, Peerasit Kamnuansilpa, ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, Tatchalerm Sudhipongpracha, ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม, Sirisak Laochankham, กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์, Grichawat Lowatcharin, ปานปั้น รองหานาม and Panpun Ronghanam. "การขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัด: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5835">http://hdl.handle.net/11228/5835</a>.
.custom.total_download218
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month8
.custom.downloaded_this_year69
.custom.downloaded_fiscal_year108

Fulltext
Icon
Name: hs2955.pdf
Size: 6.161Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record