dc.contributor.author | นภชา สิงห์วีรธรรม | th_TH |
dc.contributor.author | Noppcha Singweratham | th_TH |
dc.contributor.author | ตวงรัตน์ โพธะ | th_TH |
dc.contributor.author | Tuangrat Phodha | th_TH |
dc.contributor.author | วิน เตชะเคหะกิจ | th_TH |
dc.contributor.author | Win Techakehakij | th_TH |
dc.contributor.author | ธีระศักดิ์ วงศ์ใหญ่ | th_TH |
dc.contributor.author | Dherasak Wongyai | th_TH |
dc.contributor.author | อำพล บุญเพียร | th_TH |
dc.contributor.author | Aumpol Bunpean | th_TH |
dc.contributor.author | พัลลภ เซียวชัยสกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Pallop Siewchaisakul | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-04-05T03:05:16Z | |
dc.date.available | 2023-04-05T03:05:16Z | |
dc.date.issued | 2565-12 | |
dc.identifier.other | hs2963 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5860 | |
dc.description.abstract | การถ่ายโอนภารกิจด้านการให้บริการปฐมภูมิที่อยู่กับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้เกิดความเป็นธรรม ความเสมอภาคและเท่าเทียม ทั้งนี้กลไกการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณให้กับหน่วยบริการปฐมภูมิถือเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบบริการสุขภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสุขภาพ วัตถุประสงค์การวิจัย: 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ การบริหารจัดการและการจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกองทุนประกันสุขภาพของคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ (Contracting Unit for Primary care: CUP) ให้กับ สอน. และ รพ.สต. 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสัดส่วนการจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกองทุนประกันสุขภาพของ CUP ให้กับ สอน. และ รพ.สต. และ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอรูปแบบการบริหารจัดการและการจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกองทุนประกันสุขภาพของ CUP ให้กับ สอน. และ รพ.สต. ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed methods) ในมุมมองผู้ให้บริการ (Provider perspective) ที่พิจารณาในมิติจากบนลงล่าง (Top down) ที่ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่จับต้องได้ (Tangible costs) และจับต้องไม่ได้ (Intangible costs) ในคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ (CUP) ให้กับ สอน. และ รพ.สต. ปีงบประมาณ 2565 คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยยึด CUP ที่มี สอน. และ รพ.สต. ที่ไม่ถ่ายโอนและถ่ายโอนไปองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 มากกว่า 1 แห่งขึ้นไป โดยมีการบริหารค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกองทุนประกันสุขภาพอยู่ที่ CUP ของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เพื่อศึกษาสถานการณ์ การบริหารจัดการและการจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกองทุนประกันสุขภาพของคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ (CUP) ให้กับ สอน. และ รพ.สต.จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ขั้นตอนที่ 2 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสัดส่วนการจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกองทุนประกันสุขภาพของ CUP ให้กับ สอน. และ รพ.สต. ข้อมูลการจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกองทุนประกันสุขภาพของคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิที่จัดสรรให้ สอน. และ รพ.สต. ที่ไม่ถ่ายโอนและถ่ายโอนไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในปีงบประมาณ 2565 ขั้นตอนที่ 3 เพื่อพัฒนาข้อเสนอรูปแบบการบริหารจัดการและการจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขกองทุนประกันสุขภาพของ CUP ให้กับ สอน. และ รพ.สต. จากการทบทวนเอกสารวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา: 1) รูปแบบการจัดสรรขึ้นอยู่กับข้อตกลงของคณะกรรมการประสานงานระดับอำเภอ (คปสอ.) โดยมีการจัดสรรที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับบริบทของ CUP งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีการจัดสรรเป็นมูลค่าเงิน เวชภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาและครุภัณฑ์ รวมถึงการจ่ายเป็น Fixed cost โดยการจัดสรรค่าบริการสาธารณสุขผู้ป่วยนอก ส่วนมากจะไม่จ่ายเป็นตัวเงินตามผลการให้บริการใน รพ.สต. ส่วนงบส่งเสริมป้องกัน ส่วนมากจัดสรรเป็นมูลค่าเงินตามผลงานแต่มีบางพื้นที่ไม่จัดสรรตามผลการปฏิบัติงานจริง ส่วนงบกองทุนสุขภาพอื่นๆ จะมีการจ่ายขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละกองทุน 2) CUP จัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้กับ รพ.สต. ที่ไม่ถ่ายโอนเป็นมูลค่าเงินร้อยละ 73.05 เป็นมูลค่าของร้อยละ 26.95 ใน รพ.สต. ถ่ายโอนจัดสรรเป็นมูลค่าเงินร้อยละ 54.78 เป็นมูลค่าของร้อยละ 45.22 บาท อัตราส่วนการจัดสรรรวม รพ.สต. ที่ไม่ถ่ายโอนได้รับ คิดเป็น 2.23 เท่า เมื่อเทียบกับมูลค่าเงินและมูลค่าของที่รพ.สต. ที่ถ่ายโอนได้รับ ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข OP และ P&P (UC) เป็นเงินที่ใช้สำหรับการจัดบริการสาธารณสุขมากที่สุด โดยใน รพ.สต. ที่ไม่ถ่ายโอนจัดสรร 15,085,019.85 บาท (ร้อยละ 95.35) และถ่ายโอนจัดสรร 6,670,911.35 บาท (ร้อยละ 93.03) สัดส่วนงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรต่อหัวประชากรงบ OP และ P&P ใน รพ.สต. ไม่ถ่ายโอนได้รับการจัดสรรมากกว่า รพ.สต. ถ่ายโอน ส่วนต้นทุนการจัดบริการสาธารณสุขใน รพ.สต. ไม่ถ่ายโอนและถ่ายโอนมีแหล่งงบประมาณหลักเป็นเงินงบประมาณอยู่ระหว่างร้อยละ 50.32 - 52.52 ค่าแรงเป็นเงินงบประมาณมากที่สุดอยู่ระหว่างร้อยละ 51.57 - 65.27 ค่าวัสดุ รพ.สต. ไม่ถ่ายโอนและถ่ายโอนเป็นเงินบำรุงมากที่สุดอยู่ระหว่างร้อยละ 67.99 - 70.10 รองลงมาเป็นเงินจาก CUP อยู่ในระหว่างร้อยละ 22.27 - 29.49 ต้นทุนกิจกรรมการรักษาพยาบาลโดยแพทย์ อยู่ระหว่าง 41.29 - 319.34 บาท และงานรักษาพยาบาลโดยไม่ใช่แพทย์ เท่ากับ 27.27 - 1,454.48 บาท 3) รูปแบบการบริหารจัดการและการจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขควรได้รับการจัดสรรให้เกิดความพอเพียงต่อการจัดบริการในทุกลักษณะของ สอน. และ รพ.สต. ที่ควรรวมที่ไม่ถ่ายโอนและถ่ายโอนไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในกลุ่มที่ถ่ายโอนไปองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อการจัดบริการรูปแบบที่ 1 กรณี CUP เดิม (ไม่มีการตามจ่าย) ในบริบทแก้ไขระเบียบเงินบำรุงของกระทรวงสาธารณสุขรูปแบบที่ 2 กรณี CUP เดิม (ไม่มีการตามจ่าย) ร่วมกับการโอนตรงไปที่ รพ.สต. ในบริบทไม่แก้ไขระเบียบเงินบำรุงของกระทรวงสาธารณสุข และรูปแบบที่ 3 กรณี CUP ใหม่ (มีการตามจ่าย) ร่วมกับการโอนตรงไปที่ รพ.สต. | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | การจัดสรรค่าใช้จ่าย | th_TH |
dc.subject | การจัดสรรทรัพยากร | th_TH |
dc.subject | กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนตำบล | th_TH |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การเปรียบเทียบสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติระหว่างคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอนไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย | th_TH |
dc.title.alternative | A Comparison on Budget Allocation of the National Health Security Fund between Contracting Unit for Primary Care and the Tambon Health Promoting Hospitals with and Without Transferred to the Local Administrative Organizations for Policy Recommendations | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background: Transferring the mission regarding primary care services at Chaloem Phrakiat Health Center (CPHC) and the Tambon health promoting hospital (THPH) to the local government organization (LGO), resulting in fairness, equity and equality. The mechanism for allocating resources and budgets with primary care is one of the keys to transforming the health care system for reducing inequitable accessibility to health care services. Objectives: 1) to study the situation of health insurance fund management and expenditure allocation for public health services from the health insurance fund of the contracting unit for primary care (CUP) to CPHC and THPH 2) To compare the proportion of expenditure allocation for public health services from the health insurance fund of the CUP to CPHC and THPH 3) to develop the policy recommendation on health insurance fund management and expenditure allocation for public health services from the health insurance fund of the CUP to CPHC and THPH. Methods: This study was a mixed method research under provider perspective that considers a top-down approach that includes tangible costs and intangible costs of the CUP to CPHC and THPH in the fiscal year of 2022. The four study sites were included in this study based on purposive sampling of the CUP with two of CPHC or THPH those has been transferred to the LGO during 2008 and 2012 and two of those do not transfer. The process of this study consisted of 3 steps; step 1, we conducted in-depth interview of 16 key informants and content analysis was employed, step 2, we compared the proportion of expenditure allocation for public health services from the health insurance fund of the CUP to CPHC and THPH and step 3 we developed the policy recommendation on health insurance fund management and expenditure allocation for public health services from the health insurance fund of the CUP to CPHC and THPH. Results: 1) The allocation models depend on the agreement of the District Coordinating Committee. There are various of allocation models regarding to the context of the CUP. The National Health Security Fund budget has a form of money allocation. The expenses of pharmaceutical, non-pharmaceutical supplies and equipment were included in the Outpatient (OP) budget and the payment was a Fixed cost. Most of the CUP allocated the OP budget regardless to the number of health care service output provided by the CPHC and THPH. While the P&P budgets were allocated based on the number of health care service output provided by the CPHC and THPH. However, there are some studied sites those allocate the P&P budget regardless to the number of health care service output provided by the CPHC and THPH. For other health insurance funds, the allocation models depend on the context of each health insurance funds. 2) The proportion of expenditure allocation (in cash: in kind) for public health services from the health insurance fund of the CUP to the CPHC and THPH and the transferred CPHC and THPH were 73.05:26.95 and 54.78:45.22, respectively. The ratio of expenditure allocated (in cash: in kind) to the CPHC and THPH was 2.23 times compared to the transferred CPHC and THPH. The highest expenditures were for providing OP and P&P (UC) services. The OP and P&P (UC) expenses of the CPHC and THPH and the transferred CPHC and THPH were 1,5085,019.85 Baht (95.35%) and 6,670,911.35 Baht (93.03%), respectively. The proportion of per capita budget for providing OP and P&P (UC) those allocated to the CPHC and THPH were higher than to the transferred CPHC and THPH. The global budgets cover the cost for providing public health services of the CPHC and THPH and the transferred CPHC and THPH were come from the same source which were ranged between 50.32% and 52.52%. Labor costs were the highest cost covered by the global budgets (51.57%-65.27%). Material costs were the highest cost covered by the maintenance budgets (67.99%-70.10%) followed by the expenses from the CUP (22.27%-29.49%). The cost of treatment activities provided by the physicians were ranged from 0 Baht (no activity) to 319.34 Baht. Finally, the cost of treatment activities provided by other health care personnel were ranged from 27.27 Baht to 1,454.48 Baht. 3) Management and budget allocation model for public health service should be sufficiently allocated to any kind of services in health center and health promotion hospital which should include those did not transferred and transferred hospital to subdistrict and provincial administrative organization. This is for the fairness of the allocation option 1, in case that the original Contracted unit of Primary care (CUP) (no paid) in the context of editing Ministry of Public Health’s maintenance allowance. Option 2, in the case that original CUP (no paid) with directly allocated to health promotion hospital in the context that no editing of Ministry of Public Health’s maintenance allowance. Option 3, in the case that new CUP (With paid) with the directly allocate to health promotion hospital. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 น419ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 65-136 | |
dc.subject.keyword | Health Decentralize | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralization | th_TH |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject.keyword | กองทุนหลักประกัน | th_TH |
dc.subject.keyword | กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
.custom.citation | นภชา สิงห์วีรธรรม, Noppcha Singweratham, ตวงรัตน์ โพธะ, Tuangrat Phodha, วิน เตชะเคหะกิจ, Win Techakehakij, ธีระศักดิ์ วงศ์ใหญ่, Dherasak Wongyai, อำพล บุญเพียร, Aumpol Bunpean, พัลลภ เซียวชัยสกุล and Pallop Siewchaisakul. "การเปรียบเทียบสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติระหว่างคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอนไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5860">http://hdl.handle.net/11228/5860</a>. | |
.custom.total_download | 301 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 9 | |
.custom.downloaded_this_year | 162 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 22 | |