Show simple item record

The Development of Health Care Delivery Model in New Normal Era in Sub-district Health Promoting Hospitals on the Island

dc.contributor.authorทัศนา บุญทองth_TH
dc.contributor.authorTassana Boontongth_TH
dc.contributor.authorวิไลวรรณ ทองเจริญth_TH
dc.contributor.authorVilaivan Thongcharoenth_TH
dc.contributor.authorอรพรรณ โตสิงห์th_TH
dc.contributor.authorOrapan Thosinghath_TH
dc.contributor.authorศุภามณ จันทร์สกุลth_TH
dc.contributor.authorSuphamon Chansakulth_TH
dc.contributor.authorอโนรัตร เจนวิถีสุขth_TH
dc.contributor.authorAnorut Jenwitheesukth_TH
dc.contributor.authorชนินทร์ จักรภพโยธินth_TH
dc.contributor.authorChanin Chakkrapopyodhinth_TH
dc.contributor.authorอิศรา ผิวชัยth_TH
dc.contributor.authorIsara Phiwchaith_TH
dc.contributor.authorมัตติกา ใจจันทร์th_TH
dc.contributor.authorMattika Chaichanth_TH
dc.contributor.authorรุ่งนภา เขียวชะอ่ำth_TH
dc.contributor.authorRungnapha Khiewchaumth_TH
dc.date.accessioned2023-04-07T07:09:14Z
dc.date.available2023-04-07T07:09:14Z
dc.date.issued2566-04
dc.identifier.otherhs2964
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5862
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการบริการสุขภาพแบบครบวงจรในยุคปกติวิถีใหม่สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ตั้งอยู่บนเกาะในประเทศไทย โดยใช้รูปแบบของการวิจัยและการพัฒนา เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ใช้แบบสอบถามบุคลากรที่ปฏิบัติงานและประชาชนที่มารับบริการสุขภาพใน รพ.สต. บนเกาะ จำนวน 53 แห่ง สนทนากลุ่มกับผู้บริหารและผู้กำหนดนโยบายในทุกจังหวัด นำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นต่อผู้กำหนดนโยบายในเขตสุขภาพที่รับผิดชอบ รพ.สต. บนเกาะ ได้แก่ เขตสุขภาพที่ 6, 11 และ 12 เพื่อหาข้อสรุปว่า รพ.สต. ที่ตั้งอยู่บนเกาะควรมีรูปแบบอย่างไร ร่วมกับการให้ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนารูปแบบของ รพ.สต. บนเกาะ อย่างสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า สถานบริการสาธารณสุขที่ตั้งอยู่บนเกาะมีจำนวน 58 แห่ง ขณะลงพื้นที่เก็บข้อมูลมี 5 แห่ง ที่ไม่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชั่วคราวด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีความรุนแรง ในการศึกษาครั้งนี้จึงศึกษา รพ.สต. ทั้งหมดจำนวน 53 แห่ง เป็น รพ.สต. จำนวน 50 แห่ง สถานีอนามัย จำนวน 1 แห่ง และสุขศาลา จำนวน 2 แห่ง ใน 10 จังหวัด 3 เขตสุขภาพ ร้อยละ 87 เป็น รพ.สต. ขนาดเล็ก (S) ประชากรในเขตสุขภาพที่ 6 ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร เขตสุขภาพที่ 11 และ 12 ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาไทย ภาษายาวีและภาษาท้องถิ่น เช่น อูรักลาโวยจ ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงและเกษตรกรรม ประชาชนที่มาจากพื้นที่อื่นส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง บุคลากรทั้งหมด จำนวน 201 คน ร้อยละ 72.14 เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 22 ถึง 60 ปี อายุเฉลี่ย 35.56 ปี ร้อยละ 53.24 เป็นนักวิชาการหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข ร้อยละ 26.08 เป็นพยาบาลวิชาชีพ บุคลากรทั้งหมดมีระยะเวลาการปฏิบัติงานในพื้นที่ ตั้งแต่ต่ำกว่า 1 ปี ถึง 30 ปี ค่าเฉลี่ย 8.36 ปี บทบาทที่รับผิดชอบในการบริการที่มากที่สุด คือ การรักษาโรคเบื้องต้น (ร้อยละ 86.34) รองลงมา คือ การจัดการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง (ร้อยละ 85.30) และการทำหัตถการให้ผู้ป่วยเรื้อรังทั้งใน รพ.สต. และที่บ้าน ปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการทำงานที่พบ คือ การขาดแคลนเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพ การติดต่อสื่อสารกับบุคลากรนอกพื้นที่เกาะ ความยากลำบากในการเดินทางและงบประมาณไม่เพียงพอ สำหรับสิ่งสนับสนุนและปัจจัยเอื้อในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความร่วมมือของประชาชน และเครือข่ายชุมชนที่ดี ความคิดเห็นต่อภาระงาน พบว่า บุคลากรทุกคนระบุว่าภาระงานมีมากเกินอัตรากำลัง ต้องอยู่เวรนอกเวลาทุกคนเกือบทุกวัน สำหรับเกาะที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว บุคลากรทุกคนปฏิบัติงานหนักขึ้น 3-4 เท่าในช่วงวันหยุดราชการและนักขัตฤกษ์ เพราะมีจำนวนนักท่องเที่ยวมาก บุคลากรทุกคนรู้สึกมีคุณค่าในการปฏิบัติงานมากที่สุด เพราะงานที่ปฏิบัติสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ ด้านที่ไม่พึงพอใจ คือ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน บุคลากรสุขภาพเกินครึ่งหนึ่งใน รพ.สต.รับทราบเรื่องการถ่ายโอนหน่วยงานไปสังกัดกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) แต่ส่วนหนึ่งยังไม่แน่ใจเพราะไม่ทราบแนวปฏิบัติและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง ประชาชนที่ให้สัมภาษณ์ มีทั้งหมด จำนวน 642 คน เป็นเพศหญิง จำนวน 505 คน (ร้อยละ 78.66 ) มีอายุตั้งแต่ 20-90 ปี อายุเฉลี่ย 51.90 ปี ร้อยละ 49.80 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรังและรับยาต่อเนื่องจาก รพ.สต. ประชาชนทั้งหมดต้องการบุคลกากรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพที่ไม่มีใน รพ.สต. จำนวน 16 แห่ง จากทั้งหมด จำนวน 53 แห่ง ต้องการวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ต้องการได้รับการรักษาเมื่อเกิดภาวะเร่งด่วนฉุกเฉินได้ทันท่วงทีและต้องการความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการได้เช่นเดียวกับประชาชนบนฝั่ง รูปแบบบริการของ รพ.สต. บนเกาะควรยกระดับการบริการให้เทียบเท่าโรงพยาบาลชุมชน ลักษณะบริการแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ตามบริบท คือ เกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของประเทศ เกาะที่ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวหลักและเกาะขนาดใหญ่ที่มีโรงพยาบาลชุมชนตั้งอยู่บนเกาะ โดยมีเป้าหมาย คือ ช่วยบำบัดอาการและช่วยเหลือชีวิตประชาชนในภาวะเร่งด่วนฉุกเฉินและให้บริการสุขภาพด้านอื่นๆ ครบทุกมิติ จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอเชิงนโยบายให้ยกร่างมาตรฐาน รพ.สต. บนเกาะใหม่ โดยจำแนกเป็น 3 รูปแบบ ตามบริบทสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนมีความผูกพันกับ รพ.สต. นำแนวคิดเวชศาสตร์การท่องเที่ยวมาใช้เป็นฐานความรู้ กำหนดให้มีพยาบาลวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉินและการรักษาโรคเบื้องต้นใน รพ.สต. ที่ตั้งอยู่บนเกาะ อย่างน้อย 2-3 คน และพัฒนาแนวปฏิบัติการถ่ายโอน รพ.สต. ไปอยู่กับ อบจ. ที่ชัดเจนและมีวิธีการให้บุคลากรใน รพ.สต. ทุกคนเกิดความมั่นใจth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectHospitalth_TH
dc.subjectการบริหารโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการบริการสุขภาพแบบวงจรยุคปกติวิถีใหม่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ตั้งอยู่บนเกาะth_TH
dc.title.alternativeThe Development of Health Care Delivery Model in New Normal Era in Sub-district Health Promoting Hospitals on the Islandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to develop health care delivery model in new normal era in subdistrict health promoting hospitals (SHPH) on the islands. The research and development were a method for this study. Data were collected by in depth interview and using the questionnaires in health care personal and people who came to receive care services at 53 SHPHs on the island. Focus group interviews were conducted among policy makers in 10 provinces to receive information related to structure, process, and care services. The preliminary analysis and the first draft prototype of health care delivery model in new normal era in SHPH on the island and the proposed policy were presented to local policy makers from 3 health zones to receive feedback and more recommendation. This process was conducted to make the health care delivery model and proposed policy relevant to each SHPH’s context and local people health need. The result of the study revealed that in Thailand, there are 58 SHPHs on the islands. During data collection process, the researchers were not allowed to collect data in 5 SHPHs in the southern part due to Covid-19 pandemic. In this study the report is based on 53 SHPHs on the islands including 50 SHPHs, 1 sub-district health station and 2 village health stations. About 87% of SHPHs were size S. the majority of people in the 6th health zone were Buddhists while the majority of people from the health zone 11th and 12th were Muslim and uses local dialogue to communicate. Local people were fishermen and agricultures while people from other places and living on the islands were wage workers. There were 201 health care personnel, 72.14 % were female with the ages ranged from 22 to 60 years (mean = 35.56 years). About 53% were community health personnel while 26.08% were professional nurses. In regard to work experiences in the studied SHPHs, the range of year were varied from less than 1 year to 30 years with the mean of 8.36 years. The majority of their responsibilities focused on providing primary medical care (86.34%), caring of people with chronic illnesses (85.30%) providing medical care procedures for patients with chronic illnesses at home. Work process barrios were staff shortage in particular nursing profession, communication with other health care staffs outside the islands, difficulty commute between islands and mainland and inadequate budgets. Work process facilitators were collaboration from local people and strong community network. All health care personnel stated that the workload was exceed manpower in SHPHs, they had to work overtime almost every day especially during the week ended and long holidays. In the famous tourist islands, health care personnel had to carry 3-4 folds of their workload during the holidays because of the large crowds of foreign and Thai tourists. After covid-19 pandemic, while Thai government encourage tourist business to booster country economic tourists flooded all famous tourist islands. In regard to their perception on work, they were very satisfying with their work because they realized that people in the community can rely on them. However, they were dissatisfying with their career advancement. Regarding the transferring of SHPHs from Ministry of Public Health to Provincial Administration Organization, all health care personnel had learned about this issue but most of them did not understand about the guidelines and did not assure their career advancement after the transfer. There were 642 people who come to receive care service and were invited to join in this study. The majority of them were female (78.66%) with the ages ranged from 20 to 90 years (mean = 49.80 years). Majority of them graduated from primary school, had chronic diseases, and received continuing care from SHPHs. Almost all of them stated that numbers of health care personnel should be increased and in every SHPHs nurses are main profession. During data collection we found that there was not a nurse in 16 SHPHs. High technology equipment was needed as well as the need for prompt emergency medical care while they have emergency and critical illnesses. Similarly, the local policy makers stated that people on the islands should receive standard care relevant to their health needs. Health equity is their right and access to health care services should be similar to ones who live on the mainland. In conclusion, in new normal era care services provided in SHPHs on the islands should be advanced the level of services up to the level of community hospitals. Three prototypes of SHPHs on the islands were developed based on the context of the islands including; SHPHs on the main tourist attraction island, SHPHs on the non- tourist spot island and SHPHs on the big island with a community hospital. The expected outcomes emphasize on rescuing patients with emergency and life-threatening illnesses and providing comprehensive care services for people living on the islands. The policy proposals from this study include, drafting the new standard for SHPHs on the islands using the 3 aforementioned prototypes, encourage people and community engagement, embed travel medicine in the foundation of SHPHs on the islands and allocate 2-3 emergency nurse practitioners for each SHPHs on the islands. Moreover, to make smooth transferring process of SHPHs to Provincial Administration Organization, definite guidelines should be announced to make all health care personnel become certain about this process.th_TH
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ท363ก 2566
dc.identifier.contactno64-195
dc.subject.keywordเขตสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordRegional Health Areath_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 6th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 6th_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 11th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 11th_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 12th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 12th_TH
dc.subject.keywordNew Normalth_TH
dc.subject.keywordความปรกติใหม่th_TH
dc.subject.keywordฐานวิถีชีวิตใหม่th_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizationth_TH
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
.custom.citationทัศนา บุญทอง, Tassana Boontong, วิไลวรรณ ทองเจริญ, Vilaivan Thongcharoen, อรพรรณ โตสิงห์, Orapan Thosingha, ศุภามณ จันทร์สกุล, Suphamon Chansakul, อโนรัตร เจนวิถีสุข, Anorut Jenwitheesuk, ชนินทร์ จักรภพโยธิน, Chanin Chakkrapopyodhin, อิศรา ผิวชัย, Isara Phiwchai, มัตติกา ใจจันทร์, Mattika Chaichan, รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ and Rungnapha Khiewchaum. "การพัฒนารูปแบบการบริการสุขภาพแบบวงจรยุคปกติวิถีใหม่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ตั้งอยู่บนเกาะ." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5862">http://hdl.handle.net/11228/5862</a>.
.custom.total_download138
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year49
.custom.downloaded_fiscal_year13

Fulltext
Icon
Name: hs2964.pdf
Size: 2.113Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record