dc.contributor.author | ภูษณุ ธนาพรสังสุทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Poosanu Thanapornsangsuth | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-05-10T08:36:09Z | |
dc.date.available | 2023-05-10T08:36:09Z | |
dc.date.issued | 2566-03-27 | |
dc.identifier.other | hs2969 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5869 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและภาระทางเศรษฐกิจอันเกิดจากโรคความเสื่อมของระบบประสาท (Neurodegenerative Diseases, NDDs) จะพุ่งทะยานขึ้น ซึ่งนับเป็นความท้าทายอย่างมาก สำหรับประเทศรายได้ปานกลาง ทั้งนี้ มาตรการการรับมือต่างๆ อาทิเช่น การรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยง วางแผนระบบการดูแลผู้ป่วย ผลักดันการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ สามารถลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ มาตรการเหล่านี้จะสำเร็จได้หากใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดชีวภาพที่บ่งถึงพยาธิสภาพ เพราะสามารถตรวจพบ NDDs ได้ก่อนที่จะเริ่มมีอาการเป็นเวลานาน ในระยะที่ยังพอป้องกันทุพพลภาพได้ อย่างไรก็ดี ตัวชี้วัดเหล่านี้ยังมีข้อจำกัด ได้แก่ ราคาแพง ผู้ใช้เข้าถึงยากและมีการทดสอบประสิทธิภาพเพียงในคนเชื้อชาติตะวันตก วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ คือ การพัฒนาตัวชี้วัดชีวภาพของ NDDs ได้แก่ Real-time quaking-induced conversion (RT-QulC) สำหรับวินิจฉัยโรคพริออนและโรคในกลุ่ม synucleinopathies เทคนิคการวัดระดับ phosphorylated tau (p-tau) ในเลือด สำหรับวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์และแนวทางประเมินตัวชี้วัดชีวภาพหลากรูปแบบ สำหรับประเมินโรคน้ำเกินในโพรงสมองในผู้สูงอายุ (idiopathic normal pressure hydrocephalus, iNPH) เพื่อให้มีราคาถูก เข้าถึงง่าย ไม่คุกคามสวัสดิภาพของผู้ถูกตรวจและมีความแม่นยำในคนไทย รวมถึงรายละเอียดวิธีใช้ตัวชี้วัดเหล่านั้น วัสดุและวิธีการ Recombinant truncated hamster prion protein (recPrP) ที่ผลิตเองด้วยการทำบริสุทธิโปรตีนโดยอาศัย prepacked column ตามด้วยการฟอกยูเรียออกพร้อมๆ กันด้วยวิธีกาลักน้ำถูกนำมาใช้ในการตรวจ RT-QuIC ในตัวอย่างน้ำไขสันหลัง (cerebrospinal fluid, CSF) สองกลุ่ม กลุ่มแรกมาจากผู้ป่วยที่สงสัย sporadic Creutzfeldt-Jakob desease (SCJD) ที่ส่งมาจากโรงพยาบาลต่างๆ จำนวน 30 ตัวอย่าง เพื่อเทียบความสอดคล้องกับห้องปฏิบัติการมาตรฐานและกลุ่มที่สองมาจากผู้ป่วยที่สงสัย sCJD ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 39 ตัวอย่าง เพื่อหาความแม่นยำในการวินิจฉัย; Recombinant human α-synuclein (rec-humα-syn) ที่ผลิตเองด้วยการทำบริสุทธิ์โปรตีนโดยอาศัย Q-Sepharose column เพียงคอลัมน์เดียว ถูกนำมาใช้ในการตรวจ RT-QuIC ในตัวอย่าง CSF ของตัวอย่างควบคุมบวกและลบ จำนวน 11 ตัวอย่าง เพื่อเป็นการศึกษาเบื้องต้น; ตัวอย่างพลาสมาจากอาสาสมัครผู้ป่วยสมองเสื่อมที่ได้รับการตรวจ 18F-Florbetaben positron emission tomography (PET) ได้ถูกรวบและนำมาวัดระดับ p-tau181 ด้วยวิธี single-molecule array (SIMOA) เพื่อหาจุดตัดที่เหมาะสมเพื่อวินิจฉัยโรคอัลไชเมอร์โดยใช้ PET เป็นมาตรฐานอ้างอิง อาสาสมัครผู้ที่มีอาการพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะแรกถูกเชิญชวนให้มาเก็บเลือด ตรวจแบบทดสอบทางพุทธิปัญญาแล้วจึงส่ง 18F-Florbetaben, 18F-P12620 และ 18F-fluorodeoxyglucose-PET เพื่อประเมินความสามารถของชุดตรวจวินิจฉัยแบบไปข้างหน้า; NPH ถูกรวบรวมและใช้แนวทางการประเมินตัวชี้วัดชีวภาพหลากรูปแบบ เพื่อศึกษาพยาธิสภาพของ NDDs ในผู้ป่วยกลุ่มนี้; คลังตัวอย่างชีวภาพโรคความเสื่อมของระบบประสาทได้ถูกตั้งขึ้นสำหรับเก็บรักษาตัวอย่างสิ่งส่งตรวจเพื่อใช้วิจัยในอนาคต ผลการศึกษา RT-QuIC ที่ใช้ recPrP ที่ผลิตเองได้ผลตรงกับห้องปฏิบัติการมาตรฐานร้อยละ 90 (95% confidence interval (CI) 74.4-96.5) และมีดรรชนี Cohen's kappa ได้ 0.876 (95%CI 0.871-0.882) เมื่อใช้ recPrp ดังกล่าวตรวจ RT-QuIC กับตัวอย่าง CSF ของผู้ป่วยที่สงสัย sCJD จำนวน 39 คน พบว่า ได้ความไวและความจำเพาะร้อยละ 92.3 (95%CI 67-99) และ 100 (95%CI 87-100) ตามลำดับ; เมื่อใช้ rec-humα-syn ที่ผลิตด้วยวิธีคอลัมน์เดียวมาตรวจ RT-QUIC ตัวอย่าง CSF ควบคุมบวก 6 ตัวอย่าง พบว่า ได้ผลบวก 1 ตัวอย่าง และตัวอย่างควบคุมลบ 5 ตัวอย่าง พบว่า ได้ผลลบทั้งหมด; ระดับ p-tau181 ในพลาสมาที่เหมาะสมในการใช้วินิจฉัยโรคอัลไชเมอร์ คำนวณจากระดับของผู้ป่วยสมองเสื่อมที่ได้รับการตรวจ PET หรือ CSF เพื่อยืนยันโรคอัลไซเมอร์ จำนวน 29 คน เท่ากับ 2.46 p9/mL และจากอาสาสมัครผู้ที่มีอาการพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะแรกที่ร่วมการศึกษาแบบไปข้างหน้า จำนวน 51 คน ระดับ p-tau181 สามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วยความไว 0.80 (95%CI 0.64-0.90) ความจำเพาะ 0.75 (95%CI 0.51-0.90) และความแม่นยำ 0.78 (95%CI 0.65-0.88) เมื่อเทียบกับมาตรฐานอ้างอิง คือ 18F-Florbetaben PET; อาสาสมัครผู้ป่วยที่สงสัย iNPH ถูกรวบรวมมาแล้ว จำนวน 6 คน และใช้แนวทางการประเมินตัวชี้วัดชีวภาพหลากรูปแบบ ซึ่งจะรอการเก็บเพิ่มเพื่อวิเคราะห์ผลต่อไป; คลังตัวอย่างชีวภาพโรคความเสื่อมของระบบประสาท ดำเนินการไปอย่างเต็มรูปแบบ ขณะนี้มีตัวอย่างพลาสมา จำนวน 902 ตัวอย่าง ตัวอย่างชนิดอื่นๆ จำนวน 251 ตัวอย่างจากอาสาสมัคร จำนวน 838 คน ซึ่งดำเนินการภายใต้มาตรฐานสากล สรุป โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาตัวชี้วัดชีวภาพที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงง่ายสำหรับ NDDs ต่าง ๆ อาทิเช่น โรคพริออน โรคกลุ่ม synucleinopathy โรคอัลไชเมอร์ฯลฯ การดำเนินการในปีที่สองประสบความสำเร็จด้วยดี กล่าวคือ สามารถพัฒนา RT-QuIC ที่แม่นยำในการวินิจฉัย SCJD ได้เท่าเทียมกับมาตรฐานและศึกษาความแม่นยำในการตรวจระดับ p-tau181 เป็นตัวชี้วัดชีวภาพสำหรับโรคอัลไซเมอร์ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว และผลการวิจัยสำหรับตัวชี้วัดชีวภาพอื่นๆ ซึ่งมีความคืบหน้าในด้านต่างๆ กำลังจะตามมา | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Neurodegenerative Diseases | th_TH |
dc.subject | ระบบประสาท--การเสื่อม | th_TH |
dc.subject | ระบบประสาท--โรค | th_TH |
dc.subject | สมองเสื่อม | th_TH |
dc.subject | สมองเสื่อม--ในวัยชรา | th_TH |
dc.subject | สมองเสื่อม--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | ภาวะสมองเสื่อม--ผู้ป่วย | th_TH |
dc.subject | Molecules | th_TH |
dc.subject | โมเลกุล | th_TH |
dc.subject | Alzheimer Disease | th_TH |
dc.subject | โรคอัลไซเมอร์ | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ยุทธศาสตร์เพื่อการรองรับโรคสมองเสื่อม: การพัฒนาตัวชี้วัดระดับโมเลกุล | th_TH |
dc.title.alternative | Addressing Neurodegenerative Diseases: Molecular Biomarkers Initiatives | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Objective Thailand is experiencing demographic ageing. Consequently, the socioeconomic burden of neurodegenerative diseases (NDDs) is expected to escalate drastically posing a challenge for the middle-income country. Much can be done to mitigate the consequences NDDs including imposing preventive interventions, planning an integrated care chain, accelerating biomedical research etc. Using neuropathology-specific biomarkers is indispensable for successful implementation of such measures because they can detect NDDs in the long presymptomatic stages at which disability can be prevented. Nevertheless, their use is limited by cost and accessibility, perceived invasiveness and lack of validation in non-white population. The aim of this project is to develop biomarkers for NDDs including Real-time Quaking-induced Conversion (RT-QuIC) for diagnosing prion diseases and synucleinopathies, plasma phosphorylated tau (p-tau) for diagnosing Alzheimer's disease, and multimodal biomarker evaluation scheme for evaluating idiopathic normal pressure hydrocephalus (iNPH), that is affordable, accessible, non-invasive and accurate with regards to Thai people along with an effective guidance for their use. Materials and methods In-house recombinant truncated hamster prion protein (recPrP) purified using a pre-packed column and simultaneous refolding and dialysis (siphon method) served as the substrate for RT-QuIC, which was performed on two sets of cerebrospinal fluid (CSF) specimens. The first comprised of 30 CSF specimens of patients from various hospitals suspected of having sporadic Creutzfeldt-Jakob disease (sCJD). An identical set of aliquots was transferred to an established RT-QuIC facility to determine the inter-laboratory agreement. The second set comprised of CSF from 39 patients presenting at King Chulalongkorn Memorial Hospital suspected of having sCJD. Complete clinical data are available in this group enabling the evaluation of the diagnostic performance. In-house recombinant human α-synuclein (rec-humα-syn) purified using a single Q-Sepharose column served as the substrate for RT-QuIC, which was performed on 11 control CSF specimens as a pilot experiment. P-tau181 quantification using single-molecule array (SIMOA) were performed on plasma specimens from participants with dementia who had previously undergone 18F-Florbetaben positron emission tomography (PET) to determine the optimal cutoff for diagnosing Alzheimer’s disease (AD). Participants with amnestic mild cognitive impairment (MCI) were consecutively enrolled in another cohort whose plasma samples were collected and full neurocognitive assessment were done. The participants subsequently underwent 18F- fluorodeoxyglucose- PET 18F-Florbetaben PET and 18F- PI2620 PET to determined AD biomarker status and prospectively evaluated the diagnostic performance of plasma p-tau181. Participants who were suspected of having iNPH were and evaluated with the proposed multimodal biomarker evaluation scheme. NDD biobank was established for future research use of biological specimen. Results RT-QuIC using in-house recPrP conferred 90% (95% confidence interval (CI) 74.4% – 96.5%) agreement with the results from an established RT-QuIC facility whereas the Cohen’s kappa is 0.876 (95%CI 0.871 - 0.882). The sensitivity and specificity when tested on 39 CSF specimens from possible sCJD patients were 0.92 (95%CI 0.67-0.99) and 1.00 (95%CI 0.87-1.00) respectively. RT-QuIC using in-house rec-humα-syn was positive in 1 out of 6 positive controls and negative in all 5 negative control specimens. The optimal plasma p-tau181 cutoff for diagnosing AD (2.46 pg/mL) were derived from 29 individuals with known AD status. Using this cutoff, the sensitivity, specificity and accuracy of plasma p-tau181 were 0.80 (95%CI 0.64-0.90), 0.75 (95%CI 0.51-0.90) and 0.78 (95%CI 0.65-0.88), respectively, when tested prospectively on 51 amnestic MCI participants. The study had enrolled 6 iNPH participants to undergo the multimodal biomarker evaluation scheme. The NDD biobank is currently fully functional with 902 plasma specimens and 251 other types of specimens from 838 individuals and are operating according to consensus biobanking standard. Conclusion This research project focuses on developing accurate and assessable fluid biomarkers for ND including prion diseases, synucleinopathies, AD etc. Its second year had completed with substantial success. RT-QuIC for prion disease achieved near-perfect agreement with establish laboratory and equal diagnostic performance. Plasma p-tau SIMOA were completely evaluated in real-life settings and is considerably accurate. The results of other tests and biomarkers are underway. | th_TH |
dc.identifier.callno | WM220 ภ696ย 2566 | |
dc.identifier.contactno | 65-034 | |
dc.subject.keyword | โรคสมองเสื่อม | th_TH |
dc.subject.keyword | NDDs | th_TH |
.custom.citation | ภูษณุ ธนาพรสังสุทธิ์ and Poosanu Thanapornsangsuth. "ยุทธศาสตร์เพื่อการรองรับโรคสมองเสื่อม: การพัฒนาตัวชี้วัดระดับโมเลกุล." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5869">http://hdl.handle.net/11228/5869</a>. | |
.custom.total_download | 40 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 20 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |