dc.contributor.author | ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา | th_TH |
dc.contributor.author | Tatchalerm Sudhipongpracha | th_TH |
dc.contributor.author | โกเมนทร์ ทิวทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Komain Tewtong | en_EN |
dc.contributor.author | อนุวัตร แก้วเชียงหวาง | th_TH |
dc.contributor.author | Anuwat Kaewchiangwang | en_EN |
dc.contributor.author | ทองดี มุ่งดี | th_TH |
dc.contributor.author | Tongdee Mungdee | en_EN |
dc.contributor.author | บัณฑิต ตั้งเจริญดี | th_TH |
dc.contributor.author | Bundit Tungcharoendee | en_EN |
dc.contributor.author | ภัชร์จิรัสม์ ธัชเมฆรัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pachjirat Thachmakerat | en_EN |
dc.date.accessioned | 2023-05-18T03:37:04Z | |
dc.date.available | 2023-05-18T03:37:04Z | |
dc.date.issued | 2565-10 | |
dc.identifier.other | hs2974 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5871 | |
dc.description.abstract | การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นไปตามความพร้อมและความสมัครใจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 6 แห่ง ที่รับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งจังหวัด ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู องค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขนาดเล็กที่รับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งจังหวัดและแนวทางการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ในการจัดบริการสุขภาพ วิธีการศึกษาประกอบด้วยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสุขภาพปฐมภูมิและการปกครองท้องถิ่น การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสำรวจความคิดเห็นผู้แทนบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและตัวแทนภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสุพรรณบุรี ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดปราจีนบุรีมีศักยภาพและทุนตั้งต้นในระดับที่สูงกว่าจังหวัดสุพรรณบุรี และสามารถบริหารระยะเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) ได้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยพิจารณาจากทุนตั้งต้นทางการเมืองที่ผู้บริหารในจังหวัดปราจีนบุรี มี “ภาวะผู้นำร่วม (Shared Leadership)” ในขณะที่ผู้บริหารใน จังหวัดสุพรรณบุรีมี “ภาวะผู้นำคู่ขนาน (Paralleled Leadership)” นอกจากนี้ สัมพันธภาพระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในจังหวัดปราจีนบุรี มีความเข้มแข็งมากกว่าจังหวัดสุพรรณบุรี และมีประสบการณ์การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดก่อนการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและเมื่อวิเคราะห์ความพร้อมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้ง 2 แห่ง ตามกรอบแนวคิด “กรอบแนวคิด “6 องค์ประกอบของระบบสุขภาพ (Six Building Blocks)” ที่ผสมผสานกับกรอบแนวคิด “10 องค์ประกอบของระบบสุขภาพปฐมภูมิที่มีสมรรถนะสูง (10 Building Blocks of a High-performing Primary Care System)” พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรีได้เตรียมความพร้อมมากกว่าจังหวัดสุพรรณบุรี ในด้านรูปแบบการบริการ กำลังคน ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ระบบข้อมูลสารสนเทศ การเงินและภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลในระบบสุขภาพ คณะวิจัยใช้ข้อมูลผลการศึกษาจัดทำตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิซึ่งประกอบด้วยรูปแบบหน่วยบริหารระบบสุขภาพปฐมภูมิของกองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนจังหวัดและระบบสุขภาพปฐมภูมิในระดับพื้นที่หรือระดับอำเภอ โดยคณะวิจัยได้จัดทำทางเลือกระบบสุขภาพปฐมภูมิไว้ 3 รูปแบบ เพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีพิจารณาเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของบริบทในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ งานวิจัยยังมีข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่ต้องการนำตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีไปประยุกต์ใช้ และข้อเสนอสำหรับส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | Community Participation | th_TH |
dc.subject | ชุมชน--การร่วมมือ | th_TH |
dc.subject | การมีส่วนร่วมของชุมชน | th_TH |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและแนวทางการขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Developing a Model of a Primary Care System for Provincial Administrative Organizations (PAOs) and an Action Plan for Inter-Agency Collaboration and Citizen Engagement: Cases of Suphanburi Provincial Administrative Organization and Prachinburi Provincial Administrative Organization | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | In Thailand, the devolution of subdistrict health promoting hospitals to provincial administrative organizations (PAOs) depends on the readiness and willingness of each PAO. In Fiscal Year 2022, six PAOs took full responsibility of all the subdistrict health promoting hospitals in their provincial areas: Khon Kaen PAO, Nongbua Lumphu PAO, Mukdahan PAO, Prachinburi PAO, Roi-et PAO, and Suphanburi PAO. This study sought to develop a model of primary care for the PAOs that possess limited revenue streams and have agreed to take charge of all the subdistrict health promoting hospitals. A strategic framework for citizen engagement and intersectoral collaboration in primary care was also formulated for these PAOs. The research instruments used in this study included focus group discussions, in-depth interviews with primary care experts and local government scholars, workshops, and a survey of subdistrict health promoting hospital personnel and health volunteers in Prachinburi and Suphanburi provinces. Based on the research findings, Prachinburi province has more administrative capacity and social capital than Suphanburi province. Administrative capacity and social capital enabled the Prachinburi PAO to manage the transition period much more effectively. The Prachinburi PAO executives and leaders in the provincial health system followed the “shared leadership” style, while their counterparts in the Suphanburi province used the “paralleled leadership” style. Also, the PAO and provincial health authority in Prachinburi had a more robust working relationship prior to the devolution of subdistrict health promoting hospitals. When we used the “six building blocks” concept and the “ten building blocks of a high-performing primary care” concept to assess the two PAOs’ readiness to run their primary care systems, we found that the Prachinburi PAO performed better than the Suphanburi PAO in terms of service plans, personnel, medicine, information system, financial resources, and leadership and governance. In the end, we developed a model of primary care, which consists of the primary care management unit within the PAO Public Health Department, as well as three alternative models of primary care operations at the sub-provincial level. In addition, policy recommendations for other PAOs, the Ministry of Public Health, the Decentralization Commission, and the Department of Local Administration Promotion were offered. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 ธ264ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 65-079 | |
dc.subject.keyword | Health Decentralize | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralization | th_TH |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject.keyword | Provincial Administrative Organizations | th_TH |
dc.subject.keyword | PAOs | th_TH |
.custom.citation | ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, Tatchalerm Sudhipongpracha, โกเมนทร์ ทิวทอง, Komain Tewtong, อนุวัตร แก้วเชียงหวาง, Anuwat Kaewchiangwang, ทองดี มุ่งดี, Tongdee Mungdee, บัณฑิต ตั้งเจริญดี, Bundit Tungcharoendee, ภัชร์จิรัสม์ ธัชเมฆรัตน์ and Pachjirat Thachmakerat. "การพัฒนาตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและแนวทางการขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5871">http://hdl.handle.net/11228/5871</a>. | |
.custom.total_download | 285 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 10 | |
.custom.downloaded_this_year | 186 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 48 | |
.custom.is_recommended | true | |