dc.contributor.author | จิระพร ชะโน | th_TH |
dc.contributor.author | Jiraporn Chano | th_TH |
dc.contributor.author | ญาณภัทร สีหะมงคล | th_TH |
dc.contributor.author | Yannapat Seehamongkon | th_TH |
dc.contributor.author | เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Terdsak Promarak | th_TH |
dc.contributor.author | เสรีย์ ชะโน | th_TH |
dc.contributor.author | Seree Chano | th_TH |
dc.contributor.author | วชิร ชนะบุตร | th_TH |
dc.contributor.author | Wachira Chanabut | th_TH |
dc.contributor.author | อภิเชษฐ เสมอใจ | th_TH |
dc.contributor.author | Apichet Samerjai | th_TH |
dc.contributor.author | ปิยาพัชร เที่ยงตรง | th_TH |
dc.contributor.author | Piyapat Tiengtrong | th_TH |
dc.contributor.author | ชนาธินาถ ตั้งทวี | th_TH |
dc.contributor.author | Chanatinat Tungtawee | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-05-30T06:45:42Z | |
dc.date.available | 2023-05-30T06:45:42Z | |
dc.date.issued | 2566-02 | |
dc.identifier.other | hs2975 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5874 | |
dc.description.abstract | การถ่ายโอนภารกิจด้านการสาธารณสุข เป็นอีกมิติหนึ่งของกระบวนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการวิจัยเรื่องข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดความสัมพันธ์เชิงระบบในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จากบทเรียนการถ่ายโอนสถานศึกษา มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประสบการณ์ของบุคลากร และถอดบทเรียนสถานศึกษาภายใต้การบริหารจัดการของท้องถิ่นเพื่อปรับใช้การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) เพื่อศึกษาการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ในการบริหารจัดการงานบริการสุขภาพ กำลังคนด้านสุขภาพ งบประมาณ สื่อองค์ความรู้ ระบบข้อมูลสารสนเทศ ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล 3) เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดความสัมพันธ์เชิงระบบในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลกับบุคลากรทางการศึกษา ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 116 คน และบุคลากรทางสาธารณสุข จำนวน 89 คน ใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การประชุมแบบสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และตีความ สร้างข้อสรุปข้อมูล ระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่กันยายน พ.ศ. 2565-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ผลการวิจัย แบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ผลการถอดบทเรียนสถานศึกษาภายใต้การบริหารจัดการของท้องถิ่นเพื่อปรับใช้การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ในการศึกษา 4 จังหวัด รวมโรงเรียนทั้งหมด จำนวน 57 โรง โดยการจัดการความสัมพันธ์เชิงระบบของสถานศึกษาที่ถ่ายโอน ใน 6 ด้าน ได้แก่ การจัดการศึกษา กำลังคน งบประมาณ สื่อองค์ความรู้ ระบบข้อมูลสารสนเทศ ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล บทเรียนที่พบ 1) ด้านการจัดการศึกษา กำหนดนโยบายและแนวทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อให้เกิดคุณภาพ เน้นการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศเฉพาะด้าน แนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School- Based Management for Local Development : SBMLD) เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) ด้านกำลังคน มีการพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาในเชิงนโยบายและการขับเคลื่อนนโยบายที่ชัดเจน บุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพและตำแหน่งหน้าที่มีการจัดให้มีบุคลากรอย่างเหมาะสมและเพียงพอ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและสนับสนุนการเลื่อนวิทยฐานะ บทเรียนที่พบมีทีมนำ ทีมทำ เป็นคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ระเบียบบุคคลใน 3-5 ปีแรก วัฒนธรรมองค์กรในการปรับตัวของครู การก่อตั้งชมรมสมาคม เพื่อสร้างความเข้มแข็ง มีความเป็นอิสระทางวิชาการและการเติบโตในสายงานตนเอง 3) ด้านงบประมาณ การได้รับงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และโครงการพิเศษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจัดงบประมาณในการฝึกอบรมให้บุคลากร 4) ด้านสื่อองค์ความรู้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นร่วมมือกับสถาบันการศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ 5) ด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศของตนเอง 6) ด้านภาวะผู้นำและธรรมมาภิบาล ความเชื่อมั่นในผู้นำและบุคลากรได้รับสวัสดิการที่ดี ตอนที่ 2 ศึกษาการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด พบว่า การดำเนินการถ่ายโอนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และ รพ.สต. ใน 4 จังหวัด มีการถ่ายโอน จำนวน 656 จากทั้งหมดจำนวน 808 แห่ง ดังนี้ จังหวัดที่มีการถ่ายโอน รพ.สต. ทั้งหมด ร้อยละ 100 ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 2 จังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 248 แห่ง และจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 229 แห่ง จังหวัดที่มีการถ่ายโอน รพ.สต. บางส่วนมี 2 จังหวัด คือ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 51 แห่ง จาก รพ.สต. จำนวน 165 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 33 และจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 128 แห่ง จาก รพ.สต. จำนวน 175 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 73 สำหรับการจัดการความสัมพันธ์เชิงระบบ มีการดำเนินงาน 1) งานบริการสุขภาพ ในภาพรวมของการบริการเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยได้รับการดูแลตามมาตรฐานไม่ต่างจากเดิม และมีการดูแลสุขภาพแบบพึ่งพาตนเองมากขึ้น เน้นตามหลักการสร้างนำซ่อม 2) กำลังคนด้านสุขภาพ มีความขาดแคลนกำลังคนด้านสุขภาพ ตามกรอบอัตรากำลังที่กำหนดไว้ตามขนาด รพ.สต. S M L ในแผนงานการถ่ายโอนฯ ที่ยังไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นต้องบริหารจัดการอัตรากำลังคนด้านสุขภาพออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะถ่ายโอน ระยะก้าวหน้า ระยะยั่งยืน 3) งบประมาณได้รับงบประมาณผ่านกลไกขับเคลื่อน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) โดยทาง CUP เป็นผู้จัดสรรยาและเวชภัณฑ์วัคซีนเช่นเดิม 4) ด้านสื่อองค์ความรู้ มีการบริการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ มีการใช้ Tele Medicine รพ.สต. วางแผนการใช้ การขอสนับสนุนยาเวชภัณฑ์ จาก CUP รพ.แม่ข่าย 5) ระบบข้อมูล สารสนเทศ ภาพรวมมีการใช้โปรแกรมบริการใช้ Hos-XP PCU ส่งออก 43 แฟ้มผ่าน HDC และในจังหวัดมหาสารคามบาง รพ.สต.ใช้ My PCU สามารถนำส่งข้อมูลให้กับ สปสช. 6) ภาวะผู้นำและธรรมมาภิบาล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีภาวะผู้นำสูงและมีธรรมมาภิบาล สามารถประสานงานและความร่วมมือในทุกภาคส่วน มีแผนยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุข ตอนที่ 3 ข้อเสนอเชิงนโยบาย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โรงเรียน | th_TH |
dc.subject | Schools | th_TH |
dc.subject | สถานศึกษา | th_TH |
dc.subject | Educational Institutions | th_TH |
dc.subject | กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดความสัมพันธ์เชิงระบบในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จากบทเรียนการถ่ายโอนสถานศึกษา | th_TH |
dc.title.alternative | Policy Recommendation for Organizing Systematic Relations in Transferring Sub-District Health Promoting Hospitals to Provincial Administrative Organizations from School Transfer Lessons Learned | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Transfer of Health Mission is an additional aspect of the decentralization process of power to local government organizations in the field of public health. The research project, which proposes policies to promote the transfer of rural health promotion hospitals to provincial administrative organizations, is based on lessons learned from the transfer of schools. The objectives of the research are: 1) to study the experiences of personnel and extract lessons from schools managed locally to apply to the transfer of rural health promotion hospitals to provincial administrative organizations; 2) to study the transfer of rural health promotion hospitals to provincial administrative organizations in terms of organizational structure, personnel, finance, management, basic health service data, and primary healthcare mission; and 3) to synthesize policy proposals for promoting a systemic relationship in the transfer of rural health promotion hospitals to provincial administrative organizations. The research employs qualitative methods by collecting data from educational personnel (116 participants) and healthcare personnel (89 participants) in four provinces, namely Roi Et, Khon Kaen, Maha Sarakham, and Kalasin. The data is collected through interviews, focus group discussions, operational meetings, and participatory observations conducted from September 2022 to February 2023. Part 1 : Lessons Learned from Schools under Local Management The research found that the transfer of educational institutes to local management had a positive impact on educational management, manpower, budget, organizational media knowledge of information systems, leadership, and good governance. The lessons learned are: 1) Formulating educational policies and guidelines for educational institutions to achieve quality, emphasizing the concept of School-Based Management for Local Development (SBMLD) that provides research-based education and develops it into the context and culture of the area. 2) Developing personnel potential and providing adequate personnel. 3) Receiving a budget to support the development of learning management and special projects. 4) System development of information systems. 5) Building confidence in the leader and establishing good governance. Part 2 : Transfer of Sub-district Health Promoting Hospitals to Provincial Administrative Organizations. The research found that the transfer of sub-district health promoting hospitals in four provinces amounted to 656 transfers out of a total of 808 locations. The study shows that the transfer process needs to focus on service systems, manpower management, budget allocation, knowledge media, information systems, and leadership and good governance. The proposed guidelines are: 1) A framework for providing health services to the public that is consistent with the original affiliation so that the transferred hospitals can provide services according to the original guidelines. 2) Prepare a recruitment or recruitment plan for public health personnel to support the transfer. Provide information on the advantages and limitations of transferring to the Provincial Administrative Organization. During the initial transfer of PAOs, they should provide manpower support to areas lacking manpower until PAOs are sustainable. Part 3 : Policy Proposals. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 จ518ข 2566 | |
dc.identifier.contactno | 65-129 | |
dc.subject.keyword | Health Decentralize | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralization | th_TH |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | th_TH |
.custom.citation | จิระพร ชะโน, Jiraporn Chano, ญาณภัทร สีหะมงคล, Yannapat Seehamongkon, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, Terdsak Promarak, เสรีย์ ชะโน, Seree Chano, วชิร ชนะบุตร, Wachira Chanabut, อภิเชษฐ เสมอใจ, Apichet Samerjai, ปิยาพัชร เที่ยงตรง, Piyapat Tiengtrong, ชนาธินาถ ตั้งทวี and Chanatinat Tungtawee. "ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดความสัมพันธ์เชิงระบบในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จากบทเรียนการถ่ายโอนสถานศึกษา." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5874">http://hdl.handle.net/11228/5874</a>. | |
.custom.total_download | 238 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 119 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 17 | |