Show simple item record

A Research and Development Program on Developing of Value-Based Health Care for Diabetes Prevention Service Package and Payment

dc.contributor.authorสันติ ลาภเบญจกุลth_TH
dc.contributor.authorSanti Lapbenjakulth_TH
dc.contributor.authorสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorSamrit Srithamrongsawatth_TH
dc.contributor.authorจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์th_TH
dc.contributor.authorJiruth Sriratanabanth_TH
dc.contributor.authorวรสิทธิ์ ศรศรีวิชัยth_TH
dc.contributor.authorVorasith Sornsrivichaith_TH
dc.contributor.authorดวงดาว ศรียากูลth_TH
dc.contributor.authorDuangdao Sriyakunth_TH
dc.contributor.authorภาณุวิชญ์ แก้วกำจรชัยth_TH
dc.contributor.authorPhanuwich Kaewkamjonchaith_TH
dc.date.accessioned2023-05-30T08:17:02Z
dc.date.available2023-05-30T08:17:02Z
dc.date.issued2566-04
dc.identifier.otherhs2977
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5876
dc.description.abstractปัจจุบันประเทศไทยและทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของความชุกของการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ โรคเบาหวาน หลักฐานเชิงประจักษ์หลายชิ้นระบุว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โดยอาศัยพื้นฐานแนวคิดการจัดระบบบริการสุขภาพที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสมัยใหม่ เช่น แนวคิดเรื่องเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เป็นต้น เพื่อวัดประสิทธิผลและความคุ้มค่าของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พัฒนาขึ้น คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองใช้โปรแกรมในบริบทหน่วยบริการปฐมภูมิ 4 พื้นที่ใน 4 ภูมิภาคของประเทศไทย กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 423 คน ได้เข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พัฒนาขึ้น จำนวน 5 ครั้ง และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 443 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติของแต่ละพื้นที่ ดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับน้ำตาลและคะแนนความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานในระยะ 10 ปี ถูกเก็บจากทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินโครงการ ความพึงพอใจและข้อคิดเห็นต่อโปรแกรมถูกเก็บจากผู้ให้บริการ และกลุ่มเสี่ยงผู้เข้าร่วมโครงการทั้งในรูปแบบข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ นอกจากนั้น คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลต้นทุนในการดำเนินโครงการเพื่อวัดความคุ้มค่าของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น จากการศึกษา พบว่า กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ 97.2 สามารถเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมที่วางไว้ได้ครบถ้วน และในกลุ่มทดลองมีการลดลงของดัชนีมวลกาย รอบเอว ระดับน้ำตาลในเลือด และคะแนนความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานในระยะ 10 ปี สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยคะแนนความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานในระยะ 10 ปี ลดลงถึง ร้อยละ 12.65 ในกลุ่มทดลองเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ ในแง่ของความคุ้มค่า พบว่า โปรแกรมมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนที่ 2.96 และทีมสหวิชาชีพผู้ให้บริการและกลุ่มเสี่ยงผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมในระดับสูงมาก จากผลการศึกษาอาจสรุปได้ว่าโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีประสิทธิผลและมีความคุ้มค่าในการนำไปใช้ในบริบทหน่วยบริการปฐมภูมิ และควรถูกบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อลดภาระโรคที่เกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเบาหวานth_TH
dc.subjectDiabetesth_TH
dc.subjectDiabetes Mellitusth_TH
dc.subjectผู้ป่วย--เบาหวานth_TH
dc.subjectการดูแลตนเอง--พฤติกรรมth_TH
dc.subjectการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมth_TH
dc.subjectโรคไม่ติดต่อth_TH
dc.subjectNon-Communicable Diseasesth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ความคุ้มทุนth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการวิจัยและพัฒนา : ชุดการจัดบริการและวิธีการจ่ายเงินแบบมุ่งเน้นคุณค่าสำหรับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานth_TH
dc.title.alternativeA Research and Development Program on Developing of Value-Based Health Care for Diabetes Prevention Service Package and Paymentth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: The global rise in non-communicable diseases (NCDs), particularly type 2 diabetes, is a major concern. Existing literature highlights the effectiveness of non-pharmaceutical interventions, such as weight reduction, in reducing the risk of diabetes among pre-diabetic individuals. Grounded in the integrated people-centered care concept and recent behavior change theories, researchers developed a peer-coaching program led by health professionals. Methods: The program was implemented across primary care settings in four districts, representing four regions of Thailand. A total of 423 pre-diabetic patients were enrolled in the experimental group, while 443 were assigned to the control group. Participants in the experimental group engaged in five behavior change activities. To evaluate the program's effectiveness, BMI, waist circumference, blood pressure, health behaviors, and blood glucose levels were measured pre- and post-activity. Satisfaction and perspectives were collected from healthcare professionals and patients using quantitative and qualitative methods. Program delivery costs were assessed, and a cost-benefit analysis was conducted. Results: A 97.2% attendance rate was recorded for the experimental group, who demonstrated statistically significant reductions in BMI, waist circumference, blood glucose levels, and diabetes risk scores compared to the control group. The 10-year diabetes risk score for the experimental group decreased by 12.65% after attending the program. The benefit-cost ratio was 2.96, indicating the program's value. High satisfaction levels were reported among both healthcare professionals and patients. Discussion and conclusion: The behavior change program designed for pre-diabetic patients, emphasizing people-centered care and modern behavior change concepts, proved effective and worthwhile for primary care settings. After minor revisions, the diabetes prevention program package should be included in benefit package of Thailand health insurance schemes to promote its widespread adoption and utilization.th_TH
dc.identifier.callnoWK810 ส579ก 2566
dc.identifier.contactno65-052
dc.subject.keywordNCDsth_TH
dc.subject.keywordโรคไม่ติดต่อเรื้อรังth_TH
.custom.citationสันติ ลาภเบญจกุล, Santi Lapbenjakul, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, Samrit Srithamrongsawat, จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, Jiruth Sriratanaban, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย, Vorasith Sornsrivichai, ดวงดาว ศรียากูล, Duangdao Sriyakun, ภาณุวิชญ์ แก้วกำจรชัย and Phanuwich Kaewkamjonchai. "การวิจัยและพัฒนา : ชุดการจัดบริการและวิธีการจ่ายเงินแบบมุ่งเน้นคุณค่าสำหรับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5876">http://hdl.handle.net/11228/5876</a>.
.custom.total_download140
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month7
.custom.downloaded_this_year66
.custom.downloaded_fiscal_year14

Fulltext
Icon
Name: hs2977.pdf
Size: 3.925Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record