dc.contributor.author | สกล สินธุพรหม | th_TH |
dc.contributor.author | Sakol Sintuprom | th_TH |
dc.contributor.author | ธีรเดช นรัตถรักษา | th_TH |
dc.contributor.author | Teeradej Narattharaksa | th_TH |
dc.contributor.author | อาทิน คำซาว | th_TH |
dc.contributor.author | Artin Khamsaow | th_TH |
dc.contributor.author | สุกัญญา พงศ์ประภาอำไพ | th_TH |
dc.contributor.author | Sukanya Pongprapa-ampai | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-06-01T02:32:17Z | |
dc.date.available | 2023-06-01T02:32:17Z | |
dc.date.issued | 2566-03 | |
dc.identifier.other | hs2979 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5878 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเข้าถึงบริการและปัญหาอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ถ่ายโอนไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กรณีศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามและการอภิปรายกลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดแบบเจาะจงด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและอภิปรายกลุ่มกับผู้ให้บริการ ผู้รับบริการและภาคีเครือข่าย จำนวน 70 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถาม คือ ผู้มารับบริการ จำนวน 418 คน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมในการถ่ายโอน รพ.สต. ไปยังอบจ.กำแพงเพชรในช่วงเปลี่ยนผ่านนั้น ใช้การดำเนินงานในรูปแบบเครือข่ายด้านสุขภาพในพื้นที่เหมือนเดิม เช่น โรงพยาบาลแม่ข่ายยังคงให้การสนับสนุนยา เวชภัณฑ์ แพทย์และเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับ รพ.สต. เหมือนก่อนถ่ายโอน แต่ยังพบปัญหาอุปสรรคในการให้บริการ คือ 1) จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอต่อการให้บริการ โดยเฉพาะกรณี รพ.สต. ที่ไม่มีบุคลากรสมัครใจถ่ายโอนเลยหรือถ่ายโอนจำนวนและไม่ครบตามกรอบอัตรากำลัง 2) ไม่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวออกให้บริการที่ รพ.สต. ตามที่กฎหมายกำหนด 3) การจัดสรรงบประมาณอุดหนุน รพ.สต. ล่าช้าและมีข้อจำกัดในการใช้งบประมาณ 4) บุคลากรมีความกังวลในการปฏิบัติงานตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย 5) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีความกังวลเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงาน 6) การสื่อสารข้อมูลไม่ทั่วถึง 7) ในระยะยาวโรงพยาบาลแม่ข่ายอาจไม่สามารถจัดสรรทรัพยากร (คน เงิน ของ) ให้ รพ.สต. ที่อยู่นอกสังกัดได้ ส่วนปัญหาฝั่งผู้รับบริการ พบว่า ผู้รับบริการที่ไม่มีรถหรือที่ต้องทำงานรายวันไม่สามารถเข้ารับบริการ/ร่วมกิจกรรมได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ประชาชนให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคน้อย สำหรับผลการสำรวจปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมในจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในการใช้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 67.7 มีความต้องการให้จัดกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 51.9 โดย 5 กิจกรรมที่ผู้สูงอายุต้องการให้จัดมากที่สุด คือ การรวมกลุ่มออกกำลังกาย โรงเรียนผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ การฝึกอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ และการจัดให้มาพบปะกันทุกเดือนเพื่อลดการตึงเครียดของผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ถ้า รพ.สต. ถ่ายโอนไปอยู่กับ อบจ. แล้ว รูปแบบบริการน่าจะดีขึ้นถึงร้อยละ 72.8 เพราะว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารและบริการให้กับ อบจ. ที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ การบริหารงานในด้านงบประมาณ บุคลากร รถ เครื่องมือในการให้บริการน่าจะครอบคลุมมากขึ้น ส่วนรูปแบบกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นหลังถ่ายโอนเรียงตามลำดับที่อยากให้เกิดมากสุด คือ มีแพทย์ประจำ รพ.สต. มีการออกกำลังกาย/กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุระหว่างรอรับยา และมีเจ้าหน้าที่ให้บริการที่ รพ.สต. เพิ่มขึ้น ผลที่ได้จากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางการจัดบริการในบริบทของ รพ.สต. สังกัด อบจ. ที่สนองตอบความต้องการมีความครอบคลุมทุกมิติและเป็นองค์รวมซึ่งจะทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Elderly | th_TH |
dc.subject | Aging | th_TH |
dc.subject | Older People | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ--การดูแล | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร | th_TH |
dc.title.alternative | Development of a Model of Primary Health Care Services of the Social-Bonded Elderly for Transferring Health-Promoting Hospitals Sub-District to Provincial Administrative Organization Kamphaeng Phet Province | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objective of this study is to examine access to and obstacles in accessing health promotion and disease prevention services in health-promoting hospitals Sub-district transferred to the Provincial Administrative Organization (PAO), Kamphaeng Phet Province. The data was collected through in-depth interviews, questionnaires, and group discussions. The participants were selected based on specific criteria through in-depth interviews and group discussions with service providers, recipients, and stakeholders, totaling 70 people. The questionnaire was distributed to 418 service recipients. Content analysis and statistical analysis were used to analyze the data. The study found that during the transfer of the Sub-district Health Promoting Hospitals to the provincial administration in Kamphaeng Phet, the primary healthcare services provided to socially isolated elderly people through the hospital network remained unchanged. For example, community hospital or hospital network continued to provide support in terms of medicine, medical supplies, and medical equipment to the health center just as before the transfer. However, there were still some obstacles to service delivery, including 1) Insufficient personnel for service delivery, particularly in cases where health centers did not have enough staff to support the transfer or did not meet the required staffing levels. 2) No family medicine physicians were available to provide services at health centers as required by law. 3) Delayed and restricted budget allocation for supporting health centers. 4) Personnel were concerned about compliance with the Ministry of Public Health regulations. 5) Village health volunteers were concerned about work practices. 6) Communication of information was not comprehensive. 7) In the long term, community hospital or hospital network may not be able to allocate resources (people, money, materials) to health centers outside its jurisdiction. On the patient side, the study found that patients without transportation or who worked on a daily basis were unable to access services/activities. In addition, it has been found that the public places importance on promoting health and preventing diseases. According to a survey of factors influencing the decision to use basic healthcare services among socially isolated elderly people in Kamphaeng Phet province, they generally expressed a high level of satisfaction with the basic healthcare services, at 67.7%. They also had a high level of interest in overall activities, at 51.9%, with the top five activities they wanted organized being group exercise, elderly schools, elderly clubs, vocational training for the elderly, and monthly meetings to reduce stress among the elderly. Furthermore, the majority of the elderly people believed that if the health-promoting hospitals Sub-district transferred to the PAO, the quality of service would improve, at 72.8%. This is because it would be a change in management and service delivery to a larger organization that would be better able to manage budget, personnel, vehicles, and equipment to provide better service. The desired activities after the transfer, ranked in order of importance, were having a resident physician at the public hospital, having exercise/health promotion activities for the elderly while waiting for medication, and having more staff available at the public hospital. The results of this study will be useful for guiding service provision in the context of health-promoting hospitals Sub-district under the PAO that are responsive to the needs of the population, comprehensive, and integrated, which will improve the quality of life of the people. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 ส116ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 65-105 | |
dc.subject.keyword | Health Decentralize | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralization | th_TH |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject.keyword | Provincial Administrative Organizations | th_TH |
dc.subject.keyword | PAOs | th_TH |
.custom.citation | สกล สินธุพรหม, Sakol Sintuprom, ธีรเดช นรัตถรักษา, Teeradej Narattharaksa, อาทิน คำซาว, Artin Khamsaow, สุกัญญา พงศ์ประภาอำไพ and Sukanya Pongprapa-ampai. "การพัฒนารูปแบบการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมในการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5878">http://hdl.handle.net/11228/5878</a>. | |
.custom.total_download | 277 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 128 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 33 | |