dc.contributor.author | อุษา ฉายเกล็ดแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | Usa Chaikledkaew | th_TH |
dc.contributor.author | เสาวลักษณ์ ตุรงคราวี | th_TH |
dc.contributor.author | Saowalak Turongkaravee | th_TH |
dc.contributor.author | ศิตาพร ยังคง | th_TH |
dc.contributor.author | Sitaporn Youngkong | th_TH |
dc.contributor.author | จิระพรรณ จิตติคุณ | th_TH |
dc.contributor.author | Jiraphun Jittikoon | th_TH |
dc.contributor.author | วันวิสาข์ อุดมสินประเสริฐ | th_TH |
dc.contributor.author | Wanvisa Udomsinprasert | th_TH |
dc.contributor.author | สุรัคเมธ มหาศิริมงคล | th_TH |
dc.contributor.author | Surakameth Mahasirimongkol | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-06-02T08:38:29Z | |
dc.date.available | 2023-06-02T08:38:29Z | |
dc.date.issued | 2566-03 | |
dc.identifier.other | hs2981 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5879 | |
dc.description.abstract | การตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยามีความหลากหลายและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ก่อนเริ่มใช้ยา แต่ทว่าทรัพยากรทางสุขภาพและงบประมาณมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น การจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือกการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์จึงมีความสำคัญ เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยและสามารถนำมาประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อไปได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือกการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ในประเทศไทย เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่ได้รับการคัดเลือก และเพื่อประเมินผลกระทบด้านงบประมาณของการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่ได้รับการคัดเลือก หากบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ศึกษาโดยใช้วิธีการจัดลำดับความสำคัญและการคัดเลือกการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับยา (คู่ยีน-ยา) ที่มีความสำคัญในประชากรไทยเพื่อนำมาประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยการทบทวนเอกสารและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชพันธุศาสตร์เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับจัดทำเกณฑ์และคัดเลือกการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ จากนั้นจึงทำการประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณของการตรวจยีน HLA-B*13:01 ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยา co-trimoxazole เพื่อป้องกันการแพ้ยารุนแรงชนิด DRESS และยา dapsone เพื่อป้องกันการแพ้ยารุนแรงชนิด SCAR เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการตรวจยีนโดยใช้แบบจำลอง decision tree และ Markov ผลการศึกษาพบว่า จากการจัดลำดับความสำคัญของคู่ยีน-ยา ตามเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญในกลุ่ม HLA group พบว่า คู่ยีน-ยาที่ควรพิจารณาคัดเลือกเพื่อนำไปประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย ได้แก่ HLA-B*15:02–phenytoin, HLA-B*57:01-abacavir, HLA-B*13:01-co-trimoxazole และ HLA-B*13:01-dapsone และในกลุ่ม non-HLA group พบว่า คู่ยีน-ยาที่ควรพิจารณาคัดเลือกเพื่อนำไปประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย ได้แก่ CYP2B6-efavirenz, SLCO1B1-simvastatin และ NAT2-ethambutol, isoniazid, pyrazinamide, rifampin นอกจากนี้ ผลการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า การตรวจยีน HLA-B*13:01 ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยา co-trimoxazole และ dapsone ไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการตรวจยีน และยังส่งผลให้มีผลกระทบด้านงบประมาณของการตรวจยีน HLA*B-13:01 เมื่อเทียบกับการไม่ตรวจ เท่ากับ 2,246,000 บาทต่อปี สรุปผลการศึกษา: ผลการศึกษาของการจัดลำดับความสำคัญของของคู่ยีน-ยาสามารถนำมาใช้พิจารณาเพื่อคัดเลือกคู่ยีน-ยาเพื่อนำไปประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทยต่อไปในอนาคต และการตรวจยีน HLA-B*13:01 ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยา co-trimoxazole และ dapsone พบว่า ยังไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ จึงไม่เสนอให้บรรจุการตรวจยีน HLA-B*13:01 เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ของสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ยา | th_TH |
dc.subject | Drugs | th_TH |
dc.subject | การใช้ยา | th_TH |
dc.subject | Drug Utilization | th_TH |
dc.subject | ยีน | th_TH |
dc.subject | Gene | th_TH |
dc.subject | บริการทางการแพทย์--ค่าใช้จ่าย | th_TH |
dc.subject | การประเมินผล | th_TH |
dc.subject | Evaluation | th_TH |
dc.subject | Measurement | th_TH |
dc.subject | เภสัชพันธุศาสตร์ | th_TH |
dc.subject | Pharmacogenetics | th_TH |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Economics | th_TH |
dc.subject | ต้นทุนต่อหน่วย | th_TH |
dc.subject | Cost--Analysis | th_TH |
dc.subject | Cost-Benefit Analysis | th_TH |
dc.subject | การวิเคราะห์ความคุ้มทุน | th_TH |
dc.subject | ค่ารักษาพยาบาล--การวิเคราะห์ต้นทุน | th_TH |
dc.subject | ค่าบริการทางแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Medical Fees | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณของการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ปีที่ 1 | th_TH |
dc.title.alternative | Economic Evaluation and Budget Impact Analysis of Appropriate Pharmacogenetics Testing in Thailand | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background: There is a growing variety of pharmacogenetic tests that can be used to predict how someone would respond to different drugs. This will result in increased health care costs, compared to standard treatment without pre-treatment pharmacogenetic testing. However, healthcare resource and budget are limited. Consequently, it is important to prioritize pharmacogenetic testing and select pharmacogenetic testing in Thailand in order to be suitable to the Thai context and can be used for economic evaluation in the future. Objectives: This study aimed to prioritize and select pharmacogenetic testing in Thailand, perform economic evolution of selected pharmacogenetic testing, and 3) evaluate budget impact of pharmacogenomics testing, if included in the benefit package under the Universal Health Coverage (UHC). Methods: Prioritization and selection method for drug-related pharmacogenetic tests (gene-drug pairs) that are important in the Thai population were used to select pharmacogenetic testing for evaluating their cost-effectiveness through reviewing the literatures and recommendations from pharmacogenetic experts to be used as scoring criteria and selection. Apart from this, the cost-utility and budget impact analyses of HLA-B*13:01 testing before initiation of co-trimoxazole treatment to prevent DRESS and dapsone treatment to avoid SCAR compared to no testing were undertaken using a decision tree and Markov model. Results: From the prioritization of gene-drug pairs according to the prioritization criteria, in HLAs group, it was found that gene-drug HLA-B*15:02–phenytoin, HLA-B*57:01-abacavir, HLA-B*13:01-co-trimoxazole and HLA-B*13:01-dapsone should be considered for economic evaluation in Thailand. In non-HLA group, gene-drug CYP2B6- efavirenz, SLCO1B1-simvastatin และ NAT2-ethambutol, isoniazid, pyrazinamide, rifampin should be selected as a candidate for economic evaluation in Thailand. Results of economic evaluation showed that HLA-B*13:01 testing before initiation of co-trimoxazole treatment to prevent DRESS and dapsone treatment to avoid SCAR was not cost-effective, compared with the group without pharmacogenetic testing. The provision of HLA-B*13:01 testing resulted in the budget impact of 2,246,000 baht per year. Conclusions: The results of the study of the prioritization of gene-drug pairs can be used to consider the selection of gene-drug pairs for future economic evaluation in Thailand. HLA-B*13:01 testing prior to initiation of co-trimoxazole and dapsone was not cost-effective and therefore is not proposed to be included in the UHC Benefit Package. | th_TH |
dc.identifier.callno | W74 อ864ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 64-097 | |
dc.subject.keyword | Economic Evaluation | th_TH |
.custom.citation | อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, Usa Chaikledkaew, เสาวลักษณ์ ตุรงคราวี, Saowalak Turongkaravee, ศิตาพร ยังคง, Sitaporn Youngkong, จิระพรรณ จิตติคุณ, Jiraphun Jittikoon, วันวิสาข์ อุดมสินประเสริฐ, Wanvisa Udomsinprasert, สุรัคเมธ มหาศิริมงคล and Surakameth Mahasirimongkol. "การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณของการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ปีที่ 1." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5879">http://hdl.handle.net/11228/5879</a>. | |
.custom.total_download | 47 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 5 | |
.custom.downloaded_this_year | 19 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 6 | |