Show simple item record

Situation Analysis and Requirement of Telehealth Technology Used in Community Health Centers in Remote Areas of Nan Province

dc.contributor.authorนภดล สุดสมth_TH
dc.contributor.authorNapadol Sudsomth_TH
dc.contributor.authorถนัด ใบยาth_TH
dc.contributor.authorThanat Baiyath_TH
dc.contributor.authorแชน อะทะไชยth_TH
dc.contributor.authorChaen Atachaith_TH
dc.contributor.authorกมลฉัตร จันทร์ดีth_TH
dc.contributor.authorKamonchat Chandeeth_TH
dc.contributor.authorทัศนีย์วรรณ สกุลแก้วth_TH
dc.contributor.authorThasaneewan Sakulkaewth_TH
dc.contributor.authorวิลาวัณย์ กามินทร์th_TH
dc.contributor.authorWilawan Kaminth_TH
dc.contributor.authorศุทธินี นิลคงth_TH
dc.contributor.authorSutthinee Ninkhongth_TH
dc.contributor.authorฬุจิศักดิ์ วรเดชวิทยาth_TH
dc.contributor.authorLujisak Voradetwittayath_TH
dc.date.accessioned2023-06-06T07:04:11Z
dc.date.available2023-06-06T07:04:11Z
dc.date.issued2566-05
dc.identifier.otherhs2980
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5880
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์และความต้องการด้านเทคโนโลยีโทรสุขภาพ (Telehealth) ของสถานบริการสุขภาพชุมชนในพื้นที่ห่างไกลจังหวัดน่าน และ 2. เพื่อออกแบบและทดลองระบบเทคโนโลยีโทรสุขภาพของสถานบริการสุขภาพชุมชนในพื้นที่ห่างไกลจังหวัดน่าน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เริ่มดำเนินการวิจัยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2566 รวมระยะเวลา 7 เดือน พื้นที่ศึกษา ได้แก่ สุขศาลาพระราชทานและสุขศาลาร่วมใจ รวมจำนวน 9 แห่ง มีกระบวนการ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นวินิจฉัยปัญหา ขั้นทำแผนปฏิบัติการ ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นการประเมินผล ขั้นระบุการเรียนรู้ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ความพร้อมในการให้บริการ Telehealth ของพื้นที่ศึกษาจัดองค์ประกอบเป็น 5 ด้าน ได้แก่ Hardware Software Peopleware ฐานข้อมูล และระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ต โดยพบว่า ความต้องการในการเข้าถึงคุณภาพและความเสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ต เป็นปัจจัยสำคัญต่อประสิทธิภาพของ Telehealth 2) มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการ คลินิกทางไกล บริหารจัดการในรูปแบบเครือข่ายบริการระดับอำเภอ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ่อเกลือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอปัว และ อำเภอเมืองน่าน ขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอ มีขั้นตอนการจัดบริการทั้งหมด 8 ขั้นตอน โดยการมีส่วนร่วมของสหสาขาวิชาชีพของสถานบริการ 3 ระดับ คือ สุขศาลา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) พี่เลี้ยง และโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) แม่ข่าย กำหนดกลุ่มเป้าหมายบริการเป็น 14 กลุ่ม โดยในระยะทดลองเปิดให้บริการคลินิกทางไกล 3 เดือน คือ มกราคม ถึง มีนาคม พ.ศ. 2566 มีผู้มารับบริการ รวมจำนวน 39 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.82 ของผู้มารับบริการแบบปกติ โดยทั้งหมดเป็นการให้บริการแบบนัดหมายแยกเป็นบริการ ณ สุขศาลา ร้อยละ 74.36 บริการแบบเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 25.64 จากข้อมูลการวิเคราะห์ต้นทุนทางอ้อมและต้นทุนที่ไม่เกี่ยวกับการแพทย์ของผู้มารับบริการในระบบปกติ พบว่า การมารับบริการ ณ สุขศาลาในชุมชน สามารถลดค่าใช้จ่ายโดยรวมเฉลี่ยต่อคนต่อครั้งในการเดินทางไปรับการรักษาที่ รพ.สต. หรือ รพช. ของผู้ป่วยและผู้ดูแล คิดเป็นร้อยละ 95.95 - 98.61 ข้อเสนอแนะต่อโครงการเพื่อให้การบริการเกิดความต่อเนื่องในระยะต่อไป ได้แก่ 1. ควรพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีโทรสุขภาพเพิ่มเติมให้กับเจ้าหน้าที่และเครือข่ายในชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และทีมกู้ชีพกู้ภัย 2. ควรแก้ไขปัญหาความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยการบริหารแผนร่วมกันระหว่างเครือข่ายภาครัฐท้องถิ่นและเอกชน 3. ควรขยายผลนำระบบ Telehealth ไปปรับใช้ในการให้บริการด้านส่งเสริมสุขภาพที่เป็นปัญหาในพื้นที่ให้มากขึ้น เช่น งานพัฒนาการเด็ก งานอนามัยแม่และเด็ก และผู้พิการ เป็นต้น ด้านข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ ส่วนกลางควรสร้าง Platform กลางในการให้บริการ Telehealth บนคลาวด์ที่สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลไปยังระบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยของสถานบริการทุกระดับได้เพื่อลดความซ้ำซ้อนของงาน และเป็นระบบที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบโปรแกรม e-Claim เพื่อขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกลตามเกณฑ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectTelehealthth_TH
dc.subjectTelemedicineth_TH
dc.subjectการแพทย์ทางไกลth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectCommunityth_TH
dc.subjectสุขศาลาth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลชุมชนth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาสถานการณ์และความต้องการด้านเทคโนโลยีโทรสุขภาพของสถานบริการสุขภาพชุมชนในพื้นที่ห่างไกลจังหวัดน่านth_TH
dc.title.alternativeSituation Analysis and Requirement of Telehealth Technology Used in Community Health Centers in Remote Areas of Nan Provinceth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis participatory action research study aimed to investigate the telehealth technology needs and situation in community health service centers in remote areas (Suksala) of Nan Province, Thailand. The study had two objectives: 1) to explore the situation and needs of telehealth technology in Suksala networks, consisting of nine locations in remote areas of Nan Province, and 2) to design and test a telehealth technology system for community health service centers in the study areas. The study was conducted from October 2022 to April 2023, and involved five practical steps such as diagnosing, action plan, taking action, evaluation, and specifying learning stage. The research employed both qualitative and quantitative data analysis. The study revealed that the telehealth service readiness in the study area had five components, including hardware, software, peopleware, database, and internet network system. The study found that access to quality and stable internet signals was crucial for the effectiveness of telehealth services. Moreover, the study identified the development of a service model for remote clinics, managed in the form of a district-level service network in four districts, Bo Kluea, Chaloem Phrakiat, Pua, and Mueang Nan, of Nan Province, with an appointed board. The service model had eight steps of service management involving multidisciplinary participation from three levels of service facilities, including Suksalas, tambon health promotion hospitals, and community hospitals. The service targeted 14 groups. The telehealth service was trialed for three months, from January to March 2023, with a total of 39 people receiving the service, representing 4.82 percent of those who received normal services. The trial service included appointment-based services and was offered both at Suksalas (74.36%) and through home visit services (25.64%). The study found that receiving services at Suksalas could reduce the average overall cost per person per time of traveling to receive treatment at public health hospitals or the Area-based Health Care System for patients and caregivers, accounting for 95.95-98.61 percent of the indirect costs and non-medical costs. The study provided suggestions for the project to ensure the continuity of telehealth services in the future. The suggestions included developing additional telehealth technology potential for staff and networks in the community, solving the problem of infrastructure readiness through joint management plans between government networks, local government organizations, and private organizations, and applying the telehealth system to provide health promotion services for problematic areas such as child development, maternal and child health, and the disabled. The study also provided policy recommendations, such as creating a central platform for providing telehealth services on a cloud database that can connect to patient record systems of all levels of service facilities, reducing redundant work, and providing a system that can be connected to the e-Claim program system to request expenses for public health services in case of remote health service fees according to the criteria of the National Health Security Office.th_TH
dc.identifier.callnoW83 น287ก 2566
dc.identifier.contactno65-143
dc.subject.keywordเทคโนโลยีโทรสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordSuksalasth_TH
.custom.citationนภดล สุดสม, Napadol Sudsom, ถนัด ใบยา, Thanat Baiya, แชน อะทะไชย, Chaen Atachai, กมลฉัตร จันทร์ดี, Kamonchat Chandee, ทัศนีย์วรรณ สกุลแก้ว, Thasaneewan Sakulkaew, วิลาวัณย์ กามินทร์, Wilawan Kamin, ศุทธินี นิลคง, Sutthinee Ninkhong, ฬุจิศักดิ์ วรเดชวิทยา and Lujisak Voradetwittaya. "การศึกษาสถานการณ์และความต้องการด้านเทคโนโลยีโทรสุขภาพของสถานบริการสุขภาพชุมชนในพื้นที่ห่างไกลจังหวัดน่าน." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5880">http://hdl.handle.net/11228/5880</a>.
.custom.total_download81
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year29
.custom.downloaded_fiscal_year7

Fulltext
Icon
Name: hs2980.pdf
Size: 12.31Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record