Show simple item record

COVID-19 Vaccine Effectiveness in Thailand: a Real World Study (2nd Year)

dc.contributor.authorภาสกร ศรีทิพย์สุโขth_TH
dc.contributor.authorPaskorn Sritipsukhoth_TH
dc.contributor.authorบุญยิ่ง ศิริบำรุงวงศ์th_TH
dc.contributor.authorBoonying Siribumrungwongth_TH
dc.contributor.authorพิชญ ตันติยวรงค์th_TH
dc.contributor.authorPichaya Tantiyavarongth_TH
dc.contributor.authorอารยา ศรัทธาพุทธth_TH
dc.contributor.authorAraya Satdhabudhath_TH
dc.contributor.authorพรรณศจี ดำรงเลิศth_TH
dc.contributor.authorPansachee Damronglerdth_TH
dc.contributor.authorพีร์ จารุอำพรพรรณth_TH
dc.contributor.authorPeera Jaru-ampornpanth_TH
dc.date.accessioned2023-06-21T03:51:48Z
dc.date.available2023-06-21T03:51:48Z
dc.date.issued2566-06
dc.identifier.otherhs2988
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5885
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษา Test Negative Case Control Study เพื่อประเมินประสิทธิผลของสูตรวัคซีนต่างๆ สำหรับป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และโรคโควิด-19 ที่รุนแรง โดยคัดเลือกผู้เข้าเกณฑ์การสอบสวนการติดเชื้อ (Patient Under Investigation, PUI) ที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปี ที่รับการตรวจจมูกด้วย RT-PCR เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อโควิด-19 ทุกราย จำนวน 8,600 ราย ซึ่งรับการตรวจที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เข้าร่วมโครงการวิจัยตรงกับช่วงการระบาดด้วยสายพันธุ์หลักโอมิครอนของประเทศ มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 3,546 ราย ผลการศึกษาพบว่า ความรุนแรงของโรคโควิด-19 ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงการระบาดด้วยสายพันธุ์หลักเดลต้า ประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 แปรผันตามจำนวนเข็มของวัคซีนที่ได้รับ การได้รับวัคซีน 4 เข็ม (วัคซีนกระตุ้น 2 เข็ม) มีประสิทธิผลสูงสุดในการป้องกันการติดเชื้อแต่ได้เพียงปานกลาง การได้รับวัคซีน 3-4 เข็ม หรือได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น 1-2 เข็ม มีประสิทธิผลในการป้องกันโรคที่มีความรุนแรงได้ดีใกล้เคียงกันและประสิทธิผลจะอยู่คงทน (Sustainability) กว่าการได้รับวัคซีนเพียง 2 เข็ม ผลการศึกษาปัจจัยที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ จำนวนเข็มของวัคซีนที่ได้รับ เพศหญิง เป็นบุคลากรการแพทย์ และปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ สูงอายุ มีโรคเรื้อรังอย่างน้อย 1 โรค และมีสมาชิกในครอบครัวติดเชื้อ สำหรับปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ พบว่าการไม่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม มีโรคเรื้อรังอย่างน้อย 1 โรค และสูงอายุ ภาวะลองโควิดภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 เป็นเวลา 6 เดือน เป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่พบได้บ่อย ทำให้มีอาการต่างๆ ได้หลายระบบของร่างกาย โดยอาการอ่อนแรงและอาการทางระบบประสาทเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด ปัจจัยเสี่ยงของภาวะลองโควิดที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศหญิง มีอาการไอในช่วงติดเชื้อ และติดเชื้อโควิด-19 ที่มีความรุนแรง ดังนั้น ในสถานการณ์การระบาดด้วยสายพันธุ์หลักโอมิครอน คณะผู้วิจัยเสนอให้ โปรแกรมการฉีดวัคซีนระดับชาติ (Massive Vaccination Program) ควรมุ่งเน้นไปที่การลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 โดยให้การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นอย่างน้อย 1 เข็ม ด้วยวัคซีนประเภท Viral Vector Vaccine หรือ mRNA Vaccine ถึงแม้จะเป็นประเภทวัคซีนที่ต่างจากวัคซีนหลัก 2 เข็มแรกที่ได้รับที่เป็นวัคซีนเชื้อตาย ก็ได้ผลดีมีประสิทธิภาพสูงth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัคซีนth_TH
dc.subjectVaccinesth_TH
dc.subjectวัคซีนโควิด-19th_TH
dc.subjectCOVID-19 Vaccinesth_TH
dc.subjectImmunityth_TH
dc.subjectภูมิคุ้มกันth_TH
dc.subjectImmune Systemth_TH
dc.subjectระบบภูมิคุ้มกันth_TH
dc.subjectภูมิคุ้มกันวิทยาth_TH
dc.subjectImmunologyth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCOVID-19--Prevention and Controlth_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย: การศึกษาในสถานการณ์จริง (ปีที่ 2)th_TH
dc.title.alternativeCOVID-19 Vaccine Effectiveness in Thailand: a Real World Study (2nd Year)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeWe conducted a test negative case control study to assess the Vaccine Effectiveness (VE) of various vaccine regimens for preventing COVID-19 infection and its severity during the period when Omicron was the dominant causative virus in Thailand. All 8,600 individuals, aged ≥5 years, at risk for COVID-19 (Patient Under Investigation, PUI) who presented for nasopharyngeal real time polymerase chain reaction (RT-PCR) testing were prospectively enrolled at Thammasat University hospital during January to June 2022. There were 3,546 cases who were infected. For preventing omicron variant associated infections, the VE increased along with the increase in the number of vaccine dose and the four dose regimen (2 boosters) had the highest but only moderate VE. For preventing severity, the three and four dose regimens (1 and 2 boosters) had comparable high VE and their effectiveness was more durable than the two dose regimens. Significant protective factors to prevent infection were vaccine doses, female and healthcare personnel. Significant risk of infection included elderly, at least one chronic morbidity and household infection. Significant risk of severe COVID-19 was incomplete two dose vaccination, at least one chronic morbidity and elderly. Longcovid condition was prevalent after 6 months of COVID-19. It consisted of multi system symptoms. Weakness and neurological symptoms were the most common manifestations. Risk factors of longcovid condition were female, cough symptom at acute infection and severe COVID-19. Based on the study findings, current mass vaccination programs should focus on reducing COVID-19 severity and mandate at least one booster dose after primary series vaccines. The heterologous boosters with viral vector and mRNA vaccines were highly effective and can be used in individuals who had previously received the primary series of inactivated viral vaccine.th_TH
dc.identifier.callnoWC503 ภ493ป 2566
dc.identifier.contactno65-050
dc.subject.keywordวัคซีนเข็มกระตุ้นth_TH
dc.subject.keywordภูมิต้านทานth_TH
dc.subject.keywordVaccine Effectivenessth_TH
dc.subject.keywordVEth_TH
dc.subject.keywordLong COVIDth_TH
dc.subject.keywordภาวะลองโควิดth_TH
.custom.citationภาสกร ศรีทิพย์สุโข, Paskorn Sritipsukho, บุญยิ่ง ศิริบำรุงวงศ์, Boonying Siribumrungwong, พิชญ ตันติยวรงค์, Pichaya Tantiyavarong, อารยา ศรัทธาพุทธ, Araya Satdhabudha, พรรณศจี ดำรงเลิศ, Pansachee Damronglerd, พีร์ จารุอำพรพรรณ and Peera Jaru-ampornpan. "ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย: การศึกษาในสถานการณ์จริง (ปีที่ 2)." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5885">http://hdl.handle.net/11228/5885</a>.
.custom.total_download62
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year11
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs2988.pdf
Size: 1.431Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record