แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนารูปแบบนำร่องเพื่อพัฒนาคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตาย กรณีการตายนอกสถานพยาบาลใน 12 เขตสุขภาพ

dc.contributor.authorกนิษฐา บุญธรรมเจริญth_TH
dc.contributor.authorKanitta Bundhamcharoenth_TH
dc.contributor.authorรักษพล สนิทยาth_TH
dc.contributor.authorRugsapon Sanityath_TH
dc.contributor.authorณัฐพัชร์ มรรคาth_TH
dc.contributor.authorNuttapat Makkath_TH
dc.contributor.authorจักร์วิดา อมรวิสัยสรเดชth_TH
dc.contributor.authorChakvida Amornvisaisoradejth_TH
dc.date.accessioned2023-06-22T07:09:39Z
dc.date.available2023-06-22T07:09:39Z
dc.date.issued2566-05
dc.identifier.otherhs2982
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5886
dc.description.abstractข้อมูลสาเหตุการตายมีความสำคัญ ซึ่งสะท้อนปัญหาสุขภาพของประชากร โดยข้อมูลสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการประเมินติดตามผลการดำเนินงานของระบบสุขภาพ รวมถึงเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนพัฒนางานสาธารณสุขระดับชาติ แม้ระบบการรายงานการตายของประเทศจะมีความครอบคลุมด้วยระบบทะเบียนราษฎร แต่ยังพบว่าข้อมูลสาเหตุการตายที่รายงานในทะเบียนราษฎรมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะการตายนอกสถานพยาบาลจากการเจ็บป่วย ซึ่งอาศัยข้อมูลคำบอกเล่าจากญาติผู้เสียชีวิตในการให้ข้อมูลสาเหตุการตาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตายที่เกิดนอกสถานพยาบาลและวัตถุประสงค์รอง คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบนำร่องในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตายนอกสถานพยาบาล 2) เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการวินิจฉัยสาเหตุการตายนอกสถานพยาบาลที่เหมาะสมสำหรับการจัดเก็บข้อมูลในระบบปกติ และ 3) เพื่อนำไปสู่การขยายผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตายนอกสถานพยาบาล การศึกษาเป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (research and development) โดยการพัฒนารูปแบบ (model development) ของการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตายนอกสถานพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) การตายนอกสถานพยาบาลที่มีประวัติการรักษาพยาบาลใน 1 ปี และ 2) การตายนอกสถานพยาบาลที่ไม่มีประวัติการรักษาพยาบาลฯ โดยพัฒนาเครื่องมือและระบบการจัดเก็บข้อมูลในการให้สาเหตุการตายทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ ระบบบันทึกการทบทวนประวัติการรักษาพยาบาลและสรุปสาเหตุการตายสำหรับเจ้าหน้าที่เวชสถิติของโรงพยาบาล และระบบบันทึกการสัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้เสียชีวิตก่อนเสียชีวิตตามเครื่องมือ Verbal Autopsy (VA) ที่ปรับปรุงจาก 2016 WHO VA ให้สั้นและเหมาะสมกับบริบทประเทศไทย สำหรับการสัมภาษณ์โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฐมภูมิในโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์สุขภาพชุมชน ทั้งนี้ มีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานของจังหวัด ทั้งติดตามผลการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงานไปยังผู้บริหาร การศึกษาดำเนินงานใน 12 จังหวัดนำร่องของ 12 เขตสุขภาพ ได้แก่ เชียงราย สุโขทัย นครสวรรค์ อ่างทอง สุพรรณบุรี จันทบุรี มหาสารคาม อุดรธานี บุรีรัมย์ อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี และสงขลา โดยใช้ข้อมูลการตายจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ที่ส่งให้กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารสุข ร่วมกับข้อมูลการรักษาพยาบาลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นข้อมูลการตายย้อนหลังที่เป็นการตายนอกสถานพยาบาล จากการเจ็บป่วยหรือการตายตามธรรมชาติ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 29,410 ราย การดำเนินงานประกอบด้วยการพัฒนาเครื่องมือและระบบการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การเตรียมพื้นที่ การดำเนินงานจริงในพื้นที่ และการลงพื้นที่สะท้อนผลและสรุปผลการดำเนินงาน โดยมีระยะดำเนินงานระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 การวิเคราะห์และสรุปผลเชิงปริมาณ ทำการประเมินผลการดำเนินงานตามรูปแบบนำร่อง คือ ร้อยละของเป้าหมายที่ได้ดำเนินงานสำเร็จและการวิเคราะห์เปรียบเทียบสาเหตุการตายจากมรณบัตรและสาเหตุการตายที่ได้จากการดำเนินงานตามรูปแบบนำร่อง คือ ความถูกต้องของการให้สาเหตุการตายโดยมีร้อยละของสาเหตุการตายที่ไม่ระบุชัดแจ้งลดลง และการวิเคราะห์และสรุปผลเชิงคุณภาพ นำข้อมูลจากการประชุมผู้เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้บริหารและการสนทนากลุ่ม ได้แก่ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา มาสรุปผลและจัดทำเป็นข้อเสนอแนะ ผลการศึกษา ข้อมูลการตายนอกสถานพยาบาล จากการเจ็บป่วยหรือการตายตามธรรมชาติ ใน 12 จังหวัดนำร่อง ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 29,410 ราย ในจำนวนนี้ มี 28,629 ราย หรือร้อยละ 97.3 ที่เชื่อมข้อมูลการรักษาพยาบาลแล้วพบประวัติการรักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิตใน 1 ปี และ/หรือไม่พบประวัติการรักษาฯ แต่สามารถระบุหน่วยบริการในการดำเนินงานได้ โดยร้อยละ 43.8 ของข้อมูลที่เชื่อมข้อมูล เป็นการตายนอกสถานพยาบาลที่พบประวัติการรักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิตฯ สำหรับการตายที่ไม่สามารถระบุหน่วยบริการในการดำเนินงานได้ พบว่ามีจำนวน 781 ราย เนื่องจากไม่พบประวัติการรักษาพยาบาลในฐานข้อมูล Health Data Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข และที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของผู้ตายขาดรายละเอียดที่สอดคล้องกับเขตพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบริการ ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือพื้นที่ต้องมีการสำรวจและจัดทำรายละเอียดเขตพื้นที่รับผิดชอบเพิ่มเติมให้ครอบคลุมพื้นที่ เช่น พื้นที่ในเขตเมือง เทศบาลที่ไม่ได้ระบุหมู่ แต่ระบุเป็นถนน หรือซอย เป็นต้น ผลการดำเนินงานตามรูปแบบนำร่อง ข้อมูล ณ วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2566 พบว่า ทั้ง 12 จังหวัดนำร่องมีผลการดำเนินงานที่ดำเนินงานได้สำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 74.1 (21,202 ราย) โดยผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่เวชสถิติในโรงพยาบาลที่ดำเนินงานทบทวนประวัติการรักษาพยาบาลและสรุปสาเหตุการตายจากข้อมูลการตายที่เชื่อมข้อมูลและพบประวัติการรักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิตใน 1 ปี ดำเนินงานสำเร็จ ร้อยละ 90.3 ขณะที่ ผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฐมภูมิในหน่วยบริการในพื้นที่ที่ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้เสียชีวิตก่อนเสียชีวิตและสรุปสาเหตุการตาย ดำเนินงานสำเร็จร้อยละ 61.4 สาเหตุการตายเมื่อผ่านการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับสาเหตุการตายจากมรณบัตรและสาเหตุการตายที่ได้จากการดำเนินงานตามรูปแบบนำร่อง พบว่า 1) ข้อมูลสาเหตุการตายในมรณบัตรเปรียบเทียบกับสาเหตุการตายที่ดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่เวช สถิติในโรงพยาบาล จากข้อมูลการตายที่เชื่อมข้อมูลและพบประวัติการรักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิตใน 1 ปี และ 2) ข้อมูลสาเหตุตายในมรณบัตรเปรียบเทียบกับสาเหตุการตายที่ดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขปฐมภูมิในหน่วยบริการในพื้นที่ จากข้อมูลการตายที่ไม่พบประวัติการรักษาพยาบาลฯ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการตายth_TH
dc.subjectDeathth_TH
dc.subjectสาเหตุการตายth_TH
dc.subjectCause of Deathth_TH
dc.subjectระบบฐานข้อมูลth_TH
dc.subjectDatabase Systemsth_TH
dc.subjectสารสนเทศทางการแพทย์th_TH
dc.subjectโรงพยาบาลชุมชนth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบนำร่องเพื่อพัฒนาคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตาย กรณีการตายนอกสถานพยาบาลใน 12 เขตสุขภาพth_TH
dc.title.alternativeModel Development for the Improvement of Data Quality on Cause of Death: A Pilot Study on Death Outside Health Facilities in 12 Health Regionsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeCause of death (COD) data is important as it reflects the health problems of a population. The data can be used to assess and monitor the performance of a health system and develop plans for public health work at the national level. Although the country's death reporting system is covered by the civil registration system, it was found that the quality of COD data reported in the civil registry is still poor, especially of natural deaths outside health facilities which depends on information that the deceased’s relative give to the registrar. A Model development for the improvement of data quality on cause of death: A pilot study on deaths outside health facilities in 12 health regions was developed with a primary objective to improve the quality of COD data for deaths outside health facilities according to the policy of the Office of the Permanent Secretary (OPS), Ministry of Public Health (MOPH) with financial support from the Health Systems Research Institute (HSRI). Secondary objectives were 1) to develop a pilot model for COD data quality improvement for deaths outside health facilities, 2) to develop tools and systems for regular review of COD data by community health personnel, and 3) to expand the operational results of improving the quality of COD data for deaths outside health facilities. The study was a research and development study, by developing and piloting a model for improving the quality of COD data for deaths outside health facilities. It consisted of 2 parts: 1) deaths with medical history within 1 year prior to death; medical records (MR) are reviewed by the hospital’s medical coders to ascertain the correct COD in the data collecting program and 2) deaths without medical history during the same period; a community public health officer conducts a verbal autopsy (VA) via an online tool. The VA tool was adapted from the 2016 WHO VA to be short and appropriate for the Thai context for interviews by community public health officer in hospitals and Tambon (sub-district) health promotion hospitals (THPHs). A Provincial Public Health Office (PHO) was responsible for the operations in the province, both monitoring performance and reporting to their Chief Officer. The study was carried out in 12 pilot provinces, one from each of the 12 health regions across the country, namely Chiang Rai, Sukhothai, Nakhon Sawan, Ang Thong, Suphan Buri, Chanthaburi, Maha Sarakham, Udon Thani, Buriram, Ubon Ratchathani, Surat Thani and Songkhla. Death data from the Bureau of Registration Administration (BORA) which was sent to the Strategy and Planning Division, OPS, MOPH was used in conjunction with medical information in the Health Data Center (HDC) database from the Information and Communication Technology Center, OPS, MOPH. The 29,410 deaths between January and May 2022 for natural deaths outside health facilities were allocated to the pilot provinces for review. The study operations included development of tools and systems, training, site preparation, implementation, field visits for reflection, and result summarization, and was carried out between October 2021 and February 2023. Quantitative analysis evaluated the performance according to the pilot model, i.e. percentage of goals achieved. Comparative analysis of COD was performed using COD from death certificates and COD obtained from the pilot study model, i.e. accuracy of COD and decreases in percentage of ill-defined cause. Qualitative analysis using information from meetings with relevant parties, in-depth interviews with executives, and focus group discussions with community health personnel including success factors, problems, obstacles, and solutions, to summarize results and make recommendations. Results Data for natural deaths outside health facilities in the 12 pilot provinces between January and May 2022 included 29,410 deaths. Of these, 28,629 deaths, or 97.3%, were successfully synced and had a medical history within one year before death and/or no medical history but an identified primary care unit. Of the synced cases, 43.8% were deaths outside health facilities with a medical history one year prior to death. There were 781 death cases with no identifiable primary care unit because of a lack of medical history in the HDC database and a lack of details in house registration addresses corresponding to responsible primary care units, such as unspecified municipalities but instead specifying roads or alleys, etc. As of January 3, 2023, data showed that pilot provinces had successful operations for up to 74.1% (21,202) of deaths. A total of 90.3 % of deaths with medical history were reviewed by hospital medical coders, for deaths without a medical history, 61.4% of deaths were followed up with an interview of the deceased’s relatives by a community public health officer. Analysis of COD from death certificates and data from the pilot model implementation found that: 1) In the comparison of COD between death certificates and medical records (MR) reviewed by the hospital medical coders. in 11,318 deaths and 2) In the comparison of COD between death certificates and verbal autopsy conducted by community public health officers. in 9,884 deaths. Factors for success, problems, challenges and solutions. and Policy recommendations.th_TH
dc.identifier.callnoW825 ก128ก 2566
dc.identifier.contactno64-175
dc.subject.keywordเขตสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordRegional Health Areath_TH
dc.subject.keywordCODth_TH
dc.subject.keywordVerbal Autopsyth_TH
dc.subject.keywordVAth_TH
.custom.citationกนิษฐา บุญธรรมเจริญ, Kanitta Bundhamcharoen, รักษพล สนิทยา, Rugsapon Sanitya, ณัฐพัชร์ มรรคา, Nuttapat Makka, จักร์วิดา อมรวิสัยสรเดช and Chakvida Amornvisaisoradej. "การพัฒนารูปแบบนำร่องเพื่อพัฒนาคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตาย กรณีการตายนอกสถานพยาบาลใน 12 เขตสุขภาพ." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5886">http://hdl.handle.net/11228/5886</a>.
.custom.total_download28
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year4

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2982.pdf
ขนาด: 2.748Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย