Show simple item record

Mapping, Monitoring, and Assessing Impacts from Air Pollution from Coal-fired Power Plant on Community Health and Quality of Life in Nan Province

dc.contributor.authorธนพล เพ็ญรัตน์th_TH
dc.contributor.authorTanapon Phenratth_TH
dc.contributor.authorวิน ไตรวิทยานุรักษ์th_TH
dc.contributor.authorWin Trivitayanurakth_TH
dc.contributor.authorนวพร อาดำth_TH
dc.contributor.authorNawaporn Adumth_TH
dc.contributor.authorกฤษณะติณณ์ เปรี้ยวหวานth_TH
dc.contributor.authorKitsanateen Piaowanth_TH
dc.contributor.authorมนุพัศ โลหิตนาวีth_TH
dc.contributor.authorManupat Lohitnavyth_TH
dc.contributor.authorวรากร มณีชูเกตุth_TH
dc.contributor.authorWarakorn Maneechuketth_TH
dc.contributor.authorภากร ป้อมกระสันth_TH
dc.contributor.authorPagon Pomkrasanth_TH
dc.contributor.authorวนรัตน์ ขัดถามth_TH
dc.contributor.authorWanarat Khadthamth_TH
dc.date.accessioned2023-06-30T06:42:42Z
dc.date.available2023-06-30T06:42:42Z
dc.date.issued2566-03
dc.identifier.otherhs2987
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5903
dc.description.abstractงานวิจัยนี้พัฒนาเครื่องมือและระบบข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูล หลักฐาน สำหรับการเฝ้าระวังผลกระทบจากมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดนต่อสุขภาพและการประกอบอาชีพของประชาชน โดยใช้ประชาชน 8 หมู่บ้าน ในตำบลห้วยโก๋นและตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศลาวมาเป็นกรณีต้นแบบ งานวิจัยนี้ใช้หลักวิทยาศาสตร์ภาคประชาชน โดยเริ่มที่การกำหนดโจทย์วิจัยและประเด็นวิจัยจากความรู้สึกกังวล และผลกระทบเชิงประจักษ์จากมลพิษข้ามพรมแดน ก่อนจะนำความกังวลและประสบการณ์เหล่านั้นมากำหนดเป็นตัวชี้วัดสำคัญทางสิ่งแวดล้อมที่ต้องทำการเก็บตัวอย่างภาคสนาม เพื่อให้ได้ข้อมูลหลักฐานสำหรับประเมินเชื่อมโยงของมลพิษข้ามพรมแดนและความกังวลของประชาชนในพื้นที่ จากนั้นจึงใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์สร้างแผนที่ความเสี่ยงที่มลพิษอย่าง PM10, PM2.5 จะกระทบสุขภาพประชาชน หรือมลพิษอย่างก๊าซกรด เช่น SO2 และ NO2 จะตกสะสมสู่พื้นที่เกษตรกรรมทำให้พืชผลเสียหายหรือจะเป็นมลพิษอย่างปรอทที่อยู่ในปลาทำให้หญิงมีครรภ์มีความเสี่ยงที่ลูก IQ ต่ำ จากการบริโภคเนื้อปลาปนเปื้อนปรอท แผนที่ความเสี่ยงแสดงทรัพยากรธรรมชาติที่อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษข้ามพรมแดน ทำให้คณะวิจัยออกแบบการเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อมได้อย่างตรงจุดเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดมลพิษในบรรยากาศด้วยเซ็นเซอร์ราคาถูก การวัดความเป็นกรดของดินเพื่อการเกษตรอันเนื่องมาจากฝนกรด การวัดปรอทปนเปื้อนในปลา ในเส้นผมมนุษย์ คณะวิจัยพบว่า ทุกหมู่บ้าน เว้นบ้านด่านน่าจะเริ่มได้รับผลกระทบจากก๊าซกรดแล้วดังจะเห็นได้ว่าค่าความเป็นกรดของดินในทุกหมู่บ้านมีค่าต่ำระหว่าง 4.20 ถึง 5.09 ซึ่งต่ำกว่าค่า pH ของดินที่ไม่ได้เป็นกรด คือ 5.5 ในทำนองเดียวกันหมู่บ้านห้วยโก๋น น้ำรี กิ่วจันทร์ และสบปืน เริ่มได้ผลกระทบจากปรอทข้ามพรมแดนแล้วด้วย พบปรอทในปลาสูงสุดถึง 0.16 มก. ต่อ กก. แม้จะยังต่ำกว่า 0.3 มก. ต่อ กก. แต่ก็พบปรอทในเส้นผมของประชาชนสูงในหลายกรณี แสดงว่าผิดปกติ จากการประเมินมูลค่าความเสียหายจากปรอทและก๊าซกรด พบว่า ความเสียหายจากมลพิษข้ามพรมแดนนี้มีค่าสูงถึง 975 ล้านบาทใน 30 ปี ปัญหานี้ควรได้รับการแก้ไข โดยการส่งเสริมกลไกวิทยาศาสตร์ภาคประชาชนเพื่อสร้างฐานข้อมูลสะท้อนปัญหาที่แท้จริงและควรเชิญผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศลาวเข้ามาร่วมกระบวนการเพื่อการยอมรับปัญหา ควรร่วมกันออกแบบมาตรการแก้ปัญหา บรรเทาผลกระทบจากมลพิษข้ามพรมแดน ควรตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงสำหรับประชาชน 8 หมู่บ้านที่อาจจะได้รับผลกระทบจากมลพิษข้ามพรมแดนอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท ใน 30 ปีของการดำเนินโครงการ และควรวางรูปแบบเงื่อนไขการใช้เงินกองทุนให้เป็นธรรมกับชุมชนและให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากที่สุดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectมลพิษทางอากาศth_TH
dc.subjectAir Pollutionth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectCommunityth_TH
dc.subjectโรงไฟฟ้าถ่านหินth_TH
dc.subjectโรงไฟฟ้าถ่านหิน--ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectHealth Impact Assessmentth_TH
dc.subjectการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectการประเมินสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectQuality of Lifeth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectการดำเนินชีวิตth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการจัดทำแผนที่ความเสี่ยง การติดตามการปนเปื้อนและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของชุมชน จากมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินตกสะสมในสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.title.alternativeMapping, Monitoring, and Assessing Impacts from Air Pollution from Coal-fired Power Plant on Community Health and Quality of Life in Nan Provinceth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research developed tools and data systems to collect field data and evidence for monitoring health and vocational impacts from transboundary air pollution from a coalfired power plant in Lao on laypeople in 8 villages in Huai Kon subdistrict and Khun Nan subdistrict, Chaloem Phra Kiat district, Nan province. This research applied the principle of community citizen science (CCS), starting from formulating research questions to address the community’s concerns and negative direct experience potentially caused by transboundary air pollution. Next, these concerns and experience were used to design relevant environmental indicators for field monitoring to verify the association between community’s concerns and transboundary air pollution. Next, air pollution dispersion and deposition models were used to create risk maps illustrating health risk from PM2.5 and PM10, agricultural land degradation risk from acid deposition from SO2 and NO2 , and child’s IQ development risk from consumption of Hg-elevated fish, all of which are caused by major transboundary air pollutants from a coal-fired power plant. These risk maps helped us identify risky areas and receptors as well as environmental indicators to prove the effects from these pollutants. Low-cost air pollution sensors, soil acidity, Hg in fish and human hair were assessed. We found that every village except Ban Dan village started to get impacts from acid deposition already as confirmed by acidic soil pH in every village from pH 4.20 to 5.09 much lower than natural, non-acidic soil with pH of 5.5. Also, Huai-kon, Nam-ree, Kewchan, and Sop-Puen villages were likely affected from transboundary Hg already because Hg in fish was relatively high (0.16 mg/kg) even though this is still lower than the acceptable level (0.3 mg/kg), but Hg in hair of women in the area with elevated Hg in fish was abnormally high in comparison to normal Thai people. We roughly estimated the health and vocational cost from transboundary Hg and acid deposition to be around 975 million THB in 30 years. This serious problem should be properly managed using CCS to establish a database which reflects actual current and future impacts from transboundary air pollution. Moreover, the owner of the coal-fired power plant should join force with this CCS effort to design prevention, mitigation, and compensation measures. A risk management fund of 1,000 million THB should be established together with a clear protocol to use this fund for community in the fairest and the most community-engaging manner.th_TH
dc.identifier.callnoWA754 ธ192ก 2566
dc.identifier.contactno63-168
.custom.citationธนพล เพ็ญรัตน์, Tanapon Phenrat, วิน ไตรวิทยานุรักษ์, Win Trivitayanurak, นวพร อาดำ, Nawaporn Adum, กฤษณะติณณ์ เปรี้ยวหวาน, Kitsanateen Piaowan, มนุพัศ โลหิตนาวี, Manupat Lohitnavy, วรากร มณีชูเกตุ, Warakorn Maneechuket, ภากร ป้อมกระสัน, Pagon Pomkrasan, วนรัตน์ ขัดถาม and Wanarat Khadtham. "การจัดทำแผนที่ความเสี่ยง การติดตามการปนเปื้อนและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของชุมชน จากมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินตกสะสมในสิ่งแวดล้อม." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5903">http://hdl.handle.net/11228/5903</a>.
.custom.total_download66
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year26

Fulltext
Icon
Name: hs2987.pdf
Size: 8.195Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record