Show simple item record

A Study of International Pharmaceutical Management Patterns and Assess the Possibility of Establishing a National Pharmaceutical Management Model in Thailand

dc.contributor.authorชะอรสิน สุขศรีวงศ์th_TH
dc.contributor.authorCha-oncin Sooksriwongth_TH
dc.contributor.authorกุสาวดี เมลืองนนท์th_TH
dc.contributor.authorKusawadee Maluangnonth_TH
dc.contributor.authorตวงรัตน์ โพธะth_TH
dc.contributor.authorTuangrat Phodhath_TH
dc.date.accessioned2023-07-12T02:21:30Z
dc.date.available2023-07-12T02:21:30Z
dc.date.issued2566-01-10
dc.identifier.otherhs2990
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5905
dc.description.abstractการจัดการในภาพรวมเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงของการมีเภสัชภัณฑ์ใช้ในประเทศ ภายในขอบเขตของงบประมาณที่ได้รับนั้น มีความสำคัญต่อการเข้าถึงเภสัชภัณฑ์จำเป็นอย่างเท่าเทียม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบระบบบริหารจัดการเภสัชภัณฑ์แห่งชาติของต่างประเทศ 2) วิเคราะห์ระบบบริหารจัดการเภสัชภัณฑ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อหาช่องว่างและโอกาสในการพัฒนาระบบบริหารจัดการเภสัชภัณฑ์ของประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพ และ 3) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับรูปแบบระบบบริหารจัดการเภสัชภัณฑ์แห่งชาติ (National Pharmaceutical Management System) รูปแบบการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ในต่างประเทศ และประเทศไทย คัดเลือกประเทศที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการของหน่วยงานฯ และประเทศที่มีบริบทใกล้เคียงกันกับประเทศไทย วิธีการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 1) เก็บข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารและวรรณกรรมของหน่วยงานเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ในประเทศและต่างประเทศ (สิงคโปร์ อังกฤษ ไต้หวัน และ PHARMAC ประเทศนิวซีแลนด์) และ 2) เก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ในประเทศและต่างประเทศ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาแสดงเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1) รูปแบบระบบบริหารจัดการเวชภัณฑ์แห่งชาติของต่างประเทศ ได้แก่ หน่วยงาน PHARMAC ประเทศนิวซีแลนด์ สิงคโปร์ อังกฤษ ไต้หวัน 2) การวิเคราะห์เปรียบเทียบระบบบริหารจัดการเวชภัณฑ์แห่งชาติของต่างประเทศกับประเทศไทยและโอกาสในการพัฒนา ทำการวิเคราะห์ระบบของประเทศไทยใน 6 มิติ คือ Entry Points, Horizon Scanning, Health Technology Reassessment, Procurement/Negotiation Method, Monitoring and Evaluation ระบบติดตามและประเมิน 3) ระบบการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ที่มีทิศทางและรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยและข้อเสนอเชิงนโยบาย แนวทางการปรับระบบบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์เพื่อแก้ไข Pain Points 3 เรื่อง คือ ราคากลางของยา ข้อมูลสารสนเทศ กฎหมายและระเบียบจัดซื้อจัดจ้างth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectเวชภัณฑ์th_TH
dc.subjectMedical Suppliesth_TH
dc.subjectเภสัชภัณฑ์th_TH
dc.subjectเวชภัณฑ์--การบริหารth_TH
dc.subjectเวชภัณฑ์--การจัดซื้อth_TH
dc.subjectเวชภัณฑ์--การบริหารth_TH
dc.subjectPharmaceutical Policyth_TH
dc.subjectPharmaceutical Servicesth_TH
dc.subjectการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐth_TH
dc.subjectการบริหารเวชภัณฑ์th_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Administrationth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษารูปแบบระบบบริหารจัดการยาระดับประเทศและประเมินความเป็นไปได้ในการจัดให้มีรูปแบบใหม่ของระบบในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeA Study of International Pharmaceutical Management Patterns and Assess the Possibility of Establishing a National Pharmaceutical Management Model in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeAn integration of pharmaceutical management, under limited budget, for sustainability and security of national supply would lead to equity in accessibility. The objectives of this study were 1) to explore the international pharmaceutical management patterns at the national levels 2) to analyze current Thai pharmaceutical management system to find gaps and opportunities to improve 3) to propose policy options for Thai national pharmaceutical management system. The qualitative method was employed to present descriptive and analytical information from primary and secondary data. The population and samples were organizations related to national pharmaceutical management in Thailand and abroad. Data were collected by documentation search, interview in-depth, and focus group discussion. Analysis of qualitative data was performed by the content analysis. The results comprise of 3 parts: 1) international pharmaceutical management patterns at the national levels of Singapore, England, Taiwan, PHARMAC of New Zealand and Thailand. 2) comparative analysis of Thai pharmaceutical management patterns and abroad in 6 dimensions as: Entry points, Horizon scanning, Health technology reassessment, Procurement/Negotiation method, Monitoring and evaluation. 3) propose the appropriate pharmaceutical management system for Thailand. Finally. the policy proposal to deal with stakeholders’ 3 pain points (national medium price, information system, and procurement regulations and laws) was presented.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 ช377ก 2566
dc.identifier.contactno65-011
dc.subject.keywordPharmaceutical Managementth_TH
.custom.citationชะอรสิน สุขศรีวงศ์, Cha-oncin Sooksriwong, กุสาวดี เมลืองนนท์, Kusawadee Maluangnon, ตวงรัตน์ โพธะ and Tuangrat Phodha. "การศึกษารูปแบบระบบบริหารจัดการยาระดับประเทศและประเมินความเป็นไปได้ในการจัดให้มีรูปแบบใหม่ของระบบในประเทศไทย." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5905">http://hdl.handle.net/11228/5905</a>.
.custom.total_download34
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year11

Fulltext
Icon
Name: hs2990.pdf
Size: 8.547Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record