dc.contributor.author | คณิดา นรัตถรักษา | th_TH |
dc.contributor.author | Kanida Narattharaksa | th_TH |
dc.contributor.author | ธีรเดช นรัตถรักษา | th_TH |
dc.contributor.author | Teeradej Narattharaksa | th_TH |
dc.contributor.author | ปิยะ ศิริลักษณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Piya Sirilak | th_TH |
dc.contributor.author | สุภินดา ศิริลักษณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Supinda Sirilak | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-18T08:12:15Z | |
dc.date.available | 2023-07-18T08:12:15Z | |
dc.date.issued | 2566-04 | |
dc.identifier.other | hs2992 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5906 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหน้าที่และอำนาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกในเรื่องการรับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก โดยนำเสนอปัญหาและอุปสรรคด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนำเสนอแนวทางการแก้ไขกฎ และอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งที่การอภิบาลระบบสุขภาพ ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ คือ จำนวนข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มาตรการในระดับประเทศและในเชิงพื้นที่ จำนวน 27 ประเด็น ทั้งนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเร่งรัดให้มีการปฏิรูปกฎหมายด้านการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการบริการหรือหลักประกันระบบสุขภาพปฐมภูมิอันเป็นภารกิจถ่ายโอนกระจายอำนาจที่ภาครัฐจำเป็นจะต้องกระทำตามกฎหมายการกระจายอำนาจและหน้าที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในลักษณะเป็นส่วนราชการที่เสริมการทำงานในเรื่องนี้ในเบื้องต้น อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตลอดมาจนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คณะผู้วิจัยได้มีการศึกษาอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งจะต้องรับถ่ายโอนภารกิจนี้ทั้งในส่วนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ อนุบัญญัติต่างๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวเนื่องเพื่อให้ภารกิจการรับถ่ายโอนดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในมิติของกฎหมาย ศึกษาจากประกาศของคณะกรรมการกระจายอำนาจตลอดจนคู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องที่ครอบคลุมในเรื่องของคน เงิน สิ่งของ สถานที่ การบริหารจัดการในระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอาทิเช่น เรื่องข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ การบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ ระบบการส่งต่อผู้ป่วย แนวทางปฏิบัติการทำงานหรือบูรณาการร่วมกันของส่วนราชการต่างๆ ทั้งในระหว่างราชการส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น ตลอดจนรูปแบบการทำงานร่วมกันในภารกิจนี้ หรือในระบบการสาธารณสุขการแพทย์ปฐมภูมิในระหว่างท้องถิ่นแต่ละประเภทในเขตของแต่ละจังหวัด กล่าวโดยสรุป ปัญหาใหญ่ที่พบ คือ การขาดมาตรการเร่งรัดในเชิงกำกับการบริหารราชการแผ่นดินให้ทุกส่วนราชการ หรือทุกหน่วยราชการได้ดำเนินการตามกฎหมาย หรือคู่มือที่คณะกรรมการกระจายอำนาจได้ประกาศกำหนดไว้แล้วในการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการดังกล่าว จนเป็นเหตุให้เกิดข้อขัดข้อง หรือความไม่เข้าใจในเจตนารมณ์ของภารกิจนี้ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติงานในพื้นที่ในแต่ละจังหวัดทั้งภาคส่วนสาธารณสุข และภาคส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ก็ยังถือว่ายังเป็นช่วงเวลาที่ทุกภาคส่วนที่กำลังรับฟังและรวบรวมปัญหาในมิติด้านกฎหมายเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงและปฏิรูปโดยอาศัยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการปฏิรูปกฎหมายดังกล่าว | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การปฏิรูปกฎหมาย | th_TH |
dc.subject | การปฏิรูปกฎหมาย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาหน้าที่และอำนาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกในเรื่องการรับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก กรณีศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปกฎหมายและแก้ไขอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง | th_TH |
dc.title.alternative | A Study of Duties and Powers of the Phitsanulok Provincial Administrative Organization on the Adopt of the Sub-District Health Promoting Hospital, a Case Study for Making Recommendations for Legal Reform and Amending the Relevant Provisions | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objective of this study was to determine the duties and powers of Phitsanulok Provincial Administrative Organization regarding jurisdiction of sub-district health stations. Attention was focused on rules and regulations relevant to the transfer of control over sub-district health stations in the province. Solutions were proposed on how to amend rules and subordinate legislations conducive to efficient transfer of operation of those health stations. Special attention was paid to promoting the healthcare system. The final outcomes were 27 recommendations for national and local policy and measures necessary for public health law reform, especially the operation of universal health coverage scheme. Analyses were carried out on duties and powers of a given provincial administrative organization in dealing with transferring of parts of its missions. Relevant laws, rules and regulations, and subordinate legislations required to achieve any transfer of its mission were also analyzed. Also included were announcements made by the Decentralization Committee, standard operating procedures in managing manpower, budgeting, materiel, and office space. Relevant management systems analyzed included information, drug and medical supplies, patient referral, cooperation and coordination of local and central administrative bodies, and collaboration among primary healthcare units in each province. In short, research findings included a lack of urgent measures to ensure implementation of relevant laws and guidelines provided by the Decentralization Committee. Consequently, problems and issues, and misunderstanding among relevant workers in the field, particularly in the public health sector and provincial administrative organization. Dealing with these issues in a timely manner could potentially lead to reform and improvement of the system by implementing recommendations from this study. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 ค129ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 65-094 | |
dc.subject.keyword | Health Decentralize | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralization | th_TH |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject.keyword | อบจ. | th_TH |
dc.subject.keyword | รพ.สต. | th_TH |
.custom.citation | คณิดา นรัตถรักษา, Kanida Narattharaksa, ธีรเดช นรัตถรักษา, Teeradej Narattharaksa, ปิยะ ศิริลักษณ์, Piya Sirilak, สุภินดา ศิริลักษณ์ and Supinda Sirilak. "การศึกษาหน้าที่และอำนาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกในเรื่องการรับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก กรณีศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปกฎหมายและแก้ไขอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5906">http://hdl.handle.net/11228/5906</a>. | |
.custom.total_download | 168 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 6 | |
.custom.downloaded_this_year | 101 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 13 | |