การศึกษาบทบาทและการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคไม่ติดต่อในสถานประกอบการของผู้นำองค์กรและผู้บริหารงานทรัพยากรบุคคล
dc.contributor.author | เจตน์ รัตนจีนะ | th_TH |
dc.contributor.author | Jate Ratanachina | th_TH |
dc.contributor.author | พรชัย สิทธิศรัณย์กุล | th_TH |
dc.contributor.author | Pornchai Sithisarankul | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-18T08:26:41Z | |
dc.date.available | 2023-07-18T08:26:41Z | |
dc.date.issued | 2566-05 | |
dc.identifier.other | hs2995 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5907 | |
dc.description.abstract | ประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้กำหนดแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2564 ฉบับล่าสุดในส่วนการปฏิรูประบบสาธารณสุขได้มุ่งเน้น “การสร้างเสริมสุขภาพ” ซึ่งสอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี จุดเน้นที่นโยบายและมาตรการในที่ทำงาน โดยกำหนดเป้าหมายให้มี “นโยบายสุขภาพในที่ทำงาน” อย่างไรก็ตามปัจจุบัน การบริหารจัดการ การดำเนินการ การสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ มีการศึกษาอย่างจำกัด และยังไม่มีแนวทางการดำเนินการระดับนโยบายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในประเทศไทย การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการบริหารจัดการและการดำเนินการ รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ ของผู้นำองค์กร และผู้บริหารงานทรัพยากรบุคคลเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคไม่ติดต่อในสถานประกอบการ วิธีการศึกษาวิจัย การศึกษาเชิงปริมาณ โดยการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ดำเนินการ ระหว่างเดือน มกราคม ถึง มีนาคม พ.ศ. 2566 โดยเก็บข้อมูล จากบุคลากรงานทรัพยากรบุคคลในระดับต่างๆ ในประเทศไทย รวบรวมข้อมูลโดย แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 3 ตอน คือ ข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการ การดำเนินการการสร้างเสริมสุขภาพ และนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสองตัวแปรและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การศึกษาเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเชิงบุกเบิก โดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบดั้งเดิม โดยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปมาน จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ศึกษาในผู้บริหารระดับสูงขององค์กรและผู้บริหารงานทรัพยากรบุคคล จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย นิคมอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ โดยดำเนินการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 35 คน จาก 27 องค์กร หน่วยงานและสถานประกอบการ ผลการศึกษา การศึกษาเชิงปริมาณ การดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับปัจจัยสถานประกอบการเปิดดำเนินการมากกว่า 19 ปี และปัจจัยการมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพ ส่วนของนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับปัจจัยการมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพ ในทุกหัวข้อประกอบด้วย การมีฉันทามติร่วมในสถานประกอบการ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพในสถานประกอบการ สุขภาวะทางจิตใจในสถานประกอบการ การมีส่วนร่วมและความไว้เนื้อเชื่อใจ การบริหารและสายบังคับบัญชา การออกแบบงาน การติดตามและประเมินผลการศึกษาเชิงคุณภาพ สามารถจัดจำแนกได้เป็น 4 หมวดหมู่หลัก ประกอบด้วย หมวดหมู่หลักที่ 1 “การบริหารจัดการ” ประกอบด้วย นโยบายองค์กรและแกนนำดำเนินการ หมวดหมู่หลักที่ 2 “การดำเนินการ” ประกอบด้วย การจัดสรรงบประมาณ กิจกรรมและเคล็ดลับการดำเนินการ หมวดหมู่หลักที่ 3 “อุปสรรค” ประกอบด้วย การดำเนินการและตัวบุคคล หมวดหมู่หลักที่ 4 “กลุ่ม ชมรม สมาคม” ประกอบด้วย นโยบายร่วมและกิจกรรมร่วม สรุปผล สถานประกอบการที่เปิดดำเนินการมายาวนาน ขนาดสถานประกอบการขนาดขนาดใหญ่ และการมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับ การดำเนินการและความเป็นไปได้ของนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ การศึกษาวิจัยนี้ได้สรุปแนวทางมาตรการการบริหารจัดการและการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพในที่ทำงาน และงานวิจัยนี้ได้สังเคราะห์นโยบายการสร้างเสริมสุขภาพในสถานประกอบการของประเทศไทยประกอบด้วย นโยบายที่เป็นตัวเงินและนโยบายที่ไม่เป็นตัวเงิน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การสร้างเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Promotion | th_TH |
dc.subject | Workplace | th_TH |
dc.subject | ความปลอดภัยในการทำงาน | th_TH |
dc.subject | ความปลอดภัย--การบริหาร | th_TH |
dc.subject | สถานประกอบการ | th_TH |
dc.subject | สถานประกอบการ--แง่อนามัย | th_TH |
dc.subject | สถานประกอบการ--มาตรฐาน | th_TH |
dc.subject | Occupational Health | th_TH |
dc.subject | อาชีวอนามัย | th_TH |
dc.subject | อาชีวอนามัย--การบริหาร | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | โรคไม่ติดต่อ | th_TH |
dc.subject | Non-Communicable Diseases | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | การศึกษาบทบาทและการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคไม่ติดต่อในสถานประกอบการของผู้นำองค์กรและผู้บริหารงานทรัพยากรบุคคล | th_TH |
dc.title.alternative | A Study of Workplace Health Promotion and Non-Communicable Disease Prevention Roles and Support Among Organizational Leadership and Human Resource Executives | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | In Thailand, the Cabinet has outlined the national reform plan (public health) for the year 2021, which emphasizes the concept of "Health Promotion" in alignment with the sustainable development goal of the United Nations, specifically Goal 3: Good health and well-being. The plan focuses on policies and measures within the workplace, setting a goal to establish "workplace health policies". Despite this, there is presently a paucity of research on management, implementation, and workplace health promotion, and Thailand has yet to establish a national policy framework. This study aims to investigate the management and implementation, as well as provide policy recommendations at both organizational and national levels, by organizational leaders and human resource executives, concerning health promotion and non-communicable disease prevention in workplaces. Methods This study employs a cross-sectional study to procure data from personnel in the human resources domain across organizations situated in Thailand during the period spanning January to March 2023. The collection of data encompassed a questionnaire, featuring three distinct sections addressing organizational demographics, health promotion execution, and health promotion policies. The acquired data were analyzed via the application of advanced statistical techniques including descriptive statistics, bivariate analyses, and multiple linear regression. A qualitative study, specifically an exploratory research design, utilizing conventional content analysis with an inductive approach was undertaken. The interviews were conducted from May to November 2022. The data for analysis were collected through in-depth interviews conducted with senior-level executives from prominent organizations and human resource managers affiliated with influential bodies such as the Federation of Thai Industries (FTI), the Thai Chamber of Commerce and Board of Trade of Thailand (TCC & BoT), the Thai Bankers’ Association (TBA), the Personnel Management Association of Thailand (PMAT), industrial estates, and various workplaces. The data collection for this study involved conducting interviews with key informants, totaling 35 individuals, representing 27 organizations, units, and businesses. Results In this quantitative study, the implementation of health promotion initiatives within the workplace demonstrated a statistically significant association with key factors including organizational operations exceeding 19 years and the allocation of financial resources for health promotion. The workplace health promotion policy exhibited a statistically significant correlation with various budget allocation factors across all domains. These factors encompassed collaborative decision-making within the workplace, a conducive physical work environment, psychological well-being in the workplace, employee engagement and trust, effective leadership and supervision, job design, as well as monitoring and evaluation practices. In the qualitative study, the findings of the study can be categorized into four main categories. The first category, "Management," consists of organizational policies and guiding principles. The second category, "Implementation," includes budget allocation, activities, and operational tips. The third category, "Barriers," comprises operational challenges and individual factors. Lastly, the fourth category, "Groups, Clubs, Associations," encompasses collaborative policies and joint activities. Conclusion The findings of this study indicate that the duration of organizational operations, the size of the organization, and the allocation of budgetary resources for health promotion play crucial roles in determining the successful implementation and feasibility of workplace health promotion policies within organizations. This study has outlined strategies for management and operational measures to enhance workplace health promotion and synthesized policies for health promotion in Thai workplaces. These policies encompass both monetary and nonmonetary approaches. | th_TH |
dc.identifier.callno | W84.1 จ695ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 65-015 | |
dc.subject.keyword | NCDs | th_TH |
dc.subject.keyword | โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง | th_TH |
.custom.citation | เจตน์ รัตนจีนะ, Jate Ratanachina, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล and Pornchai Sithisarankul. "การศึกษาบทบาทและการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคไม่ติดต่อในสถานประกอบการของผู้นำองค์กรและผู้บริหารงานทรัพยากรบุคคล." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5907">http://hdl.handle.net/11228/5907</a>. | |
.custom.total_download | 69 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 25 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย