การพัฒนากลไกสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล ระยะที่ 1
dc.contributor.author | นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช | th_TH |
dc.contributor.author | Naphaphorn Puripunyavanich | th_TH |
dc.contributor.author | นุชรินธ์ โตมาชา | th_TH |
dc.contributor.author | Nucharin Tomacha | th_TH |
dc.contributor.author | เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Penkarn Kanjanarat | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-19T03:00:54Z | |
dc.date.available | 2023-07-19T03:00:54Z | |
dc.date.issued | 2566-07 | |
dc.identifier.other | hs2993 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5908 | |
dc.description.abstract | การใช้ยาไม่สมเหตุผล ทั้งในสถานพยาบาลรัฐและเอกชน รวมถึงการซื้อยากินเองจากแหล่งกระจายยาไม่เหมาะสมเป็นปัญหาของประเทศไทยที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 4 ทศวรรษ ต่อมามีความพยายามในการแก้ไขปัญหา โดยมีการพัฒนาเริ่มจากโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผล ยังเป็นปัญหาที่ท้าทายที่สำคัญ ประเทศไทยจึงมีนโยบายการพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use Country: RDU Country) ซึ่งมุ่งหวังให้การใช้ยาอย่างสมเหตุผลเป็นบรรทัดฐานของสังคมไทยและเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนจะได้รับจากบริการสุขภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบกลไกการนำนโยบายการพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผลไปสู่การปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล รวมทั้งพัฒนากลไกความร่วมมือในการพัฒนาตัวชี้วัดระดับประเทศ ระดับสถานพยาบาลและชุมชน ตลอดจนศึกษารูปแบบและโครงสร้างหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU Center) และวิเคราะห์กลไกการทำงานของ RDU Center ด้วยแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง วิธีการวิจัย : ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน 1 วงรอบ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ โดยนักวิจัยหลักซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564-ตุลาคม พ.ศ. 2565 การพัฒนากลไกการนำนโยบายการพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผลไปสู่การปฏิบัติ ใช้ทฤษฎีการบูรณาการ (integrated theoretical framework) ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เริ่มตั้งแต่การทบทวนสถานการณ์ปัญหา การดำเนินการที่ผ่านมา แล้วกำหนดเป้าหมาย คำนิยามปฏิบัติการ หลักการและแนวทางการนำนโยบายสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล และวางแผนการนำแนวทางสู่การปฏิบัติ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยส่วนกลาง อาศัยการขับเคลื่อนผ่านกลไกของคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยแนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาและส่วนภูมิภาค มีการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยทำเป็นชุดนโยบาย (policy package) ในชื่อว่าการพัฒนาสู่จังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU province) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพบริการเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ทั้งรัฐและเอกชน และแก้ปัญหายาในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้แนวคิดการพัฒนาระบบสุขภาพในระดับอำเภอ ตามแนวทาง six building block ขององค์การอนามัยโลก โดยมีพื้นที่วิจัย 4 พื้นที่ กระจายแต่ละภูมิภาค ซึ่งมีบริบทต่างกัน จากนั้นมีการถอดบทเรียนการดำเนินการในพื้นที่ดังกล่าว แล้วมีการสังเกต ติดตามและประเมินการดำเนินการ รวมทั้งสะท้อนกลับข้อมูลแก่พื้นที่วิจัย ผลการวิจัย : การพัฒนาระบบกลไก เพื่อนำนโยบายประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผลสู่การปฏิบัติและการติดตามการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ จำเป็นต้องมีกลไกการอภิบาลระบบเพื่อให้มีการนำนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งอาศัยกลไกที่มีประสิทธิภาพ ระหว่างผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อนโยบาย โดยมีหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระดับประเทศ (RDU Center) ซึ่งเป็นกลไกหน่วยงานรัฐที่เป็น “ข้อต่อ” ที่เชื่อมระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานและมีผู้ประสานงานหรือผู้รับผิดชอบทุกระดับ (RDU coordinator) ที่มีศักยภาพ ทั้งด้านความเป็นผู้นำการบริหารจัดการและด้านวิชาการ จุดคานงัดที่สำคัญของการพัฒนาจังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผล คือ ผู้ขับเคลื่อนนโยบายระดับพื้นที่ (policy actor) ซึ่งต้องการการชี้นำทิศทางและสนับสนุนของผู้บริหารทุกระดับ ทั้งระดับจังหวัดและเขตสุขภาพ รวมถึงผู้รับผิดชอบการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU coordinator) ระดับจังหวัดและอำเภอที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ประเด็นท้าทายของการพัฒนาสู่จังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผลในระยะต่อไป คือ ความร่วมมือของสถานบริการสุขภาพภาคเอกชน ความเข้าใจของบุคลากรสุขภาพต่อการสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชนและการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อนำมาใช้เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ทั้งในสถานพยาบาลและชุมชน สำหรับการศึกษาและพัฒนารูปแบบการดำเนินการของ RDU Center ซึ่งมีภายใต้โครงสร้างกองนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สามารถดำเนินการตามบทบาทที่เป็นมติคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้ ทั้งการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนการนำนโยบายสู่การปฏิบัติในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การพัฒนาระบบติดตามและประเมินผล ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการขับเคลื่อนด้วยโครงสร้างส่วนบน ด้วยระบบราชการ (Bureaucracy) ที่เป็นอำนาจรัฐ ภายใต้แนวคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาและต่อยอดการวางระบบการทำงานระหว่างหน่วยงานรัฐ ด้วยแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง โดยอาศัยกลไกหลัก 3 ส่วน ได้แก่ หนึ่ง การกำกับดูแลคุณภาพบริการสุขภาพ ทั้งจากสภาวิชาชีพและกลไกระบบคุณภาพ กลไกกำกับดูแลจากกระทรวงที่มีสถานบริการสุขภาพภาครัฐในสังกัดและกลไกกฎหมาย สอง กลไกการกำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมในกลุ่มผู้ผลิต/บริษัทยา ด้วยกฎหมาย และสาม กลไกการเงินการคลังของกองทุนประกันสุขภาพของรัฐ โดยการเสริมแรงทางบวก อย่างไรก็ตาม RDU Center ยังต้องการโครงสร้างและดำเนินการบทบาทอื่นที่เหมาะสม ภายใต้ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทั้งการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและหน่วยงานรัฐระดับกรมในการนำนโยบายด้านยาของประเทศสู่การปฏิบัติในระบบงานประจำ สรุป: ประเด็นที่สำคัญและมีความท้าทายของระบบสุขภาพของประเทศไทย เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล คือ การแก้ปัญหายาในชุมชนที่มีมาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ ที่ยังต้องการการออกแบบโครงสร้างเบื้องบนของระบบสุขภาพ ให้มีทางเลือกในการเข้าถึงยาจำเป็นพื้นฐาน จากแหล่งกระจายยาที่น่าเชื่อถือของประชาชนทุกพื้นที่อำเภอของประเทศไทย ไม่ว่าจะมีความแตกต่างด้านการศึกษา รายได้และพื้นที่อาศัยที่ต่างกัน สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นและน่าเชื่อถือ เพื่อการตัดสินใจในการดูแลสุขภาพตนเองหรือครอบครัวเมื่อเจ็บป่วยได้ ทั้งการใช้ยาและไม่ใช่ยา รวมถึงมีระบบที่สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยา โดยใช้เทคโนโลยี เช่น ระบบการแพทย์ทางไกล ระบบเภสัชกรรมทางไกลหรือมีระบบบริการสุขภาพที่ทุกคนในชุมชนสามารถเข้าถึงและมีการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพบริการที่ดี | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ยา | th_TH |
dc.subject | Drugs | th_TH |
dc.subject | การใช้ยา | th_TH |
dc.subject | Drug Utilization | th_TH |
dc.subject | การใช้ยาอย่างสมเหตุผล | th_TH |
dc.subject | การใช้ยาของโรงพยาบาล | th_TH |
dc.subject | Rational Drug Use | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Administration | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การพัฒนากลไกสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล ระยะที่ 1 | th_TH |
dc.title.alternative | Development of Mechanisms for Rational Drug Use Country: Phase I Study | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background: Since the 1970s, Thailand has recognized the irrational use of medicine in both public and private healthcare delivery, as well as in self-medication from unreliable sources. Various governments have attempted to address this issue. During the last decade, the Rational Drug Use (RDU) hospital policy was systematically implemented nationwide; however, RDU remains a big challenge. With no paucity, Thailand is moving forward with the "RDU Country" policy for the next decade. The goals of this policy are to make RDU as a social norm, a basic right, and a quality of healthcare service in Thailand. Purposes: To develop a mechanism for implementing the "RDU Country" policy and to create a model for achieving it by focusing on a health systems approach, monitoring and evaluation, and developing mechanisms for cooperation in the development of national indicators. This includes studying the form and structure of the central agency responsible for rational drug use (the RDU Center) and analyzing its working mechanism with the concept of political economy. Methods: A 4 steps with 1- cycle of action research was employed to gather data using qualitative methods. The principal investigators, who are embedded as practitioners within the central government agency responsible for promoting rational drug use, collected the data between May 2021 and October 2022. The development of mechanisms for implementing national policies on rational drug use using an integrated theoretical framework to put policy into practice. The action research began with a review of the problem situation, past actions, set goals, operational definitions, principles, and guidelines were established for implementing the "RDU Country" policy, and plans were made to put these guidelines into practice at both the central and regional levels. At the central level, this was achieved through the efforts of the Sub-Committee for the Promotion of Rational Use of Drugs and related working groups, using the concept of a triangle that moves mountains. At the regional level, the development of a "Rational Drug Use Province" (RDU Province) was proposed as a policy package. The goal of an "RDU Province" is to enhance the quality of services to promote rational drug use in both public and private sectors and to solve drug problems in the community sustainably through the development of mechanisms at the provincial level. This would involve achieving propulsion in each district through the participation of all sectors, in line with the concept of developing a district health system using the six-building block health system development concept according to the guidelines of the World Health Organization. This is also relevant to the development of healthy communities to make rational drug use a new social norm. There were four research areas distributed in each region with different contexts. Lessons were learned from operations in these areas, and observations and evaluations were conducted to provide feedback to the research areas. Results: The development of systems and mechanisms for implementing the country's policy on rational drug use and monitoring its implementation requires a system governance mechanism for effective policy implementation at both the central and regional levels. This relies on an efficient mechanism among policy makers, policy actors, and those affected by the policy. There is a mechanism for the central agency responsible for rational drug use (the RDU center), which is a sub-government mechanism that acts as a "connection" between policy makers and practitioners. In addition, provincial and district agencies have a coordinator or responsible person (the RDU coordinator) with appropriate capacity in terms of both leadership and technical competency. An important leverage point for the development of an "RDU Province" is the presence of policy actors at the local level who need direction and support from executives at both the provincial and regional levels. One of the policy actors responsible for promoting rational drug use (RDU coordinator) at the provincial and district levels must be competent in collaboration with the stakeholders. Developing RDU Province faced several significant challenges such as the cooperation with private healthcare settings, limited understanding of healthcare practitioners and health workers about rational drug use literacy, and RDU information systems in hospitals and communities. Furthermore, a study and development of the implementation model of an RDU Center under the structure of the National Drug Policy Division of the Food and Drug Administration is necessary to enable it to perform its role as the resolution of the National Drug System Development Committee. This includes the development of mechanisms to drive policy implementation in both central and regional areas, as well as the development of monitoring and evaluation systems and information systems for monitoring and evaluation in collaboration with related agencies. This is being driven by a "superstructure” with bureaucracy that represents the power of the state, using the concept of “a triangle that moves the mountain” and extending the work system between government agencies using the concept of political economy with 3 main mechanisms as follows: firstly, health care service quality supervision through professional councils, quality system mechanisms, regulatory mechanisms from the ministry that oversees public health facilities, and legal mechanisms; secondly, a mechanism for regulatory activities of pharmaceutical manufacturers/companies through law; and thirdly, a financial mechanism through the government health insurance fund, which is the positive reinforcement. However, the RDU Center also needs to make decisions and seriously take action on proper management of structures and roles under the mission of the Food and Drug Administration, including both its consumer protection role for health products and its mission as a government agency at the department level in implementing national drug policy to routine work system. Conclusion: An important and challenging issue for Thailand's health system in achieving rational drug use, which have been persisting for more than four decades, is finding a solution to drug problems in the community. Therefore, the design of the superstructure of the health system is required to provide alternative access to basic essential medicines from reliable drug distribution sources for people in all districts, regardless of differences in education, income, or area of residence. People should have access to necessary and reliable information to make informed decisions about their own health or that of their families when they are ill, including information for the use of drug and non-drug products. This includes a system for creating health literacy about taking care of one's own health, with and without the use of drugs, using technology such as telemedicine or telepharmacy, or having a health service system that everyone in the community can access with RDU as quality of health care services. | th_TH |
dc.identifier.callno | QV55 น198ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 64-081 | |
.custom.citation | นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช, Naphaphorn Puripunyavanich, นุชรินธ์ โตมาชา, Nucharin Tomacha, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์ and Penkarn Kanjanarat. "การพัฒนากลไกสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล ระยะที่ 1." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5908">http://hdl.handle.net/11228/5908</a>. | |
.custom.total_download | 89 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 3 | |
.custom.downloaded_this_year | 46 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 9 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย