Show simple item record

Use of Chemical and Biological Indices for Air Pollution Monitoring and Development of Community Tools for Air Quality Measurement Chaloem Phra Kiat District, Nan Province

dc.contributor.authorว่าน วิริยาth_TH
dc.contributor.authorWan Wiriyath_TH
dc.contributor.authorสมพร จันทระth_TH
dc.contributor.authorSomporn Chantarath_TH
dc.contributor.authorวนารักษ์ ไซพันธ์แก้วth_TH
dc.contributor.authorWanaruk Saipunkaewth_TH
dc.contributor.authorณัตติพร ยะบึงth_TH
dc.contributor.authorNuttipon Yabuength_TH
dc.date.accessioned2023-08-17T08:22:53Z
dc.date.available2023-08-17T08:22:53Z
dc.date.issued2566-01
dc.identifier.otherhs3002
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5912
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในชุมชนอำเภอเฉลิมพระเกียรติโดยใช้ดัชนีบ่งชี้ทางเคมีและทางชีวภาพ 2) พัฒนาดัชนีบ่งชี้ทางเคมีเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับในการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศสำหรับชุมชน 3) เพื่อถ่ายทอดข้อมูลพื้นฐานที่ได้รับจากการศึกษาและเทคนิคที่ใช้ในการตรวจวัดให้แก่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถเฝ้าระวังและติดตามคุณภาพอากาศด้วยตนเองได้ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน มีชุมชนหลายแห่งที่ตั้งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์หงสา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในระยะทางประมาณ 20-30 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จากโรงไฟฟ้า ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศ ทั้งนี้ชุมชนยังขาดเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในชุมชน สำหรับนำไปใช้ในการตรวจสอบและติดตามผลกระทบที่อาจมาจากโรงไฟฟ้า ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสร้างเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบมลพิษทางอากาศทั้งทางเคมีและชีวภาพ โดยใช้การเก็บตัวอย่างอากาศแบบแพสซีฟ รวมทั้งการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศโดยใช้เซนเซอร์ราคาถูกในการตรวจวัดและการตรวจวิเคราะห์น้ำผิวดินและเก็บตัวอย่างน้ำฝนเพื่อนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ควบคู่กับการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของไลเคน ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือที่ซับซ้อนและราคาสูง และถ่ายทอดข้อมูลและเทคนิคการตรวจวัดดังกล่าวให้แก่ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มเยาวชนและครู เพื่อชุมชนสามารถใช้เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่มีผลต่อสุขภาพของตนเองได้ พื้นที่ในการดำเนินการวิจัยนี้ครอบคลุม 2 อำเภอ คือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติและอำเภอทุ่งช้าง ซึ่งมีพื้นที่การศึกษา 4 พื้นที่ ได้แก่ อำเภอทุ่งช้าง (S1), ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (S2), บ้านน้ำรีพัฒนา ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (S3) และบ้านง้อมเปา ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (S4) ซึ่งการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดฝุ่น PM2.5 เริ่มต้น 2 พื้นที่ (โดยใช้ AirEnvi ในตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน, ตำบลน้ำรี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน) แล้วทำการเพิ่มเป็น 9 พื้นที่ (โดยใช้ DustBoy ใน 9 โรงเรียนในพื้นที่ อำเภอทุ่งช้างและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ) การตรวจวัดฝุ่น PM2.5 จะมีค่าสูงช่วงฤดูหมอกควัน (กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน) ของทั้งสองสถานี พบว่า สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน (S2) มีค่าฝุ่น PM2.5 สูงกว่าสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (S3) จากการวิเคราะห์องค์ประกอบในฝุ่นทั้งหมดทั้ง 14 ตัวอย่าง พบว่า ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 พบว่า มีค่าฝุ่น PM2.5 ค่าเฉลี่ย 64.89 μg/m3 สูงกว่าเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ค่าเฉลี่ย 45.20 μg/m3 โดยทั้งสองเดือนมีปริมาณไอออนหลักคือ SO42- และ NO3- ทั้งสองเดือน การเก็บตัวอย่างน้ำฝนทั้งหมดสี่พื้นที่ จำนวน 36 ตัวอย่าง พบว่า ปริมาณน้ำฝนทั้งหมดอยู่ที่ 201.1 mm. ปริมาณสูงสุดอยู่ที่ 33.4 mm. ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าเฉลี่ย 6.17 และค่าเฉลี่ยการนำไฟฟ้า 0.86 mS/m. โดยมีองค์ประกอบไอออนลบหลัก (Anion) คือ NO3- และ SO42- และไอออนบวกหลัก (Cation) คือ NH4+ และ Ca2+ ทั้ง 4 พื้นที่ โดยบ้านง้อมเปา ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (S4) มีค่าสะสมของไออนในน้ำฝนสูงสุด อำเภอทุ่งช้าง (S1) มีค่าสะสมของไอออนในน้ำฝนต่ำสุด ส่วนการติดตามตรวจสอบไนโตรเจนไดออกไซด์ โดยใช้ NO2 test kit วัดห้วยโก๋น มีปริมาณความเข้มข้นของ NO2 สูงสุด มีความเข้มข้นเฉลี่ยที่ (72.47 μg/m3) โดยตำบลและอำเภอทุ่งช้าง มีความเข้มข้นของ NO2 ต่ำสุด (37.12 μg/m3) ส่วนการติดตามตรวจสอบคุณภาพแหล่งน้ำ พบว่า ค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ หรือดีโอ (Dissolved Oxygen: DO) ต่ำสุดที่อ่างเก็บน้ำวัดห้วยโก๋น ซึ่งทุกพื้นที่ SO42-, NH4+ และ Ca2+ จะมีค่าสูงสุด ส่วนการติดตามตรวจสอบทางชีวภาพโดยการสำรวจไลเคนบนลำต้นของต้นมะม่วงในพื้นที่ศึกษาทั้งสี่แห่ง พบไลเคนทั้งหมด 13 วงศ์ 22 สกุล จำแนกชนิดได้ 51 ชนิด ประกอบด้วยไลเคนกลุ่มฟอลิโอสและกลุ่มครัสโตส ไม่พบไลเคนกลุ่มฟรูติโคส วงศ์ที่พบมากที่สุดคือวงศ์ Graphidaceae และ Lecanoraceae ตามลำดับ ค่าความเป็นกรด-ด่างของเปลือกไม้จากลำต้นมะม่วงที่ทำการศึกษาไลเคนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 5.4 ถึง 6.5 โดยบ้านห้วยโก๋น < บ้านน้ำรีพัฒนา < บ้านง้อมเปา < บ้านทุ่งช้าง เมื่อวิเคราะห์ดัชนีความหลากหลาย (Shannon-Weiner index) ของไลเคน พบความหลากหลายของไลเคนสูงสุดที่บ้านง้อมเปา โดยค่าต่ำสุด (1.58) พบที่บ้านทุ่งช้าง ส่วนการวิเคราะห์ความเข้มข้นโลหะหนักสะสมในเปลือกไม้ พบว่า บ้านง้อมเปา > บ้านห้วยโก๋น > บ้านน้ำรีพัฒนา > บ้านทุ่งช้าง จากการสำรวจและตรวจวัดคุณภาพอากาศทุกเครื่องมือการตรวจวัดภายในชุมชน พบว่า พื้นที่บ้านห้วยโก๋น มีความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนบ้านทุ่งช้างมีความเสี่ยงต่ออันตรายที่จะได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเนื่องด้วยระยะทางและพื้นที่ไกลจากแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศและไกลจากโรงไฟฟ้าหงสา ซึ่งจากงานวิจัยในครั้งนี้เรายังมีการถ่ายทอดข้อมูลพื้นฐานที่ได้รับจากการศึกษาและเทคนิคที่ใช้ในการตรวจวัดให้แก่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถเฝ้าระวังและติดตามคุณภาพอากาศด้วยตนเอง ซึ่งได้จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เบื้องต้นกับคุณครู นักเรียนและประชาชนในชุมชน โดยได้เพิ่มพื้นเครือข่ายทั้งหมดจำนวน 9 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านห้วยโก๋น, โรงเรียนบ้านสบปืน, โรงเรียนน้ำรีพัฒนา, โรงเรียนชุมชนบ้านเฟือยลุง, โรงเรียนหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์, โรงเรียนน้ำช้าง, โรงเรียนห้วยทรายขาว, โรงเรียนกิ่วจันทร์ และโรงเรียนบ้านด่าน โดยที่คณะทำงานวิจัยสามารถทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องอีกทั้งชุมชนมีเครือข่ายที่สามารถเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างยั่งยืนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectคุณภาพอากาศth_TH
dc.subjectมลพิษทางอากาศth_TH
dc.subjectAir Pollutionth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectCommunityth_TH
dc.subjectโรงไฟฟ้าถ่านหินth_TH
dc.subjectโรงไฟฟ้าถ่านหิน--ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectHealth Impact Assessmentth_TH
dc.subjectการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectการประเมินสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectQuality of Lifeth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectการดำเนินชีวิตth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการใช้ดัชนีบ่งชี้ทางเคมีและชีวภาพเพื่อติดตามตรวจสอบมลพิษทางอากาศและการพัฒนาเครื่องมือสำหรับชุมชนในการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่านth_TH
dc.title.alternativeUse of Chemical and Biological Indices for Air Pollution Monitoring and Development of Community Tools for Air Quality Measurement Chaloem Phra Kiat District, Nan Provinceth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims 1) To measure the air quality in Chalerm Phra Kiat District community using chemical and biological indicators 2) To develop chemical indicators as a tool for monitoring air quality for the community 3) To convey basic information obtained from studies and measurement techniques to the community. So that communities will be able to monitor and keep track of air quality by themselves. At Chaloem Phra Kiat District, Nan Province, there are many communities that are located about 20-30 kilometers southwest away from the Hogsa Lignite Power Plant, Lao People's Democratic Republic, which may be affected by air pollution emissions. Within the community still lack tools to measure and monitor air quality impact that may come from the power plant. Therefore, in this research we created a tool to monitor both chemical and biological air pollution by passive air sampling and measuring small dust in the air using low-cost sensors, analyzing surface water, and collecting rainwater samples for analyzing the chemical composition. Coupled with observing changes in lichen, this method does not require complicated or expensive equipment. This technique can be share to the communities, youth groups and teachers, or Health and environment related agencies, so that the communities can used this method to monitor the quality of the environment in the area that might affects their health. The area of this research covers 2 districts, Chaloem Phra Kiat District and Thung Chang District. Consists of 4 study areas: Thung Chang District (S1), Huai Kon Sub-district, Chaloem Phra Kiat District (S2), Ban Nam Ree Phatthana, Khun Nan Sub-district, Chaloem Phra Kiat District (S3) and Ban Ngompao, Khun Nan Sub-district, Chaloem Phra Kiat District (S4). Install the PM2.5 measuring device starting in 2 areas (using AirEnvi in Huai Kon Subdistrict, Chaloem Phra Kiat District, Nan Province, Nam Ri Subdistrict, Chaloem Phra Kiat District, Nan Province) then increased to 9 areas (using DustBoy in 9 schools in Thung Chang District and Chaloem Phra Kiat District area). During the smog season (February to April) concentration of PM2.5 are significantly higher than usual. From observing both stations it was found that the air quality monitoring station in Huai Kon Subdistrict, Chaloem Phrakiat District, Nan Province (S2) had a higher PM2.5 dust value than the air quality monitoring station in Khun Nan Subdistrict, Chaloem Phrakiat District (S3). From all 14 samples it founds that during April 2022, the average PM2.5 concentrations was 64.89 μg/m3, higher than the average of 45.20 μg/m3 in June 2022, with the main ion content being SO42- and NO3- in both months. The samples were collected rainfall in 4 areas, 36 samples. It was found that the total rainfall was 201.1 mm. and the maximum was 33.4 mm.. The average pH values was 6.17, and the average conductivity was 0.86 mS/m., with the main negative ion component. The dominant anions are NO3- and SO42- and the ion cations are NH4+ and Ca2+ in all 4 areas. Ban Ngam Pao, Khun Nan Sub-district, Chaloem Phra Kiat District (S4) had the highest accumulation of ions in rainwater. Thung Chang District (S1) had the lowest ion accumulation in rainfall. As for the monitoring of nitrogen dioxide using the NO2 test kit, Wat Huai Kon had the highest NO2 concentration with an average concentration of 72.47 μg/m3 by subdistrict and Thung Chang district. The concentration of NO2 was the lowest (37.12 μg/m3). For water quality monitoring, it was found that the lowest DO value at Huai Kon Reservoir was found. All areas SO42-, NH4+ and Ca2+ have the highest values. Biological monitoring by surveying lichen on mango tree trunks in all four were studied areas. A total of 13 families, 22 genera, and 51 species were identified, including folios and crustoses. Fruticose lichens were not found. The most common families were Graphidaceae and Lecanoraceae, respectively. The average pH of bark from lichen mango stems was in the range of 5.4 to 6.5, with Ban Huai Kon < Ban Nam Ri Phatthana < Ban Ngom. Pao < Ban Thung Chang when analyzing diversity index The Shannon- Weiner index of lichens found the highest diversity of lichen at Ban Ng Pao, with the lowest value (1.58) found at Ban Thung Chang. As for the analysis of the concentration of heavy metals accumulated in the bark, it was found that Ban Ngam Pao > Ban Huai Kon > Ban Nam Ree Phatthana > Ban Thung Chang. The monitors were surveyed and measured air quality in all tools within the community Ban Huai Kon area, there is a risk of harm to be affected the most. Ban Thung Chang has the least risk of being affected due to its distance from the source of air pollution that are further from the HongSa Power Plant. In this research, we also transfer the basic information obtained from the study and the measurement techniques to the communities, so that communities can monitor and measure air quality by themselves. By organized training activities to provide basic knowledge to teachers, students and people in the community. Increasing the area and network of 9 schools including Ban Huai Kon School, Ban Sop Puen School, Nam Ree Pattana School, Ban Fueilung Community School, Mom Chao Charoenjai Chitphong School, Nam Chang School, Huai Sai Khao School, Kew Chan School and Ban Dan School In which the research team can conduct continuous research and the community has a network that can monitor and measure air quality sustainably.th_TH
dc.identifier.callnoWA754 ว467ก 2566
dc.identifier.contactno63-164
dc.subject.keywordHIAth_TH
.custom.citationว่าน วิริยา, Wan Wiriya, สมพร จันทระ, Somporn Chantara, วนารักษ์ ไซพันธ์แก้ว, Wanaruk Saipunkaew, ณัตติพร ยะบึง and Nuttipon Yabueng. "การใช้ดัชนีบ่งชี้ทางเคมีและชีวภาพเพื่อติดตามตรวจสอบมลพิษทางอากาศและการพัฒนาเครื่องมือสำหรับชุมชนในการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5912">http://hdl.handle.net/11228/5912</a>.
.custom.total_download20
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year10

Fulltext
Icon
Name: hs3002.pdf
Size: 25.15Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record