ความสามารถในการบริหารจัดการและการตอบสนองขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะภายใต้ภาวะวิกฤต
dc.contributor.author | ประพนธ์ สหพัฒนา | th_TH |
dc.contributor.author | Prapon Sahapattana | th_TH |
dc.contributor.author | กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ | th_TH |
dc.contributor.author | Kullatip Satararuji | th_TH |
dc.contributor.author | พรพรรณ ประจักษ์เนตร | th_TH |
dc.contributor.author | Pornpun Prajaknate | th_TH |
dc.contributor.author | พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต | th_TH |
dc.contributor.author | Phichai Ratnatilaka Na Bhuket | th_TH |
dc.contributor.author | กรณ์ หุวะนันทน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Gorn Huvanandana | th_TH |
dc.contributor.author | พรเลิศ อาภานุทัต | th_TH |
dc.contributor.author | Pornlert Arpanutud | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-08-22T02:44:45Z | |
dc.date.available | 2023-08-22T02:44:45Z | |
dc.date.issued | 2566-04 | |
dc.identifier.other | hs3001 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5914 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณลักษณะในมิติต่างๆ ขององค์การที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่ทำให้องค์การมีความสามารถในการบริหารจัดการและตอบสนองท่ามกลางภาวะวิกฤต 2) ศึกษาสัมฤทธิ์ผลในการบริหารจัดการและการสนองตอบต่อภาวะวิกฤตขององค์การที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ 3) ศึกษาคุณลักษณะเด่นที่พึงประสงค์ขององค์การที่มีพระราชบัญญัติเฉพาะในบริบทของสังคมไทยที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เป็นองค์การที่มีสรรถนะสูง (High Performance Organization) ในการบริหารจัดการให้เกิดผลลัพธ์ตามพันธกิจขององค์การ และ 4) เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงการบริหารจัดการขององค์การที่มีพระราชบัญญัติเฉพาะให้เกิดความคล่องตัวและตอบสนองต่อความต้องการของประเทศและประชาชน การวิจัยนี้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพผ่านการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 9 หน่วยงาน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปจากข้อมูลหาแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลหรือตัวแปร เพื่อให้นำไปสู่ความเข้าใจต่อสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่ศึกษาจนสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อเสนอได้อย่างเป็นรูปธรรมและเหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า 1. คุณลักษณะในมิติต่างๆ ขององค์การที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่ทำให้องค์การมีความสามารถในการบริหารจัดการและตอบสนองท่ามกลางภาวะวิกฤต จากการศึกษาองค์การ มีคุณลักษณะสำคัญดังนี้ 1) รูปแบบและโครงสร้างการบริหารงานขององค์การที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติ มีความชัดเจนและองค์การส่วนใหญ่มีความคล่องตัว มีความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน 2) การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง บทบาทภารกิจและความซ้ำซ้อน ในภาพรวมขององค์การเป็นไปตามบทบาทและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งที่ปรากฏในพระราชบัญญัติจัดตั้ง 3) การกำกับดูแลและการติดตามประเมินองค์การที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะมีระบบการประเมินผลที่กำหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้ง อย่างไรก็ตามภาครัฐก็จะสร้างกฎเกณฑ์มากำกับองค์การเหล่านี้ และ 4) องค์การที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะในอนาคต มีแนวโน้มเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากรัฐต้องมีภารกิจใหม่ที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม 2. สัมฤทธิ์ผลในการบริหารจัดการและการสนองตอบต่อภาวะวิกฤต (การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19) ขององค์การที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ บทเรียนที่ได้เรียนรู้มีหลายมิติ ดังนี้ 1) มีความพร้อมในการตั้งรับและตอบสนองต่อภาวะวิกฤต มีแผนการบริหารความต่อเนื่องที่สามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างทันท่วงที 2) มีการปรับกระบวนการทำงาน โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น สถานการณ์การแพร่ระบาดจึงเปรียบเสมือนตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล 3) มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากที่ใดก็ได้ เนื่องจากองค์การมีความคล่องตัวและว่องไวสามารถปรับเปลี่ยนแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพลิกผัน และ 4) การสร้างความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ด้วยการสร้างความสัมพันธ์และรักษาความผูกพันที่มีเอาไว้ ทำให้ได้รับความร่วมมือในการดำเนินการในภาวะวิกฤต อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการในช่วงการระบาด องค์การยังเผชิญกับปัญหาในการดำเนินการและการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกและปัญหาทางด้านงบประมาณ 3. คุณลักษณะเด่นที่พึงประสงค์ขององค์การที่มีพระราชบัญญัติเฉพาะในบริบทของสังคมไทยที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เป็นองค์การที่มีสรรถนะสูง (High Performance Organization) ในการบริหารจัดการให้เกิดผลลัพธ์ตามพันธกิจขององค์การ จากผลการศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์มี ดังนี้ 1) โครงสร้างองค์การ มีการปรับตัวตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว (Adaptability) มีความคล่องตัว (Agility) ตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและมีการพัฒนากระบวนการทำงานและเทคโนโลยี 2) วัฒนธรรมองค์การเป็นองค์การที่มุ่งให้บุคลากรตระหนักถึงคุณภาพในการให้บริการ เน้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญกับสมรรถนะ (Competency) และการสร้างค่านิยมร่วมที่ยึดถือผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก (Nation Benefit First) 3) การให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและตอบสนองต่อปัจจัยภายนอก จะทำให้ทราบความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการและได้พลังเสริมจากภาคประชาชนและภาคีเครือข่าย และ 4) พฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ ต้องตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกและเห็นความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งหากการตอบสนองดังกล่าวตรงกับวัฒนธรรมองค์การด้วยแล้ว จะทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนในองค์การเป็นไปในทิศทางเดียวกันที่จะส่งผลบวกต่อความสำเร็จตามเป้าหมาย 4. ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงการบริหารจัดการขององค์การที่มีพระราชบัญญัติเฉพาะให้เกิดความคล่องตัวและตอบสนองต่อความต้องการของประเทศและประชาชน จากการศึกษามีข้อเสนอแนะ คือ 1) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อให้องค์การสามารถกำหนดทิศทางและวางกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ 2) ควรมีกลไกหรือแนวทางให้องค์การที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะมีความคล่องตัวในเรื่องวัตถุประสงค์ขององค์การ 3) ควรมีการประชาสัมพันธ์หน่วยงานและเผยแพร่ผลงานของหน่วยงาน 4) องค์การควรมีความพร้อมรับการประเมินความคุ้มค่า 5) องค์การแต่ละแห่งจำเป็นต้องเข้าใจตนเองว่าอะไร คือ Core Mission, Core Asset และ Core Competence ขององค์การและต้องยึดมั่นกับสิ่งเหล่านี้ 6) ควรได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Data Sharing) และบูรณาการการทำงานร่วมกัน 7) บุคลากรต้องร่วมกันสร้างค่านิยมร่วม วัฒนธรรม และ mindset ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์และเป้าหมายขององค์การ 8) ควรนำแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้ในองค์การ นอกจากนี้ จากผลการศึกษาสามารถสังเคราะห์ระบบนิเวศความสำเร็จขององค์การที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก สำหรับปัจจัยภายในมีทั้งระดับบุคคลและระดับองค์การ ในระดับบุคคลต้องทำงานร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาลในระดับองค์การ โครงสร้างควรมีความยืดหยุ่น มีความคล่องตัวและแสวงหาความร่วมมือและเปิดโอกาสให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนปัจจัยภายนอกองค์การควรปลอดจากการเมืองและได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคีเครือข่าย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | พระราชบัญญัติ | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | การบริหารองค์การ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ความสามารถในการบริหารจัดการและการตอบสนองขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะภายใต้ภาวะวิกฤต | th_TH |
dc.title.alternative | A Study of the Capabilities in Management and Response of Organizations Established Under a Special Act During a State of Crisis | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research is fourfold as follows: 1) to study and analyze the various dimensions of organizations established by special acts, which enables them to manage and respond to crises effectively, 2) to study the management effectiveness and crisis responsiveness of organizations established by special acts, 3) to identify the unique characteristics of organizations with special acts that are highly capable of managing and achieving their missions in the context of Thai society, and 4) to synthesize policy proposals for improving the management of organizations established by special acts to be more flexible and responsive to the needs of the country and its people. This research employs qualitative methods through document analysis, in-depth interviews, and focus group discussions with a purposive sample of nine organizations. The data analysis involves creating summaries of data to find patterns and relationships between variables to understand and synthesize the findings in a meaningful and appropriate manner. The results of the study indicate that: 1. Characteristics in various dimensions of organizations established by special acts that enable them to manage and respond to crises: From studying the organizations, the important characteristics are as follows: 1) The work management structure and format of organizations established by special acts are clear, and most organizations are adaptable and flexible in their operations. 2) The objectives of the establishment, roles, missions, and overlap are generally in accordance with the objectives of the establishment stated in the special acts. 3) The supervision, monitoring, and evaluation of organizations established by special acts have evaluation systems specified in the law. However, the state also creates regulations to monitor these organizations. 4) There is a continuous trend of organizations established by special acts in the future, as the state has new missions that arise from changes in the economy and society. 2. Effectiveness in crisis management and respond (i.e. COVID-19 pandemic) of organizations established by special acts: The lessons learned indicates that these organizations are equipped with: 1) Readiness to receive and respond to crisis situations, with a continuous management plan that can be promptly adjusted. 2) Adjustment of work processes, using more technology, as the pandemic situation has accelerated the transition to digitalization. 3) Adjustment of operations to be more efficient and effective, focusing on solving problems and providing effective solutions. 4) Capability of Coordination and collaboration with relevant organizations and stakeholders, utilizing and sharing resources and knowledge to overcome the crisis. 3. The distinctive features of an organization that has a special act in the context of Thai society, which are important factors that make it a high-performance organization in managing to achieve the organization's mission are as follows: 1) Organizational structure - the organization has the ability to quickly adapt to changes (Adaptability), is flexible (Agility), responds to stakeholders, and develops work processes and technology. 2) Organizational culture - the organization aims to make its personnel aware of the quality of service, emphasizes continuous learning, focuses on competencies and values that adhere to the country's benefits. 3) Importance of responding to stakeholders - this will help understand the real needs of the service recipients, and gain strength from the public and networked communities. 4) Member behavior in the organization - members must respond to external factors and recognize the importance of stakeholders. If this response aligns with the organizational culture, the behavior of each person in the organization will go in the same direction towards achieving the goals. 4. Policy proposals for improving the management of organizations with specific acts to be more flexible and responsive to the needs of the country and its people. From the study, the following suggestions are made: 1) Develop a database system to enable organizations to efficiently set directions and strategies. 2) Establish mechanisms or guidelines to ensure that chartered organizations have flexibility in achieving their objectives. 3) Promote communication and publicize the achievements of the organizations. 4) Ensure that organizations are ready for evaluations of their value. 5) Encourage each organization to understand its Core Mission, Core Asset, and Core Competence, and adhere to these principles. 6) Promote data sharing and collaboration. 7) Encourage employees to work together to create shared values, culture, and mindset that align with the organization's identity and goals. 8) Apply new concepts of public sector management to the organization. In addition to this, based on the results of the study, it is possible to synthesize the environmental success system of the organizations established by special acts, which consists of internal and external factors. For internal factors, both individual and organizational levels are involved. At the individual level, effective collaboration and ethical conduct are required. At the organizational level, the structure should be flexible, adaptable, and seek cooperation and opportunities for involvement from other stakeholders. As for the external factors, the organization should be free from politics and receive support from the government and network partners. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 ป299ค 2566 | |
dc.identifier.contactno | 65-087 | |
dc.subject.keyword | Act | th_TH |
dc.subject.keyword | Special Act | th_TH |
dc.subject.keyword | พระราชบัญญัติเฉพาะ | th_TH |
.custom.citation | ประพนธ์ สหพัฒนา, Prapon Sahapattana, กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ, Kullatip Satararuji, พรพรรณ ประจักษ์เนตร, Pornpun Prajaknate, พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, Phichai Ratnatilaka Na Bhuket, กรณ์ หุวะนันทน์, Gorn Huvanandana, พรเลิศ อาภานุทัต and Pornlert Arpanutud. "ความสามารถในการบริหารจัดการและการตอบสนองขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะภายใต้ภาวะวิกฤต." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5914">http://hdl.handle.net/11228/5914</a>. | |
.custom.total_download | 25 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 11 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย