แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส โปรตีน NS1 และแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสเด็งกี่จากตัวอย่างน้ำในช่องปาก ในผู้ป่วยเด็กที่สงสัยติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ (ปีที่ 1)

dc.contributor.authorปนิษฎี อวิรุทธ์นันท์th_TH
dc.contributor.authorPanisadee Avirutnanth_TH
dc.date.accessioned2023-08-22T03:13:57Z
dc.date.available2023-08-22T03:13:57Z
dc.date.issued2566-07
dc.identifier.otherhs3007
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5915
dc.description.abstractโรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของโลก เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ ซึ่งมีอาการทางคลินิกมากถึง 390 ล้านคนต่อปี โดยทั่วไปคนที่ติดเชื้อไวรัสเด็งกี่จะไม่แสดงอาการ แต่มีผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งที่จะมีอาการทางคลินิก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 อาการไม่รุนแรงที่เรียกว่าไข้เด็งกี่ หายได้เองในเวลา 4-7 วัน กลุ่มที่ 2 อาการรุนแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้ เรียกว่า โรคไข้เลือดออก ซึ่งมีลักษณะสำคัญที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพภาวะที่มีการรั่วของสารน้ำออกนอกหลอดเลือดอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีอาจถึงแก่ชีวิตได้ สาเหตุการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดจากติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ ซึ่งอยู่ในกลุ่มของฟลาวิไวรัส มี 4 ซีโรทัยป์ ได้แก่ 1, 2, 3 และ 4 มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อ ยังไม่มีวิธีใดที่สามารถรักษาหรือป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ และวัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบันยังมีประสิทธิผลจำกัด รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงที่ผู้ได้รับวัคซีนที่ไม่เคยติดไวรัสเด็งกี่มาก่อน ต้องเข้าโรงพยาบาลจากการติดไวรัสเด็งกี่หลังได้รับวัคซีน โดยปกติการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่สามารถทำได้จากตัวอย่างเลือดของผู้ป่วย เป็นเทคนิคที่รุกล้ำ ทำให้เกิดความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยรวมทั้งยังต้องใช้บุคคลากรที่มีการฝึกฝนในการเจาะและเก็บเลือด รวมทั้งต้องจัดสรรงบประมาณและบุคลากร นอกจากตัวอย่างเลือดแล้ว พบว่า มีรายงานการตรวจพบเชื้อไวรัสเด็งกี่ โปรตีน NS1 และแอนติบอดีต่อไวรัสเด็งกี่ ในสิ่งส่งตรวจชนิดอื่นๆ ของผู้ป่วยไข้เลือดออก เช่น น้ำลาย หรือปัสสาวะด้วยเช่นกัน และตัวอย่างที่เก็บเทคนิคที่ไม่รุกล้ำอื่นๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่ได้รับความสนใจเรียกว่า “oral fluid” หรือน้ำในช่องปาก ในการตรวจหาแอนติบอดี เช่น HIV, Hepatitis (HCV, HAV, HBV) หรือเพื่อตรวจหา viral genome ซึ่งคณะผู้วิจัยเห็นว่าการเก็บตัวอย่างโดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่รุกล้ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการลดความเจ็บปวดในการตรวจผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ ลดทรัพยากรและบุคลากรในการทำงานกับเลือด และยังอาจจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเก็บตัวอย่างไวรัสจากประชากรที่ไม่มีอาการป่วยจากไวรัสเด็งกี่ชัดเจนได้ ดังนั้นการเก็บ oral fluid เพื่อนำมาตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อโรคไข้เลือดออก จึงเป็นทางเลือกที่มีความน่าสนใจ เพราะน่าจะสามารถตรวจหาเชื้อได้ทั้งการตรวจ viral genome โปรตีน NS1 และการตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อ IgM/IgG คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาการใช้ตัวอย่างน้ำในช่องปาก ว่าจะสามารถทดแทนการใช้ตัวอย่างเลือดได้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบในแง่ของความไวและความจำเพาะของการตรวจหาไวรัสเด็งกี่ โปรตีน NS1 และแอนติบอดีต่อไวรัสเด็งกี่ พบว่า ถึงแม้จะไม่สามารถใช้ตัวอย่างน้ำในช่องปากตรวจหาการติดเชื้อฯ โดยการตรวจหาสารพันธุกรรมหรือโปรตีน NS1 ของไวรัสได้ แต่สามารถตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสได้ ทั้ง IgM และ IgG ตั้งแต่วันที่ 3 จนถึงประมาณ 1–2 เดือนหลังมีไข้ ซึ่งมีความไวไม่แตกต่างกับการตรวจใน plasma เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธี Fisher’s exact test ดังนั้นการใช้น้ำในช่องปากเป็นตัวอย่างในการตรวจหาแอนติบอดี ทดแทนการเจาะเลือด เพื่อตรวจหาผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการในช่วงเวลาที่มีการระบาดหรือคัดกรองผลของการได้รับวัคซีนได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเด็กth_TH
dc.subjectChildrenth_TH
dc.subjectผู้ป่วยเด็กth_TH
dc.subjectDengue Virusth_TH
dc.subjectDengue Hemorrhagic Feverth_TH
dc.subjectไข้เลือดออกth_TH
dc.subjectHemorrhagic Feverth_TH
dc.subjectไข้เลือดออกเด็งกี่th_TH
dc.subjectFlavivirusth_TH
dc.subjectฟลาวิไวรัสth_TH
dc.subjectViral Genomesth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส โปรตีน NS1 และแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสเด็งกี่จากตัวอย่างน้ำในช่องปาก ในผู้ป่วยเด็กที่สงสัยติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ (ปีที่ 1)th_TH
dc.title.alternativeDetection of Viral Genome, Nonstructural Protein 1 (NS1) and Anti-Dengue Antibodies in Oral Fluid Specimen of Suspected Pediatric Dengue Patients (First-Year)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeDengue disease is an important problem in global public health. Annually, 390 people are infected with dengue virus. The majority of infections results in asymptomatic cases. For symptomatic cases, patients will develop either mild dengue fever (DF) or severe dengue hemorrhagic fever (DHF). DF is a self-limiting disease meaning the patients will recover within 4-7 days without any significant intervention. However, DHF patients will eventually develop plasma leakage which may progress into potentially fatal hypovolemic shock known as dengue shock syndrome (DSS) without prompt and adequate fluid management. Dengue disease is caused by dengue virus which belongs to the genus Flavivirus. There are four serotypes of the virus including dengue virus 1, 2, 3 and 4. The virus is transmitted by Aedes mosquitoes. There is no antiviral drug against dengue virus and the only available vaccine has limited efficacy and elevates the risk of hospitalization from dengue disease in seronegative vaccines. Dengue infection is usually confirmed by assaying patient’s blood obtained by invasive procedures, such as venipuncture or fingertip pricking. Qualified personnel are required to effectively and safely collect and process blood specimen. In addition, the blood specimen processing is usually costly in terms of budget and personnel. However, previous studies reported the presence of dengue virus, NS1 protein, and anti-dengue virus antibodies in non-invasively obtained clinical specimens such as saliva and urine. Recently, oral fluid was interestingly used for detecting anti-virus antibodies and virus genomes for HIV, hepatitis viruses (HAV, HBV, HCV). We believe oral fluid specimen could be an alternative for study dengue virus. Oral fluid is non-invasively obtained so the specimen collection and processing are inexpensive and simple. Minimally trained personnel should be able to collect, handle and process oral fluid specimen safely and effectively. In addition, oral fluid could be obtained from people in the household or workplace of the index case to capture asymptomatic dengue cases. Therefore, we tested whether oral fluid specimen could be used to detect virus genome, NS1 protein and anti-dengue IgM/IgG. We also compared the accuracy for assaying oral fluid specimen to that of blood specimen. Consequently, we evaluated whether oral fluid could be an alternative to blood specimen. We found that although viral genome and NS1 antigen were rarely detected in oral fluid, anti-dengue IgM and IgG were dramatically detected for 3 day of illness and still completely detected until 1 -2 months after illness. Efficiency of anti-dengue IgM and IgG detection in oral fluid specimens was not statistically different with plasma specimens after analyzed by Fisher’s exact test. Thus, oral fluid could be a suitable specimen for screening of asymptomatic infection in dengue season or screening of immune response after vaccination.th_TH
dc.identifier.callnoWC528 ป471ก 2566
dc.identifier.contactno63-130
dc.subject.keywordNonstructural Proteinth_TH
dc.subject.keywordOral Fluidth_TH
dc.subject.keywordน้ำในช่องปากth_TH
dc.subject.keywordDengue Diseaseth_TH
.custom.citationปนิษฎี อวิรุทธ์นันท์ and Panisadee Avirutnan. "การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส โปรตีน NS1 และแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสเด็งกี่จากตัวอย่างน้ำในช่องปาก ในผู้ป่วยเด็กที่สงสัยติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ (ปีที่ 1)." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5915">http://hdl.handle.net/11228/5915</a>.
.custom.total_download21
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3007.pdf
ขนาด: 1.541Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย