แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยด้วยการทำการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางผิวหนังในประเทศไทย แบบสหสถาบัน (Thai PCI Registry)

dc.contributor.authorนครินทร์ ศันสนยุทธth_TH
dc.contributor.authorNakarin Sansanayudhth_TH
dc.contributor.otherวิรัช เคหสุขเจริญth_TH
dc.contributor.otherWirash Kehasukcharoenth_TH
dc.contributor.otherประจงจิตร์ แช่มสอาดth_TH
dc.contributor.otherPrajongjit Chamsaardth_TH
dc.contributor.otherนพดล ชำนาญผลth_TH
dc.contributor.otherNoppadol Chamnarnpholth_TH
dc.contributor.otherวิวัฒน์ กาญจนรุจวิวัฒน์th_TH
dc.contributor.otherWiwat Kanjanarutjawiwatth_TH
dc.contributor.otherพจน์ เจียรณ์มงคลth_TH
dc.contributor.otherPoj Jianmongkolth_TH
dc.contributor.otherศรัณย์ ควรประเสริฐth_TH
dc.contributor.otherSrun Kuanprasertth_TH
dc.contributor.otherพงษ์พันธ์ จิตต์ธรรมth_TH
dc.contributor.otherPongpun Jitthamth_TH
dc.contributor.otherพรชัย งามจรรยาภรณ์th_TH
dc.contributor.otherPornchai Ngamjanyapornth_TH
dc.contributor.otherสุทธิเทพ ดวงศรth_TH
dc.contributor.otherSudhithep Duangsornth_TH
dc.contributor.otherพลพรรธน์ อยู่สวัสดิ์th_TH
dc.contributor.otherPolpat Euswasth_TH
dc.contributor.otherพิธา พรหมลิขิตชัยth_TH
dc.contributor.otherPitha Promlikitchaith_TH
dc.contributor.otherยศวีร์ โชติช่วงth_TH
dc.contributor.otherYotsawee Chotechuangth_TH
dc.contributor.otherทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุลth_TH
dc.contributor.otherSongsak Kiatchoosakunth_TH
dc.contributor.otherสุวัฒน์ คงดำรงเกียรติ
dc.contributor.otherSuwat Kongdumrongkiatth_TH
dc.contributor.otherวรวุฒิ รุ่งแสงมนูญth_TH
dc.contributor.otherWorawut Roongsangmanoonth_TH
dc.contributor.otherบุญรอด ประดิษฐth_TH
dc.contributor.otherBoonrod Praditth_TH
dc.contributor.otherธนวัฒน์ เบญจานุวัตราth_TH
dc.contributor.otherThanawat Benjanuwattrath_TH
dc.contributor.otherอาทิตย์ ทองถนอมกุลth_TH
dc.contributor.otherArtit Thongtanomkulth_TH
dc.contributor.otherวสันต์ อุทัยเฉลิมth_TH
dc.contributor.otherWasan Udayachalermth_TH
dc.contributor.otherวศิน พุทธารีth_TH
dc.contributor.otherWacin Buddharith_TH
dc.contributor.otherทศพล ลิ้มพิจารณ์กิจth_TH
dc.contributor.otherThosaphol Limpijankitth_TH
dc.contributor.otherบัญชา สุขอนันต์ชัยth_TH
dc.contributor.otherBancha Sookananchaith_TH
dc.contributor.otherประพฤทธิ์ ธนกิจจารุth_TH
dc.contributor.otherPraprut Thanakitcharuth_TH
dc.contributor.otherคมพจน์ จิระจรัสth_TH
dc.contributor.otherKompoj Jirajarusth_TH
dc.contributor.otherเกษม รัตนสุมาวงศ์th_TH
dc.contributor.otherKasem Ratanasumawongth_TH
dc.contributor.otherวิรุฬห์ ลิขิตเลิศล้ำth_TH
dc.contributor.otherViroon Likhitlertlumth_TH
dc.contributor.otherดิลก ภิยโยทัยth_TH
dc.contributor.otherDilok Piyayotaith_TH
dc.contributor.otherสุชิต ธเนศมณีกุลth_TH
dc.contributor.otherSuchit Thanesmaneekulth_TH
dc.contributor.otherกมลรัตน์ ทองปลั่งth_TH
dc.contributor.otherKamonrat Thongplungth_TH
dc.contributor.otherอนุชิต วงศ์เพ็ญth_TH
dc.contributor.otherAnuchit Wongphenth_TH
dc.contributor.otherพิทักษ์ พงศ์นนทชัยth_TH
dc.contributor.otherPitak Pongnonthachaith_TH
dc.contributor.otherสริราม วิณณ์เศวตth_TH
dc.contributor.otherSriram Wynnsawetth_TH
dc.contributor.otherขรรค์ชัย ศิริวัฒนาth_TH
dc.contributor.otherKanchai Siriwattanath_TH
dc.contributor.otherวิชัย จิรโรจน์อังกูรth_TH
dc.contributor.otherWichai Jiraroj-Ungkunth_TH
dc.contributor.otherจีระศักดิ์ สิริธัญญานนท์th_TH
dc.contributor.otherChirasak Sirithunyanontth_TH
dc.contributor.otherมนตรี เจริญพานิชย์สันติth_TH
dc.contributor.otherMontri Charoenpanichsuntith_TH
dc.contributor.otherวรรณกร ภัทรจารีth_TH
dc.contributor.otherWannakorn Phatharajareeth_TH
dc.contributor.otherมนต์สันต์ เล็กเจริญวงศ์th_TH
dc.contributor.otherMonsan Lekcharuenwongth_TH
dc.date.accessioned2023-09-01T03:29:23Z
dc.date.available2023-09-01T03:29:23Z
dc.date.issued2566-04
dc.identifier.otherhs3005
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5917
dc.description.abstractโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease, CAD) เป็นสาเหตุการตายและการเกิดทุพพลภาพที่สำคัญในประเทศไทย มีแนวโน้มของอุบัติการณ์สูงขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางผิวหนัง (Percutaneous Coronary Intervention, PCI) เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่สำคัญ ในประเทศไทย ได้มีการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวดมานานกว่า 20 ปี การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวมีการขยายตัวเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นการรักษาจำเป็นและสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีความพยายามที่จะพัฒนาโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลจังหวัดหลายๆ แห่งทั่วประเทศให้มีศักยภาพในการที่จะทำการรักษาผู้ป่วยด้วยการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางผิวหนังได้ นั่นคือมีการสร้างห้องตรวจสวนหัวใจในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมให้ได้มากที่สุด นอกจากนั้นในภาคเอกชนเองก็ได้มีการพัฒนาศักยภาพในเรื่องนี้ไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นในระยะเวลา 10–20 ปีที่ผ่านมา จึงมีการทำการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางผิวหนังเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด การทำการลงทะเบียนเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการทำ PCI เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากข้อมูลที่ได้จะบอกถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลายด้าน เช่น ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการรายละเอียดการให้การรักษา การใช้อุปกรณ์ ผลการรักษา ผลแทรกซ้อน อัตราความสำเร็จ อัตราการผ่าตัดเร่งด่วนและอัตราเสียชีวิต นอกจากนั้นยังบอกถึงระบบการให้บริการ เช่น การส่งต่อ ระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้องรอก่อนได้รับบริการ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการให้การรักษาด้วยการทำ PCI ซึ่งข้อมูลที่ได้เป็นสิ่งสำคัญมาก นำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยตลอดจนปรับปรุงระบบการให้บริการ ดังจะเห็นได้จากการที่หลายประเทศต่างมีข้อมูล National PCI registry ของตัวเอง โดยในบางประเทศ เช่น สวีเดน การลงข้อมูลใน registry ถือเป็นภาคบังคับที่ต้องปฏิบัติในทุกโรงพยาบาลหรือแม้กระทั่ง มาเลเซีย ที่มีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องและรายงานเป็นรายงานประจำปีอย่างสม่ำเสมอ สะท้อนถึงความสำคัญของการทำ PCI registry สมาคมแพทย์มัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือดเล็งเห็นความสำคัญ จึงจัดทำโครงการการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยด้วยการทำการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางผิวหนังในประเทศไทย แบบสหสถาบัน (Thai PCI Registry) ขึ้น เพื่อทำการเก็บข้อมูลการทำ PCI ในเวชปฏิบัติจริงของประเทศไทยขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนวิจัยจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ซึ่งรายงายฉบับนี้เป็นการสรุปปิดโครงการวิจัย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทั้ง 39 สถาบันที่เข้าร่วมเป็นอย่างดี อีกทั้งโครงการวิจัยประสบความสำเร็จในส่วนของการเก็บข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์และตีพิมพ์ผลงานวิจัยสู่วารสารระดับนานาชาติ มีผู้ป่วยเข้าร่วมใน Thai PCI registry รวมทั้งสิ้นจำนวน 22,741 คน เป็นเพศชายประมาณ 70% มีอายุเฉลี่ย 63.85 ปี ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยใช้สิทธิการรักษาเป็นสิทธิ 30 บาท ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาด้วย stable CAD จำนวน 8,551 ราย (37.6%) ส่วนใหญ่ของหัตถการที่ทำเป็น elective PCI จำนวน 13,923 ราย (61.3%) ผู้ป่วยมากกว่าครึ่ง (54.4%) เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่น ในแง่ของ coronary anatomy ผู้ป่วยส่วนใหญ่ เป็นเส้นเลือดตีบ 3 เส้น TVD (33.0%) ตามด้วยเส้นเลือดตีบ 2 เส้น DVD (28.7%) และเส้นเลือดตีบ 1 เส้น SVD (26.4%) ตามลำดับ โดยมีประมาณ 12% ที่มีการตีบที่เส้นเลือดขั้วหัวใจ (Left Main artery) ในด้านการทำหัตถการ พบว่า ส่วนใหญ่ทำผ่านขาหนีบ (femoral artery) จำนวน 12,199 ราย (53.6%) เมื่อแยกคนไข้เป็นคนไข้ที่มาด้วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ( acute coronary syndrome) และแบบไม่เฉียบพลัน (stable CAD) พบว่า มีอัตราส่วน ดังนี้ STEMI เป็น 27.6%, NonSTEMI 29.8%, Stable CAD 37.6%, others 5.1% โดยพบว่า อัตราการเสียชีวิตเป็น ดังนี้ 6.7%, 2.0%, 0.3% และ 3.4% ตามลำดับ โดยอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลรวม 2.7% และมีอัตราการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 2 วัน การทำ PCI ในประเทศไทยปัจจุบันมีอัตราการทำสำเร็จค่อนข้างสูง คือประมาณ 96% ซึ่งใกล้เคียงกับข้อมูลของหลายประเทศ โดยพบว่า ปัจจัยที่เป็น independent association กับ procedural failure ได้แก่ อายุที่มาก ผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมารักษา ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ป่วยที่มีรอยโรคที่รุนแรง complex lesion, ผู้ป่วยที่มี lesion ที่ยาว และ TIMI flow ที่ไม่ดี พบว่า ผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนและผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจจะมีอัตราความสำเร็จที่ต่ำกว่าในส่วนของภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการ (procedural complication) พบประมาณ 5% ได้แก่ dissection, side branch occlusion, no reflow, perforation, device dislodge, acute stent thrombosis ปัจจัยที่เป็น independent association กับการเกิด procedural complication ได้แก่ อายุที่มากขึ้น เพศหญิง สิทธิการรักษา ประวัติโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ป่วยที่มีภาวะ shock หรือต้องใส่ IABP/mechanical support รวมถึงการทำ vascular access ที่ไม่สำเร็จด้านรอยโรค พบว่า long lesion, thrombotic lesion, complex lesion, bifurcation และ abnormal TIMI flow ล้วนเพิ่มอัตราการเกิด complications ด้านผลแทรกซ้อนทางคลินิก (clinical complications) ในการทำหัตถการที่พบบ่อย ได้แก่ post-PCI MI 1,856 ราย (8.5%) bleeding within 72 hours 1,053 ราย (4.8%) stroke 83 ราย (0.4%) มีอัตราการส่งผ่าตัด CABG แบบเร่งด่วนก่อนกลับบ้าน 0.34% จากการวิเคราะห์แบบ multivariate analysis พบว่า อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลที่สูงขึ้น มีความสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น เพศหญิงและการส่งตัวต่อมาเพื่อรับการรักษา ผู้ป่วยที่มีประวัติโรคหลอดเลือดส่วนปลาย ผู้ป่วยไตวายที่ต้องล้างไต การทำหัตถการแบบเร่งด่วน ภาว ะacute coronary syndrome ผู้ป่วยที่มีภาวะ cardiogenic shock หรือใช้ IABP/mechanical support ผู้ป่วยที่มีรอยโรคที่ left main รวมถึงการที่ทำหัตถการไม่สำเร็จ (procedural failure) การเกิด procedural complication และ clinical complication โดยสรุป การทำ Thai PCI registry) ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ก่อกำเนิดเครือข่าย national PCI network ได้แบบสอบถามที่หลายสถาบันรวมถึงบุคคลและหน่วยงานที่สนใจสามารถนำไปใช้ต่อได้ มีการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ทั่วประเทศ ทั้งยังได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงการให้การรักษาผู้ป่วยด้วย PCI ตลอดจนสามารถนำไปพัฒนาระบบการให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อไปในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCoronary Artery Diseaseth_TH
dc.subjectPercutaneous Coronary Interventionth_TH
dc.subjectระบบหัวใจและหลอดเลือดth_TH
dc.subjectหลอดเลือด--โรคth_TH
dc.subjectหลอดเลือดth_TH
dc.subjectหัวใจ, โรคth_TH
dc.subjectCardiac Surgeryth_TH
dc.subjectหัวใจ, ศัลยกรรมth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยด้วยการทำการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางผิวหนังในประเทศไทย แบบสหสถาบัน (Thai PCI Registry)th_TH
dc.title.alternativePredictors of Major Adverse Cardiovascular Events in Coronary Artery Patients Undergoing Percutaneous Coronary intervention (PCI) in Thailand: Thai PCI Registryth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeCoronary artery disease (CAD) is the leading cause of death and disability in Thailand. The incidence of CAD has constantly been increasing. Percutaneous coronary intervention (PCI) is the standard and mainstay of CAD treatment. In Thailand, PCI has been performed for more than 20 years. Because of the benefit of PCI in reducing mortality, morbidity and symptom, it is recommended by many clinical practice guidelines as a standard treatment of CAD. Since the Ministry of Health realized the benefit of PCI and support the opening of new catheterization laboratories (cath lab) in all parts of the country, the number of cath lab and the number of PCI cases in Thailand has rapidly increasing for the last ten years. PCI registry is very important, as it provides many useful information (e.g. baseline demographic data of the patients, practice pattern, device and equipment use, outcome of treatment, complications, success rate, emergency CABG rate), as well as information regarding health care system (e.g. prevalence of referral cases, waiting time of the system, appropriateness of PCI, cost of PCI, cost-effectiveness/cost-utility which could be compared to treatment of other diseases (such as cancer, etc.). The information is essential in improving the outcomes of PCI, in preventing complications, in increasing the efficacy and safety of PCI, which may lead to more effective national resource allocation and proper reimbursement. With the reasons given, many countries have conducted their own data collection and PCI registry. The good examples include SCARR registry of Sweden, NCDR of USA and NCVD PCI registry of the National Heart Association of Malaysia. Cardiovascular Intervention Association of Thailand (CIAT) realized the importance of having our own data, therefore initiating the project “Thai PCI Registry” in order to collect the data of patients undergoing PCI in current clinical practice in our country. The project received financial support from Health System Research Institute (HSRI). This report is the full report of the finalize of Thai PCI registry project which received financial support from HSRI. There were 22,741 patients participating in Thai PCI registry. Approximately 70% were male with the mean age of 63.85 years. Two third of all patients use Universal Coverage (UC) scheme. Most common presentation was stable CAD (37.6 %) and most common procedures were performed electively (61.3%). More than half of all patients were referral cases. In terms of coronary anatomy, most patients were classified as triple vessel disease (33.0%) follow by double vessel disease (28.7%) and single vessel disease (26.4%), respectively. Twelve percent of all patients had left main stenosis. The main vascular access was femoral approach (12,199 cases; 53.6%). When we categorized the patients into their presentation of acute coronary syndrome and stable coronary disease, we found that 27.6% was STEMI, 29.8% was Non STEMI, 37.6% was Stable CAD, and others was 5.1%. The In-hospital mortality rate was 6.7%, 2.0%, 0.3%, and 3.4%, respectively. with overall in-hospital mortality was 2.7%. The overall success rate of PCI in this registry was 96% which was very good and comparable to data from other countries. The factors that were independently associated with procedural failure included older age, referral cases, hypertension, history of heart disease, complex lesion, long lesion, and poor TIMI flow. The incidence of procedural complications was approximately 5%. The common complications reported included coronary dissection, side branch occlusion, no reflow, coronary perforation, device dislodge, acute stent thrombosis. The factors that were independently associated with procedural complications included older age, female, health care coverage, hypertension, history of heart disease, cardiogenic shock, requirement of IABP/mechanical support, unsuccessful vascular access, long lesion, thrombotic lesion, complex lesion, bifurcation and abnormal TIMI flow. The common clinical complications included post-PCI MI (1,856 cases, 8.5%), bleeding within 72 hours (1,053 cases, 4.8%), stroke (83 cases, 0.4%) and emergency CABG (0.34%). In term of mortality, the in-hospital mortality rate was 2.71%. The independent factors associated with incidence of clinical complications included older age, female, referral cases, peripheral vascular disease, requirement of dialysis, emergency PCI, ACS, cardiogenic shock, requirement of IABP/mechanical support, left main stenosis, unsuccessful PCI, and procedural complication. In summary, the Thai PCI registry was completed with great success. Many goals and objectives were achieved which included 1) establishing national network which can be a platform of nation-wide collaboration of other registry in the future, 2) creating CRF in PCI cases which can be used by any participating sites even after completion of the registry or can also be used by general public by request, 3) Training the new researchers from all area of the country, 4) obtaining crucial data which will lead to improvement of PCI outcomes, prevention of complications and improvement of health care system resulting in better care of patients with cardiovascular diseases in the future.th_TH
dc.identifier.callnoWG300 น114ก 2566
dc.identifier.contactno63-143
dc.subject.keywordCADth_TH
dc.subject.keywordPCIth_TH
.custom.citationนครินทร์ ศันสนยุทธ and Nakarin Sansanayudh. "การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยด้วยการทำการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางผิวหนังในประเทศไทย แบบสหสถาบัน (Thai PCI Registry)." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5917">http://hdl.handle.net/11228/5917</a>.
.custom.total_download53
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year24
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3005.pdf
ขนาด: 2.895Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย