dc.contributor.author | เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Teabpaluck Sirithanawuthichai | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-09-08T04:52:25Z | |
dc.date.available | 2023-09-08T04:52:25Z | |
dc.date.issued | 2566-04 | |
dc.identifier.other | hs3009 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5918 | |
dc.description.abstract | ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดขนาดใหญ่สำหรับครูและผู้ดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี เป็นชุดรายวิชาที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยหรือเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 0-3 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยสำคัญที่ต้องการการบ่มเพาะและปลูกฝังพื้นฐานชีวิตอย่างมั่นคงและเหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ยกระดับทักษะและเพิ่มทักษะใหม่ให้กับครูและผู้ดูแลของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่รับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการสร้างรายวิชาออนไลน์แบบ Massive Open Online Course (MOOC) 2. ประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่สร้างขึ้นในการพัฒนาครูและผู้ดูแลของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 3. ประเมินประสิทธิภาพของการสอนการอบรมแบบ MOOC กลุ่มเป้าหมายหลักที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ครูและผู้ดูแลของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาดำเนินการใน 3 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ ด้านปฏิกิริยา และด้านทัศนคติ ส่วนการประเมินประสิทธิภาพของการสอนการอบรมออนไลน์แบบเปิดขนาดใหญ่นั้นดำเนินการโดยการเก็บข้อมูลการเข้าเรียนของผู้เรียนบนระบบ MOOC เพื่อวิเคราะห์การเข้าชมคลิปวิดีโอของผู้เรียน เนื่องจากคลิปวิดีโอเป็นสื่อที่สำคัญที่สุดของรายวิชาแบบ MOOC ผลการวิจัยพบว่า การประเมินประสิทธิผลของชุดรายวิชาที่พัฒนาด้านการเรียนรู้และด้านปฏิกิริยาได้ผลในเชิงบวกอย่างเด่นชัด ส่วนด้านทัศนคตินั้นไม่มีความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังเข้าเรียน และในด้านการประเมินประสิทธิภาพของระบบ MOOC พบว่า การสร้างเนื้อหาการเรียนรู้ในรูปแบบคลิปวิดีโอนั้น ควรทำเป็นคลิปสั้นๆ คลิปละไม่เกิน 5 นาที ชุดรายวิชานี้สามารถนำไปปรับปรุงและขยายต่อเพื่อพัฒนาเป็นหลักสูตรประกาศนียบัตร (non-degree program) เนื่องจากสัญญาอนุญาตการใช้ชุดรายวิชานี้ เป็นครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ CC: BY-NC-SA (อนุญาตให้เผยแพร่ ดัดแปลงแต่ต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน) | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ครู | th_TH |
dc.subject | Teachers | th_TH |
dc.subject | ผู้ดูแล | th_TH |
dc.subject | Caregivers | th_TH |
dc.subject | เด็ก | th_TH |
dc.subject | Children | th_TH |
dc.subject | เด็กปฐมวัย | th_TH |
dc.subject | Early Childhood | th_TH |
dc.subject | การศึกษา | th_TH |
dc.subject | Education | th_TH |
dc.subject | พัฒนาการของเด็ก | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดขนาดใหญ่สำหรับครูและผู้ดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี | th_TH |
dc.title.alternative | Research and Development of Massive Open Online Course (MOOC) Curriculum for Teachers and Caregivers of 0–3-Year Old Children | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research and development project on Massive Open Online Course (MOOC) for teachers and carers of children under 3 is to create a set of online courses for teachers and caregivers of children under 3. This set of online courses is designed to raise awareness about the importance of nurturing infants and young children, aged between 0-3 years, a critical period that requires fostering and instilling a stable and appropriate foundation for life. The project aims to 1) upskill and reskill teachers and caregivers of early childhood development institutions accepting children under the age of 3 by creating MOOC courses, 2) evaluate the effectiveness of the created courses in the development of teachers and caregivers of early childhood development institutions, and 3) assess the efficiency of MOOC in teaching and training. The main target groups used in this study were teachers and caregivers of early childhood development institutions and students in the field of early childhood education. Evaluation of course effectiveness was conducted in three key areas: learning, reaction, and attitude. The assessment of the efficiency of MOOC was achieved by analyzing learners’ video clip traffic, because video clips are the most important medium of MOOC courses. The results showed that assessment of the learning and reaction effectiveness of the MOOC courses yielded markedly positive results. As for the attitude, there was no difference between before and after learning the courses. In the evaluation of the efficiency of the MOOC system, it was found that creating learning content in the form of video clips should be made into a short clip. Each clip should not exceed 5 minutes. This set of courses can be revised and expanded to develop into a non-degree program, as they are licensed under Creative Commons CC: BY-NC-SA. | th_TH |
dc.identifier.callno | WS105 ท624ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 64-151 | |
dc.subject.keyword | หลักสูตรออนไลน์ | th_TH |
dc.subject.keyword | Online Course | th_TH |
dc.subject.keyword | Massive Open Online Course | th_TH |
dc.subject.keyword | MOOC | th_TH |
.custom.citation | เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย and Teabpaluck Sirithanawuthichai. "การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรออนไลน์แบบเปิดขนาดใหญ่สำหรับครูและผู้ดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5918">http://hdl.handle.net/11228/5918</a>. | |
.custom.total_download | 21 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 14 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |