Show simple item record

Evaluation of Social Impact and Problems related to Treatment Process for Patients with End-Stage Renal Disease receiving Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD), Automated Peritoneal Dialysis (APD), and Icodextrin

dc.contributor.authorอุษา ฉายเกล็ดแก้วth_TH
dc.contributor.authorUsa Chaikledkaewth_TH
dc.contributor.authorมนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorMontarat Thavorncharoensapth_TH
dc.contributor.authorศิตาพร ยังคงth_TH
dc.contributor.authorSitaporn Youngkongth_TH
dc.contributor.authorสุชาย ศรีทิพยวรรณth_TH
dc.contributor.authorSuchai Sritippayawanth_TH
dc.date.accessioned2023-09-08T07:11:24Z
dc.date.available2023-09-08T07:11:24Z
dc.date.issued2566-07
dc.identifier.otherhs3008
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5919
dc.description.abstractภายหลังที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ขยายบริการทดแทนไตสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเริ่มให้บริการการล้างไตทางช่องท้อง (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis, CAPD) เป็นลำดับแรก ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 จนทำให้มีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธี CAPD สูงถึงประมาณ 30,000 รายต่อปี และอัตราการรอดชีวิตดีขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดทดแทนไตได้เร็วขึ้นและบุคลากรทางการแพทย์มีความรู้และประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งต้องเสียชีวิตจากการล้างไตทางช่องท้องที่ไม่เพียงพอ เช่น ผู้ป่วยที่มีขนาดร่างกายใหญ่หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านสารน้ำและเกลือโซเดียมเกินในร่างกาย ซึ่งเกิดจากการทำงานของเยื่อบุช่องท้องผิดปกติจากการล้างไตทางช่องท้องเป็นเวลานานหลายปีหรือมีการติดเชื้อในช่องท้อง ผู้ป่วยเหล่านี้จะเสียชีวิตในเวลาไม่นานหรือต้องถูกเปลี่ยนไปรักษาด้วยวิธีการฟอกเลือด อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยบางรายไม่สามารถเปลี่ยนไปรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดได้เนื่องจากสภาพร่างกายของผู้ป่วยไม่เอื้ออำนวย บ้านของผู้ป่วยอยู่ไกลจากศูนย์ฟอกเลือดหรือไม่มีค่าเดินทางไปรับการฟอกเลือด วิธีที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยเหล่านี้สามารถทำได้โดยใช้น้ำยาที่มีกลูโคสความเข้มข้นสูงขึ้น แต่ผลเสียที่ตามมา คือ การเกิดผลแทรกซ้อนทั้งระยะสั้นและระยะยาวจากการได้รับกลูโคสในขนาดที่สูง ในประเทศที่พัฒนาแล้วจึงไม่นิยมใช้น้ำยากลูโคสความเข้มข้นสูงในผู้ป่วยเหล่านี้แต่จะเปลี่ยนไปใช้น้ำยาล้างไตทางช่องท้องชนิด “ไอโคเด็กซตริน” (icodextrin) หรือปรับไปใช้การรักษาด้วยเครื่องล้างไตทางช่องท้องแบบอัตโนมัติ (Automated Peritoneal Dialysis, APD) แทน ทำให้สามารถดึงสารน้ำและเกลือโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกายได้ดีขึ้น นอกจากนี้การรักษาด้วยวิธี APD ยังสามารถทำได้ในเวลากลางคืนในขณะที่ผู้ป่วยนอนทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทำการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตทางช่องท้องในเวลากลางวัน ซึ่งน่าจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ แต่การรักษาทั้งสองวิธีมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากกว่าวิธี CAPD ประมาณ 2 ถึง 4 เท่า การศึกษานี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ โดยการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณของเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (โครงการย่อยที่ 1) รวมทั้งผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการให้การรักษาด้วยน้ำยา icodextrin และ APD ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน (โครงการย่อยที่ 2) ซึ่งรายงานฉบับนี้ เป็นการศึกษาในโครงการย่อยที่ 2 เรื่อง การประเมินผลกระทบด้านสังคมและปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยวิธีการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ และการใช้น้ำยา icodextrin โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางสังคมและปัญหาที่เกิดขึ้นต่อผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดในการให้บริการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบหลักประกันสุขภาพ บทนำ: นอกเหนือจากข้อมูลการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณของวิธีการล้างไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้จากโครงการย่อยที่ 1 ข้อมูลการศึกษาผลกระทบทางสังคมและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการล้างไต จัดเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งที่สามารถใช้เป็นหลักฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลกระทบทางสังคมและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการล้างไตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ด้วยวิธี (1) Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD) (2) CAPD ที่ใช้น้ำยา icodextrin 1 รอบต่อวันร่วมกับน้ำยากลูโคส (CAPD+ICO) และ (3) วิธี Automated Peritoneal Dialysis (APD) และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ให้บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบผสานวิธี (mixed method) ที่เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) ของผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการย่อยที่ 1 โดยใช้แบบสอบถาม (self-administrative questionnaire) และข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative data) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม (focus group discussion) ในกลุ่มผู้ป่วย/ญาติและบุคลากรในหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการการล้างไตสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผลการศึกษา: จากผลการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังค่อนข้างมีความพร้อมของสถานที่เก็บน้ำยา เปลี่ยนถ่ายน้ำยา นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี CAPD จะมีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตประจำวันมากกกว่าผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี APD อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยที่ล้างไตด้วยวิธี CAPD+ICO ระบุว่ามีความยุ่งยากมากกว่าการล้างไตด้วยวิธี APD และ CAPD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้อาจเนื่องจากผู้ป่วยที่ล้างไตด้วยวิธี CAPD+ICO มีระยะเวลาล้างไตก่อนเข้าร่วมโครงการสั้นกว่า (51.9 เดือน) ผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตด้วยวิธี CAPD (65.3 เดือน) ในส่วนของประโยชน์จากการล้างไตทางช่องท้องด้วยวิธี APD ผู้ป่วยส่วนใหญ่ระบุว่าการไม่มีน้ำในท้องช่วงกลางวันทำให้รู้สึกดีและเป็นอิสระมากขึ้นในระดับมากถึงมากที่สุด สำหรับผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องด้วยวิธี CAPD+ICO พบว่า การใช้น้ำยาไอโคเด็กซตรินทำให้ภาวะน้ำและเกลือเกินในร่างกายดีขึ้นและเหนื่อยน้อยลง สรุปผลการศึกษา: การล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี APD มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยเด็ก ผู้ใหญ่ในวัยทำงาน ผู้ที่ไม่สามารถล้างไตได้ในเวลากลางวัน และคนแก่ที่ไม่สามารถล้างไตได้ด้วยตนเองแต่จะมีผู้ดูแลมาทำให้ ทั้งนี้หากจะมีการบรรจุ APD เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ หากจะมีการขยายการให้บริการด้วย APD จำเป็นต้องใช้บุคลากรเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะพยาบาลเฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ตลอดจนต้องมีการฝึกอบรมบุคลากร และควรมีการพัฒนาระบบร่วมกับผู้ให้บริการเพื่อให้ได้ระบบบริการที่มีประสิทธิภาพในการให้บริการกับผู้ป่วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectRenal Diseaseth_TH
dc.subjectChronic Kidney Diseaseth_TH
dc.subjectโรคไตเรื้อรังth_TH
dc.subjectไตวายเรื้อรังth_TH
dc.subjectไตวายเรื้อรัง--การรักษาth_TH
dc.subjectContinuous Ambulatory Peritoneal Dialysisth_TH
dc.subjectPeritoneal Dialysisth_TH
dc.subjectการล้างไตทางช่องท้องth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการประเมินผลth_TH
dc.subjectEvaluationth_TH
dc.subjectMeasurementth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ความคุ้มทุนth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินผลกระทบด้านสังคมและปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยวิธีการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ และการใช้น้ำยา icodextrinth_TH
dc.title.alternativeEvaluation of Social Impact and Problems related to Treatment Process for Patients with End-Stage Renal Disease receiving Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD), Automated Peritoneal Dialysis (APD), and Icodextrinth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: In addition to the economic evaluation and budget impact information of dialysis in patients with end-stage renal disease (ESRD) obtained from sub-project 1, social impact and problems related to dialysis would be very useful information which can be applied as evidences for policy decision making. Objective: To study the social impact and problems related to dialysis in patients with ESRD using (1) continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) (2) CAPD using icodextrin one cycle per day of icodextrin plus glucose (CAPD+ICO) and (3) automated peritoneal dialysis (APD) methods as well as in all stakeholders providing care for ESRD patients. Methods: This study applied a mixed method which quantitative data of all patients participating in sub-project 1 were collected using a self-administrative questionnaire and qualitative data were obtained using in-depth interviews and focus group discussion among patients/relatives, healthcare personnel in service units related to dialysis services for ESRD patients. Results: According to the results of surveys using questionnaires, it was found that ESRD patients were relatively well equipped with reagent storage sites. In addition, CAPD patients undergoing peritoneal dialysis had more limitations in their daily lives than those receiving APD, however, there was no statistically significant difference. CAPD+ICO dialysis patients were reported to be statistically significantly more complicated than APD and CAPD dialysis. This may be due to a shorter pre-dialysis period for patients undergoing CAPD+ICO dialysis (51.9 months) than those undergoing CAPD (65.3 months). Most ESRD patients receiving APD reported that the absence of fluid during the day resulted in feeling better and more independent to the greatest degree. For patients undergoing CAPD+ICO, icodextrin was found to improve hyperhydration and decrease fatigue. Conclusions: APD is appropriate for pediatric patients, working adults, people who cannot perform dialysis during the day and old people who are unable to do dialysis on their own, but will have a caregiver to do it. However, if APD is included in the benefit package, the expansion of services with APD will require more healthcare personnel, especially peritoneal dialysis nurses and training. The system should be developed in conjunction with the service provider to provide an efficient service system for providing services to the patient.th_TH
dc.identifier.callnoWJ340 อ864ก 2566
dc.identifier.contactno65-066
dc.subject.keywordCAPDth_TH
dc.subject.keywordAutomated Peritoneal Dialysisth_TH
dc.subject.keywordAPDth_TH
dc.subject.keywordIcodextrinth_TH
.custom.citationอุษา ฉายเกล็ดแก้ว, Usa Chaikledkaew, มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์, Montarat Thavorncharoensap, ศิตาพร ยังคง, Sitaporn Youngkong, สุชาย ศรีทิพยวรรณ and Suchai Sritippayawan. "การประเมินผลกระทบด้านสังคมและปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการการดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยวิธีการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง การล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ และการใช้น้ำยา icodextrin." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5919">http://hdl.handle.net/11228/5919</a>.
.custom.total_download28
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year18

Fulltext
Icon
Name: hs3008.pdf
Size: 953.9Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record