dc.contributor.author | ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ | th_TH |
dc.contributor.author | Parun Rutjanathamrong | th_TH |
dc.contributor.author | ตวงรัตน์ โพธะ | th_TH |
dc.contributor.author | Tuangrat Phodha | th_TH |
dc.contributor.author | ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน | th_TH |
dc.contributor.author | Thanawat Wongphan | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-09-19T09:00:43Z | |
dc.date.available | 2023-09-19T09:00:43Z | |
dc.date.issued | 2566-08-08 | |
dc.identifier.other | hs3015 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5925 | |
dc.description.abstract | อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Common Illness) เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในประชาชน ความรุนแรงและความซับซ้อนของโรคน้อย ประชาชนสามารถดูแลรักษาตนเองในเบื้องต้นได้ การรับบริการที่ร้านยาจึงเป็นทางเลือกที่ประชาชนเลือกใช้บริการ การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่ประมาณการต้นทุนที่ประหยัดได้ของบริการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ครอบคลุม 16 อาการตามประกาศของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับสภาเภสัชกรมในโครงการร้านยารูปแบบใหม่ Common Illness ที่ร้านยาต่อต้นทุนของระบบสุขภาพของประเทศไทย การศึกษานี้รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิย้อนหลังของการศึกษาต่างๆ ที่มีรายงานจำนวนครั้งในการมารับบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ ต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์และต้นทุนทางอ้อม เพื่อประมาณการต้นทุนความเจ็บป่วย (Cost of Illness) ของบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยาเปรียบเทียบกับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาล จาก 3 มุมมอง คือ มุมมองภาครัฐ มุมมองผู้ป่วยและมุมมองสังคม โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นว่า ผู้ป่วยชำระค่ายาและค่าบริการด้วยตนเอง จำนวนครั้งเฉลี่ยต่อเดือนของการรับบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เท่ากับ 2,356 ครั้ง โดยกลุ่มอาการที่มีผู้ป่วยมารับบริการมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ กลุ่มอาการเจ็บคอ ไข้ และปวดท้อง เท่ากับ 529 ครั้ง, 442 ครั้ง และ 394 ครั้ง ตามลำดับ และผลการประมาณการต้นทุนที่ประหยัดได้ของบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยาต่อต้นทุนของระบบสุขภาพของประเทศไทย พบว่า หากประชาชนเลือกมารับบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยา แทนการไปรับบริการแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จาก 3 มุมมอง ได้แก่ ภาครัฐ ผู้ป่วยและสังคม พบว่า ต้นทุนที่ประหยัดได้เฉลี่ยต่อครั้ง (cost saving per visit) คือ 446 – 683, 665 – 901 และ 742 – 927 บาท ตามลำดับ และเมื่อคำนวณจากปริมาณการรับบริการใน 1 ปี พบว่า ต้นทุนที่ประหยัดได้เฉลี่ยต่อปี (cost saving per year) คือ 16.49 – 25.23, 24.56 – 33.30 และ 27.39 – 34.26 ล้านบาท ตามลำดับ และที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ พบว่า ต้นทุนที่ประหยัดได้เฉลี่ยต่อครั้ง (cost saving per visit) คือ 212 – 448, 430 - 667 และ 507 - 692 บาท ตามลำดับ และเมื่อคำนวณจากปริมาณการรับบริการใน 1 ปี พบว่า ต้นทุนที่ประหยัดได้เฉลี่ยต่อปี (cost saving per year) คือ 7.81 – 16.56, 15.88 – 24.63 และ 18.72 – 25.58 ล้านบาท ตามลำดับ หรือกล่าวได้ว่าทุก 1 บาท ที่เบิกจ่ายค่ารักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยในร้านยา จะประหยัดต้นทุนในระบบสุขภาพของประเทศไทยเพิ่ม หากประชาชนเลือกมารับบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยา แทนการไปรับบริการแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ประหยัดได้ตั้งแต่ 1.41 – 8.58 บาท และโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ประหยัดได้ตั้งแต่ 0.67 - 5.63 บาท ซึ่งการประหยัดนี้มาจากการที่ประชาชนไม่ต้องลางานเพื่อไปรอคอยรับบริการที่โรงพยาบาล สรุปได้ว่า การจัดบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยาสามารถประหยัดต้นทุนได้อย่างชัดเจน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ยา | th_TH |
dc.subject | Drugs | th_TH |
dc.subject | ร้านขายยา | th_TH |
dc.subject | Drugstores | th_TH |
dc.subject | Drug Storage | th_TH |
dc.subject | Cost--Analysis | th_TH |
dc.subject | Cost-Benefit Analysis | th_TH |
dc.subject | การวิเคราะห์ความคุ้มทุน | th_TH |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Economics | th_TH |
dc.subject | ต้นทุนต่อหน่วย | th_TH |
dc.subject | Health Care Services | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.title | ต้นทุนบริการสุขภาพสำหรับการรักษาผู้ป่วยอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยาเปรียบเทียบกับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาล | th_TH |
dc.title.alternative | Cost of Health Care Services for Treating Patient with Common Illness at Drugstore Compared to Outpatient Treatment at Hospital | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Common illness is the most symptoms sickness in people. Since they are less severe and less complicated, people could do initial selfcare to recover from these symptoms. Receiving services at drug stores is therefore an option for people. This is the first study to estimate the cost savings of common illnesses that cover 16 symptoms as announced by the National Health Security Office (NHSO) in conjunction with the Pharmacy Council in the new Common Illness pharmacy project at drug stores to cost of Thailand's health system. This study gathered retrospective secondary data from several studies those reported the number of visits for treatment 16 symptoms common illnesses, direct medical costs direct nonmedical costs, and indirect costs. The cost of illness of treatment for 16 symptoms common illnesses at a pharmacy compared with outpatient treatment at a hospital from 3 perspectives: government perspective, patient perspective and social perspective were estimated. This study assumed that patient is responsible for cost of drug and health care services. The average number of hospital visits of treatment for 16 symptoms common illnesses was 2,356 visits per month. The first most 3 symptom groups that patients received services were sore throat, fever, and abdominal pain. The average number of hospital visits were 529, 442 and 394 visits. The estimation of the cost savings of treatment for 16 symptoms common illnesses at drug stores to cost of Thailand's health system from 3 perspectives including government, patient, and societal at tertiary care hospital were 446 – 683, 665 – 901, and 742 – 927 Baht per visit, respectively. When calculating from the amount of service received in a year, it was found that the average cost saving per year were 16.49 – 25.23, 24.56 – 33.30, and 27.39 – 34.26 million Baht, respectively. At secondary care hospital, cost saving per visit were 212 – 448, 430 - 667, and 507 - 692 Baht, respectively. Cost saving per year were 7.81 – 16.56, 15.88 – 24.63, and 18.72 – 25.58 million Baht, respectively. In conclusion, every 1 Baht reimbursed for treatment 16 symptoms common illnesses at drug stores will save additional costs in Thailand's health system if people choose to receive treatment services for 16 symptoms common illnesses at drug stores instead of receiving outpatient services from tertiary care hospitals saving ranged from 1.41 – 8.58 Baht and secondary hospitals savings ranged from 0.67-5.63 Baht. This savings comes from the fact that people do not have to take time off work to wait for receiving health care services at the hospital. It can be concluded that the treatment for 16 symptoms common illnesses at drug stores can clearly save costs. | th_TH |
dc.identifier.callno | QV55 ป477ต 2566 | |
dc.identifier.contactno | 66-089 | |
dc.subject.keyword | Common Illness | th_TH |
dc.subject.keyword | อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย | th_TH |
.custom.citation | ปรุฬห์ รุจนธำรงค์, Parun Rutjanathamrong, ตวงรัตน์ โพธะ, Tuangrat Phodha, ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน and Thanawat Wongphan. "ต้นทุนบริการสุขภาพสำหรับการรักษาผู้ป่วยอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยาเปรียบเทียบกับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาล." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5925">http://hdl.handle.net/11228/5925</a>. | |
.custom.total_download | 254 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 104 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 18 | |