แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาและใช้ระบบข้อมูลเฝ้าระวังชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการรับมือกับปัญหามลพิษข้ามพรมแดน

dc.contributor.authorภาสนันทน์ อัศวรักษ์th_TH
dc.contributor.authorPassanan Assavarakth_TH
dc.contributor.authorธิดารัตน์ บุญศรีth_TH
dc.contributor.authorThidarat Bunsrith_TH
dc.contributor.authorศิริพันธ์ นันสุนานนท์th_TH
dc.contributor.authorSiriphan Nunsunanonth_TH
dc.date.accessioned2023-09-19T09:21:45Z
dc.date.available2023-09-19T09:21:45Z
dc.date.issued2566-06
dc.identifier.otherhs3014
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5927
dc.description.abstractโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาและใช้ระบบข้อมูลเฝ้าระวังชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการรับมือกับปัญหามลพิษข้ามพรมแดน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิต เศรษฐกิจชุมชนและข้อมูลสุขภาพชุมชน รวมถึงเพื่อศึกษาทรัพยากรชุมชนและประเมินการพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ตลอดจนเพื่อสร้างระบบข้อมูลในประเด็นสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพและทรัพยากรชุมชนที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหามลพิษข้ามพรมแดน อีกทั้งเป็นการศึกษาพื้นที่เสี่ยงและกิจกรรมของชาวบ้านในพื้นที่ และเพื่อเตรียมความพร้อมของชาวบ้านในการใช้ระบบข้อมูลชุมชนและระบบติดตาม (Monitoring) ต่อการรับมือกับปัญหามลพิษข้ามพรมแดน โดยพื้นที่ศึกษา คือ 5 ชุมชนในจังหวัดน่าน ได้แก่ หมู่บ้านห้วยโก๋น หมู่บ้านน้ำช้างพัฒนา หมู่บ้านด่าน หมู่บ้านภูคำและหมู่บ้านวังผา ที่อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเผชิญกับมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าหงสา ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยหมู่บ้านห้วยโก๋น หมู่บ้านน้ำช้างพัฒนาและหมู่บ้านด่าน เป็นหมู่บ้านที่อยู่บริเวณพรมแดนจึงมีความเสี่ยงต่อปัญหามลพิษข้ามพรมแดน ในขณะที่หมู่บ้านภูคำและหมู่บ้านวังผานั้นเป็นเกษตรกร พืชผลที่ปลูกมาก คือ ส้มสีทองที่เป็นสินค้าบ่งชี้ภูมิศาสตร์ ในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตส้มลดลงอย่างมากโดยชาวบ้านยังไม่ทราบสาเหตุของปรากฏการณ์นี้ ในส่วนระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วยการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม การประชุมกลุ่มย่อย การทำแผนที่ความเสี่ยงและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชน กลุ่มเปราะบางและผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อหาแนวทางในการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังภายในชุมชน ผลการศึกษา พบว่า วิถีชีวิตของชาวบ้านมีความแตกต่างเชิงพื้นที่ ชาติพันธุ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่จุดร่วมกัน คือ การประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่พึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก ในส่วนข้อมูลทางสุขภาพมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวันและสภาพแวดล้อม แต่ชาวบ้านสังเกตว่ามีอาการป่วยทางระบบทางเดินหายใจมากขึ้น เช่น ไอแห้ง เป็นหวัด หอบและเป็นภูมิแพ้ เป็นต้น ในส่วนทรัพยากรชุมชนและประเมินการพึ่งพิงธรรมชาติในพื้นที่นั้น พบว่า แต่ละหมู่บ้านมีการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติภายในชุมชน เช่น กฎหมู่บ้านในการใช้ทรัพยากรป่าไม้และป่าชุมชน วิถีชีวิตชาวบ้านนั้นมีการพึ่งพิงธรรมชาติสูง อาทิเช่น น้ำ ดินและอากาศ ที่มีส่วนสำคัญต่อการทำการเกษตรกรรม ดังนั้น หากปัจจัยทางสภาพแวดล้อมธรรมชาติมีความเปราะบาง ย่อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ในประเด็นการสร้างระบบข้อมูลชุมชนนั้น ดำเนินการในรูปแบบของแผนที่ชุมชนและแผนที่ความเสี่ยง หากเกิดปัญหามลพิษขึ้นชาวบ้านจะเข้าใจบริบททางกายภาพในพื้นที่ตนเอง เชื่อมโยงกับกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและประเภทภัยอันตราย ทั้งนี้ พื้นที่ความเสี่ยงและกิจกรรมของชาวบ้านส่วนมากจะเป็นกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การทำการเกษตร การจับสัตว์น้ำ การเล่นน้ำพักผ่อนของเด็ก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเตรียมความพร้อมของชาวบ้าน ด้วยระบบข้อมูลชุมชนและระบบติดตาม ต่อการรับมือมลพิษข้ามพรมแดน จากการประชุมภายในกลุ่มเชิงลึกของแต่ละหมู่บ้าน แสดงให้เห็นถึงความต้องการและเจตจำนงว่าแต่ละหมู่บ้านต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งความรู้ด้านการเกษตร สาธารณสุข สภาพแวดล้อม รวมทั้งการจัดการจากฝ่ายบริหารส่วนท้องถิ่นในการร่วมมือกับชาวบ้านในการเฝ้าระวัง สำหรับระบบการติดตามข่าวสารนั้น จะเป็นเครื่องมือที่ชาวบ้านมีความคุ้นเคยในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น Line, เสียงตามสายประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ท้ายสุดภาคส่วนที่สำคัญที่ชาวบ้านต้องการให้เข้ามามีส่วนร่วม คือ โรงไฟฟ้าหงสาที่ตั้งอยู่ใน สปป.ลาว ในการเข้ามาให้ข้อมูลของโรงไฟฟ้า งบประมาณสนับสนุนดูแลในเรื่องการเฝ้าระวังและชดเชยในกรณีที่มีปัญหามลพิษข้ามแดน พร้อมทั้งควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโรงไฟฟ้าให้หมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังปัญหามลพิษข้ามแดนและอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขสืบไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectมลพิษทางอากาศth_TH
dc.subjectAir Pollutionth_TH
dc.subjectคุณภาพอากาศth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectCommunityth_TH
dc.subjectโรงไฟฟ้าถ่านหินth_TH
dc.subjectโรงไฟฟ้าถ่านหิน--ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวth_TH
dc.subjectHealth Impact Assessmentth_TH
dc.subjectการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectการประเมินสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectQuality of Lifeth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectการดำเนินชีวิตth_TH
dc.subjectสารสนเทศทางการแพทย์th_TH
dc.subjectHealth Information Systemsth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาและใช้ระบบข้อมูลเฝ้าระวังชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการรับมือกับปัญหามลพิษข้ามพรมแดนth_TH
dc.title.alternativeDeveloping and Using Community Surveillance Database to Prepare for Dealing with Cross Border Pollution Problem Projectth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeResearch project entitled ‘Developing and using community surveillance database to prepare for dealing with cross border pollution problem Project’. The objectives were to study the community way of life, socio-economic status and health, to define the villagers' concerns in regards with pollution and to determine risk areas and activities of villagers in risk areas. This project aims to prepare the villagers for applying local information systems and monitoring systems to cope with transboundary pollution. The study sites were Ban Huaikon, Ban Nam Chang, Ban Dan, Ban Phu Kham and Ban Wang Pha, where possibility to be in risk of exposure to transboundary pollution from the Hongsa power plant, Lao People's Democratic Republic. Due to their proximity to the Thai-Lao PDR border, Ban Huaikon, Ban Nam Chang, and Ban Dan might encounter transboundary pollution. Ban Wang Pha and Ban Phu Kham are farming communities. The most common crop is the Si-thong orange, which is the geographical indicator. In recent years, yields and agricultural productivity have declined significantly, with the villagers still unsure of what are the roots of yields and productivity reduction. The research methodology includes a questionnaire survey, focus groups, community mapping, risk maps, and in-depth interviews with community leaders, members of vulnerable groups, and experts from governmental organizations, which are the Pollution Control Department and the Department of Industrial Works. With this methodology, it leads to establish a surveillance network within the community. The study's findings showed that while the villagers' ways of living varied in terms of geography, ethnicity, and regional culture, their primary economic activity was agriculture, which is heavily dependent on natural resources. Health is influenced by daily tasks and surrounding factors. The villagers also observed that respiratory ailments such allergies, asthma, dry cough, and the common cold were more prevalent. It has been found that each village has regulations in place for managing and conserving its natural resources, such as communal forests and restrictions for the usage of local forests. The villagers' way of life is heavily reliant on natural resources including water, soil, and air, which are essential for agriculture. Since the environment is vulnerable, it will have an impact on villagers’ way of life and their agriculture. The community data system is pursued via community map and risk map. If pollution occurs, the villagers can understand the physical context of their own area and correlate with occurrences of activities and types of hazards. The risky area may be restricted for community activities, especially outdoor activities (e.g. plantation, fishing, swimming). However, the preparedness to response with transboundary pollution, the community data and monitoring systems are essential. The internal consensus of community, they agree that the government must support the knowledge in areas of agriculture, public health and environment, as well as local administration should participate with community in monitoring and surveillance. The villagers are familiar with line application and local announcement, these can be employed for risk communication. Finally, the representatives from Hongsa power plant should participate with the surveillance network. The villagers would like to receive the data of power plant, budgets for surveillance network and for remediation. The participation should be routine, which can keep the awareness in transboundary pollution and can bring the harmony in sharing the resources between the communities and Hongsa power plant.th_TH
dc.identifier.callnoWA754 ภ494ก 2566
dc.identifier.contactno64-206
dc.subject.keywordแผนที่ชุมชนth_TH
dc.subject.keywordระบบข้อมูลth_TH
dc.subject.keywordระบบข้อมูลสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordHIAth_TH
dc.subject.keywordสปป.ลาวth_TH
dc.subject.keywordThe Lao People's Democratic Republicth_TH
dc.subject.keywordLao PDRth_TH
dc.subject.keywordLPDRth_TH
.custom.citationภาสนันทน์ อัศวรักษ์, Passanan Assavarak, ธิดารัตน์ บุญศรี, Thidarat Bunsri, ศิริพันธ์ นันสุนานนท์ and Siriphan Nunsunanon. "การพัฒนาและใช้ระบบข้อมูลเฝ้าระวังชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการรับมือกับปัญหามลพิษข้ามพรมแดน." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5927">http://hdl.handle.net/11228/5927</a>.
.custom.total_download15
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3014.pdf
ขนาด: 12.57Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย