แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การจัดทำกลไกการบริหารจัดการและบริการแบบบูรณาการในพื้นที่เขตสุขภาพนำร่อง

dc.contributor.authorรพีสุภา หวังเจริญรุ่งth_TH
dc.contributor.authorRapeesupa Wangcharoenrungth_TH
dc.contributor.authorอนันตโชค โอแสงธรรมนนท์th_TH
dc.contributor.authorAnantachoke Osangthammanontth_TH
dc.contributor.authorดาวุด ยูนุชth_TH
dc.contributor.authorDawud Unuchth_TH
dc.contributor.authorต้องการ จิตเลิศขจรth_TH
dc.contributor.authorTongkarn Jitlerdkajornth_TH
dc.contributor.authorสุทธิ สืบศิริวิริยะกุลth_TH
dc.contributor.authorSutthi Suebsiriviriyakulth_TH
dc.contributor.authorปนัสยา เทพโพธาth_TH
dc.contributor.authorPanatsaya Thepphothath_TH
dc.contributor.authorฉัตรวลี เมธาสถิตย์สุขth_TH
dc.contributor.authorChatwalee Maethastidsookth_TH
dc.contributor.authorเศรษฐการ หงษ์ศิริth_TH
dc.contributor.authorSettakarn Hongsirith_TH
dc.contributor.authorวจิตรวดี พุกทองth_TH
dc.contributor.authorJitwadee Puktongth_TH
dc.date.accessioned2023-10-10T04:43:30Z
dc.date.available2023-10-10T04:43:30Z
dc.date.issued2566-03
dc.identifier.otherhs3026
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5949
dc.description.abstractการดำเนินการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อวิเคราะห์และจัดทำข้อเสนอมาตรการนำร่อง เพื่อสนับสนุนการทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเขตสุขภาพนำร่อง (Regulatory Sandbox) รวมทั้งการกำหนดเกณฑ์/ตัวชี้วัดในการติดตามและประเมินผลการดำเนินการ (2) เพื่อติดตาม (Monitor) การดำเนินการทดลองมาตรการนำร่อง (Sandbox) ในพื้นที่เขตสุขภาพนำร่องร่วมกับทีมเขตสุขภาพนำร่อง (3) เพื่อประเมินผลการทดลองดำเนินการ Sandbox ในพื้นที่เขตสุขภาพนำร่อง (Evaluation) และ (4) เพื่อจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเขตสุขภาพให้เป็นไปตามกลไกการบริหารจัดการเขตสุขภาพแบบบูรณาการและร่วมรับผิดชอบ โดยเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์ (Analytical Research) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operation Research) และการวิจัยเชิงประเมินผล (Evaluation Research) โดยมีเขตสุขภาพที่ 1, 4, 9 และ 12 เป็นเขตสุขภาพนำร่อง คณะผู้วิจัยร่วมกับผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและผู้บริหารระดับเขตสุขภาพ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอ Regulatory Sandbox ในการขับเคลื่อนเขตสุขภาพนำร่อง ประกอบด้วย 5 Sandbox ได้แก่ (1) ภาวะผู้นำและการอภิบาลระบบ (2) กำลังคนด้านสุขภาพ (3) การเงินการคลังสุขภาพ (4) ข้อมูลและสารสนเทศด้านสุขภาพ และ (5) ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีสุขภาพ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในระดับประเทศ (Big Rock) และคณะผู้วิจัยได้วางกรอบการติดตามประเมินผล โดยได้กำหนดเกณฑ์/ตัวชี้วัดในการติดตามและประเมินผลการดำเนินการโดยใช้ Objectives and Key Results (OKRs) ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติงานไปจนถึงระดับผู้บริหารมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน แสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาและแสดงให้เห็นภาพรวมการดำเนินงานที่ผ่านมาในจุดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขไปสู่แนวทางการดำเนินงานรูปแบบใหม่อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งจากการดำเนินการสามารถประเมินผลการทดลองดำเนินการ Sandbox ได้ดังนี้ 1) การติดตามและประเมินผลเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการดำเนินการขับเคลื่อนเขตสุขภาพนำร่อง พบว่า เขตสุขภาพนำร่องมีความคืบหน้าในการดำเนินการบางประเด็น ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำและการอภิบาลระบบ ด้านกำลังคนสุขภาพ และด้านการเงินการคลังสุขภาพ โดยเป็นไปในทิศทางที่ดีตามนโยบายที่ส่วนกลางผลักดันด้านกฎหมายและเขตสุขภาพมีความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ในทางปฏิบัติ สำหรับประเด็นด้านข้อมูลและสารสนเทศด้านสุขภาพ พบว่า เขตสุขภาพนำร่อง มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในประเด็นด้านผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีสุขภาพยังไม่พบการดำเนินงานที่เป็นไปตามเป้าหมายการปฏิรูปที่ชัดเจน แต่เมื่อพิจารณาความสำเร็จในการดำเนินงานตามเป้าหมายในการให้เขตสุขภาพมีการบริหารจัดการภายในเขตสุขภาพเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ อาจสรุปได้ว่า เขตสุขภาพยังคงดำเนินงานได้เพียงช่วงเริ่มต้นและจำเป็นต้องอาศัยแรงผลักดันในระดับกระทรวงในการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคและบูรณาการนโยบายด้านสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้เกิดระบบบริหารจัดการแบบบูรณาการด้านสาธารณสุขเบ็ดเสร็จภายในเขตได้อย่างแท้จริง 2) การติดตามและประเมินผลเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการดำเนินงานระหว่างเขตสุขภาพ นำร่องทั้ง 4 เขต ที่ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานปฏิรูปโดยมีการกำหนดกฎกระทรวงเพื่อสนับสนุนการทำงาน Sandbox กับเขตสุขภาพอีก 8 เขตที่ไม่ได้มีการใช้ Sandbox ในการสนับสนุนการดำเนินการ พบว่า ด้านภาวะผู้นำและการอภิบาลระบบ: เขตสุขภาพนำร่องสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในขณะที่เขตสุขภาพอื่นๆ ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเขตสุขภาพและคณะกรรมการบริหารเขตสุขภาพ อย่างไรก็ตาม เขตสุขภาพอื่นๆ มีคณะกรรมการเขตสุขภาพ รวมถึงแผนปฏิบัติการประจำปีของเขตสุขภาพ ที่เป็นแนวทางในการดำเนินการของเขตสุขภาพด้านกำลังคนสุขภาพ: การจัดทำกลไกการบริหารจัดการและบริการแบบบูรณาการในพื้นที่เขตสุขภาพนำร่อง ทำให้เขตสุขภาพนำร่องมีเครื่องมือ Sandbox ในการเร่งรัดแก้ไขปัญหาเฉพาะด้านกำลังคนของแต่ละเขตสุขภาพ ส่งผลให้เขตสุขภาพมีความยืดหยุ่นในการบริหาร/จัดสรรทรัพยากรบุคคลและสามารถบริหารจัดการด้านกำลังคนได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการมอบอำนาจด้านกำลังคนจากคณะอนุกรรมการสามัญประจำสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (อ.ก.พ.สป.สธ.) ให้คณะกรรมการอำนวยการเขตบริหารจัดการ ในขณะที่การดำเนินงานของเขตสุขภาพอื่นๆ นั้น ยังคงประสบปัญหาด้านกรอบอัตรากำลังที่ไม่ชัดเจนและไม่ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ด้านการเงินการคลังสุขภาพ: เขตสุขภาพทั้ง 12 เขต ได้มีความพยายามในการบูรณาการงบประมาณร่วมกับภาคีเครือข่ายและหน่วยงานต่างๆ ภายในเขตสุขภาพ อาทิ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น การดำเนินการดังกล่าว เป็นส่วนสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหางบประมาณดำเนินงานไม่เพียงพอ ทำให้เขตสุขภาพสามารถดำเนินกิจกรรม/โครงการที่มุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาเฉพาะของเขตสุขภาพได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเขตสุขภาพนำร่องจะมีเครื่องมือ (Sandbox) ในการบริหารจัดการและบริการแบบบูรณาการในพื้นที่เขตสุขภาพนำร่อง แต่การดำเนินการดังกล่าวยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของการให้เขตสุขภาพมีบทบาทในการบริหารจัดการการเงินการคลังเบ็ดเสร็จภายในเขตสุขภาพนำร่องได้ ด้านข้อมูลและสารสนเทศด้านสุขภาพ: โดยภาพรวมเขตสุขภาพนำร่องมีการดำเนินการที่ค่อนข้างเป็นรูปธรรมชัดเจนกว่าเขตสุขภาพอื่นๆ เนื่องจากมีการพัฒนาระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล พัฒนาระบบข้อมูลในเขตสุขภาพ รวมถึงดำเนินการหรือจัดทำแผนการดำเนินการเรื่อง Digital Transformation ในสถานพยาบาลแล้วในทุกเขตสุขภาพ อย่างไรก็ตาม เขตสุขภาพไม่นำร่องมีการดำเนินการที่ชัดเจนในเขตสุขภาพที่ 8 โดยมีการจัดทำ R8 Anywhere เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยในเขตสุขภาพ ด้านผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีสุขภาพ: เขตสุขภาพนำร่องมีการดำเนินการด้านผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีสุขภาพ เพื่อยกระดับการให้บริการและการบริหารทรัพยากรที่ชัดเจนมากกว่า โดยมีโครงการที่จัดทำในแต่ละเขตมากกว่า อย่างไรก็ตาม เขตสุขภาพไม่นำร่องมีการดำเนินการที่ชัดเจนในเขตสุขภาพที่ 8 อาทิ บริการ One Stop Service การพัฒนาระบบสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังเรือนจำและชาวต่างด้าว อย่างไรก็ตาม ในประเด็นการสร้างความยั่งยืนทางด้านการเงินการคลังภายในเขตสุขภาพ ทั้งเขตสุขภาพในร่องและเขตสุขภาพไม่นำร่องยังบริหารจัดการภายใต้ทรัพยากรของรัฐเพียงอย่างเดียว ไม่มีการนำเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งอาจยังไม่เพียงพอในการแก้ปัญหาความจำกัดของทรัพยากรและสร้างความยั่งยืนทางด้านการเงินการคลังภายในเขตสุขภาพได้ จากการดำเนินการจัดการและการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านมาตามประเด็นการขับเคลื่อน Sandbox ได้มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการด้านข้อกฎหมาย ทั้งในส่วนของสถานะของสำนักงานเขตสุขภาพ ตลอดจนการบริหารจัดการเขตสุขภาพ คณะผู้วิจัยจึงได้จัดทำข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือประกาศที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการและบริการแบบบูรณาการในเขตสุขภาพสามารถบรรลุเป้าหมายในการบริหารจัดการเขตสุขภาพ ดังนี้ 1) ข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านภาวะผู้นำและการอภิบาลระบบ เช่น ดำเนินการจัดทำระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจัดตั้งเขตสุขภาพ เพื่อการปฏิรูปการขับเคลื่อน เขตสุขภาพ พ.ศ. ... และการจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งเขตสุขภาพ เพื่อการปฏิรูปการขับเคลื่อนระบบสุขภาพ พ.ศ. ... เป็นต้น 2) ข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านบุคลากร เช่น การบริหารจัดการภายในสำนักงานเขตสุขภาพ การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเข้ารับราชการเป็นกรณีพิเศษ การขอยกเว้นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งของสายงาน เป็นต้น และ 3) ข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านการเงินการคลัง เช่น การกำหนดให้สำนักงานเขตสุขภาพมีหน้าที่ในการบูรณาการการบริหารเงินบำรุงของหน่วยบริการ การบูรณาการแหล่งเงินเพื่อขับเคลื่อนการทำงานของเขตสุขภาพ เป็นต้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectตัวชี้วัดth_TH
dc.subjectIndicatorsth_TH
dc.subjectการประเมินผลth_TH
dc.subjectEvaluationth_TH
dc.subjectMeasurementth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการจัดทำกลไกการบริหารจัดการและบริการแบบบูรณาการในพื้นที่เขตสุขภาพนำร่องth_TH
dc.title.alternativeIntegration Mechanism and Integrated Health Area Management and Service Providing in Pilot Health Areasth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research is aimed to achieve this following objectives (1) to analyze and design measures to support and drive health area development of pilot health areas (regulatory sandboxes) including criteria/ indicators to monitor operations and evaluate achievement from developments, (2) to monitor implementation of regulatory sandbox measures in pilot health areas with health area teams, (3) to evaluate results from implementing regulatory sandboxes in pilot health area, and (4) to propose proposal to improve rules and regulations to support area health developments to become integrated and co-responsible development mechanism. This is an analytical, operation, and evaluation research with Health Area 1, 4, 9, and 12 as pilot health areas. Research team worked with ministry of public health executives, health area executives, and other related ministry of public health staffs to draft regulatory sandbox proposal to drive health area development in pilot health areas. The regulatory sandbox proposal covered 5 dimensions of health development building blocks which were (1) leadership and governance, (2) human resource, (3) health financing, (4) information and communication technology, and (5) health technology and innovation leading to delivering expected results in solving national level health agendas (Big Rock). Moreover, the research team also designed monitoring and evaluation framework by setting criteria and indicators for monitoring and evaluations adopting Objectives and Key results (OKRs) concept which allowed all relevant sectors from operators to executives to participate in operations, and express their opinions regarding problem solving, and improving overall operations in health area development to more innovative and creative development. Results of regulatory sandbox evaluation are as follows: 1) Comparative Evaluation between Before and After Pilot Health Area Development: It was found that pilot health areas had progresses in several issues which were leadership and governance, human resource management and development, and health financing as measures in the sandbox allowed easier and faster managements. Regarding information and communication technology, all health areas had significant development leading to faster and more convenience services. However, there was no significant progress nor operation that leads to introducing new investments in financing innovation or health technology that could match what was expected in reform purpose. But if we considered overall achievement of having health areas that could absolutely manage within their areas, we concluded that health area succeeded at their beginning phases, and the ministry level push is needed in improving rules and regulations that were obstacles to expected health area management, as well as integrating health policies with other health related agencies which would lead to absolute health area management. 2) Comparative Evaluation between With (Pilot or with regulatory sandbox) and Without (Non-Pilot or no regulatory sandbox) Health Area Development: It was found that Leadership and Governance: Pilot health areas could achieve all targets in this aspect while most of non-pilot health areas were in processes of appointing health area board of directing committees, and health area board of managing committees. However, non-pilot health areas already had their annual action plans which were guidelines of health area operations. Human Resource: Pilot health area’s integrated management and service mechanism allowed pilot health areas to have management tools to solve human resource management problems of each pilot health area, took shorter time, and had flexibility in human resource management, and allocation as health area board of directing committees were empowered to manage human resources in their health areas. On the other hand, non-pilot health areas still faced human resource management problems such as unclear manpower, and unmatched to health context changes in the health areas. Health Financing: All 12 health areas attempted to integrate sources of funds in health management with other health related agencies within health area such as National Health Security Office, Social Security Office, and Local Government Units. This was a key success factor for solving insufficient resources (especially budgets) in the areas as it would allow the health area to implement and emphasize in activities/ projects that could deal with specific problems or respond to health needs in the area. However, even the pilot health areas had measures from sandbox for integrated service providing and management in the area, they could not enhance the pilot health areas to have absolute financing management. Information and Communication Technology (ICT): In general, the pilot health areas had more concrete actions compared to non-pilot health areas as there were electronic patient health record development, health area database system, and digital transformation planning in hospitals in pilot health area. However, there was significant ICT development in Health Area#8 such as R8 Anywhere to connect all patients’ information in the health areas. Health technology and innovation: Pilot health areas had clearer attempts to uplift their service standards, and resource management, as well as more numbers of projects. However, researchers found significant operations in this aspect in Health Area#8 such as One Stop Service, public health developments for those in jails and foreigners. On the other hand, both pilot health areas, and non-pilot health areas still managed under single source of fund (budget), and had not considered having private sector participate in health service arrangement in the health areas, which might not be enough for solving resource scarcity and sustainable health financing within health areas. Evaluation results also indicated that rules and regulations were one of reasons behind problems and obstacles in health area development as it related to status of the health area office, as well as health area administration. In order to find solutions to clear these obstacles, the researchers proposed approaches to improve laws, rules, regulations, and notices to enhance integrated service provisions., and absolute administration in the health areas to achieve targets as follows: 1) Proposal to improve rules and regulations regarding leadership and governance such as Ministry of Public Health Regulation regarding Health Area Establishment for Health Area Development B.E. … 2) Proposal to improve rules and regulations regarding human resource management such as management within health area office, seeking and appointing people, exemption of rules and regulations in management. And 3) Proposal to improve rules and regulations regarding health financing such as allowing health area office to integrate all funds in the area.th_TH
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ร146ก 2566
dc.identifier.contactno64-063
dc.subject.keywordเขตสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordRegional Health Areath_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 1th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 1th_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 4th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 4th_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 9th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 9th_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 12th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 12th_TH
dc.subject.keywordRegulatory Sandboxth_TH
.custom.citationรพีสุภา หวังเจริญรุ่ง, Rapeesupa Wangcharoenrung, อนันตโชค โอแสงธรรมนนท์, Anantachoke Osangthammanont, ดาวุด ยูนุช, Dawud Unuch, ต้องการ จิตเลิศขจร, Tongkarn Jitlerdkajorn, สุทธิ สืบศิริวิริยะกุล, Sutthi Suebsiriviriyakul, ปนัสยา เทพโพธา, Panatsaya Thepphotha, ฉัตรวลี เมธาสถิตย์สุข, Chatwalee Maethastidsook, เศรษฐการ หงษ์ศิริ, Settakarn Hongsiri, วจิตรวดี พุกทอง and Jitwadee Puktong. "การจัดทำกลไกการบริหารจัดการและบริการแบบบูรณาการในพื้นที่เขตสุขภาพนำร่อง." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5949">http://hdl.handle.net/11228/5949</a>.
.custom.total_download47
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year32
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3026.pdf
ขนาด: 9.293Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย