dc.contributor.author | จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jiruth Sriratanaban | th_TH |
dc.contributor.author | นภชา สิงห์วีรธรรม | th_TH |
dc.contributor.author | Noppcha Singweratham | th_TH |
dc.contributor.author | มโน มณีฉาย | th_TH |
dc.contributor.author | Mano Maneechay | th_TH |
dc.contributor.author | ดาวรุ่ง คำวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Daoroong Komwong | th_TH |
dc.contributor.author | นิตย์ธิดา ภัทรธีรกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Nittida Pattarateerakun | th_TH |
dc.contributor.author | สุพัสตรา เสนสาย | th_TH |
dc.contributor.author | Supustra Sensai | th_TH |
dc.contributor.author | พัลลภ เซียวชัยสกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Pallop Siewchaisakul | th_TH |
dc.contributor.author | ทักษิณา วัชรีบูรพ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Tuksina Watchareeboon | th_TH |
dc.contributor.author | อุทัยวรรณ แก้วพิจิตร | th_TH |
dc.contributor.author | Uthaiwan Kaewpijit | th_TH |
dc.contributor.author | บุญนริศ สายสุ่ม | th_TH |
dc.contributor.author | Bunnaris Saisum | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-10-10T08:08:37Z | |
dc.date.available | 2023-10-10T08:08:37Z | |
dc.date.issued | 2566-09-28 | |
dc.identifier.other | hs3025 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5951 | |
dc.description.abstract | โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อค้นหาสัญญาณเตือนการเปลี่ยนแปลงเบื้องต้น (early warning sign) หรือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดผลกระทบทางสุขภาพที่เชื่อมโยงจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.), (2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการจัดการทรัพยากร การจัดบริการสุขภาพและการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของ รพ.สต. ที่ได้รับการถ่ายโอนไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) รวมถึงแนวทางในการบริหารจัดการเชิงระบบที่จำเป็น และ (3) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการใช้เครื่องมือทางการเงินการคลัง สารสนเทศและกฎหมายเพื่อจัดระบบนิเวศน์ทางสาธารณสุขที่แวดล้อม รพ.สต. ให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ของผลกระทบทางสุขภาพ โดยมีรูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed methods) ประกอบด้วยส่วนที่ 1 การศึกษาเชิงคุณภาพ จัดทำเป็นกรณีศึกษา 12 พื้นที่ ใน 6 จังหวัด และส่วนที่ 2 การศึกษาเชิงวิเคราะห์ retrospective cohort study มีขอบเขตของการศึกษาในการประเมินผลรอบปีแรกของการถ่ายโอน รพ.สต. (ปีงบประมาณ 2566) มุ่งเน้นการประมวลผลข้อมูล Baseline ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2565 เพื่อระบุความเสี่ยงและสังเคราะห์ชุดตัววัดและสารสนเทศสำหรับการติดตามผลกระทบในระยะต่อไป มีระยะเวลาของโครงการ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า กรอบแนวคิดของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่ อบจ. มีองค์ประกอบสำคัญประกอบด้วย (1) ผลลัพธ์ทางสุขภาพ, (2) ต้นทุนของการดูแล, (3) ผลลัพธ์งานสาธารณสุข, (4) การเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิ, (5) การได้รับการดูแลรักษาตามแนวทางเวชปฏิบัติ และการได้รับการดูแลรักษาทันเวลา, (6) การดำเนินงานตามกรอบกิจกรรมและเป้าหมายของงานสาธารณสุข และ (7) ทรัพยากรและรูปแบบการบริหารจัดการ เป็นกรอบแนวคิดที่สามารถนำไปสู่สัญญาณเตือนที่จะใช้ในการติดตามประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่ อบจ. ในระยะต่อไปได้ สถิติของตัวชี้วัดจำนวนมากบ่งชี้ผลกระทบในเบื้องต้นได้จากการวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับของผลการดำเนินการ ความแตกต่างของแนวโน้มของผลการดำเนินการต่อเนื่อง และความแตกต่างของความเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มของผลการดำเนินการภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. (1 ตุลาคม พ.ศ. 2565) ระหว่างกลุ่ม รพ.สต. ที่ถ่ายโอน และกลุ่ม รพ.สต. ที่ไม่ถ่ายโอน หรือระหว่างเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิระดับอำเภอ (Contracting Unit for Primary Care, CUP) ที่มี รพ.สต. ถ่ายโอนไปทั้งหมด ถ่ายโอนไปบางส่วน หรือไม่มี รพ.สต. ถ่ายโอนเลย อย่างไรก็ตามการประมวลผลตัวชี้วัดจำนวนหนึ่งในชุดนำร่องตามกรอบแนวคิดของโครงการฯ จำนวนหนึ่งยังขาดความพร้อมด้านข้อมูลในฐานข้อมูลของหน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้องและมีข้อจำกัดของการรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามสำรวจข้อมูล รพ.สต. ผ่านทางสาธารณสุขอำเภอ โดยได้อัตราการตอบกลับในสัดส่วนที่น้อย ซึ่งอาจสะท้อนถึงข้อจำกัดของความสามารถในการปฏิบัติภารกิจเดิมของสาธารณสุขอำเภอภายใต้บริบทใหม่ของการกระจายอำนาจ นอกจากนี้พบว่าการเปลี่ยนแปลงของการจัดการทรัพยากรของ รพ.สต. ที่ได้รับการถ่ายโอนไป อบจ. ที่อาจส่งผลกระทบทางสุขภาพ เชื่อมโยงไปสู่การลดการจัดบริการในกลุ่มของ รพ.สต. ที่ได้รับการถ่ายโอนไป อบจ. รวมถึงการลดความสำคัญของงานด้านสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักนายกรัฐมนตรี กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) และกระทรวงมหาดไทย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมกันทบทวน วางแผนและออกแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขผลกระทบทางสุขภาพต่อประชาชน อันเป็นผลจากการถ่ายโอน รพ.สต. ไปยัง อบจ. รวมถึงควรทบทวนและออกแบบระบบในการกำกับดูแลระบบสาธารณสุขในพื้นที่ด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การประเมินผล | th_TH |
dc.subject | Evaluation | th_TH |
dc.subject | Measurement | th_TH |
dc.subject | Health Impact Assessment | th_TH |
dc.subject | การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 : ระยะที่ 1 การประเมินสัญญาณเตือนของผลกระทบต่อสถานะสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังและการจัดทำกรณีศึกษา | th_TH |
dc.title.alternative | Assessment of Population Health Impacts Subsequent to the Transfer of Tambon Health Promoting Hospitals (THPH) to the Provincial Administrative Organizations (PAOs) in the Fiscal Year 2566: Phase 1 Warning Signs on Potential Health Impacts | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This project aims to (1) search for early warning signs or risk factors related to health impacts associated with the transfer of tambon health promoting hospitals (THPHs), (2) study changes in resource management, health service provision, and public health operations of THPHs that have been transferred to provincial administrative organizations (PAOs), including necessary systemic management approaches, and (3) analyze and synthesize financial, treasury, information, and legal tools to establish an environmental public health system framework for the transferred PHFs to respond to post-transfer health impact situations. The study employs a mixed methods approach, consisting of (1) a qualitative case study conducted in 12 areas across 6 provinces, and (2) a retrospective cohort study with a focus on the first-year post-transfer (fiscal year 2566). It emphasizes baseline data analysis from fiscal years 2561 to 2565 to identify risks and develop measurement sets and information for monitoring future impacts. The project's duration is from September 1, 2022, to August 31, 2023. Key findings from the study reveal that the evaluation framework for health impacts of the THPH transfer should include (1) health outcomes, (2) costs of care, (3) public health outcomes, (4) primary care access, (5) effectiveness or adherence to medical guidelines and timely care, (6) alignment with public health activity frameworks and goals, and (7) resources and management models. This framework can serve as early warning indicators for monitoring post-transfer health impacts. Furthermore, statistical indicators on various aspects of operational differences, trends, and post-transfer changes were identified between transferred THPHs and those that were not transferred, or areas having varying proportions of the transfer. However, it should be noted that certain indicators in the proposed framework lacked data readiness due to limitations in data collection. The surveys with low response rate, despite being conducted by district health officers, might reflect the challenges in executing their existing duties under the new context of decentralized health systems. Additionally, changes in resource management of THPHs transferred to PAOs led to health service reductions, including public health activities. The Ministry of Public Health, the National Health Security Office, the Local Administration Organization Empowerment Committee, the Prime Minister's Office, and the Department of Local Administration, along with relevant agencies, should collaborate to review, plan, and design a monitoring and response system to prevent and address health impacts on the public resulting from the transfer of THPHs to PAOs. This also includes reviewing and re-designing a system for supervising the area-based public health system. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 จ237ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 65-137 | |
dc.subject.keyword | Health Decentralize | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralization | th_TH |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject.keyword | อบจ. | th_TH |
dc.subject.keyword | รพ.สต. | th_TH |
.custom.citation | จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, Jiruth Sriratanaban, นภชา สิงห์วีรธรรม, Noppcha Singweratham, มโน มณีฉาย, Mano Maneechay, ดาวรุ่ง คำวงศ์, Daoroong Komwong, นิตย์ธิดา ภัทรธีรกุล, Nittida Pattarateerakun, สุพัสตรา เสนสาย, Supustra Sensai, พัลลภ เซียวชัยสกุล, Pallop Siewchaisakul, ทักษิณา วัชรีบูรพ์, Tuksina Watchareeboon, อุทัยวรรณ แก้วพิจิตร, Uthaiwan Kaewpijit, บุญนริศ สายสุ่ม and Bunnaris Saisum. "การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 : ระยะที่ 1 การประเมินสัญญาณเตือนของผลกระทบต่อสถานะสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังและการจัดทำกรณีศึกษา." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5951">http://hdl.handle.net/11228/5951</a>. | |
.custom.total_download | 552 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 8 | |
.custom.downloaded_this_year | 437 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 74 | |
.custom.is_recommended | true | |