Development of Maternal Mode of KhunLook Mobile Application for Promotion of Maternal and Child Health
dc.contributor.author | รสวันต์ อารีมิตร | th_TH |
dc.contributor.author | Rosawan Areemit | th_TH |
dc.contributor.author | กุลวดี ศรีพานิชกุลชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Kunwadee Sripanidkulchai | th_TH |
dc.contributor.author | เกียรติศักดิ์ คงวัฒนกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Kiattisak Kongwattanakul | th_TH |
dc.contributor.author | สุชาอร แสงนิพันธ์กูล | th_TH |
dc.contributor.author | Suchaorn Saengnipanthkul | th_TH |
dc.contributor.author | นราทัศพล ลิขิตดี | th_TH |
dc.contributor.author | Naratassapol Likitdee | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-10-16T08:42:59Z | |
dc.date.available | 2023-10-16T08:42:59Z | |
dc.date.issued | 2566-05-30 | |
dc.identifier.other | hs3019 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5953 | |
dc.description.abstract | เด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่สำคัญเพราะเป็นอนาคตของประเทศชาติ การลงทุนตั้งแต่อยู่ในครรภ์ช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นที่จะช่วยให้ทารกที่เกิดมามีโอกาสที่จะมีสุขภาพแข็งแรง หญิงที่มาฝากครรภ์จะได้รับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพที่สำคัญและใช้สื่อสารระหว่างครอบครัวกับบุคลากรทางสาธารณสุขตลอดการตั้งครรภ์และจนกว่าเด็กจะมีอายุ 6 ปี แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามีผู้อ่านข้อมูลจากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กมีจำนวนไม่มาก นอกจากนี้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กยังมีข้อจำกัดเนื่องจากเมื่อพิมพ์ออกมาแล้ว หากมีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมข้อมูลคำแนะนำในการดูแลสุขภาพเพิ่มเติมเข้ามาภายหลัง ผู้ที่ได้รับสมุดรุ่นก่อนไปแล้วจะไม่สามารถรับข้อมูลใหม่เข้าไปรวมในเล่มเดียวกันได้ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเรื่องความคงทนของสมุด การสูญหายของข้อมูลและสมุดได้ด้วย ตั้งแต่ พ.ศ. 2556 คณะนักวิจัยจึงได้วิจัยและพัฒนาแอปพลิเคชันคุณลูก (KhunLook) ในระบบ Android และ iOS สำหรับผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก เพื่อใช้ในการส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพและพัฒนาการเหมาะสมตามวัยและลดความเสี่ยงต่อการมีพัฒนาการที่ล่าช้า โดยช่วยประเมินและบันทึกสุขภาพ และมีข้อมูลส่งเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัย 0-18 ปี ซึ่งเมื่อมีการปรับเกณฑ์หรือเนื้อหาให้ทันสมัยสามารถปรับได้อย่างรวดเร็ว backup ข้อมูลได้ทำให้ไม่สูญหาย ผลการศึกษาการใช้แอปพลิเคชันคุณลูกพบว่า แอปพลิเคชันคุณลูกเป็นที่ยอมรับทั้งด้านเนื้อหาและความง่ายในการใช้งาน การศึกษาการใช้แอปพลิเคชันคุณลูกในคลินิกสุขภาพเด็กดีพบว่า สามารถเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ปกครองเด็กได้ ปัจจุบันมียอดการดาวน์โหลดมากกว่า 550,000 ครั้ง แอปพลิเคชันคุณลูกจึงเป็น platform ที่เหมาะสมที่จะนำมาต่อยอดพัฒนาส่วนสำหรับการดูแลและให้ความรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ได้ วัตถุประสงค์: คณะผู้วิจัยต้องการพัฒนาแอปพลิเคชันคุณลูกสำหรับหญิงตั้งครรภ์เพื่อส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก โดยเพิ่มข้อมูลและ feature ที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ใช้ โดยศึกษา user requirements พัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสม ทันสมัยและทดสอบนำร่องใช้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และบุคลากรทางสาธารณสุขที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ ขั้นตอนการดำเนินงาน: โครงการนี้ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564-พฤษภาคม พ.ศ. 2565 และได้ผ่านการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 1) ออกแบบพัฒนาแอปพลิเคชันคุณลูกสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ศึกษาข้อมูลจากหญิงตั้งครรภ์ ครอบครัวและบุคลากรทางสาธารณสุขผู้ให้บริการฝากครรภ์ คัดเลือกและเผยแพร่องค์ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้นผ่านแอปพลิเคชันคุณลูก เพื่อส่งเสริมให้เกิดการตั้งครรภ์คุณภาพ โดยจัดทำเนื้อหาที่เข้าใจได้ง่ายต่อผู้ใช้แอปพลิเคชัน ทันสมัย ครอบคลุมตาม guideline ที่สูติแพทย์ยอมรับและใช้งาน 2) นำร่องทดสอบการใช้งานและวิเคราะห์ผลการใช้งานในหญิงตั้งครรภ์และบุคลากรทางสาธารณสุขที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ โดยศึกษาที่คลินิกฝากครรภ์ ห้องตรวจสูติกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลการศึกษา: การพัฒนาแอปพลิเคชันคุณลูกสำหรับหญิงตั้งครรภ์ โครงการได้จัดประชุมระดมสมองเพื่อออกแบบต้นแบบแอปพลิเคชันคุณลูกสำหรับหญิงตั้งครรภ์และจัดประชุมเพื่อศึกษาข้อมูลความต้องการของผู้ใช้ มีอาสาสมัครหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด จำนวน 18 คน และบุคลากรผู้ให้บริการฝากครรภ์ จำนวน 27 คน และพบว่า ผู้ใช้เห็นว่า feature ที่มีอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมากและเนื้อหาเข้าใจได้ดีถึงดีมากทุกหัวข้อ ผู้ใช้ให้คะแนนแอปพลิเคชันว่าใช้ง่าย ในขณะเดียวกันได้คัดเลือกเนื้อหาที่หมาะสมและให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินจนมีความถูกต้อง ทันสมัยและเข้าใจได้ง่ายดีถึงดีมากทุกหัวข้อ ผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะจากอาสาสมัครมาพัฒนาต้นแบบและทดสอบจนได้แอปพลิเคชันที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมี feature หน้าครอบครัว อายุครรภ์ คำแนะนำการบันทึกและหน้าสรุป ซึ่งเมื่อลูกเกิดแล้วสามารถเชื่อมโยงไปยังแอปพลิเคชันคุณลูกสำหรับเด็กที่เกิดแล้วได้อย่างต่อเนื่อง การนำร่องใช้ในหญิงตั้งครรภ์และผู้ให้บริการฝากครรภ์ โครงการได้นำแอปพลิเคชันที่พัฒนาแล้วให้ทดลองใช้ในคลินิกฝากครรภ์ โดยอาสาสมัครหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 45 คน อายุเฉลี่ย 30.1 ปี (20-40 ปี) ส่วนตั้งครรภ์ ในไตรมาสที่ 1, 2 และ 3 ร้อยละ 33.3, 31.3 และ 35.6 ตามลำดับ บุคลากรทางสาธารณสุข 13 คน ที่ให้บริการฝากครรภ์ทั้งหมดเป็นเพศหญิงมีอายุเฉลี่ย 44.4 ปี อาสาสมัครมีความเห็นว่า feature ต่างๆ มีความเหมาะสมและเนื้อหาดีถึงดีมากทุกข้อ เมื่อเปรียบเทียบความยากง่ายในการใช้กับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ผู้ใช้ให้คะแนนแอปพลิเคชันว่าใช้ง่ายกว่าทุกข้อ และมีนัยสำคัญทางสถิติทุกข้อสำหรับหญิงตั้งครรภ์และบางข้อสำหรับผู้ให้บริการฝากครรภ์ ผู้ใช้ให้คะแนนแอปพลิเคชัน 9.0 และ 8.7/10 ซึ่งมากกว่าคะแนนที่ให้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (7.5 และ 7.9/10 คะแนน) และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 2 กลุ่ม (p=0.000, p=0.0205) หากให้เลือกบันทึกการฝากครรภ์หนึ่งวิธี ผู้ใช้หญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 86.7 จะเลือกใช้แอปพลิเคชันคุณลูก ด้วยเหตุผลว่า ใช้งานง่าย สะดวกสบาย เปิดใช้งานได้ในทันที ใช้ในชีวิตประจำวันและการพกพา เนื่องจากใช้มือถือในการทำงานทุกวัน มีเนื้อหาครบถ้วนทันสมัยเข้าใจง่าย เหมาะสมกับยุคปัจจุบันไม่ต้องพกพาสมุดฝากครรภ์ให้ยุ่งยาก ส่วนผู้ที่ไม่แน่ใจ ให้ความเห็นว่าไม่มั่นใจว่าจะเลือกวิธีใดเพราะถ้าเป็นแอปพลิเคชัน ถ้าเปลี่ยนมือถือข้อมูลอาจหายหรือไม่ และถ้าใช้คู่กันจะรู้สึกมั่นใจกว่า อยากใช้ทั้ง 2 วิธี บุคลากรทางสาธารณสุขที่ให้บริการฝากครรภ์ร้อยละ 100 จะแนะนำให้ผู้อื่นใช้แอปพลิเคชันคุณลูกเพราะเป็นแอปพลิเคชันที่มีประโยขน์และใช้งานง่าย มีข้อมูลสำคัญครบถ้วน มีความสะดวกเหมือนพกประวัติติดตัว มีรายละเอียดและบันทึกได้มากกว่าในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กโดยสรุปแอปพลิเคชันคุณลูกสำหรับหญิงตั้งครรภ์มีความเหมาะสมทันสมัยใช้และเข้าใจได้ง่าย เป็นที่พอใจของผู้ใช้ทั้ง 2 กลุ่ม เหมาะที่จะใช้ร่วมกับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ควรส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ใช้งานมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงที่สุดแก่คนไทย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | เด็ก | th_TH |
dc.subject | Children | th_TH |
dc.subject | เด็กปฐมวัย | th_TH |
dc.subject | Early Childhood | th_TH |
dc.subject | พัฒนาการเด็ก | th_TH |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ--ในวัยทารกและวัยเด็ก | th_TH |
dc.subject | สตรีมีครรภ์ | th_TH |
dc.subject | หญิงตั้งครรภ์ | th_TH |
dc.subject | การสร้างเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Promotion | th_TH |
dc.subject | โปรแกรมประยุกต์ | th_TH |
dc.subject | Application Software | th_TH |
dc.subject | Mobile Applications | th_TH |
dc.subject | โทรศัพท์เคลื่อนที่--โปรแกรมประยุกต์ | th_TH |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาแอปพลิเคชันคุณลูกสำหรับหญิงตั้งครรภ์เพื่อส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก | th_TH |
dc.title.alternative | Development of Maternal Mode of KhunLook Mobile Application for Promotion of Maternal and Child Health | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background: Childhood is an important age for growth and continuing development. Early investment, especially during pregnancy increases quality antenatal care and can prevent complications, providing the child with their highest health potential for the future. In Thailand, pregnant women will receive the maternal and child health handbook (MCHH), a comprehensive guide used for recording and communicating important health information between the pregnant woman and health care provide (HCP), from pregnancy till the child is 6 years old. Despite the potential, not so many people read the MCHH, many hold the misunderstanding that the MCHH is for communication between HCPs. As a hardcopy, the MCHH bears a printing cost, once provided to the user, the content and functions cannot be upgraded simultaneously, and is at risk for wear and tear or loss of the book. KhunLook mobile application (KhunLook app) was developed in 2015 for parents, childcare providers, and HCPs to use as an interactive electronic MCHH intended to assist parents in child health supervision from 0-18 years. The content can be easily updated, data can be backed, minimizing the risk of loosing data. KhunLook application is found to be well accepted and easy to use. Using KhunLooK application can also increase parent health literacy. Currently, KhunLook app has been downloaded more than 550,000 times. KhunLook yields potential for further development of a maternal mode for pregnant women, for even more potential of Thai people. Objectives: We aim to develop the maternal mode of KhunLook app for promotion of Maternal and child health then to pilot the use of the application at the antenatal clinic in 2 groups of users, pregnant women, and HCPs. Methods: This study has 2 phases 1) Development of KhunLook maternal mode and 2) Pilot use of KhunLook maternal mode at the antenatal care clinic. The study was conducted during August 2021 to May 2023, we studied user requirements and incorporated feedback from pregnant, post partum women and HCPs who provide antenatal care. Content was developed and verified by maternal-fetal medicine specialist. Then the final application was piloted at the antenatal care clinic Srinagarind hospital and the Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Ethics approval for this study was obtained from the Research Ethics Committee, Khon Kaen University.Results: Development of KhunLook Maternal mode. After brainstorming within the team for a prototype, the prototype was presented to participants for user requirements and feedback. Eighteen pregnant and post-partum women, and 27 HCPs participated in this phase of the study. The functions within the app and the content were well accepted for usefulness and understandability, the app was easier to use than the MCHH. The content was rated good to very good by the specialists. We incorporated the suggestions and feedback to develop the final application and tested it for functionality. The final application had a family, gestational age, information, health records, and a summary page. Pilot use of KhunLook maternal mode at the antenatal clinic. Forty-five pregnant women and 13 HCPs participated in this phase. The pregnant women’s mean age was 30.1 (20-40) years, and 33.3%, 31.3% and 35.6% were in their 1st, 2nd and 3rd trimester of pregnancy. The HCP’s mean age was 44.4 years. All the participants rated the functions and content to be very good and good. The app was rated easier to use than the MCHH on all items, with statistical significance on all items for pregnant women, and for some items for the HCPs. Users rated the app 9.0 and 8.7/10 versus 7.5 and 7.9/10 for the MCHH, which was statistically significant in both user groups (p=0.000, p=0.0205). KhunLook is intended to be complementary to the MCHH, but if only 1 mode was to be chosen, 86.7% of pregnant women and 30.8% of HCPs chose KhunLook app over the MCHH. Pregnant women stated that they preferred KhunLook due to the ease of use, completeness, and understandability of the content, and since they already have a mobile phone, there is no hassle of carrying a book around. Those who weren’t sure which mode to pick stated that they were worried that the information could be lost and preferred to use both methods together. All HCPs would introduce KhunLook app to their patients because it has quality information, it is very useful, convenient, easy to use. The maternal mode of KhunLook app is well accepted, in pregnant women and HCPs. We suggest using it in complementary of the MCHH. More promotion is needed for its use to reach potential. | th_TH |
dc.identifier.callno | WS105 ร176ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 64-162 | |
dc.subject.keyword | แอปพลิเคชันคุณลูก | th_TH |
dc.subject.keyword | KhunLook Mobile Application | th_TH |
dc.subject.keyword | แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ | th_TH |
.custom.citation | รสวันต์ อารีมิตร, Rosawan Areemit, กุลวดี ศรีพานิชกุลชัย, Kunwadee Sripanidkulchai, เกียรติศักดิ์ คงวัฒนกุล, Kiattisak Kongwattanakul, สุชาอร แสงนิพันธ์กูล, Suchaorn Saengnipanthkul, นราทัศพล ลิขิตดี and Naratassapol Likitdee. "การพัฒนาแอปพลิเคชันคุณลูกสำหรับหญิงตั้งครรภ์เพื่อส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5953">http://hdl.handle.net/11228/5953</a>. | |
.custom.total_download | 77 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 54 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 8 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2427]
งานวิจัย