dc.contributor.author | กฤษณี สระมุณี | th_TH |
dc.contributor.author | Kritsanee Saramunee | th_TH |
dc.contributor.author | สุรัชดา ชนโสภณ | th_TH |
dc.contributor.author | Suratchada Chanasopon | th_TH |
dc.contributor.author | พรชนก ศรีมงคล | th_TH |
dc.contributor.author | Pornchanok Srimongkon | th_TH |
dc.contributor.author | ภาณุมาศ ภูมาศ | th_TH |
dc.contributor.author | Panumart Phumart | th_TH |
dc.contributor.author | อารีรัตน์ ลีละธนาฤกษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Areerut Leelathanalerk | th_TH |
dc.contributor.author | วิระพล ภิมาลย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Wiraphol Phimarn | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-10-26T06:32:50Z | |
dc.date.available | 2023-10-26T06:32:50Z | |
dc.date.issued | 2566-07 | |
dc.identifier.other | hs3006 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5954 | |
dc.description.abstract | ภูมิหลังและเหตุผล: ไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease, CKD) มีความชุกสูงในประเทศไทยและมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษามาก มีคำแนะนำว่าการคัดกรองความเสี่ยงของภาวะ CKD จะมีประโยชน์ อายุที่มากขึ้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิด CKD แต่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังไม่ได้กำหนดให้มีการคัดกรองไตให้แก่คนกลุ่มนี้อย่างสม่ำเสมอ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาข้อเสนอชุดสิทธิประโยชน์ของการตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังในผู้สูงอายุในบริบทประเทศไทย โดยการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ประเมินผลกระทบด้านงบประมาณและการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดบริการคัดกรองโรคไตเรื้อรังในผู้สูงอายุ วิธีการศึกษา: ศึกษาต้นทุนประสิทธิผลของวิธีการคัดกรองไต 6 วิธีในมุมมองทางสังคมและมุมมองผู้ให้บริการ โดยใช้แบบจำลอง decision tree และ markov model ร่วมกัน วิธีการคัดกรอง ได้แก่ Serum creatinine (Scr), Proteinuria dipstick (Pro), Microalbuminuria dipstick (Micro), Albumin-to-creatinine ratio (ACR) dipstick (ACRdip) และการใช้ 2 วิธีร่วมกัน คือ Pro+Scr และ Micro+Scr รวบรวมค่าพารามิเตอร์ด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมาน วิเคราะห์ความไม่แน่นอนและวิเคราะห์ขีดจำกัดของความคุ้มค่า จากนั้นวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณจากมุมมองของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยทำนายผลกระทบสำหรับ 5 ปี และศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดบริการจากมุมมองของผู้ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิ ด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ผลการศึกษา: ภายใต้ความยินดีที่จะจ่ายของประเทศไทยที่ 160,000 บาทต่อ QALY ทำให้การคัดกรองทั้ง 6 วิธีนั้นมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยถือเป็นการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นที่ทำให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น ผลการวิเคราะห์มีค่า ICER อยู่ระหว่าง 16,878.73-24,245.37 บาทต่อ QALY ส่วนผลการวิเคราะห์ในมุมมองผู้ให้บริการมีค่า ICER อยู่ระหว่าง 13,844.74-20,503.14 บาทต่อ QALY วิธีการ Protienuria dipstick มี ICER ต่ำสุด โดยงบประมาณรวมของการคัดกรองและการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสำหรับ 5 ปีเท่ากับ 5,653 ล้านบาท งบประมาณสำหรับการรักษาคิดเป็นร้อยละ 97-99 ของงบประมาณรวม ผู้ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิเห็นว่าการคัดกรองไตในผู้สูงอายุมีประโยชน์ แต่ควรเลือกวิธีการที่ทำได้ง่ายและเสนอแนะว่าควรมีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ก่อนประกาศนโยบาย ได้แก่ ความพร้อมด้านอัตรากำลัง การฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่มีความสามารถที่จะคัดกรองได้ การเตรียมระบบการดูแลผู้ป่วยและระบบส่งต่อหลังจากที่คัดกรองแล้วพบว่าเป็นโรค และการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไตให้ผู้ป่วยรับทราบ เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการคัดกรองและเข้ารับการรักษา สรุปผล: การคัดกรองไตในผู้สูงอายุปีละ 1 ครั้ง มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยเสนอให้เลือกวิธี Protienuria dipstick เนื่องจากมีความคุ้มค่ามากที่สุดและมีผลกระทบด้านงบประมาณน้อยที่สุด การจัดบริการนี้มีความเป็นไปได้ในระดับปฐมภูมิแต่ควรมีการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรและระบบการดูแลผู้ป่วยและระบบส่งต่อหลังจากที่คัดกรองแล้วพบว่าเป็นโรค จึงควรบรรจุบริการนี้เป็นชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Elderly | th_TH |
dc.subject | Aging | th_TH |
dc.subject | Older People | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | โรคไต | th_TH |
dc.subject | Kidney Diseases | th_TH |
dc.subject | Chronic Kidney Disease | th_TH |
dc.subject | โรคไตเรื้อรัง | th_TH |
dc.subject | การตรวจคัดกรอง | th_TH |
dc.subject | การประเมินผล | th_TH |
dc.subject | Evaluation | th_TH |
dc.subject | Measurement | th_TH |
dc.subject | เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Economics | th_TH |
dc.subject | ต้นทุนต่อหน่วย | th_TH |
dc.subject | Cost--Analysis | th_TH |
dc.subject | Cost-Benefit Analysis | th_TH |
dc.subject | การวิเคราะห์ความคุ้มทุน | th_TH |
dc.subject | ค่ารักษาพยาบาล--การวิเคราะห์ต้นทุน | th_TH |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.title | การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังในผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.title.alternative | Economic Evaluation of Screening for Chronic Kidney Disease in Elderly | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background: Chronic kidney disease (CKD) is prevalent in Thialand that incure high healthcare expenditure. Screening for high risk CKD is recommended to contribute benefit. Aging is one of a CKD risk factor, though this service is yet excluded from the Universal Coveragre Benefit Package (UCBP). Objective: To propose a recommendation for elderly CKD screening to be included in the UCBP by performing economic evaluation, budget impact analysis, and feasibility of delivery such a service. Methods: A cost-effectiveness analysis (CEA) of six screening methods was carried from societal and provider perspective. Decision-tree and markov model were used to simulate screening and CKD health states. Screening methods included Serum creatinine (Scr), Proteinuria dipstick (Pro), Microalbuminuria dipstick (Micro), Albumin-to-creatinine ratio (ACR) dipstick (ACRdip), combined Pro+Scr, and combined Micro+Scr. Parameters were reviewed and analysed by meta-analysis. Sensitivity and threshold analysis were performed to identify uncertaintity of the CEA results. Budget impact analysis was conducted to estimate 5-year budget for NHSO. Feasibility of service delivery was explored by qualitative approach using telephone interview. Results: Under Thailand’s willingness to pay of 160,000 baht/QALY, the six screening methods were cost-effective. CKD screening incurred additional cost and effectiveness. ICER of the six methods were between 16,878.73 - 24,245.37 and 13,844.74-20,503.14 baht/QALY for societal and provider perspective, respectively. Protienuria dipstick had the lowest ICER and exhibited a 5-years-budget of 5,653 million baht for screening and treatment, however treatment budget was the major proportion of the budget (97-99%). Primary care practitioners agreed the benefit of CKD screening and suggest to implement a screening method that ease to use. Preparing for CKD screening before implementation should concern: human resources, training about screening, CKD related services and referral system, educate elderly about CKD to increase compliance to screening and treatment. Conclusion: Annual CKD screening for elderly is cost-effective. Although protienuria dipstick incures the lowest budget to NHSO for screening and treatment. However microalbuminuria dipstick should be selected because of its highest cost-effectiveness. Elderly CKD screening is feasible for primary care but need some prepations regarding healthcare resources: human resources, CKD related services and referral system. This study recommends that CKD Annual CKD screening for elderly should be included in the UCBP. | th_TH |
dc.identifier.callno | W74 ก283ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 64-182 | |
.custom.citation | กฤษณี สระมุณี, Kritsanee Saramunee, สุรัชดา ชนโสภณ, Suratchada Chanasopon, พรชนก ศรีมงคล, Pornchanok Srimongkon, ภาณุมาศ ภูมาศ, Panumart Phumart, อารีรัตน์ ลีละธนาฤกษ์, Areerut Leelathanalerk, วิระพล ภิมาลย์ and Wiraphol Phimarn. "การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังในผู้สูงอายุ." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5954">http://hdl.handle.net/11228/5954</a>. | |
.custom.total_download | 71 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 6 | |
.custom.downloaded_this_year | 47 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 10 | |