Empirical Evidence of Medication Adherence in Patients with Non-communicable Diseases in Community of Thailand: Using Integrated Review and Delphi Technique
dc.contributor.author | ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร | th_TH |
dc.contributor.author | Pinhatai Supametaporn | th_TH |
dc.contributor.author | ชื่นจิตร กองแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | Chuenjid Kongkaew | th_TH |
dc.contributor.author | ศศิมาภรณ์ แหยงกระโทก | th_TH |
dc.contributor.author | Sasimaporn Yaengkratok | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-10-30T04:38:36Z | |
dc.date.available | 2023-10-30T04:38:36Z | |
dc.date.issued | 2566-06 | |
dc.identifier.other | hs3030 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5955 | |
dc.description.abstract | บทนำ : โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุการป่วยและการตายที่สำคัญของประชากรทั่วโลกและประเทศไทย ความร่วมมือในการรักษาด้วยยามีความจำเป็นต่อการรักษาและควบคุมโรค พบว่า ผู้ป่วยเกินครึ่งไม่สามารถใช้ยาตามแผนการรักษาได้ ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยในมิติของภาวะแทรกซ้อน ทุพพลภาพและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และต่อมิติของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยรวมของประเทศ องค์ความรู้เกี่ยวกับนิยามความหมายและปัจจัยเชิงนโยบายที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาในภาพรวมของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย ยังพบได้น้อย ปัจจัยที่ศึกษาก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยระดับผู้ป่วย ยังไม่พบการศึกษาปัจจัยเชิงนโยบาย ซึ่งจะส่งผลในภาพกว้างต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยในชุมชนประเทศไทย วัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับนิยาม ความหมายและปัจจัยเชิงนโยบายที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ 2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะ นิยาม ความหมายของความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและปัจจัยเชิงนโยบายที่ส่งผลจากการหาฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ วิธีการศึกษา : การวิเคราะห์ลักษณะ นิยาม ความหมายของความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัจจัยเชิงนโยบายที่ส่งผลโดยการทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการตามแนวทางของ Cooper (2007) นำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาแบบสอบถาม ชุดที่ 1 เกี่ยวกับนิยาม ความหมาย ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัจจัยเชิงนโยบายที่ส่งผล แล้วนำไปศึกษาหาฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย รวบรวมความคิดเห็นที่มีความสอดคล้องกันของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการกำหนดหรือมีส่วนร่วมหรือรับผิดชอบกำกับดูแลด้านนโยบายที่เกี่ยวกับยาและการใช้ยา จำนวน 5 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการสนองตอบนโยบายที่เกี่ยวกับยาและการใช้ยา จำนวน 12 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการ จำนวน 4 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้งสิ้น 2 รอบ ซึ่งรอบที่ 2 ใช้แบบสอบถามฉบับเดิม แต่เพิ่มค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และตำแหน่งที่ผู้เชี่ยวชาญตอบในรอบที่ 1 ของข้อคำถามแต่ละข้อ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทราบคำตอบของตนเองและของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด ก่อนทบทวนคำตอบของตนเองเพื่อยืนยันหรือเปลี่ยนแปลงคำตอบ นำแบบสอบถามรอบที่ 1 และ 2 มาวิเคราะห์ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ โดยพิจารณาคำตอบของผู้เชี่ยวชาญมีความสอดคล้องกัน คือ ค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.5 ขี้นไป และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.5 การเปลี่ยนแปลงคำตอบของผู้เชี่ยวชาญ ร้อยละ 12.02 แสดงว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็น เป็นฉันทามติ ผู้วิจัยจึงยุติการส่งแบบสอบถามและสรุปผลการวิจัย ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลรอบที่ 1 ตั้งแต่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง 18 มีนาคม พ.ศ. 2566 และรอบที่ 2 ตั้งแต่ 15 เมษายน พ.ศ. 2566 ถึง 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ผลการศึกษา 1) นิยาม ความหมายของความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าเกี่ยวข้องมากถึงมากที่สุด และมีความสอดคล้องกัน ทั้ง 6 ด้าน 18 ข้อรายการ ( MD = 3.77-4.88, IR = 0.61-1.38) 2) นโยบายด้านยาของประเทศ ทั้งนโยบายแห่งชาติด้านยาและบัญชียาหลักแห่งชาติ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 นโยบายและระเบียบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและค่าใช้จ่ายด้านการรักษาและค่ายาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ส่งผลต่อการบริหารจัดการยารักษาโรคเรื้อรังและการสั่งจ่ายยารักษาโรคเรื้อรังของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าส่งผลมากถึงมากที่สุด และมีความสอดคล้องกัน ทั้ง 2 ด้าน 8 ข้อรายการ (MD = 3.78-4.63, IR = 0.94-1.41) 3) นโยบายให้ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังมารับยาที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 ใกล้บ้าน ส่งผลต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนและร้านขายยาในโครงการ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าส่งผลมากและสอดคล้องกันทั้ง 6 ด้าน 16 ข้อรายการ ( MD = 3.68-4.12, IR = 0.61-1.26) และ 4) ปัจจัยนโยบายแห่งชาติด้านยาและบัญชียาหลักแห่งชาติ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และนโยบายและระเบียบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและค่าใช้จ่ายด้านการรักษาและค่ายาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ส่งผลต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าทั้ง 18 ข้อรายการ ส่งผลระดับต่ำกว่าระดับมากและความเห็นไม่สอดคล้องกัน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ยา | th_TH |
dc.subject | Drugs | th_TH |
dc.subject | การใช้ยา | th_TH |
dc.subject | Drug Utilization | th_TH |
dc.subject | ยา--การใช้รักษา | th_TH |
dc.subject | การรักษาด้วยยา | th_TH |
dc.subject | การใช้ยาอย่างสมเหตุผล | th_TH |
dc.subject | Rational Drug Use | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | โรคไม่ติดต่อ | th_TH |
dc.subject | Non-Communicable Diseases | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | หลักฐานเชิงประจักษ์ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการและการใช้เทคนิคเดลฟาย | th_TH |
dc.title.alternative | Empirical Evidence of Medication Adherence in Patients with Non-communicable Diseases in Community of Thailand: Using Integrated Review and Delphi Technique | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.publication | ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง เครือข่ายวิจัยความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเพื่อประเทศไทยใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Medication Adherence Research Network for Rational Drug Use in Thailand) | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Introduction: Non-communicable diseases (NCDs) constitute significant contributors to global morbidity and mortality, with Thailand being no exception. Adhering to prescribed medications plays a pivotal role in the treatment and management of these diseases. Nevertheless, more than half of the patients encounter difficulties in adhering to the recommended treatment regimen. This not only affects patients in terms of complications, disability, premature mortality, but also leads to escalated healthcare costs attributed to the care of patients with complications and disabilities. In the Thai healthcare context, there appears to be a dearth of understanding regarding the definition and significance of medication adherence among healthcare providers, alongside policy-level factors linked to this crucial aspect of treatment. Previous studies have primarily concentrated on patient-level determinants. Specific objectives: 1) To synthesize knowledge regarding the definitions, meanings, and policy factors that influence medication adherence of patients with NCDs, based on relevant documents and research studies both domestically and internationally. 2) To analyze the definitions and meanings of medication adherence among patients with NCDs attending community hospitals under the Ministry of Public Health of Thailand. Additionally, to investigate the policy factors affecting medication adherence through expert consensus. Method: This study synthesizes knowledge related to the definitions, meanings, and policy factors influencing medication adherence in patients with NCDs, employing Cooper’s literature synthesis method (2007). This acquired knowledge is subsequently utilized to formulate the initial set of questionnaires, encompassing the definitions and meanings of medication adherence, as well as policy factors. The questionnaires are further assessed for expert consensus using the Delphi technique, gathering opinions from 21 experts, divided into three distinct groups. The first group, consisting of five experts, is responsible for decision-making, involvement, and oversight of medication policies. The second group, comprising twelve experts, focuses on implementing policy responses related to medication and its usage. Finally, there is a group of four academic experts. Data is collected in two rounds to solicit opinions from these expert groups. In the second round, the same questionnaire is employed, enriched with median values, interquartile ranges, and reference points, allowing experts to provide self-assessments and evaluate their responses in comparison to the group's collective input before finalizing or revising their answers. The data analysis encompassed an examination of responses from questionnaire rounds 1 and 2. The median and interquartile range were used to gauge the significance of the identified factors. Experts exhibited consistent responses (median ≥ 3.5, interquartile range ≤ 1.5), though a 12.02% variation indicated divergent views. Consequently, the researcher finalized the questionnaire and summarized the findings. Round 1 data was collected from December 15, B.E. 2565 (2022), to March 18, B.E. 2566 (2023), and round 2 data was collected from April 15, B.E. 2566 (2023), to May 15, B.E. 2566 (2023). Results of the Study: 1) Definition and meaning of medication adherence in patients with NCDs in Thailand, Experts are highly to most highly agree, and have consensus across all six dimensions and 18-item checklist includes items ranging from 3.77 to 4.88 (IR = 0.61-1.38). 2) National drug-related policy: This encompasses both the national drug policy and the main national drug formulary, the Public Procurement and Supplies Administration Act B.E. 2560 (2017), as well as the policies and core regulations concerning the rights and costs of treatment and medication for chronic disease patients. Experts agree these impacts on the management of chronic disease medications in hospitals and the prescription of medications by physicians, ranging from a high to the highest level of impact and consistency across the two dimensions. Additionally, an 8-item checklist with items ranging from 3.78 to 4.63 (IR = 0.94-1.41). 3) The policy of the Near-home Medicine Pick-up Project, which allows patients with chronic illnesses to obtain medications from nearby over-the-counter pharmacies, has an impact on medication adherence. Experts agree that the policy shows a high to the highest level of impact and consistency across the six dimensions of the 16-item list (MD = 3.68-4.12, IR = 0.61-1.26). 4) National Policy on medicines, the National List of Essential Medicines Government Procurement and Supplies Management Act 2017 and universal health coverage policies and regulations related to rights and expenses for treatment and medicines of patients with NCDs, experts do not agree. | th_TH |
dc.identifier.callno | QV55 ป618ค 2566 | |
dc.identifier.contactno | 63-119 | |
dc.subject.keyword | NCDs | th_TH |
dc.subject.keyword | โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง | th_TH |
dc.subject.keyword | RDU | th_TH |
.custom.citation | ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร, Pinhatai Supametaporn, ชื่นจิตร กองแก้ว, Chuenjid Kongkaew, ศศิมาภรณ์ แหยงกระโทก and Sasimaporn Yaengkratok. "หลักฐานเชิงประจักษ์ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการและการใช้เทคนิคเดลฟาย." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5955">http://hdl.handle.net/11228/5955</a>. | |
.custom.total_download | 29 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 23 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2427]
งานวิจัย