dc.contributor.author | ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร | th_TH |
dc.contributor.author | Pinhatai Supametaporn | th_TH |
dc.contributor.author | ชื่นจิตร กองแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | Chuenjid Kongkaew | th_TH |
dc.contributor.author | ศศิมาภรณ์ แหยงกระโทก | th_TH |
dc.contributor.author | Sasimaporn Yaengkratok | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-10-30T06:29:03Z | |
dc.date.available | 2023-10-30T06:29:03Z | |
dc.date.issued | 2566-06 | |
dc.identifier.other | hs3032 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5957 | |
dc.description.abstract | โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง ทางเดินหายใจเรื้อรังและเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุการป่วยและการตายที่สำคัญของประชากรทั่วโลกและประเทศไทย ซึ่งการรักษาและการควบคุมโรค จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยเกินครึ่งมีปัญหาไม่สามารถใช้ยาตามแผนการรักษา ส่งผลต่อตัวผู้ป่วยทั้งในมิติของภาวะแทรกซ้อน ทุพพลภาพ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และต่อมิติของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยรวมของประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจากการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนและทุพพลภาพ แม้องค์ความรู้เกี่ยวกับความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในต่างประเทศจะพัฒนาไปมาก แต่เป็นความรู้ที่พัฒนาขึ้นภายใต้บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากบริบทของสังคมไทย จึงมีข้อจำกัดในการนำหลักฐานเชิงประจักษ์เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยไทย นอกจากนี้ การวิจัยยังขาดการศึกษาเชิงลึกจากมุมมองของผู้ป่วย ซึ่งจะให้รายละเอียดข้อมูลที่ทำให้เข้าใจความร่วมมือและไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยมากขึ้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทำความเข้าใจความหมายและประสบการณ์ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน และปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องจากมิติของผู้ป่วย การวิจัยนี้ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา พื้นที่ศึกษาคือ คลินิกโรคเรื้อรังและคลินิกจิตเวช โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่เป็นเครือข่ายดูแลโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลชุมชน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการสังเกตและการศึกษาข้อมูลความเจ็บป่วยและการรักษาจากระเบียนประวัติ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังของคลินิกโรคเรื้อรังและคลินิกจิตเวช จำนวน 24 ราย คัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด คือ 1) เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension, HT) และ/หรือ มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia, DLP) และ/หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardia Infarction, MI) และ/หรือ โรคหัวใจวาย (Chronic Heart Failure, CHF) และ/หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และ/หรือ โรคเบาหวาน (Diabetes, DM) และ/หรือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease, COPD) และ/หรือ โรคซึมเศร้า (Depression) 2) ได้รับยารักษาโรคเรื้อรัง อย่างน้อย 1 ชนิด ที่คลินิกโรคเรื้อรังหรือคลินิกจิตเวช โรงพยาบาลวังทอง หรือ รพ.สต. หนองพระ เป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี 3) สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ และ 4) สมัครเข้าร่วมการวิจัยโดยได้รับการบอกกล่าวอย่างเต็มใจ การศึกษา ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลซ้ำ จำนวน 8 ราย รวมทั้งหมด จำนวน 32 บทสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมข้อมูลตลอดการศึกษา โดยประยุกต์ใช้วิธีการของโคไลซี (Colaizzi, 1978 cited in Sanders, 2003) และในการสร้างความน่าเชื่อถือของงานวิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิดของลินคอล์นและกูบา (Lincoln & Guba, 1985) ผลการศึกษา พบว่า ประสบการณ์ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก คือ 1) การเข้ารับการรักษา เพื่อต้องการชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยและให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา ที่มีความต้องการและความคาดหวังที่จะหาย หรือทุเลาจากอาการของโรค สามารถกลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติ ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาตามมุมมองของผู้ป่วยจึงมีความหมายถึงการใช้ยาตามคำสั่งของแพทย์เพื่อต้องการชีวิตที่ดีขึ้น 2) ความกังวลที่จะใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง 3) การจัดการใช้ยาด้วยตนเอง 4) การสนับสนุนจากครอบครัวในการได้รับยาต่อเนื่อง และ 5) การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อการรักษาที่ดี โดยประเด็นหลักที่ 2 ถึง 5 เป็นปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรังในชุมชน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ยา | th_TH |
dc.subject | Drugs | th_TH |
dc.subject | การใช้ยา | th_TH |
dc.subject | Drug Utilization | th_TH |
dc.subject | ยา--การใช้รักษา | th_TH |
dc.subject | การรักษาด้วยยา | th_TH |
dc.subject | การใช้ยาอย่างสมเหตุผล | th_TH |
dc.subject | Rational Drug Use | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | โรคไม่ติดต่อ | th_TH |
dc.subject | Non-Communicable Diseases | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลชุมชน: การวิจัยเชิงคุณภาพ | th_TH |
dc.title.alternative | Medication Adherence of Patients with Non-communicable Diseases Attending Chronic Disease Clinic in Community Hospital: A Qualitative Study | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.publication | ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง เครือข่ายวิจัยความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเพื่อประเทศไทยใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Medication Adherence Research Network for Rational Drug Use in Thailand) | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Non-communicable diseases such as cardiovascular diseases, cancer, chronic respiratory diseases, and Diabetes Mellitus, contribute significantly to global illness and mortality rates, including in Thailand. Collaborative efforts are crucial for effectively managing these diseases and ensuring patients' adherence to medication. However, over half of the patients struggle with following the prescribed treatment regimen, leading to complications, disability, premature death, and increased healthcare costs. Existing knowledge on medication adherence for chronic non-communicable diseases is primarily derived from foreign social and cultural contexts, which may limit its applicability to Thai patients. Additionally, there is a lack of in-depth studies on medication adherence from the patients' perspective in the Thai community. Therefore, this study aims to explore and understand the meaning and experiences of medication adherence in Thai patients with chronic diseases, as well as the conditioning factors that influence adherence. This research applies qualitative methodology to study at chronic disease and psychiatric clinics at Wang Thong Hospital and Nong Phra Subdistrict Health Promoting Hospital. Data collection involves in-depth interviews, observations, and studying medical records of 24 registered patients. Inclusion criteria include 1) patients with high blood pressure [hypertension: HT], and/or abnormal blood lipid levels [dyslipidemia: DLP], and/or myocardial infarction [MI], and/or chronic heart failure [CHF], and/or stroke, and/or diabetes [DM], and/or chronic obstructive pulmonary disease [COPD], and/or depression. 2) have received treatment for chronic diseases for at least one type of medication from either the Chronic Disease Clinic or the Psychiatry Clinic at Wangthong Hospital or Nong Pra Hospital continuously for a minimum of one year. 3) able to communicate in the Thai language. 4) voluntarily participate in the research study after receiving informed consent. This study interviewed 8 repeat informants, totaling 32 interviews. Data analysis utilizes Colaizzi's method (Colaizzi, 1978 cited in Sanders, 2003) and ensures trustworthiness using Lincoln and Guba's framework (Lincoln & Guba, 1985). The study identified five themes regarding experiences of medication adherence in patients with chronic diseases in the community. The first theme is patients' expectation for better life through treatment and medication adherence. Patients follow doctor's instructions to recover or alleviate symptoms and return to normal life. However, when treatment outcomes, including the effects of drug use, are unsatisfactory or when side effects occur, patients may engage in non-adherent behaviors. This means that the treatment and medical regimen recommended by physicians do not meet their expectations or needs. They may also seek additional treatment methods, such as visiting private and reputable clinics and using supplements. The second to fifth themes involve conditioning factors that affect medication adherence within the Thai context. These themes cover concerns about consistent medication adherence, self-management, family support, and building relationships with healthcare professionals for effective treatment, as well as addressing specific sub-issues. | th_TH |
dc.identifier.callno | QV55 ป618ค 2566 | |
dc.identifier.contactno | 63-119 | |
dc.subject.keyword | NCDs | th_TH |
dc.subject.keyword | โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง | th_TH |
dc.subject.keyword | RDU | th_TH |
.custom.citation | ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร, Pinhatai Supametaporn, ชื่นจิตร กองแก้ว, Chuenjid Kongkaew, ศศิมาภรณ์ แหยงกระโทก and Sasimaporn Yaengkratok. "ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลชุมชน: การวิจัยเชิงคุณภาพ." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5957">http://hdl.handle.net/11228/5957</a>. | |
.custom.total_download | 72 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 61 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 5 | |