แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ธรรมชาติของปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยไทยที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามขั้นตอนการจัดการการใช้ยาด้วยตนเอง

dc.contributor.authorชื่นจิตร กองแก้วth_TH
dc.contributor.authorChuenjid Kongkaewth_TH
dc.contributor.authorศศิมาภรณ์ แหยงกระโทกth_TH
dc.contributor.authorSasimaporn Yaengkratokth_TH
dc.date.accessioned2023-10-30T06:41:53Z
dc.date.available2023-10-30T06:41:53Z
dc.date.issued2566-06
dc.identifier.otherhs3033
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5958
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ : (1) เพื่อศึกษาปัจจัยของความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยสูงอายุ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับการรักษาในสถานะผู้ป่วยนอก (2) เพื่อประเมินมูลค่าของยาเหลือใช้ซึ่งเกิดจากความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยสูงอายุ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงสังเกตแบบพรรณนาที่จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง สุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบจากรายชื่อผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และ/หรือโรคไขมันในเลือดสูงอย่างน้อย 1 โรค ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ที่พัฒนาขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา จากนั้นผู้เชี่ยวชาญทางเภสัชกรรมคลินิกทำการประเมินกรณีศึกษาจากภาคสนามเพื่อยืนยันความร่วมมือในการรักษาด้วยยา สถานที่เก็บข้อมูลเขตชนบท ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล (รพ.สต.) หนองพระ จังหวัดพิษณุโลกและเขตเมือง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้โปรแกรม SPSS เวอร์ชัน 21 ผลการศึกษา : ผลการศึกษาในเขตชนบท กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 214 คน ความชุกของความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร้อยละ 98.1 โดยพบความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาในแต่ละขั้นตอนดังนี้ (1) ขั้นตอนการรับยาต่อเนื่องตามแพทย์สั่งเป็นจำนวน 43 ราย (ร้อยละ 20.1) (2) ขั้นตอนความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาและการปฏิบัติตัวระหว่างใช้ยาเป็นจำนวน 185 ราย (ร้อยละ 86.4) (3) ขั้นตอนการจัดการการใช้ยาเป็นจำนวน 174 ราย (ร้อยละ 81.3) (4) ขั้นตอนการรับประทานยา/การใช้ยาเป็นจำนวน 175 ราย (ร้อยละ 81.8) (5) ขั้นตอนการติดตามความปลอดภัยในการใช้ยาเป็นจำนวน 181 ราย (ร้อยละ 84.6) (6) ขั้นตอนการใช้ยาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการรักษาที่กำหนดเป็นจำนวน 175 ราย ( ร้อยละ 81.8) โดยเมื่อคำนวณปริมาณยาและมูลค่ายาเหลือใช้ทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีปริมาณยาเหลือใช้ 11,007.5 เม็ด มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 10,027.63 บาท คิดเป็นเฉลี่ย 63.07 บาทต่อราย โดยกลุ่มยาที่มีปริมาณยาเหลือใช้มากที่สุด คือ กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ส่วนผลการศึกษาในเขตเมือง กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 286 ราย พบความชุกของความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยา จำนวน 85 ราย (ร้อยละ 29.72) สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยา ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้ chi-square และ Fisher exact test ไม่พบความแตกต่างในกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม เมื่อคำนวณปริมาณยาและมูลค่ายาเหลือใช้ทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีปริมาณยาเหลือใช้ จำนวน 11,341 เม็ด คิดเป็นมูลค่า 46,339.14 บาท เฉลี่ย 545.16 บาทต่อราย โดยยา Atorvastatin 40 mg เป็นยาที่มีมูลค่าของยาเหลือใช้มากที่สุด 12,337.50 บาท ส่วนยา Metformin 500 mg เป็นยาที่มีจำนวนเม็ดยาที่มีปริมาณเหลือมากที่สุด 1,14.50 เม็ด สรุปผลการศึกษา : ความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยา เป็นปัญหาที่มีความสำคัญในระบบสาธารณสุขไทยโดยเฉพาะเขตชนบท ควรจัดให้มีกลวิธีในการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพง่ายในการปฏิบัติงานปกติได้ เพื่อจัดการกับความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectDrug Utilizationth_TH
dc.subjectยา--การใช้รักษาth_TH
dc.subjectการรักษาด้วยยาth_TH
dc.subjectการใช้ยาอย่างสมเหตุผลth_TH
dc.subjectRational Drug Useth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectโรคไม่ติดต่อth_TH
dc.subjectNon-Communicable Diseasesth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleธรรมชาติของปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยไทยที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามขั้นตอนการจัดการการใช้ยาด้วยตนเองth_TH
dc.title.alternativeNature of Medication Adherence in Thai Patients with Non-Communicable Diseasesth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.publicationภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง เครือข่ายวิจัยความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเพื่อประเทศไทยใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Medication Adherence Research Network for Rational Drug Use in Thailand)th_TH
dc.description.abstractalternativeObjectives: (1) to examine prevalence of medication non-adherence (2) to investigate the factors contributing to non-adherence to medication treatment among elderly patients with non-communicable diseases receiving treatment as outpatients. (3) To evaluate the value of unused medication resulting from non-adherence to medication treatment among elderly patients with non-communicable diseases. Methods: This was a cross-sectional descriptive study. Participants were selected from the electronic hospital database using random sampling. Data will be collected through a developed interview questionnaire based on the study objectives. Study setting in rural area was NongPhra district Health Promotion Hospital, Phitsanulok; in urban area was Rajvithi hospital, Bangkok. Data analysis was performed using descriptive statistics, employing SPSS version 21. Results: In rural area, from 214 participants, overall prevalence of medication non-adherence in older adults with non-communicable diseases patients was 98.1%. Prevalence of non-adherence patients for each step were as followed; refill 43 (20.1%) understand 185 (86.4%) organize 174 (81.3%) take 175 (81.8%) monitor 181 (84.6%) sustain 175 (81.8%). The total of unused medicine was 11,007.5 pills. The economic impact of unused medicine was 10,027.63 Baht and average 63.07 Baht per person. Medication for treating cardiovascular diseases were mostly involved in medication non-adherence. In urban area, from a sample of 286 elderly patients with non-communicable diseases, the prevalence of medication non-adherence in elderly patients with non-communicable diseases was 29.72%. For the factors associated with non-adherence using chi-square and Fisher exact tests, no significant differences were found between the two sample groups. When calculating the quantity and value of unused medication for the entire sample group, it was found that there were 11,341 remaining medication units with a total value of 46,339.14 Baht, averaging 545.16 Baht per patient. Atorvastatin 40 mg was the medication with the highest value of unused medication, amounting to 12,337.50 Baht, while Metformin 500 mg was the highest quantity of unused medication with 11,141.50 medication units. Conclusions: Medication non-adherence is prevalent, especially in rural area. Effective and easy interventions should be in place for dealing with medication non-adherence.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 ช592ธ 2566
dc.identifier.contactno63-119
dc.subject.keywordNCDsth_TH
dc.subject.keywordโรคไม่ติดต่อเรื้อรังth_TH
dc.subject.keywordRDUth_TH
.custom.citationชื่นจิตร กองแก้ว, Chuenjid Kongkaew, ศศิมาภรณ์ แหยงกระโทก and Sasimaporn Yaengkratok. "ธรรมชาติของปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยไทยที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามขั้นตอนการจัดการการใช้ยาด้วยตนเอง." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5958">http://hdl.handle.net/11228/5958</a>.
.custom.total_download29
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year19
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3033.pdf
ขนาด: 4.256Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย