Show simple item record

Research and Development of Medication Adherence Questionnaire for Thai Patients with Non-Communicable Diseases

dc.contributor.authorชื่นจิตร กองแก้วth_TH
dc.contributor.authorChuenjid Kongkaewth_TH
dc.date.accessioned2023-10-31T03:37:30Z
dc.date.available2023-10-31T03:37:30Z
dc.date.issued2566-06
dc.identifier.otherhs3034
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5960
dc.description.abstractวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบประเมินการวัดความร่วมมือต่อยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังฉบับเบื้องต้น (20-item medication adherence questionnaire; MAQ-20) รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเชิงจิตวิทยาของแบบประเมิน ในด้านความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น (2) พัฒนาแบบวัด แบบประเมินความร่วมมือต่อยาเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน (3) พัฒนานวัตกรรมดิจิทัลจากแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาหลายมิติสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ระเบียบวิธีวิจัย งานวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research) ส่วนที่ 1 กระบวนการพัฒนาแบบประเมิน ความร่วมมือต่อยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังฉบับเบื้องต้น มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน เริ่มจาก 1.1) ทบทวนวรรณกรรมเพื่อสร้างข้อคำถามตามกรอบแนวคิดของแบบจำลองการจัดการยาด้วยตนเอง (Medication Self-Management Model) 1.2) กำหนดด้านและจำแนกข้อคำถามตามรายด้าน 1.3) นำแบบร่างฉบับแรกไปตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และ 1.4) ตรวจสอบความเชื่อมั่นจากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ส่วนที่ 2 กระบวนการพัฒนาแบบประเมินความร่วมมือต่อยาเฉพาะชนิดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ กรณียาที่ศึกษามีงานวิจัยเกี่ยวกับเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์เชิงประชากร จะใช้การสร้างแบบจำลองทำนายการลืมกินยา กรณียาที่ศึกษา ไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์เชิงประชากร ใช้การทบทวนข้อมูลด้านเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ของยาแต่ละชนิด ส่วนที่ 3 การพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลจากแบบวัดความร่วมมือต่อยาที่พัฒนาขึ้น โดยมีขั้นตอน 5 ขั้นตอน 3.1) การออกแบบโครงสร้างแอปพลิเคชันบนพื้นฐานความสะดวกและง่ายต่อผู้ใช้งาน (user friendly) 3.2) การพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บและจัดการข้อมูล 3.3) การเฝ้าระวังความปลอดภัยของฐานข้อมูลผ่านการใช้งานโปรโตคอลสำหรับเรียกใช้งานเว็บไซต์ (Hypertext Transfer Protocol Secure: HTTPS); Secure Socket Layer (SSL) 3.4) การจัดการกับฐานข้อมูลเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย และ 3.5) การทดสอบแอปพลิเคชันเบื้องต้นด้านการใช้งานและตรวจสอบความถูกต้อง โดยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา ส่วนที่ 1 การพัฒนาแบบประเมินความร่วมมือต่อยา ได้ข้อคำถามทั้งหมด 20 ข้อ ครอบคลุมองค์ประกอบ 6 ด้าน ดังนี้ 1) การรับยาต่อเนื่อง 2) ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยา 3) การบริหารจัดการยา 4) การใช้ยาของผู้ป่วย 5) การติดตามความปลอดภัยจากการใช้ยา และ 6) การใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ระดับตัวเลือกในแต่ละข้อเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท 3 ระดับ ได้แก่ เป็นประจำ บางครั้ง และไม่เคยเลย ผลการประเมินความตรงเชิงเนื้อหามีค่าสัมประสิทธิ์ ความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1 และเมื่อนำแบบประเมินฉบับปรับปรุง (ฉบับร่างที่ 2) ไปทดสอบนำร่องในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 40 คน พบว่า เวลาเฉลี่ยที่ใช้ทำแบบทดสอบ คือ 9 นาที ความเชื่อมั่นของ 20 ข้อคำถาม มีสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.657 บ่งชี้ถึงความสอดคล้องภายในอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ดังนั้นแบบประเมินฉบับสุดท้าย ซึ่งเกิดจากการพิจารณาตัดข้อคำถาม 1 ข้อออกจากฉบับร่างที่ 2 ส่งผลให้มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเพิ่มขึ้น มีชื่อว่าแบบประเมินความร่วมมือต่อยาด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง MAQ–20 ซึ่งมีความตรงและความเชื่อมั่นอยู่ในระดับยอมรับได้ ส่วนที่ 2 ได้แบบประเมินความร่วมมือต่อยา เฉพาะชนิด จำนวน 40 ข้อ ตามขอบเขตรายการยาที่มีใช้ในโรงพยาบาลชุมชน มีตัวเลือก 3 ตัวเลือก บนพื้นฐานของข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ของยาและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ส่วนที่ 3 ได้โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อทำงานบนเว็บไซต์โดยเรียกใช้งานผ่านทางออนไลน์ทั้งระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) ชื่อ MAQ plus© แบ่งออกเป็น หน้าหลักแสดงข้อมูลโครงการ, แบบวัดที่ได้พัฒนาขึ้นจากส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2, คู่มือสำหรับการใช้งานแอปพลิเคชัน, และคำถามที่พบบ่อยที่ผ่านการทดสอบเบื้องต้นด้านการใช้งานแอปพลิเคชันและตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ สรุปผล แบบประเมิน MAQ–20 มีความตรงและความเชื่อมั่นอยู่ในระดับยอมรับได้ แบบประเมินยาเฉพาะชนิดผ่านการพัฒนาเบื้องต้นความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เช่นเดียวกับ MAQ plus© การศึกษาในอนาคต ควรตรวจสอบคุณสมบัติเชิงจิตวิทยาในเรื่องความตรงเชิงโครงสร้าง, ความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์และการวัดความเที่ยงด้วยวิธีทดสอบซ้ำ เพิ่มเติมโดยทำการศึกษาในประชากรกลุ่มใหญ่ขึ้นตลอดจนการเปรียบเทียบการใช้งานของแอปพลิเคชันกับแอปพลิเคชันที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันที่มีอยู่ในท้องตลาดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectDrug Utilizationth_TH
dc.subjectยา--การใช้รักษาth_TH
dc.subjectการรักษาด้วยยาth_TH
dc.subjectการใช้ยาอย่างสมเหตุผลth_TH
dc.subjectRational Drug Useth_TH
dc.subjectแบบประเมินth_TH
dc.subjectการประเมินผลth_TH
dc.subjectEvaluationth_TH
dc.subjectMeasurementth_TH
dc.subjectเภสัชจลนศาสตร์th_TH
dc.subjectเภสัชพลศาสตร์th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectโรคไม่ติดต่อth_TH
dc.subjectNon-Communicable Diseasesth_TH
dc.subjectโปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectApplication Softwareth_TH
dc.subjectMobile Applicationsth_TH
dc.subjectโทรศัพท์เคลื่อนที่--โปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิจัยและพัฒนาแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาหลายมิติสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ภายใต้บริบทประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeResearch and Development of Medication Adherence Questionnaire for Thai Patients with Non-Communicable Diseasesth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.publicationภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง เครือข่ายวิจัยความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเพื่อประเทศไทยใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Medication Adherence Research Network for Rational Drug Use in Thailand)th_TH
dc.description.abstractalternativeObjectives: (1) To develop a new 20-item medication adherence questionnaire (MAQ-20) including test the psychometric properties; (2) To develop a medication adherence questionnaire for specific medications used for treatment of non-communicable chronic diseases (NCD); (3) To develop digital innovations for measuring medication adherence in patients with NCD. Method: This study was designed as research and development research. Part 1 The development of the MAQ included four steps: 1.1 Item generation-based on literature review and the medication self-management model as a theoretical framework; 1.2 Operationalization of the identified domains into items; 1.3 Content validity of the draft version 1 was assessed based on the item-objective congruence (IOC) by three experts; and 1.4 Reliability was evaluated by Cronbach’s alpha. Part 2 The development of medication adherence questionnaire for specific medications by experts in pharmacokinetics/pharmacokinetics: if a population pharmacokinetics/pharmacokinetics study for a specific medication is available, Monte Carlo simulation is performed for possible pattern of missed doses; if population pharmacokinetics/pharmacokinetics study for a specific medication is unavailable, pharmacokinetics/pharmacokinetics profiles of a specific medication is reviewed and determined a missed dose affecting therapeutic level by the expert group. Part 3 The development of the digital innovation comprised of 5 steps: 3.1 design of the application is based on concept of user friendly; 3.2 development of database for storage the server; 3.3 vigilance system for database security through Hypertext Transfer Protocol Secure: HTTPS and Secure Socket Layer (SSL); 3.4 database management system for preventing loss of data; and 3.5 basic test of the application’s functions and performance by experts. Results: Part 1 The final version of questionnaire namely the MAQ covers 20 items rated on a 3-point Likert scale (“Always,” “Sometimes,” and “None”) organized into six domains: Refill, Understand, Organize, Take, Monitor and Sustain. The range of the IOC was from 0.67 to 1.00. In a pilot study (n=40), the MQA is easy to complete (mean completion time = 9.0 min). The reliability of questionnaire was 0.657, indicating acceptable internal consistency. One item deletion in the draft version 2 resulted in an increase Cronbach's alpha. Part 2 the medication adherence questionnaire for specific medications composed of 40 items according to the scope of medication list used in primary care healthcare settings. They were simply rated on 3 choices based on pharmacokinetics/pharmacokinetics profiles of a specific medication and expert opinion. Part 3 Web-based application namely MAQ plus© comprised of 4 main menus: home menu described the project details; medication adherence questionnaire developed from this study part 1 and 2; user manual; and frequently asked questions. The application was approved for basic functions and performance. Conclusion: The first version of the MAQ-20 has acceptability of validity and reliability. The medication adherence questionnaire for specific medications and the MAQ plus © web-based application were approved for basic quality by expert group. Future studies should examine the psychometric qualities (construct validity, criterion validity, and test–retest reliability) in larger populations and usability test of MAQ plus© web-based application with available similar applications.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 ช592ก 2566
dc.identifier.contactno63-119
dc.subject.keywordNCDsth_TH
dc.subject.keywordโรคไม่ติดต่อเรื้อรังth_TH
dc.subject.keywordRDUth_TH
.custom.citationชื่นจิตร กองแก้ว and Chuenjid Kongkaew. "การวิจัยและพัฒนาแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาหลายมิติสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ภายใต้บริบทประเทศไทย." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5960">http://hdl.handle.net/11228/5960</a>.
.custom.total_download94
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year75
.custom.downloaded_fiscal_year6

Fulltext
Icon
Name: hs3034.pdf
Size: 4.657Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record